Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 

มารู้จักทองคำ (Gold)

ทองคำ (Gold)
คือ ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ นอกจากนี้ทองคำยังใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

คุณสมบัติของทองคำ
ทองคำมีความแวววาวอยู่เสมอ และไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ดังนั้นเมื่อสัมผัสถูกอากาศ สีของทองจะไม่หมอง ไม่เกิดสนิม และมีความอ่อนตัว นอกจากนี้ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด เพราะทองเพียงแค่ประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต และทองคำยังเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีอีกด้วย

คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้ทองคำเป็นที่ หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานับพันปี โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่ สำคัญและได้รับความนิยมอย่างสูงสุดสำหรับวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐานหลายประการซึ่งทำให้ทองคำ โดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ

• งด งามมันวาว (Luster) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาว ก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3000 ปีก็ตาม

• หายาก (Scarce) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต

• นำกลับมาหลอม ใหม่ได้ (Reusable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่อง ประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่มสามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยจุดหลอมเหลว 1064 และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส

• ไม่ทำปฏิกิริยา ทางเคมี (Chemically Inert) ทองคำบริสุทธิ์ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมี ได้ง่าย จึงทนต่อการผุกร่อนและไม่เกิดสนิมกับอากาศ (Oxidize) แต่มีปฏิกิริยากับคลอรีน ฟลูออรีน น้ำประสานทอง

• มีค่าความ เหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือ ทองคำบริสุทธิ์จะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร




มนุษย์รู้จักทองคำนับตั้งแต่ประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว เริ่มตั้งแต่สมัยอิยิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย นอกจากนี้คัมภีร์ไบเบิลฉบับเก่าแก่ได้กล่าวถึงทองคำไว้ว่าคนในอดีตมีความ เชื่อว่าทองมีคุณสมบัติในการรักษาโรคเมื่อสวมใส่เป็นเครื่องนุ่งห่มหรือแม้ กระทั่งเมื่อบริโภคทองคำเข้าไปอีกด้วย ช่วงปีค.ศ.ที่1492-1600 ในยุคที่คริสโตเฟอร์โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่ (New World) พบว่าทองคำจำนวนมากกว่า 8,000,000 ออนซ์หรือคิดเป็น 35%

ของปริมาณทองทั้งหมดของโลกถูกผลิตจากแถบอเมริกาใต้ ในศตวรรษที่ 17และ18 เหมืองทองของโลกใหม่ (New World) โดยเฉพาะเหมืองที่อยู่ในโคลัมเบียสามารถผลิตทองคำได้ คิดเป็นมูลค่า 61% และ 80% ของปริมาณทองทั้งหมดของโลกตามลำดับ และในศตวรรษที่ 18 ทองคำจำนวน 48,000,000 ออนซ์ถูกผลิตมาจากเหมืองดังกล่าว

ในปี 1823 รัสเซียกลายเป็นผู้นำการผลิตทองคำ และคงความเป็นใหญ่ในการผลิตต่อไปอีก 14 ปี โดยทองคำที่ถูกผลิตในปี1850-1875 มีปริมาณมากกว่าปริมาณทองคำทั้งหมดที่ผลิตในโลกตั้งแต่ปี 1492 ซึ่งมีเหตุผลหลักมาจากการค้นพบ แคลิฟอเนียและออสเตรเลีย ตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 ปริมาณการผลิตทองคำของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอลาสก้า ดินแดนแถบแม่น้ำยูคอน และแอฟริกาใต้ มีความสามารถในการผลิตทองคำมากยิ่งขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนากระบวนการผลิตทองคำในแอฟริกาใต้

ปลายศตวรรษที่ 20 แอฟริกาใต้ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เป็นผู้ผลิตทองคำคิดเป็น 2 ใน 3 ของปริมาณทองคำทั้งหมดของโลก โดยเฉพาะแอฟริกาใต้นั้นมีกำลังการผลิตมากที่สุดซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณทองคำทั้งหมดของโลก

