simple and minimalist
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2554
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
16 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
# Discretionary และ Mechanical - สองขั้วของการเป็นเทรดเดอร์

ในวันนี้ผมจะมาแบ่งแยกประเภทของเทรดเดอร์ออกเป็นสองแบบด้วยกัน


ไม่ใช่แบ่งเป็น Fundamental (สายพื้นฐาน) และ Technical (สายเทคนิค) แบบที่คนไทยรู้จักกันมานาน


แต่เป็นแบบ Discretionary และ Mechanical 



Discretionary trader คือผู้ที่ใช้ข้อมูลบางประเภทหรือทุกประเภทที่มีผลต่อการเทรด อาทิ ข้อมูลพื้นฐานบริษัท, การวิเคราะห์ทางเทคนิค (รวมถึงการดู divergence/convergence, การวางแนวรับแนวต้าน, การลากเส้น trend line, การใช้ fibonacci, รูปแบบแท่งเทียน, chart pattern, ฯลฯ), ข่าว, และอื่นๆ แล้วนำมาเทรดด้วยความเข้าใจของตัวเอง


Mechanical trader คือผู้ที่ทำตามระบบแบบแผนทางคณิตศาสตร์และสถิติที่ได้วางเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยไม่มีการนำเอาการตัดสินใจส่วนตัวมาเปลี่ยนแปลงการเทรดได้เลย การตัดสินใจจะทำตาม indicator หรือ signal ซื้อขาย ที่โปรแกรมได้ประมวลผลออกมาเท่านั้น


-------------------- 


ผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในท้องตลาดส่วนใหญ่มักเป็น Discretionary trader ซึ่งเขาเหล่านี้สามารถที่จะทำกำไรเหนือกว่า Mechanical trader ทุกประเภทได้ ข้อได้เปรียบของการเป็น Discretionary trader คือเขาเหล่านั้นสามารถปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์และรูปแบบการเทรดได้โดยใช้การตัดสินใจส่วนบุคคล สามารถนำเอาประสบการณ์ที่มีมา มาประยุกต์ข้อมูลต่างๆที่ได้รับ แล้วเทรดได้โดยมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตามแต่ต้องการ อีกทั้งยังสามารถนำเอาข้อมูลอย่างอื่นนอกจากราคา (อาทิ งบการเงินบริษัท, ข่าว) มาปรับปรุงความเสี่ยงได้โดยฉับพลัน


ถึงกระนั้นแล้ว สำหรับเทรดเดอร์ทั่วๆไป การทำตามหลักการของ Mechanical trader จะเป็นการสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า และเมื่อคุณมีประสบการณ์มากพอ การจะเป็น Discretionary trader ก็จะทำกำไรได้เหนือกว่า Mechanical trader แน่นอน


-------------------- 


สำหรับ Mechanical trader แล้ว ปัจจัยหลักอยู่ที่การเลือก time frame (อาทิ 60min, daily, weekly) การระบุช่วงของเทรนด์ และการคาดคะเนเทรนด์สำหรับอนาคต ระบบของผู้ที่เลือกเส้นทางสายนี้ จะต้องมีการระบุที่แน่นอน และครอบคลุมทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเทรด (ได้แก่ time frame, การเข้า-ออก position, ระดับราคาที่จะ cut loss-take profit, หุ้นหรือสัญญาอนุพันธ์ที่จะเทรด, รวมไปถึงการใช้ money management)  เทรดเดอร์แบบ Mechanical จะต้องสามารถทำตามระบบได้โดยไม่มีการเคลือบแคลงใจในระบบที่ตัวเองผลิตมา


ข้อดีของการเป็น Mechanical trader นั้น คือการไม่ใช้อารมณ์ในการทำกำไร/ตัดขาดทุน มีกฏที่แน่นอน ตายตัว ไม่มีการนำเอาข้อมูลอื่นๆที่นอกเหนือจากระบบของตนมาใช้ในการตัดสินใจ เช่น หากคุณเทรดโดยใช้ระบบ Moving average crossover 10/50 ก็จะต้องไม่นำเอาปัจจัยพื้นฐานหรือข่าวสารเข้ามาทำให้คุณไขว้เขวเด็ดขาด กล่าวง่ายๆก็คือถึงแม้ในยามที่ทุกคนพูดถึงวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ระบบสั่งให้คุณ buy คุณก็จะต้อง buy โดยไม่มีการลังเล


