GangZA_IBM
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
2 กันยายน 2550
 
All Blogs
 

"นักวิชาการ-สนช." กระทุ้ง กม.คุ้มครองลูกหนี้-ชี้ปัญหาดอกเบี้ยสุดโหด


นักวิชาการ สนช.ร่วมวงเสวนา "ดอกเบี้ยโหด สินเชื่อบุคคล-บัตรเครดิต" เสนอออกกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือนำข้อมูลลูกหนี้ไปขายให้บุคคลที่ 3 แนะให้ทบทวนดอกเบี้ยเงินกู้ 28% ให้สมเหตุสมผล เผยคนไทยมีหนี้ค้างจ่ายบัตรเครดิตสูงเฉียด 2 แสนล้าน แฉสถาบันการเงินมัดมือชก "จับเซ็นสัญญาทาส-สูบเลือดลูกค้า" มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นหนังสือกระทุ้ง "แบงก์ชาติ" ทวงสิทธิผู้บริโภค ขณะที่ สภาทนายความ จวกยับ! "นอนแบงก์" ไร้จรรยาบรรณ
วันนี้(2 ส.ค.) นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวระหว่างการร่วมงานสัมมนา เรื่อง “ปัญหาดอกเบี้ยโหด ของสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต” โดยระบุว่า จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในปี 2549 หนี้ภาคครัวเรือนสูงถึง 213,444 ล้านบาท ขณะที่รายได้ภาคครัวเรือนมีประมาณ 116,585 ล้านบาท สำหรับไตรมาสสอง มียอดสินเชื่อคงค้างบัตรเคดิตถึง 169,000 ล้านบาท โดยสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 18 สถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ขยายตัวร้อยละ 15 นับว่าหนี้สินของประชาชนขยายตัวสูงมาก

ขณะนี้ได้มีปัญหาผู้ประกอบการบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล มีวิธีการต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับลูกหนี้ และ ธปท.ยังได้ประกาศให้ผ่อนชำระขั้นต่ำจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 ทำให้มีภาระการผ่อนชำระสูงขึ้น รวมถึงการติดตามหนี้สินด้วยรูปแบบต่างๆ ซึ่งได้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ดังนั้น กระทรวงการคลัง และ ธปท.ควรมีข้อกำหนดให้สถาบันการเงินเข้มงวดกับการออกบัตรเครดิตกับลูกค้า ป้องกันไม่ให้ลูกค้ามีบัตรเครดิตมากเกินไป โดยเมื่อดูตัวเลขรายได้กับการผ่อนชำระ ก็ไม่ควรอนุญาตให้บัตรเครดิตรายอื่นปล่อยสินเชื่อให้ เพราะปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงจนไม่ดูรายได้ผ่อนชำระของลูกหนี้ ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้ต้องมีภาระเพิ่ม ต้องหากู้จากบัตรหนึ่งเพื่อนำมาผ่อนชำระกับอีกบัตรหนึ่ง สร้างภาระหนี้พอกพูนไม่หยุด ที่สำคัญ ทางการควรมีการทบทวนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บัตรเครดิต ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 28 ว่ามีอัตราความเหมะสมหรือไม่ และควรทบทวนค่าธรรมเนียมปรับในรูปแบบต่างๆ เพราะอัตราปัจจุบันสูงเกินไป รวมถึงควรปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ให้มีความเป็นธรรมกับลูกหนี้ด้วย

“อยากให้ผู้บริหารกระทรวงการคลังและ ธปท.ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของรัฐบาลไปเรียนหาความรู้ในต่างประเทศ ก็ควรกลับเข้ามาทำงานช่วยเหลือประชาชนให้คุ้มค่า และควรรับฟังความเดือดร้อนของประชาชนให้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาได้รับฟังเสียงของนายแบงก์และผู้ประกอบการค่อนข้างมากแล้ว ซึ่งมองว่า กระทรวงคลัง ธปท.ไม่ค่อยรู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาของประชาชน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นมีจำนวน 5 - 10 ล้านคน นับว่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่ปัญหาปัจเจกบุคคล 2 - 3 คนเท่านั้น และมีเพื่อนเป็น สนช.ค้างชำระบัตรอยู่ 95 สตาค์ เมื่อถูกทวงถามหนี้ก็จะจ่ายให้ แต่บริษัทบัตรเครดิตกลับบอกว่า มีค่าใช้ด้านการติดตามหนี้และค่าทนายด้วย” นายสังศิต กล่าว