ณ ปัจจุบัน (ปี 2007) แอฟริกาได้ใต้สูญเสียตำแหน่งผู้ผลิตทองรายใหญ่ที่สุดของโลกให้กับประเทศจีน โดยประเทศจีนมีกำลังการผลิต 276 ตัน จากผลผลิตทองคำทั้งหมด 2,444 ตันทั่วโลก คิดเป็น 11.3% จากผลผลิตของทองคำทั่วโลก ในขณะที่แอฟริกาใต้มีผลผลิตรวม 272 ตัน คิดเป็น 11.1% จากผลผลิตของทองคำทั่วโลก อันดับสามได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยมีผลผลิตทองคำโดยประมาณเท่ากับ 255 ตัน คิดเป็น 10.4% จากผลผลิตของทองคำทั่วโลก และยังมีประเทศอื่นๆที่มีการผลิตทองคำในปริมาณรองลงมา ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนิเซีย เปรู รัสเซีย และแคนาดา ตามลำดับ



กรัม: ใช้กันเป็นส่วน ใหญ่ ถือว่าเป็นหน่วยสากล
ทรอย เอานซ์: ใช้ในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
โทลา: ใช้กันทางประเทศ แถบตะวันออกกลาง อินเดีย ปากีสถาน
ตำลึง: ใช้ในประเทศที่ใช้ ภาษาจีน เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง
บาท: ใช้ในประเทศไทย
ชิ: ใช้ในประเทศ เวียดนาม



ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานในประเทศไทย)
• ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
• ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม

ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%
• ทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 (ทรอย) ออนซ์
• ทองคำ 1 (ทรอย) ออนซ์ เท่ากับ 31.1040 กรัม

หมายเหตุ: ทรอยออนซ์ เป็นหน่วยชั่งของโลหะมีค่า
• 1 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1.097 ออนซ์ (ปกติ)
• 12 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1 ทรอยปอน
• 1 ทรอยปอน เท่ากับ 373 กรัม



การตั้งราคาทองในประเทศไทยอ้างอิงจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ Gold Spot และ USD-THB

Gold spot
คือ ราคาทองต่างประเทศ มีการซื้อขายทองโดยใช้เงินสกุลดอลล่าร์

USD-THB
คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์

การตั้งราคาทอง ในประเทศไทย มีสูตรคำนวณดังนี้
สูตรคำนวณราคาทองคำ = (spot gold + 1) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x 0.4729
• ทองคำ 96.5% กับ 99.99% จะแตกต่างกันที่เปอร์เซ็นต์ค่าความบริสุทธิ์ของทอง ถือว่าเป็นทองที่ได้มาตรฐานทั้งสองประเภทขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล โดยทองคำ 99.99% เป็นที่นิยมทั่วโลกและเป็นสากล ส่วนทองคำ 96.5% เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากกว่า

• ราคา Spot Rate ที่มีการซื้อขายในต่างประเทศจะเป็นราคาทองคำ 99.99% ซึ่งหากจะใช้เปรียบเทียบราคาทองคำที่มีความบริสุทธิ์น้อยกว่าที่ 96.5% สามารถคูณราคาตามสัดส่วนความบริสุทธิ์ที่น้อยลง อย่างไรก็ตามราคาดังกล่าวจะเป็นราคาที่ใช้เพื่ออ้างอิงเท่านั้น ราคาการซื้อขายจริงอาจต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ ที่เกิดขึ้น

• ราคาทองคำแท่ง 96.5% ในประเทศไทย ร้านค้าทองคำทั่วไปที่เชื่อถือได้จะใช้ราคาจากสมาคมค้าทอง ซึ่งจะมีส่วนต่างของราคารับซื้อกับราคาขายออกต่างกันอยู่ 100 บาท ซึ่งเป็นส่วนต่างของราคาที่นักลงทุนต้องคำนึงในการทำการซื้อขาย ดังนั้นจึงควรหาบริษัทที่รับซื้อขายทองคำเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ ที่มีการบริหารการซื้อขายทองคำที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นมืออาชีพ เพื่อจะได้รับทองคำที่ได้มาตรฐานและไม่ถูกหักเปอร์เซ็นต์ส่วนเพิ่มจากราคา ที่สมาคมประกาศ เพื่อนักลงทุนจะได้ไม่สูญเสียโอกาสที่จะได้รับกำไรจากการลงทุนอย่างเต็มเม็ด เต็มหน่วย




 

Create Date : 13 มีนาคม 2553
2 comments
Last Update : 13 มีนาคม 2553 19:25:25 น.
Counter : 569 Pageviews.

