โลกของ "เจ๋ง"

 
เมษายน 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
7 เมษายน 2548
 

RAID ภาค 1

คัดลอกจาก
//koala.cpe.ku.ac.th/~g4165217/tuning.html


ระบบ RAID มี 6 แบบ

1. RAID 0 : Non-Redundant Striped Array
ข้อมูลจะถูกแบ่งกระจาย เก็บไว้ในจานแม่เหล็กทุกตัว ในการอ่าน/เขียน สามารถทำได้พร้อมกันหมด โดยข้อมูลที่อ่านได้ต้องนำมารวมกันก่อน หรือข้อมูลที่จะถูกเขียนต้องถูกแบ่งก่อน ในกรณีที่ข้อมูลมีขนาดเล็กสามารถเก็บลงในจานแม่เหล็กเพียงตัวเดียว แต่ถ้าใหญ่กว่าขนาดที่กำหนดจะถูกแบ่งไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็กทุกตัว
ประสิทธิภาพจะดีที่สุด เพราะในการอ่าน/เขียน ไม่มีการตรวจสอบความผิดพลาด (data-integrity)

2. RAID 1 : Mirrored Arrays
ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในจานแม่เหล็กทั้ง 2 ตัว ในการเขียนจะต้องเขียนจานแม่เหล็กทั้งคู่ ทำให้ ประสิทธิภาพเท่ากับการใช้จานแม่เหล็กเพียงตัวเดียว แต่ในการอ่านสามารถทำได้พร้อมๆ กันทั้งสองตัว ประสิทธิภาพในการอ่านเพิ่มขึ้น 100%
นิยมใช้ในระบบ multi-user เพราะการอ่านข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่มาก หรือน้อย สามารถทำได้บนจานแม่เหล็กตัวใดก็ได้ แต่ราคาของระบบนี้จะสูงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องจากใช้จานแม่เหล็กมากกว่าปกติ 2 เท่า

3. RAID 2 : Parallel Array with Error-Correcting Code (ECC) Data Protection Disk
คล้ายๆ กับ RAID 0 แต่ข้อมูลของ ECC (Error-Correcting Code) ซึ่งปกติจะเก็บไว้ตำแหน่ง ตอนท้ายของเซ็คเตอร์ จะถูกเก็บไว้บนจานแม่เหล็กอีกตัวแทน ในการอ่านข้อมูลความเร็วจะเท่ากับ RAID 0 แต่ในการเขียนข้อมูลจะช้ากว่าเพราะต้องคำนวณค่า ECC
ประสิทธิภาพเท่ากับระบบ RAID 3

4. RAID 3 : Parallel Array with Parity
เหมือน RAID 2 การตรวจสอบความผิดพลาดขึ้นอยู่กับค่าของ ECC ที่เก็บไว้ในเซ็คเตอร์ในแต่ละจานแม่เหล็ก เมื่อพบข้อผิดพลาด ข้อมูลที่ถูกต้อง จะถูกคำนวณได้จากข้อมูลที่อยู่ในจานแม่เหล็กตัวอื่นๆ
ระบบนี้เหมาะสำหรับระบบที่มีผู้ใช้คนเดียว เพราะในการอ่าน/เขียนข้อมูลทำได้ทีละ transaction เท่านั้น

5. RAID 4 : Striped Array with Parity
การติดตั้งเหมือน RAID 3 แต่ขนาดของข้อมูลที่แบ่งเก็บในแต่ละจานแม่เหล็กจะใหญ่กว่า ทำให้สามารถอ่านข้อมูลในจานแม่เหล็กแต่ละตัว สำหรับแฟ้มข้อมูลต่างกันได้พร้อมกัน แต่ในการเขียนข้อมูลไม่สามารถทำได้เพราะต้องเขียน parity ในจานแม่เหล็กตัวเดียวกัน
ประสิทธิภาพเท่ากับระบบ RAID 5

6. RAID 5 : Rotating Parity Array
แก้ปัญหาคอขวดในการเขียนข้อมูล parity ของ RAID 4 โดยการกระจาย parity ไปเก็บไว้ในทุก จานแม่เหล็ก โดยในการเขียนส่วนมาก จะเข้าถึงจานแม่เหล็กสำหรับข้อมูล และจานแม่เหล็กสำหรับเก็บ parity ข้อมูลอันนั้น ดังนั้นการเขียนข้อมูลสามารถทำพร้อมกันได้
ระบบนี้เหมาะสำหรับระบบที่เป็น multi-user และต้องการเสถียรภาพในการทำงานสูง แต่เนื่องจากในการเขียนต้องคำนวณค่า parity สำหรับจานแม่เหล็กทุกตัว ทำให้ไม่เหมาะกับระบบที่มีการเขียนข้อมูลมากๆ แต่สำหรับระบบที่เน้นการอ่านข้อมูล เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์แล้ว RAID 5 จะเหมาะกว่า RAID 1 ทั้งในด้านของประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือ


Create Date : 07 เมษายน 2548
Last Update : 7 เมษายน 2548 10:32:13 น. 0 comments
Counter : 443 Pageviews.  
 

dokawa
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ความจำสั้น แต่ bloggang.com คงจะอายุยาว เลยเอาความรู้มาฝากไว้หน่อยครับ
[Add dokawa's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com