ข้อดีอีกประการของการเป็น Mechanical trader คือคุณสามารถเทรดหลายๆสัญญา ในหลายๆตลาดได้พร้อมๆกัน โดยไม่ต้อง 'เฝ้าจอ' คุณสามารถเทรด Set50 Index Futures ไปพร้อมๆกับเทรด Natural Gas + EUR/USD + Cotton, Gold, E-Mini S&P ได้ การทำเช่นนี้ก็จะเป็นการ diversify พอร์ตการเทรดของคุณได้ดีกว่าการเฝ้าจอดูแต่กราฟ Set50 Index Futures เพียงอย่างเดียว


การทดสอบระบบย้อนหลัง หรือที่เรียกกันว่า backtest ก็เป็นสิ่งที่ Mechanical trader ได้เปรียบอยู่มาก เนื่องด้วยการมีกฏตายตัว ทำให้วิเคราะห์ออกมาได้ว่า หากใช้แผนการนี้กับข้อมูลในอดีต จะทำให้ได้ผลตอบแทนเท่าไร การคาดการณ์ผลตอบแทนระดับเดียวกันในอนาคตก็จะทำได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน ส่วนการวิเคราะห์ลึกไปถึงระดับ portfolio ก็สามารถทำได้ด้วยผลของการ backtest ในขณะที่ Discretionary trader จะไม่สามารถคาดการณ์ผลตอบแทนอะไรได้เลย เนื่องจากขึ้นอยู่กับการตัดสินใจสดๆของผู้เทรด

-------------------- 


ตอนนี้ คุณก็พอจะรู้ความแตกต่างของสองแนวทางการเป็นเทรดเดอร์คร่าวๆแล้วนะครับ


การจะเลือกแนวทางไหนนั้น ก็แล้วแต่ตัวคุณพิจารณา ไม่มีวิธีไหนถูก วิธีไหนผิด ทั้งนั้นครับ


อนึ่ง คุณจะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคแบบดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักกันดี และ การเป็นนักลงทุน VI นั้น ต่างก็จัดอยู่ในประเภทของ Discretionary trader กันทั้งคู่


ถึงกระนั้น blog ที่ผมจะเขียนไปเรื่อยๆนั้นจะเน้นที่การเป็น Mechanical trader ที่โดยทั่วไปไม่ค่อยมีใครในประเทศไทยพูดถึงในที่สาธารณะมากนักครับ 


Smiley




Create Date : 16 มิถุนายน 2554
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2555 5:33:22 น. 5 comments
Counter : 1651 Pageviews.

 
ยอมรับว่าอ่านแล้ว งง ครับ ไม่เข้าใจตรงที่บอกว่า "คุณจะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคแบบดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักกันดี และ การเป็นนักลงทุน VI นั้น ต่างก็จัดอยู่ในประเภทของ Discretionary trader กันทั้งคู่" ที่งง ก็ตรงที่บอกว่า การวิเคราะห์กราฟเทคนิคจัดเป็นพวก Discretionary trader ไม่เข่้าใจที่บอกว่า การวิเคราะห์กราฟเทคนิคแบบดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักกันดี ยกตัวอย่างได้มั้ยครับว่า การวิเคราะห์กราฟเทคนิคแบบดั้งเดิมทำยังไง?


โดย: Mr.H IP: 101.109.162.48 วันที่: 16 มิถุนายน 2554 เวลา:20:22:56 น.  

 
@Mr.H : ผมเพิ่งสังเกตว่าได้อธิบายเกี่ยวกับ Discretionary trader น้อยมากๆ จึงขอเพิ่มเติม ณ ตรงนี้นะครับ

การวิเคราะห์กราฟเทคนิคแบบดั้งเดิมจัดเป็น Discretionary trader หมายความว่าการวิเคราะห์เพียงแค่ใช้ตาดู แล้วตัดสินใจเอานั้น ไม่ถือว่าเป็นการเทรดอย่างเป็นระบบ (mechanical) ครับ เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่สามารถนำผลมาวิเคราะห์ตามหลักสถิติได้

แบบดั้งเดิมก็เหมือนกับที่โบรกเกอร์ทุกแห่งทำบทวิเคราะห์กันในขณะนี้ มีการหาแนวรับแนวต้าน รวมทั้งการลากเส้นลงบนกราฟ และการดู convergence/divergence นั้น ยังต้องใช้การคิดของตัวเทรดเดอร์เองในขณะเทรดแบบสดๆ ที่เรียกว่า "เฝ้าจอ" อยู่ครับ