 

เรื่อง: เรื่องต้องรู้ ก่อนเข้าสมรภูมิทองคำ
ที่ มา : กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์
เรื่อง : สรวิศ อิ่มบำรุง

“ทองคำ” ได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในการลงทุนทางเลือก ที่นักลงทุนทั่วโลกให้การยอมรับ รวมทั้งนักลงทุนไทยในปัจจุบัน

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : แต่การจะลงทุนในทองคำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ก็อาจจะพาให้เจ็บตัวได้เช่นเดียวกัน

ในสภาวะที่ทองคำ ได้กลับมาอยู่ในโฟกัสของถนนสายการลงทุนอีกรอบ อย่างน้อยถ้าเล็งเป้าเข้าไปลงทุนในทองคำ มีเรื่องอะไรบ้างที่นักลงทุนควรรู้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับการลงทุนของตัวเอง

การลงทุนในทองคำมีเรื่องอะไรที่นักลงทุนควรจะรู้บ้าง เราลองมาฟังคำแนะนำจากผู้รู้ที่เชี่ยวชาญกับการลงทุนในทองคำแนะนำกัน


รู้จักรูปแบบและต้นทุนการลงทุน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ "ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์" ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุนตราสารหนี้ บลจ.กสิกรไทย แนะนำว่า นักลงทุนควรจะต้องรู้จักรูปแบบการลงทุนในทองคำว่ามีอะไรบ้าง ทองคำแท่ง 99.99% ทองคำแท่ง 96.5% ทองรูปพรรณ กองทุนรวม หรือตั๋วสัญญา ซึ่งการลงทุนแต่ละรูปแบบจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากจะมองในแง่ของการลงทุนแล้วทองรูปพรรณอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมนัก เพราะมีต้นทุนค่ากำเน็จ ทำให้แพงกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่น

ในขณะที่การลงทุนในทองคำแท่ง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมน่าจะเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับการลงทุนมากกว่า

“ในแง่ของต้นทุนการลงทุนในทองคำกองทุนรวมถือว่าค่อนข้างถูกกว่าการลงทุนใน รูปแบบอื่นๆ แม้ทองคำแท่งจะมีส่วนต่างของการซื้อเข้าขายออกประมาณ 100 บาท ก็ตาม แต่ถ้าไม่ใช่ทองคำแท่งขนาดมาตรฐานในบางครั้งก็จะมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม เข้าไปอีกต่างหาก ตรงนี้ผู้ลงทุนก็ต้องพิจารณาประกอบการลงทุนด้วยในเรื่องของต้นทุน”


รู้จักปัจจัยที่กระทบราคาทองคำ

นอกจากผู้ลงทุนควรจะรู้จักรูปแบบของการลงทุนในทองคำแล้ว ยังควรจะรู้จักปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทิศทางราคาทองคำด้วย

- ค่าเงินดอลลาร์ โดย “โชติกา สวนานนท์” กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทยบอกว่า ราคาทองจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะทองคำซื้อขายเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง ราคาทองคำจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อไรที่ค่าเงินดอลลาร์เพิ่มค่าขึ้น ราคาทองจะปรับตัวลดลง

ดังจะเห็นได้จากราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา (สิ้นปี 2550-11 พ.ย.2551) ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นมาประมาณ 13.36% ในขณะที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลงไปประมาณ 12.16% และในปี 2007 ที่ราคาทองคำโลกปรับตัวขึ้นมา 30.94% นั้น ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลดลงไป 8.41%

“เป็นเรื่องยากที่จะวัดว่าค่าของทองควรจะอยู่ที่เท่าไร อยู่ที่คนให้ค่า แต่เมื่อคนมองว่าค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงราคาทองจึงวิ่งขึ้นมา อยู่ที่มุมมองของคนที่มีต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐด้วย”

- ดีมานด์ซัพพลาย ดร.วิน บอกว่า ในแง่ของดีมานด์และซัพพลายในตลาดโลกจะมีอยู่ 2 มิติ คือ มิติที่ 1 เป็นความต้องการบริโภคทองคำจริงๆ ในยามที่เศรษฐกิจโลกดี คนจะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณความต้องการบริโภคทองคำมากขึ้น ในขณะที่ยามที่เศรษฐกิจไม่ดี กำลังซื้อของคนจะลดน้อยลงไป ความต้องการบริโภคทองคำก็จะลดลงไปด้วยเช่นเดียวกัน

