พฤศจิกายน 2566

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เจ้าสัวฉี่กะปริดกะปรอย เข้ากะบะทรายบ่อย พาไป X-ray + ตรวจเลือด
เรื่องของเรื่องคือเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เราเอาเจ้าสัวมานอนเล่นค้างที่บ้านเรา (เนื่องจากเราผ่าตัดและรักษาตัวจากการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีจนค่อยยังชั่วแล้ว) ช่วงก่อนเราผ่าตัดก็พาเจ้าสัวกลับไปอยู่อีกบ้านให้เจ้าสัวได้กลับไปอยู่กะลูกๆ ของนางบ้าง ซึ่งลูกๆ ของเจ้าสัวก็อายุ 9 ปีแล้ว เริ่มแก่กันแล้ว และเมื่อวันที่ 13-14 พฤศจิกายน 2566 เราสังเกตเห็นว่าเจ้าสัวจะชอบฉี่โชว์ตอนช่วงเช้าและเย็น พอเราจะไปทำงานนางก็จะรีบวิ่งมาฉี่ พอเรากลับจากที่ทำงานนางจะออกมาตอนรับ รอให้หอมให้อุ้ม เสร็จแล้วก็จะเดินไปกินอาหารเม็ด และฉี่ตามกิจวัตร และสิ่งที่เราสังเกตเห็นคือ เจ้าสัวเข้าๆ ออกๆ กะบะทรายบ่อย 3-4 รอบ แต่ละรอบฉี่ออกมาแบบนิดๆ บางครั้งก็วงใหญ่เล็กกว่ากำปั้นเรา บางครั้งก็จุดเล็กๆ ขนาดเท่าเหรียญบาท และนั่งฉี่นานประมาณเกือบ 1 นาที อาการเหมือนพยายามเค้นฉี่ แต่สีของฉี่ก็ดูปกติ ไม่มีเลือด ไม่มีเสียงเจ้าสัวร้องแบบเจ็บปวดแบบฉี่ไม่ออก เราก็ว้าวุ่นใจกลัวลูกจะเป็นนิ่ว งานเข้าเลยทีนี้ ช่วงเย็นของวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 โทรถามอาการเบื้องต้นกับหมอเจ้าประจำและพาเจ้าสัวไปหาหมอ

การตรวจเบื้องต้นคือ
1. X-ray ดูช่องท้องว่ามีตะกอนนิ่วหรือไม่ >> ผล X-ray คือ เจ้าสัวไม่มีนิ่ว (เราโล่งใจมากที่เจ้าสัวไม่เป็นนิ่ว)
2. เจาะเลือดตรวจค่าเลือด เพราะอายุแมว 11 ปี แล้ว อายุเยอะแล้วอาจมีอาการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ตามมา






ค่าผลเลือดต่างๆ ของเจ้าสัว หมอบอกว่า
1. ค่า BUN เจ้าสัว 47 สูงกว่าปกติ ช่วงนี้ทานโปรตีนมากไปหรือเปล่า ต้องเปลี่ยนอาหารเป็นสูตรแมวแก่ได้แล้ว หรืออายุที่มากขึ้นทำให้การเผาผลาญโปรตีนในร่างกายได้น้อยลง
2. ค่า CRE การทำงานของไตยัง 1.9 ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ด้วยอายุแมวที่มากขึ้น มีแนวโน้มที่ไตจะเริ่มเสื่อมสภาพตามวัย

หมอแนะนำให้เก็บปัสสาวะเจ้าสัวไปตรวจหาโปรตีนและตะกอนนิ่วเพิ่ม เพราะมองด้วยตาเปล่าเราไม่สามารถเห็นตะกอนเล็กๆ ของนิ่วได้ (ค่าตรวจเพิ่ม 630 บาท เรายังไม่ได้ตรวจในส่วนนี้ เพราะหมอบอกให้ไปเก็บปัสสาวะแมว หรือหากไม่สะดวกเก็บเองให้เอาแมวมาฝากที่ รพ. รอให้แมวปัสสาวะหมอจะเก็บปัสสาวะให้ แล้วเย็นค่อยมารับกลับบ้าน



หมอแนะนำให้เจ้าสัวทานน้ำเพิ่ม ซึ่งปกติตามที่เราเห็นเจ้าสัวกินน้ำเยอะพอสมควร แต่คงไม่ถึง 185 มิลลิลิตร ตามเกณฑ์ที่หมอกำหนด หมอบอกว่าหากให้แมวกินอาหารเปียกให้เทน้ำเพิ่มลงไปในอาหารเปียกด้วย เราก็บอกนานๆ จะให้ที เพราะกลัวอาหารเปียกกับขนมแมวเลียเค็ม กินมากอาจไม่ดีต่อไตแมว หมอบอกว่าไม่อย่างนั้นให้จับแมวหยอดน้ำเพิ่ม แบบบังคับให้แมวกินน้ำ (แบบนี้เราคงโดนแมวข่วนหน้าแหกแน่นอน ฮ่าๆๆ)



