Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Cottage Industry : ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่จากมูลค่าคนของชาติ

ทุกวันนี้แต่ละประเทศพยายามมองหายุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป้าหมายคือผลักดันให้ประเทศของตัวเองก้าวสู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน

เมื่อหันมามองประเทศไทย แม้ทิศทางการพัฒนาประเทศจะเริ่มชัดเจนขึ้น แต่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ เราก็ยังได้ยินน้อยมากที่จะพูดให้ชัดว่าประเทศคู่แข่งของเราคือใคร และเขาเตรียมตัวอย่างไร

เรารู้แต่ว่าเราอยากจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น เราจะเป็นศูนย์กลางรถยนต์ของเอเชีย เราจะเป็นครัวของโลก เป็นกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น

เรารู้แต่ว่าเราอยากให้ประเทศเป็น “ฮับ” (Hub) เพราะประเทศเราเล็กนิดเดียวในตลาดโลก เราจึงต้องเสนอตัวมาเป็น “ฮับ” ของเอเชีย เป็นฮับของโลก

และเรารู้ว่า ถ้าเป็นเราคนเดียวก็เป็นแค่ “ไอ้ตัวเล็ก” ที่จะออกไปตลาดโลกคงทำลำบาก จึงคิดจะใช้ ASIAN +3++ คือ การรวมกับคนอื่นๆ ให้เกิดพลัง แต่เอาเข้าจริงเพื่อนบ้านเรากลายเป็นโจรปล้นเราก็มี เผาบ้านเราก็มี ฉะนั้น ASIAN จริงๆ แล้วไม่แน่ใจว่ายังผูกกันดีอยู่หรือไม่ (ปัจจุบัน ในทางยุทธศาสตร์ แยกสิงค์โปร์ ออกไปอยู่ กลุ่ม NIEs)

ในมุมมองของผม ถึงเวลาที่เราต้องตั้งคำถามว่า ความรู้ในทางยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แนวคิดของพอร์เตอร์ (Porter) แนวคิดของ BCG หรือการทำ SWOT Analysis เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งในมุมมองของผู้เขียน องค์ประกอบของยุทธศาสตร์ยังต้องการส่วนเติมเต็มอีกมาก
!!ความคิดที่ยิ่งใหญ่สำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์

ผู้กำหนดยุทธศาสตร์ต้องบอกให้ธุรกิจและคนทั้งประเทศรู้ว่า ในสภาพความเป็นจริงแล้ว ใครคือประเทศคู่แข่งที่อยู่ในแผนที่ยุทธศาสตร์ชาติ ส่วนจะใช้กลยุทธ์เป็น “ฮับ” เป็น “พันธมิตร”โดยการจับมือเซ็น FTA เป็นคู่ๆ ไปก็ทำไป

และภายใต้ประเทศคู่แข่ง มีคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมอะไรที่เขาดีกว่าเราและเราดีกว่าเขา พื้นฐานทางโครงสร้างด้านสมรรถภาพของอุตสาหกรรมและการพัฒนาสู้เขาได้ไหม

น่าชื่นชมที่ภาครัฐเราได้พยายามปลุกปั้นให้ “OTOP” ให้มีโอกาสเกิดขึ้น ตามที่ได้เรียนรู้จากญี่ปุ่นและมีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะให้ “โอท็อปโกอินเตอร์”

แต่เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ไต้หวัน จีน และฮ่องกง มีเถ้าแก่หรือผู้ประกอบการจำนวนมากเพราะมี “Cottage Industry” หรือ “อุตสาหกรรมในกระท่อม”

คำว่า “Cottage Industry” หรืออุตสาหกรรมในกระท่อม ใช้บรรยายถึงสถานการณ์ที่สร้างให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้บ้านเป็นหลักมากกว่าที่จะใช้โรงงาน

ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างของธุรกิจขนาดเล็กในไต้หวัน จีน และฮ่องกง จึงล้วนดำเนินกิจกรรมจากบ้าน ที่ซึ่งมีคุณค่ายิ่งในการก้าวสู่การเป็นเถ้าแก่ใหม่

การทำอุตสาหกรรมในบ้าน ช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อหัวจนกระทั่งธุรกิจมีขนาดที่เหมาะสม นอกจากนั้นการทำธุรกิจในบ้านจะทำให้ เด็กๆ หรือลูกหลานของเถ้าแก่หรือผู้ประกอบการ ได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจไปด้วย

ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ทั้งสองอย่างข้างต้นเป็นปรัชญาสำคัญของ OTOP ไทยหรือไม่ เพราะเราเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยการจัดอบรมทำแผนธุรกิจ (Business Plan) เพื่อขอกู้เงินมาลงทุนโดยมีสารพัดสถาบันการเงินช่วยธุรกิจขนาดเล็กๆ ให้มีโอกาสได้ลงทุน ซึ่งอาจจะถูก เพราะธุรกิจต้องมีทุน

ขณะที่สิงคโปร์เพื่อนบ้านและคู่แข่งสำคัญที่เราจะมีโอกาสตามทัน (ได้หรือไม่ยังไม่มีทางรู้) ต่างเปิดโครงการคล้ายๆ ปั้นเถ้าแก่ SMEs ของไทย แต่ของสิงคโปร์กลับปั้นเถ้าแก่แบบใหม่ที่เรียกว่า "เถ้าแก่เทคโน" และเน้นว่าต้องเป็น โฮมออฟฟิศ โครงการนี้เรียกว่า "Technopreneur Home Office"

ดังนั้น หากกลับมาพิจารณาที่ประเทศไทย ธุรกิจ OTOP ที่จะผลักดันสู่ธุรกิจ SMEs โดยแนวคิดของการเป็น SMART Enterprises หรือ ‘SMART-Es” น่าจะส่งเสริม แต่ต้อง "คิดต่อ" ครับ

เช่น เมื่อมีธุรกิจเกิดใหม่ (ไม่ใช่ไปจับธุรกิจที่เขาดำเนินกิจการได้มานับสิบปีแล้วบอกว่า นี่แหละเป็นธุรกิจ OTOP ที่ปั้นขึ้นมา) ที่จัดตั้งขึ้นโดยการช่วยเหลือทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะทาง ควรให้ธุรกิจเหล่านี้ “แตกออก” (Spin-Offs) ไปจากการดูแลหรือเพาะบ่มจากภาครัฐบาลหรือออกจากโครงการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

ต้องยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่ดีในการสร้างผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นจากการฟูมฟักหรือเพาะบ่มของภาครัฐและมหาวิทยาลัยต่างๆ และนับเป็นความโชคดีของผู้ประกอบการธุรกิจทั้ง OTOP และ SMEs ที่มีโอกาสมากกว่ายุคอื่นๆ

แต่ถ้าประเทศต้องการสร้าง “ชาติแห่งผู้ประกอบการ” (A Nation of Entrepreneurs) การเติบโตของผู้ประกอบการจำเป็นต้องเป็นวิถีแห่ง "ความมีชีวิต" มากกว่า "ความเป็นโรงงาน"

การเติบโตของเถ้าแก่ด้วยวิถีของ "ความมีชีวิต" จะมีศักยภาพในการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการได้มากขึ้น และเป็นการสร้างประเทศแห่งผู้ประกอบการที่แท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงผู้ประกอบการโรงงานที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น

ถ้าจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้ประกอบการอยู่ที่ "บ้าน" การสร้างวัฒนธรรมเถ้าแก่ จะต้องเปิดโอกาสให้ใช้บ้านจดทะเบียนเป็นสถานประกอบธุรกิจโดยมีมูลค่าที่เสียต่ำสุดหรือรัฐไม่ควรเก็บอะไรเลย

และรัฐควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับผู้ที่จะเป็นนักธุรกิจจากบ้านที่เปิดกว้างมากที่สุด

ผู้เขียนอยากฝากให้แนวคิดของ Cottage Industry ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มากกว่ากิจกรรมการขายของตลาดนัดของ OTOP ที่มีขึ้นทุกๆ ปี

ส่วนในกรณีของธุรกิจขนาดใหญ่จำเป็นต้องคิดมากกว่านั้นครับ ผู้เขียนเห็นว่า “การคิดและทำในระดับโลก” (Think Globally, Act locally) มีความจำเป็นและสำคัญยิ่ง เพราะธุรกิจที่ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่จะเข้าไปแข่งกับยักษ์ใหญ่ของประเทศคงลำบากทั้งด้านเงินทุน เทคโนโลยี และความได้เปรียบที่รัฐเอื้ออำนวยให้

ดังนั้นคงต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆ ที่จะใช้ขับเคลื่อนองค์กร ผู้เขียนได้จำลองภาพการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ขั้นใหม่มาให้ผู้บริหารธุรกิจได้เกิดแนวคิดและถ้ามีโอกาสจะกลับมาขยายความให้อีกครั้งครับ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants


Create Date : 19 เมษายน 2552
Last Update : 19 เมษายน 2552 13:19:54 น. 0 comments
Counter : 2268 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.