และในมิติที่ 2 เป็นความต้องการบริโภคทองคำในแง่ของการลงทุน ซึ่งดูจะตรงข้ามกับมุมมองแรก คือ ในยามที่เศรษฐกิจแย่ คนมีแนวโน้มจะหันมาถือครองทองคำมากขึ้นในฐานะที่ทองคำมีคุณลักษณะของ สินทรัพย์ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง แต่ถ้าเศรษฐกิจดี คนก็จะถือครองทองคำลดลง

"จะเห็นว่าราคาทองคำในมิติที่ 2 นี้ จะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามกระแสเงินลงทุนที่ไหลเข้าออกในตลาดทองคำในลักษณะของ การลงทุน ต่างจากมุมมองในมิติแรกที่เป็นความต้องการใช้จริงๆ ของโลก ส่วนซัพพลายของทองในตลาดโลกค่อนข้างที่จะตึงตัว อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำไม่ควรจะต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่มีการประเมินกันว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 500-600 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ดังนั้น ราคาทองคำที่ระดับนี้จึงเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งสำหรับทองคำ”

- เงินเฟ้อ ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ดี (Inflation Hedge) ในยามที่อัตราเงินเฟ้อสูง ราคาทองคำก็จะปรับตัวสูงขึ้น และในยามที่อัตราเงินเฟ้อต่ำ ราคาทองคำก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังจะมีความต้องการถือครองทองคำมากขึ้นในช่วงที่มีภาวะสงครามเกิดขึ้น เหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำที่ผู้ลงทุน ควรจะต้องรู้


เป็นนักลงทุนสไตล์ไหน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ "ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร" ประธานชมรมคนออมเงิน แนะนำว่าผู้ลงทุนในทองคำ ควรจะค้นหาตัวเองให้เจอว่าตัวเองเป็นนักลงทุนสไตล์ไหนเป็น "นักลงทุนระยะยาว (Investor)" หรือ "นักลงทุนแบบซื้อมาขายไป (Trader)" ถ้าเป็นนักลงทุนแล้วปัจจุบันยังไม่มีทองคำในพอร์ตที่ราคาทองคำบาทละ 12,400-12,500 บาท สามารถที่จะเข้ามาซื้อเพื่อลงทุนได้เป็นลักษณะซื้อเก็บไป

ส่วนตัวเองก็ซื้อเก็บไปเรื่อยๆ ไม่ได้ขายอะไร เป็นส่วนที่คงจะส่งมอบความมั่งคั่งให้กับลูกหลานต่อไปในอนาคต แต่ถ้าเป็นนักลงทุนควรจะซื้อแล้วถือยาว 6 เดือนขึ้นไปแล้วค่อยมาดุว่าตอนนั้นราคาทองคำเป็นอย่างไรก่อนที่จะตัดสินใจ ขายก็ได้

แต่ถ้าเป็นเทรดเดอร์ซื้อมาขายไป ราคาทองคำขึ้นมาบาทละ 300-400 บาท กำไร 2-3% ก็ต้องขายทิ้งแล้วค่อยมารับกลับไปใหม่ที่ราคาต่ำกว่าเดิมในลักษณะของการเล่น รอบ ถ้าทำได้แบบนี้ทุกเดือนคุณจะมีกำไร 24-36% ดีกว่าผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ 3-4% ค่อนข้างมากทีเดียว

"ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหรือเทรดเดอร์ที่ลงทุนโดยตรงในทองคำคงจะเหมาะกับผู้ ที่มีความรู้ ชอบศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล มีเวลาที่จะติดตามภาวะตลาด สามารถที่จะดูแลการลงทุนด้วยตัวเองได้ แต่การลงทุนผ่านกองทุนรวมอาจจะเหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาที่จะติดตามการลงทุน มากนัก การซื้อขายก็ง่ายสะดวกคล่องตัวกว่าด้วย"


ใช้เงินเย็นลงยาว-ไม่ควรกู้มาลงทุน

โดย "จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี" นายกสมาคมค้าทองคำ แนะนำว่า การลงทุนในทองคำควรจะเป็นการลงทุนระยะยาวและใช้เงินเย็นลงทุน ไม่ควรจะกู้เงินมาลงทุน เพราะถึงจะมีกำไรก็ไม่คุ้มกัน แต่ถ้าเป็นเงินเย็นเมื่อนำมาลงทุนในกรณีที่ผิดพลาดขึ้นมาก็ยังมีทองคำอยู่ใน มือเก็บเอาไว้ได้ ไม่เป็นศูนย์แน่นอน

