Group Blog
พฤศจิกายน 2555

 
 
 
 
1
2
8
9
11
12
13
15
16
17
18
19
21
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
การแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัวของอาคารเนื่องจากเสาเข็ม

อาคารทรุดตัวเพราะปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน

การแก้ไขฐานรากอาคารทรุดตัวนั้นสามารถแก้ไขโดยการเสริมเสาเข็มเข้าไปช่วยรับน้ำหนักแทนเสาเข็มเดิมที่รับน้ำหนักบรรทุกไม่ได้ การจะกำหนดให้เสาเข็มที่เสริมเข้าไปนั้นรับน้ำหนักอย่างไรขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์สาเหตุการทรุดตัวและลักษณะการทรุดตัวโดยมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในลักษณะต่างๆ ดังนี้

                1)  กรณีเสาเข็มเดิมของอาคารเป็นเสาเข็มสั้นหรือปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อน มีฐานรากบางฐานในอาคารเกิดการทรุดตัวมากจนอาคารเสียหาย ควรแก้ไขด้วยการทำเสาเข็มเสริมเสาเข็มใหม่เฉพาะฐานรากที่เกิดการทรุดตัวเท่านั้นเพื่อหยุดยั้งการทรุดตัว  เสาเข็มที่เสริมเข้าไปใหม่ควรมีความยาวใกล้เคียงกับเสาเข็มเดิม  และไม่ควรใส่ปลายเสาเข็มหยั่งลงในชั้นดินต่างชนิดกับเสาเข็มเดิม มิฉะนั้นฐานรากที่ไม่ได้เสริมเสาเข็มจะทรุดตัวมากกว่าในภายหลัง

                2)  กรณีเสาเข็มเดิมของอาคารเป็นเสาเข็มสั้นหรือปลายเสาเข็มยังอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อน มีฐานรากจำนวนมากในอาคารเกิดการทรุดตัวควรเสริมฐานรากทุกฐานด้วยเสาเข็มใหม่ที่มีความยาวมากกว่าเสาเข็มเดิม และปลายเสาเข็มควรอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็งหรือทรายแน่น และไม่ควรที่จะนำเสาเข็มเดิมกลับมาใช้งานอีก ดังนั้นภายหลังจากทำเสาเข็มเสริมและถ่ายน้ำหนักลงเสาเข็มที่เสริมเป็นที่เรียบร้อยแล้วควรตัดเสาเข็มเดิมให้ขาดจากฐานรากด้วย

                3)  กรณีเสาเข็มบกพร่องแตกหักหรือเสาเข็มเยื้องศูนย์กรณีที่เสาเข็มทรุดตัวบางฐาน ควรแก้ด้วยการเสริมที่มีความยาวหรืออยู่ในชั้นดินเดียวกับเสาเข็มเดิม แต่ถ้ากรณีมีการทรุดตัวหลายฐานในอาคาร ควรเสริมเสาเข็มใหม่ให้ปลายเสาเข็มใหม่อยู่ในชั้นดินทรายแน่น

                  4)  กรณีปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน การแก้ไขอาคารทรุดตัวจากสาเหตุปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกันต้องวิเคราะห์ด้วยว่าเสาเข็มเดิมของอาคารส่วนใหญ่อยู่ในชั้นดินชนิดไหน เช่น  ถ้าปลายเสาเข็มเดิมส่วนมากปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นทรายมีบางฐานอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็ง เสาเข็มที่อยู่ในชั้นดินเหนียวแข็งจะมีการทรุดตัวมากกว่าทำให้อาคารแตกร้าว ก็ควรแก้ไขฐานรากที่      ปลายเสาเข็มเดิมอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็ง โดยแก้ไขให้ปลายเสาเข็มที่เสริมใหม่อยู่ในชั้นดินทราย

                5)  กรณีเกิดการเคลื่อนตัวของดินทำให้เสาเข็มเดิมเกิดการเสียหายอาคารเกิดการทรุดตัว กรณีนี้จะต้องปรับปรุงและต้องให้ดินเดิมมีความเสถียรภาพก่อนถึงจะทำการแก้ไขฐานรากของอาคารโดยที่เสาเข็มที่เสริมใหม่ปลายเสาเข็มควรใกล้เคียงปลายเสาเข็มอาคารเดิม หรืออยู่ชั้นดินเดียวกับอาคารเดิม



>>>>> อ่านบทความต่อไป <<<<<




Create Date : 10 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2555 19:10:12 น.
Counter : 2180 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นาย IDEA
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ

nucifer.com : นานาสาระเกี่ยวกับการดูแลรักษาบ้าน