อาทิ เทรดเดอร์ 2 คน ต่างก็ดูกราฟ PTT แต่ทว่าแต่ละคนต่างก็มีการลากเส้นแนวรับแนวต้านต่างกัน ราคาที่จะซื้อขายก็ต่างกันด้วย ส่วน Divergence/Convergence นั้น แต่ละคนก็มีวิธีดูที่ไม่เหมือนกัน เช่น เทรดเดอร์สองคนจะสรุปเอาว่าเป็น divergence ก็ต่อเมื่อกราฟเริ่มหักหัวลง ซึ่งตาของแต่ละคนก็จะมองจุดหักหัวลงคนละที่ บางคนจะมองว่าหักหัวลงไปมากแล้วค่อยขาย อีกคนจะมองว่าเพิ่งเริ่มหักหัวลงก็จะขายทันที ในเรื่องของ chart pattern เช่นพวก double top, double bottom นั้น ยากที่จะสามารถหาจุดที่แท้จริงได้ใน realtime เพราะไม่มีใครรู้ว่าจุดที่ต่ำที่สุด/สูงที่สุดจะอยู่ที่ใด และจะมีต่ำ/สูงกว่านี้หรือไม่ แต่พอย้อนกลับมาดูกราฟในอดีต จะเห็นได้ชัดเจนว่า top/bottom อยู่ตรงไหน

ในขณะที่การเทรดเป็นระบบแบบ Mechanical นั้น หากเทรดเดอร์ 2 คน ใช้อินดิเคเตอร์ตัวเดียวกัน จะมีจุดซื้อขายที่เหมือนกัน 100% ไม่มีการแหกสัญญาณระบบ อาทิ หากเทรดเดอร์สองคนใช้ ระบบ 20-day channel breakout (ซึ่งจะซื้อเมื่อราคาปัจจุบันสูงกว่าราคาสูงที่สุดในรอบ 20 แท่งเทียน, และขายเมื่อราคาปัจจุบันต่ำกว่าราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 แท่งเทียน) เทรดเดอร์ทั้งสองคนจะซื้อขายที่จุดเดียวกันเสมอ แม้คนนึงจะเป็นเด็กประถม อีกคนเป็นนักคณิตศาสตร์ปริญญาเอก ก็ตาม

แบบ Mechanical นั้น ตัวเทรดเดอร์เองจะไม่เข้าไปคิดหาจุดซื้อขายตลอดเวลาการเทรดเลย แต่แค่ทำตามสัญญาณซื้อขายที่โปรแกรมส่งออกมาเท่านั้น ดังนั้น การเทรดแบบ Mechanical ตัวเทรดเดอร์จะดูเหมือนกับไม่ได้ทำงานอะไรเลยครับ และยิ่งถ้าเป็นโปรแกรมต่างประเทศที่ตั้ง automate ได้นั้น ตัวเทรดเดอร์ก็แค่เปิดคอมฯอยู่กับบ้านค้างไว้ ปล่อยโปรแกรมทำงานซื้อขายเองได้ครับ


โดย: Dark Holy วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:0:38:28 น.  

 
มีคนเขียนเรื่อง Mechanical trading System บ้างแล้ว ดีครับช่วยกันเผยแพร่ เชื่อว่าช่วงแรกๆคงจะยังไม่ค่อยมีคนสนใจหรือเข้าใจกันเท่าไหร่ ต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งปูพื้นไปเรื่อยๆก่อนครับ :)


โดย: mod IP: 115.67.77.190 วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:3:09:07 น.  

 
สวัสดีคุณ mod เข้าใจว่าเป็นคนเดียวกันกับเวบแมงเม่านะครับ และขอบคุณ คุณ Dark Holy ที่ให้ความกระจ่างเรื่องการวิเคราะห์กราฟเทคนิคแบบดั้งเดิม เลยทำให้ผมจัดกลุ่มตัวเองได้ถูกต้องว่าเป็นพวกกลุ่มไหนระหว่างพวก Discretionary trader หรือพวก Mechanical โดยปกติผมจะมีระบบเทรดที่แน่นอน แต่จะใช้ price pattern มาเป็นตัวกำหนดขนาดการซื้อขายในแต่ละรอบ คือใช้ price pattern ที่ back test ย้อนหลังมาแล้วเป็นตัวทำ money management อีกที เพราะฉนั้นผมคงเข้าข่ายพวก Discretionary trader มากกว่า


โดย: Mr.H IP: 58.181.157.122 วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:12:37:13 น.  

 
@mod : สวัสดีครับคุณ mod แห่ง mangmaoclub ผมได้ศึกษาจากคุณ mod มาระยะนึงด้วยครับ และทำให้ผมสนใจในเรื่อง mechanical trading system อย่างจริงจัง ก็จะขอติดตามบทความของคุณ mod ต่อไปนะครับ

@Mr.H : หลายๆคนก็นำเอาทั้งสองหลักการมาประยุกต์กันครับ
แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล


โดย: Dark Holy วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:13:05:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dark Holy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




"A complex system with many rules merely captures nuances within the test data, but these patterns may never repeat. Hence, relatively simple systems are likely to perform better in the future."
Friends' blogs
[Add Dark Holy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.