โดยถ้ามองในแง่ของการลงทุนควรจะเป็นการลงทุนใน “ทองคำแท่ง” ซึ่งสามารถลงทุนได้ทั้งทอง 99.99% และ 96.5% เพราะไม่มีความแตกต่างกันลงทุนได้ทั้งคู่ เพราะเนื้อทองคำได้สะท้อนอยู่ในราคาแล้วทำให้ราคาทองคำ 96.5% ซึ่งเป็นทองคำมาตรฐานของไทยมีราคาที่ถูกกว่าทองคำ 99.99% ดังนั้นจะลงทุนทองคำ 99.99% หรือ 96.5% ก็ไม่ต่างกัน และควรจะแบ่งเงินมาลงทุนในทองคำประมาณ 30% ของพอร์ตการลงทุนโดยรวมเท่านั้น

“แต่ในแง่ของจำนวนในการซื้อลงทุน ทองคำแท่ง 99.99% น้ำหนักมาตรฐานที่ลงทุนกันจะมีน้ำหนัก 1 ก.ก. ขึ้นไป หรือคิดเป็นน้ำหนักทองไทยประมาณ 65.6 บาท ส่วนทองคำแท่ง 96.5% จะลงทุนตั้งแต่ 10 บาท ขึ้นไป”


การลงทุนทางเลือกในพอร์ต

โชติกา บอกว่า ทองเป็นหนึ่งในประเภททรัพย์สิน (Aseet Class) ที่สำคัญที่ควรจะมีอยู่ในพอร์ตการลงทุนแต่ไม่ควรจะเยอะ อยู่ในส่วนที่เรียกว่าการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ส่วนการลงทุนพื้นฐานทั่วไปที่มีอยู่ในพอร์ตก็จะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรืออสังหาริมทรัพย์ ส่วนทางเลือกการลงทุนอื่นก็จะเป็นทอง หรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งไม่ควรจะเป็น 50% ของพอร์ต เพราะไม่ใช่หุ้นหรือตราสารหนี้ที่จะมาจัดสรรเงินทุนในลักษณะนั้น

ทองควรจะมี 5-10% ในพอร์ต แต่จะมีเท่าไรขึ้นกับความเสี่ยงที่คุณสามารถรับได้ ถ้าชอบทองมากๆ อาจจะ 15% ของพอร์ตก็ได้ แต่เป็นสินทรัพย์ที่ควรจะมีอยู่ในพอร์ตเพราะมีความสัมพันธ์กับหุ้นและตราสาร หนี้น้อยคือมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ที่ต่ำ

“นอกจากนี้ ทองยังมีดีมานด์ซัพพลายของตัวเอง ไม่เพียงเท่านี้ทองยังเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีค่าในตัวเองโดยไม่ต้องมีดี มานด์ซัพพลายจึงเป็นสินทรัพย์ที่ดีมากเพราะเป็นของที่มีค่าเป็นแร่ธาตุที่มี ค่า เพราะฉะนั้นทองจึงมีค่าในตัวเอง ไม่ใช่ดิน หรือทองแดงที่อาจจะมีประโยชน์ทางอุตสาหกรรมที่จะต้องไปดูดีมานด์ซัพพลาย แต่ทองเป็นแร่ธาตุที่มีค่าเหมือนเพชร จึงเป็นสินทรัพย์ที่ควรจะให้ความสนใจแต่ไม่ควรจะมากเกินไปเท่าไร”


ความสะดวกสบายในการลงทุน

โชติกามองว่า สำหรับการลงทุนนั้น ความสะดวกสบายก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนตัวถ้าอยากซื้อทองจะไม่ไปเยาวราช เพื่อซื้อทองถ้ามองเป็นเรื่องลงทุน อาจจะไปซื้อแต่เวลาขายขึ้นมา เอาทองไปขายก็ไม่สะดวก แต่ขายทองผ่านกองทุนทำได้ง่ายเหมือนขายหุ้น

สมมติซื้อไว้ 10 บาท ขึ้นมาเป็น 13 บาท จะขายเอากำไรออกมา สามารถทำได้ทำที ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางนั่งรถไปที่ร้านทอง ในมุมนี้การลงทุนในทองคำผ่านกองทุนรวมน่าจะตอบโจทย์นักลงทุนได้ดีกว่าไม่ว่า จะเป็นนักลงทุนระยะยาวหรือนักลงทุนในลักษณะเก็งกำไรก็ตาม

