ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก หรือลำบากพระวรกาย จากการเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นชนบทต่างๆ ได้ทรงตระหนักดีว่าหนึ่งในปัญหาสำคัญที่สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากให้กับราษฎรในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเพาะปลูก จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้กับกรมชลประทานในการพัฒนาแหล่งน้ำ ศึกษา วางแผน และก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินอกเหนือจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่กรมชลประทานได้ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว เพื่อช่วยให้ราษฎรได้มีชีวิตและสถานภาพความเป็นอยู่ที่สุขสบายทัดเทียมกัน สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำที่กรมชลประทานดำเนินการสนองพระราชดำริ จำแนกออกเป็น 6 ประเภท คือ
    1. งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภคอุตสาหกรรม ฯลฯ
    2. งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิดกระแสไฟฟ้า
    3. งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร
    4. งานป้องกันและบรรเทาอุทกภัย
    5. งานระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
    6. งานแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ
    จนถึงปัจจุบันมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว กว่า 1,000โครงการทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ สามารถอำนวยประโยชน์มหาศาล ให้เกิดกับราษฎรและประเทศชาติ ดังเช่นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ความเป็นมา
    การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักได้เริ่มมาตั้งแต่การก่อสร้างเขื่อนพระราม 6 เมื่อ พ.ศ. 2538 ซึ่งในครั้งนั้นเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในระดับหนึ่ง เนื่องจากการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมมีไม่มากนัก แต่ในเวลาต่อมาเมื่อจำนวนประชาชนเพิ่มมากขึ้น มีการขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเป็นผลทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำนำน้ำมาใช้โดยไม่ประหยัดประกอบกับในช่วงฤดูน้ำหลาก บริเวณลุ่มน้ำป่าสักและบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มักจะประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง และบางปีได้รับความเสียหายรุนแรงดังเช่น ปี 2538 ทำให้รัฐบาลหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอย่างเร่งด่วนลุ่มน้ำป่าสัก เป็นลุ่มน้ำขนาดกลางและเป็นสาขาสำคัญของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 14,520ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เนื่องจากลักษณะลุ่มน้ำแห่งนี้มีความลาดชันสูงจึงมีผลทำให้ในฤดูฝน กระแสน้ำไหลหลากจากด้านบนลงมาอย่างรวดเร็วบ่าล้นตลิ่ง ท่วมและทำความเสียหายให้กับเรือกสวนไร่นาตลอดจนบ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎรเป็นประจำทุกปี ส่งผลกระทบถึงพื้นที่ในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย ในทางกลับกันในฤดูแล้งมักจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตร แม้จะได้รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาช่วยเสริมแต่ก็ยังไม่เพียงพอ

งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
    ความแห้งแล้งเพราะขาดแคลนน้ำ และอุทักภัยเกิดขึ้นเกือบเป็นประจำทุกปี ในตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา สร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎรและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทบกระเทือนฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจในพื้นที่ประกอบด้วยโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนต่างๆ ที่นับวันจะหนาแน่นยิ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณ ด้วยทรงห่วงใยยิ่ง ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่19 กุมภาพันธ์ 2542 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสม เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก โดยได้ดำเนินการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างเขื่อน แนวทางแก้ไข และเลือกจุดที่เหมาะสมที่จะก่อสร้างเขื่อน โดยได้เลือกจุดที่จะก่อสร้างเขื่อนเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักไว้ 3 แห่งประกอบด้วย แห่งที่ 1 อยู่ที่ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี แห่งที่ 2 อยู่ที่ตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี แห่งที่ 3 อยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อย่างจริงจังและเร่งด่วน ผลจาการศึกษาปรากฏว่าเขื่อนแห่งที่ 3 ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการก่อสร้างโดยกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2537 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภคเป็นงานจัดหาน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก และชุมชนที่ขาดแคลนน้ำ โดยโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้ช่วยพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำเสริมน้ำชลประทานให้กับพื้นที่โครงการชลประทานเดิมในบริเวณทุ่งเจ้าพระยาตะวันออกตอนล่างประมาณ 2,200,000 ไร่รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับพื้นที่ชลประทานที่จะเปิดใหม่ ในเขตจังหวัดลพบุรีและสระบุรี คิดเป็นพื้นที่144,500 ไร่ เป็นงานก่อสร้างระบบชลประทาน ดำเนินการในปี พ.ศ. 2543-2548 รวม 6 ปี

งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค
    การอุปโภคบริโภคและการอุตสาหกรรม มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่มากรองลงไปจากการเกษตร การเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แล้วระบายลงมาในลำน้ำป่าสัก โดยการจัดสรรน้ำให้มีน้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปีจะช่วยให้ประชาชนสองฝั่งลำน้ำป่าสัก ในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย และอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีน้ำใช้สำหรับอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งการผลิตน้ำประปาของอำเภอเมืองสระบุรีและชุมชนใกล้เคียง ตลอดจนกรุงเทพมหานครและประมณฑลด้วยเหตุนี้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำกินน้ำใช้สำหรับคนในเมืองจึงไม่ใช่เรื่องที่จะน่าวิตกอีกต่อไป นอกจากนี้นักธุรกิจและนักลงทุนจำนวนมากที่ได้เข้าไปขยายกิจการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี ซึ่งถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของภาคกลางจะมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะได้รับน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ส่งมาเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอแก่งคอย และอำเภอเมืองสระบุรี อันจะทำให้การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ที่ได้มีการดำเนินมาอย่างต่อเนื่องขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รายได้จากสินค้าส่งออกในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย ส่งผลให้รายได้จากสินค้าออกในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย

งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร
    นอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้รับข้างต้นแล้ว ลักษณะโครงการของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่พิเศษแตกต่างไปจากเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วไป คือ มีลักษณะทางกายภาพค่อนข้างแบนราบพื้นที่ผิวน้ำกว้างใหญ่ ลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 15-17 เมตร มีความเหมาะสมกับการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และแหล่งประมงที่สำคัญแห่งใหม่ของประเทศ การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังช่วยทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นในบริเวณน้ำใต้ดินบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำและบริเวณท้ายน้ำมีระดับสูงขึ้นเปน็ การฟื้นฟูและพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศน์โดยรวม ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม การคมนาคมเข้าสู่
โครงการสะดวกสบาย จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง อีกทั้งมีการจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวรถไฟ และการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสักซึ่งจัดแสดงอารยธรรมและวัตถุโบราณที่ขุดค้นได้จากพื้นที่อ่างเก็บน้ำ

งานบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและน้ำเน่าเสีย งานระบายน้ำออกจากพื้นลุ่มน้ำ และงานแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ
    โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักฯ โดยการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ นอกจากจะเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูกของลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างอย่างกว้างขวางแล้ว ยังสามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและน้ำเสียให้กับกรุงเทพมหานครได้อีกส่วนหนึ่งด้วย เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้ไหลบ่าสู่พื้นที่ตอนล่าง และการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ยังช่วยเหลือเจือจางน้ำเน่าเสีย เป็นการรักษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำป่าสักตลอดปี นอกจากนั้นยังนำมาใช้ในการไล่น้ำเค็มบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง นอกจากนี้สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ภาคกลางประกอบด้วย แม่น้ำลำคลองหลายสาย การสัญจรทางน้ำ เป็นการคมนาคมและขนส่งสินค้าเกษตรอีกทางหนึ่ง แต่เดิมการขนส่งสินค้าทางเรือในแม่น้ำป่าสักสามารถดำเนินการได้เฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ในฤดูแล้งปริมาณน้ำในแม่น้ำจะลดลงและบางช่วงมีตะกอนทับถมสูง ร่องน้ำตื้นเขิน ปัจจุบันเมื่อมีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้สามารถระบายน้ำจากเขื่อนลงสู่แม่น้ำ เพื่อเพิ่มระดับน้ำในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจะทำให้การเดินเรือสะดวกตลอดทั้งปีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วงประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางบกได้มาก

สรุป
    การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก โดยการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำแนวทางหนึ่ง โครงการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณน้ำจำนวนมากที่จะนำไปใช้ได้อย่างพอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ประโยชน์นานัปการจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กล่าวคือ ด้วยปริมาณน้ำที่เก็บกักได้จะสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตร อุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมได้อย่างครบถ้วน รวมไปถึงการเกิดแหล่งประมง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งใหม่ ตลอดจนเพิ่มความสะดวกและความคล่องตัวในด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำในพื้นที่ภาคกลาง นอกจากนั้นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังช่วยลดความรุนแรงอันเกิดจากอุทกภัยในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ทั้งยังเอื้อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำจะชุ่มชื้นไปด้วยน้ำและดินที่มีคุณภาพ ป่าไม้ที่สมบูรณ์และสัตว์นานาชนิด ยิ่งกว่าน้ำใดด้านสังคม จะเกิดชุมชนท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ผู้คนที่อาศัยอยู่ต่างมีความสุข สร้างหลักปักฐานมั่นคงไม่ต้องเร่ร่อนไปแสวงหาที่ทำกินใหม่เป็นการช่วยลดปัญหาสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างดีที่สุด

ที่่มา : //www.vajiravudh.ac.th

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับSmiley




Create Date : 09 กันยายน 2555
Last Update : 9 กันยายน 2555 10:15:20 น. 0 comments
Counter : 3590 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
9 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.