นายกมล กมลตระกูล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ในประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงสหรัฐจะมีกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป ทั้งการห้ามพูดจาหยาบคาย หรือการข่มขู่ การนำข้อมูลลูกหนี้ไปขายต่อให้บุคลที่ 3 การคิดค่าติดตามหนี้ทั้งการส่งเอกสารและโทรศัพท์เรียกเก็บปลายทาง การเปิดเผยชื่อให้ลูกหนี้อับอาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างประเทศมีกำหมายคุ้มครองทุกอย่างไม่สามารถกระทำได้ แต่ในประเทศไทยสิ่งเหล่านี้ทำได้ทุกอย่าง จึงต้องการเสนอให้มีการแก้ไขหรือร่างกฎหมายขึ้นมาคุ้มครองลูกหนี้ให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น


ยื่นหนังสือกระทุ้ง แบงก์ชาติ ทวงสิทธิผู้บริโภค

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ยื่นหนังสือต่อนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายการงิน และนายกฤษฎา อุทยานิน รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลังพิจารณาปรับลดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่กำหนดอยู่ที่ร้อยละ 28 เพราะเป็นสัดส่วนที่สูงเกินไปสร้างความเดือดร้อนให้กับลูกหนี้ พิจารณาปรับลดค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงดอกเบี้ยปรับเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ เพราะบางรายต้องก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปชำระหนี้เดิม ทำให้มูลหนี้ขยายจำนวนมากขึ้น และให้หาแนวทางป้องกันหรือแก้ไขการทวงหนี้แบบโหด หรือไม่สุภาพจากบริษัทบัตรเครดิตต่าง ๆ

ในเวทีสัมมนา นายสาโรจน์ จิรธรรมกูล ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล กล่าวว่า ลูกหนี้บัตรเครดิตมีสถานะเป็นลูกหนี้ไม่ใช่อาชญากร แต่ปัจจุบันได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในการติดตามทวงหนี้แบบไม่สุภาพและแบบโหด รวมถึงการกดดันด้วยวิธีการต่างๆ จนลูกหนี้บางรายอาจตัดสินใจฆ่าตัวตายหรือไม่มีจิตใจทำงาน และมองว่าการให้บริษัทบัตรเครดิตประเภทสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ หรือนอนแบงก์ คิดดอกเบี้ยถึงร้อยละ 28 นับว่าสูงเกินไป จึงอยากให้รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือ

สภาทนายจวก "นอนแบงก์" ไร้จรรยาบรรณ

ด้านนายชัยรัตน์ แสงอรุณ ตัวแทนสภาทนายความ กล่าวว่า การพิจารณาคดีของศาลส่วนใหญ่ การคิดอัตราดอกเบี้ยที่เกินร้อยละ 15 ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดนั้น ส่วนใหญ่ศาลจะพิพากษากำหนดค่าเสียหายไม่เกินร้อยละ 15 และยังมองว่าประกาศของ ธปท.และกระทรวงการคลังยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการอนุญาตให้นอนแบงก์(สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร) ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเงินกู้ได้ถึงร้อยละ 28 เท่ากับบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ และเรียกร้องให้ทนายความที่ทำหน้าที่ติดตามทวงหนี้ให้บริษัทบัตรเครดิตให้ยึดอุดมการณ์และจรรยาบรรณ รวมถึงเกียรติและศักดิ์ศรีการเป็นทนายความในการติดตามทวงหนี้อย่างเหมาะสม เพราะทนายความมีบทบัญญัติตามกฎหมายให้ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ประชาชนผู้เดือดร้อน รวมถึงเรียกร้องให้ประชาชนและลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนช่วยร้องเรียนไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รัฐบาลรับรู้ปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้



//www.manager.co.th/StockMarket/ViewNews.aspx?NewsID=9500000103362




 

Create Date : 02 กันยายน 2550
0 comments
Last Update : 2 กันยายน 2550 23:12:58 น.
Counter : 922 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


CiKaO IBM
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Welcome to "ORIGINAL Group"
" HIDDEN="true" AUTOSTART="true"LOOP="20" MASTERSOUND>
Friends' blogs
[Add CiKaO IBM's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.