“ทุกอย่างในการลงทุนผู้ลงทุนควรจะต้องพิจารณาในเรื่องของต้นทุนและค่าใช้ จ่ายในการลงทุน ซื้อกองทุนรวมเป็นอีกทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายต่ำและมีความสะดวกในการซื้อขาย สามารถที่จะซื้อขายได้ทันทีเหมือนหุ้น”

เช่นเดียวกับ ดร.วิน ที่มองว่า การพิจารณาในเรื่องของความสะดวกในการซื้อขายเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน ทองคำของบางร้านเขาซื้อเฉพาะทองคำร้านตัวเองเท่านั้น ถ้าซื้อทองคำจากต่างจังหวัดจะมาขายที่ร้านทองในเยาวราช บางครั้งเขาก็ไม่รับซื้อ ตรงนี้ก็เป็นปัจจัยที่นักลงทุนต้องคิดถึงด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนทองเยาวราชไปขายที่ไหนก็คงจะมีคนซื้อ แต่ราคาที่ได้ก็คงจะไม่ได้เต็มราคาแน่นอน เพราะร้านที่รับซื้อเขาก็ต้องคิดถึงกำไรที่จะได้รับเช่นเดียวกัน

"อย่างไรก็ตาม การลงทุนในทองคำผ่านกองทุนรวมค่อนข้างสะดวกสบาย ราคารับซื้อและขายคืนก็มีชัดเจนแน่นอน เหมือนกันทั่วประเทศ ซื้อขายได้ทันที ไม่ว่าจะมากหรือน้อย จึงน่าจะเป็นรูปแบบการลงทุนในทองคำที่เหมาะกับการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่ง”

6 เรื่องที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจลงทุนในทองคำ อาจจะพอเป็นไกด์ไลน์การลงทุน ก่อนกระโจนเข้าสมรภูมิทองคำ


การลงทุนคือการเสี่ยง การวิเคราะห์ไม่ใช่ข้อเท็จจริง สภาพการเก็งกำไรทองคำมีความผันผวนสูง โปรดใช้ข้อมูลและวิจารณญาณของตนเองในการตัดสินใจ

 

โดย: Nunoynaruk 13 มีนาคม 2553 19:45:19 น.  

 

รอบรู้เรื่องทองคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ทองคำ (gold)

คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์


คุณสมบัติของทองคำ

มีความแวววาวอยู่เสมอ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด ด้วยทองเพียงประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด

มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่ง จุดหลอมเหลว 1064 และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร

ทองคำบริสุทธิ์จะไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมี (Chemicalinactive) ได้ง่าย จึงทนต่อการผุกร่อนและไม่เกิดสนิมกับอากาศ (Oxidide) แต่มีปฏิกิริยากับคลอรีน ฟลูออรีน น้ำประสานทอง

คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้ทองคำเป็นที่ หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานับพันปี โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่ สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ

ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ

- งดงามมันวาว (lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง
คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3000 ปีก็ตาม

- หายาก (rarity) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์(31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต

- นำกลับไปใช้ได้ (reuseable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อน นิ่มสามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำให้บริสุทธิ์ (purified) ด้วยการหลอมได้อีกโดยนับครั้งไม่ถ้วน


การเกิดของแร่ทองคำ

สรุปจากเอกสารของกรมทรัพยากรธรณี ได้มีการแบ่งการเกิดของแร่ทองคำออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะที่พบในธรรมชาติได้ดังนี้

- แบบปฐมภูมิ คือกระบวนการทางธรณีวิทยา มีการผสมทางธรรมชาติจากน้ำแร่ร้อน ผสมผสานกับสารละลายพวกซิลิก้า ทำให้เกิดการสะสมตัวของแร่ทองคำในหินต่างๆ เช่น หินอัคนี หินชั้น และหินแปร มีการพบการฝังตัวของแร่ทองคำในหิน หรือสายแร่ที่แทรกอยู่ในหิน ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

- แบบทุติยภูมิหรือลานแร่ คือการ ที่หินที่มีแร่ทองคำแบบปฐมภูมิได้มีการสึกกร่อน และถูกน้ำพัดพาไปสะสมตัวในที่แห่งใหม่ เช่น ตามเชิงเขา ลำห้วย หรือในตะกอนกรวดทรายในลำน้ำ