หมอบอกว่าอาการที่เจ้าสัวเข้ากะบะทรายบ่อย ฉี่กะปริดกะปรอยอาจมาจาก
1. เครียดจากสภาวะแวดล้อม เช่น เปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนกะบะทราย ไม่ชอบกะบะทรายอันที่เจ้าของหาไว้ให้ ไม่ชอบสถานที่วางกะบะทราย ฯลฯ เป็นต้น ต้องให้เจ้าของลดสภาวะความเครียดของแมวโดยการเอาอกเอาใจ หาของเล่นให้แมวเล่น ให้ตำแยแมว ให้กัญชาแมว (ผงแคทนิป)
2. หรืออาจมาจากอาการแรกเริ่มของทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นนิ่ว



ค่ารักษาจ่ายไป 2,374 บาท จากผลการตรวจเลือดเจ้าสัวทำให้เราเริ่มทำใจปล่อยวางแล้วว่าแมวเราใกล้ถึงเวลาที่ต้องลาจากกันอีกแล้วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นและการเสื่อมสภาพของสังขาร เพียงแต่ว่าบทสรุปของแมวแต่ละตัวที่เราเลี้ยงจะตายแบบไหน (เราเลี้ยงระบบปิด ไม่เคยให้ออกไปนอกบ้าน ก็คงป่วยตายตามที่เราคาดคะเนไว้) แต่พอเวลานั้นมาถึงจริงๆ มันเป็นเรื่องที่ยากจะทำใจเพราะสำหรับเราเขาไม่ใช่แค่สัตว์เลี้ยง พวกเขาคือคนในครอบครัว เพราะตั้งแต่วันที่เอาเขามาเลี้ยง วันที่พวกเขาเกิดเราสัญญาแล้วว่าจะดูแลพวกเขาอย่างดี เจ็บป่วยก็ต้องพาไปหาหมอ ดูแลกันไปจนกว่าจะหมดอายุขัย หากแมวเราหมดชุดนี้คงไม่หามาเลี้ยงใหม่แล้ว เพราะอายุเราก็มากขึ้นทุกวัน ถ้าเอามาเลี้ยงใหม่ไม่รู้ว่าใครจะตายก่อนกัน ถ้าเรากับสามีตายก่อนแมวคงเป็นกังวลน่าดูเพราะกลัวไม่มีคนเลี้ยงต่อ นี้แหละหนาเขาเรียกว่าภาระ หน้าที่ ฮ่าๆๆ

ตรวจเลี้ยงสัตว์เลี้ยงบอกอะไรได้บ้าง

1.การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด
173 การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC) หากปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อาจบอกได้ว่าน้องหมาน้องแมวมีภาวะโลหิตจางได้ โดยค่าปกติของปริมาณเม็ดเลือดแดงในสุนัขคือ 5.5-8.8 ล้านล้านเซลล์ต่อลิตร, ในแมวคือ 5-10 ล้านล้านเซลล์ต่อลิตร
การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดขาว (WBC) หากพบว่าน้องหมาน้องแมวมีค่าเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ เป็นไปได้ว่ามีการอักเสบหรือติดเชื้อในร่างกาย ส่วนถ้าเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ อาจเกิดจากโรคหรือการได้รับยาที่มีผลต่อการกดการทำงานของไขกระดูก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดขาว โดยค่าปกติของปริมาณเม็ดเลือดขาวในสุนัขคือ 6-17 พันล้านเซลล์ต่อลิตร, ในแมวคือ 5.5-1. พันล้านเซลล์ต่อลิตร

173 การตรวจวัดจำนวนเกล็ดเลือด (Platelet) หากน้องหมาน้องแมวมีค่าเกล็ดเลือดที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดบาดแผลอาจทำให้เลือดหยุดยาก โดยค่าปกติของปริมาณเกล็ดเลือดในสุนัขคือ 165-500 พันล้านเซลล์ต่อลิตร, ในแมวคือ 300-800 พันล้านเซลล์ต่อลิตร

หากน้องหมา น้องแมวมีเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ อาจทำให้เกิดภาวะเลือดหยุดไหลยากเมื่อเกิดบาดแผล เนื่องจากเกล็ดเลือดมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ส่วนโรคที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำที่พบกันบ่อย เช่น โรคพยาธิเม็ดเลือด