แหล่งแร่ทองคำปฐมภูมิในไทย เช่น

- แหล่งโต๊ะโมะ จ.นราธิวาส
- แหล่งเขาสามสิบ จ.สระแก้ว
- แหล่งชาตรี(เขาโป่ง) จ.พิจิตร - จ.เพชรบูรณ์
- แหล่งดอยตุง (บ้านผาฮี้) จ.เชียงราย
- แหล่งเขาพนมพา จ.พิจิตร

แหล่งแร่ทองคำทุติยภูมิในไทย เช่น

- แหล่งบ้านป่าร่อน จ.ประจวบคีรีขันธ์
- แหล่งบ้านนาล้อม จ.ปราจีนบุรี
- แหล่งบ้านทุ่งฮั้ว จ.ลำปาง
- แหล่งในแม่น้ำโขง จ.เลย - จ.หนองคาย
- แหล่งบ้านผาช้างมูบ จ.พะเยา


หน่วยน้ำหนักของทองคำ

กรัม : ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นหน่วยสากล
ทรอยเอานซ์ : ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
โทลา : ใช้กันทางประเทศแถบตะวันออกกลาง อินเดีย ปากีสถาน
ตำลึง : ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง
บาท : ใช้ในประเทศไทย
ชิ : ใช้ในประเทศเวียดนาม


การแปลงน้ำหนักทองคำ

ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานในประเทศไทย)

- ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
- ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม

ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%

- ทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 (ทรอย) ออนซ์
- ทองคำ 1 (ทรอย) ออนซ์ เท่ากับ 31.1040 กรัม

หมายเหตุ: ทรอยออนซ์ เป็นหน่วยชั่งของโลหะมีค่า แต่มักเรียกสั้นๆ ว่า ออนซ์

- 1 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1.097 ออนซ์ (ปกติ)
- 12 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1 ทรอยปอน
- 1 ทรอยปอน เท่ากับ 373 กรัม


การลงทุนทองคำ

การตั้งราคาทองในประเทศไทยอ้างอิงจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ Goldspot และ USD-THB

Goldspot
คือ ราคาทองต่างประเทศ มีการซื้อขายทองโดยใช้เงินสกุลดอลล่าร์

USD-THB
คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์

การตั้งราคาทองในประเทศไทย มีสูตรคำนวณดังนี้

สูตรคำนวณราคาทองคำ = (spot gold + 1) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x 0.4729


ประโยชน์อื่น

- ด้านอวกาศ
ในทางอวกาศได้มีการนำทองคำมาใช้เป็นชุดนักบินอวกาศและแคปซูล เพื่อป้องกันไม่ให้นักบินอวกาศกระทบกับรังสีในอวกาศที่มีพลังงานสูง นอกจากนี้ยังมีการใช้ทองคำบริสุทธิ์เคลือบกับเครื่องยนต์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หมวกเหล็ก เกราะบังหน้า และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในอวกาศ เนื่องจากทองคำที่มีความหนา 0.000006 นิ้ว จะมีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ทำลาย หรือลดประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้

- ด้านทันตกรรม
มีการใช้ทองคำเพื่อการครอบฟัน เชื่อมฟัน หรือการเลี่ยมทอง และยังมีการใช้ในการผลิตฟันปลอมด้วย เนื่องจากทองคำมีความคงทนต่อการกัดกร่อน การหมองคล้ำ และยังมีความแข็งแรงอีกด้วย โดยจะใช้ทองคำผสมกับธาตุอื่น เช่น แพลตินัม

- ด้านอิเล็กทรอนิกส์
มีการนำทองคำมาใช้เป็นวัสดุที่ทำหน้าที่สัมผัสในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เครื่องคิดเลข โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากทองคำมีค่าการนำไฟฟ้าสูง และมีความคงทนต่อการกัดกร่อน จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของเครื่องไฟฟ้าเหล่านั้น


การลงทุนคือการเสี่ยง การวิเคราะห์ไม่ใช่ข้อเท็จจริง สภาพการเก็งกำไรทองคำมีความผันผวนสูง โปรดใช้ข้อมูลและวิจารณญาณของตนเองในการตัดสินใจ

 

โดย: Nunoynaruk 13 มีนาคม 2553 19:49:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Nunoynaruk
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Nunoynaruk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.