2. การตรวจทางเคมีในเลือด
▶ โปรตีนในเลือด (Total protein) เป็นการตรวจค่าโปรตีน (Albumin และ Globulin) ในกระแสเลือดที่สามารถบ่งชี้ความผิดปกติในการทำงานของตับ และไตได้ ค่าโปรตีนในเลือดที่สูงเกินกว่าปกกติอาจบ่งบอกได้ว่าน้องหมาน้องแมวมีภาวะขาดน้ำ (Dehydration) แต่ถ้าน้อยกว่าปกติอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร เป็นต้น
โดยค่าปกติของโปรตีนในเลือดของสุนัข 🐶 คือ 5.4-8.2 กรัมต่อเดซิลิตร, ในแมวคือ 5.4-8.2 กรัมต่อเดซิลิตร
▶ AST & ALT เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเซลล์ตับ ใช้ประเมินเป็นค่าที่บ่งบอกการทำงานของตับ หากน้องหมาน้องแมวมีค่าเหล่านี้เกินมาตรฐาน บ่งบอกว่าเซลล์ตับของพวกเขามีความเสียหาย หรืออาจจะเกิดจากการได้รับสารพิษอะไรบางอย่าง โดยค่าปกติของ AST ในสุนัขคือ 14-45 กรัมต่อเดซิลิตร, ในแมวคือ 12-43 กรัมต่อเดซิลิตร, ค่าปกติของ ALT
ในสุนัข 🐶 คือ 10-118 กรัมต่อเดซิลิตร, ในแมว 🐱 คือ 20-100 กรัมต่อเดซิลิตร

▶ Blood Urea Nitrogen (BUN) เป็นค่าของเสียในร่างกายที่เกิดจากการเผาผลาญของโปรตีน ใช้ตรวจวัดการทำงานของไต หากค่านี้สูงกว่าเกณฑ์อาจเป็นไปได้ว่าน้องหมา น้องแมว กินอาหารที่มีโปรตีนสูง หรือ มีความผิดปกติที่ไต โดยค่าปกติของ BUN
ในสุนัข 🐶 คือ 7-25 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร, ในแมว 🐱 คือ 10-30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

▶ Creatinine เป็นค่าที่บ่งบอกถึงการทำงานของไต หากมีค่าสูงเกินมาตรฐาน บ่งบอกถึงการทำงานของไตที่ผิดปกติ โดยจะใช้ประเมิณร่วมกับค่า BUN โดยค่าปกติของ Creatinine
ในสุนัข 🐶 คือ 0.3-1.4 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร, ในแมว 🐱 คือ 0.3-2.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

▶ Blood Glucose หรือค่าน้ำตาลในเลือด เช่นเดียวกับในคนที่ใช้ค่าน้ำตาลในเลือดประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ แต่ทั้งนี้ต้องประเมินร่วมกับการตรวจค่าน้ำตาลในปัสสาวะร่วมด้วย โดยค่าปกติของ Blood Glucose
ในสุนัข 🐶 คือ 60-110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร, ในแมว 🐱 คือ 70-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

*** ขอบคุณข้อมูลจากเพจเฟสบุ๊ค : คลินิกพุทธบูชาสัตวแพทย์ ซอยพุทธบูชา 24-26 ***



Create Date : 16 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2566 13:47:32 น.
Counter : 608 Pageviews.

4 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณปัญญา Dh, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณRain_sk, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณSweet_pills, คุณหอมกร, คุณเริงฤดีนะ

  
เข้าใจหัวอกทาสแมวเลยค่ะ
เจ้าสัวอายุ 11 ปีแล้ว นับว่าอายุยืนยาวมากนะคะ

ขนาดแมวเรา อายุ 4 ปีกว่า หมอให้คุมอาหารตั้งแต่อายุ 3 ปี
คือให้ดูค่าโปรตีนของอาหารเม็ด ให้มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนน้อย ๆ
เพื่อไม่ให้ไตทำงานหนัก

-------------------------

ชาลี ไม่กินกุ้ง ไม่ใช่เบื่อนะคะ
คือไม่กินเฉย ๆ เลย คงมีรสอะไรที่ไม่ถูกใจ
แต่ถ้าอยู่ในชามคนอื่น นางก็กินได้นะคะ 555

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 16 พฤศจิกายน 2566 เวลา:14:12:36 น.
  
เมื่อน้องที่เราเลี้ยงไว้นานนม
จะต้องเจ็บป่วย
มันเป็นเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ
เป็นกังวล
แวะมาส่งกำลังใจค่ะ

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา:7:14:48 น.
  
โอ๊ยเลี้ยงสัตว์แล้วเปลืองค่าหมออีกต่างหากจ้า

โดย: หอมกร วันที่: 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา:7:15:08 น.
  
ตอนนี้
น้องหายป่วยหรือยังคะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา:21:09:45 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Emmy Journey พากิน พาเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



จับกล้องท่องเที่ยวไปกับการเดินทางของฉัน ด้วยการถ่ายภาพที่ใช้อารมณ์ และหัวใจ มากกว่าเทคนิคและกฏเกณฑ์ /Step by step with my journey.

Page : Emmy Journey พากิน พาเที่ยว
https://www.facebook.com/EmmyJourney

Blog : https://emilia0412.bloggang.com

** ขอสงวนสิทธิ์ ***
ข้อมูลทั้งหมด อันรวมถึงข้อความและรูปภาพที่ปรากฏอยู่บน https://emilia0412.bloggang.com ห้ามมิให้ผู้ใดเผยแพร่ ลอกเลียน ทำซ้ำ หรือแก้ไข ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับการยินยอมจากเจ้าของบล๊อก