ทำไม กทม จะไม่เกิดเหตุการณ์ตึกถล่มเสียหาย ระเนระนาดจากแผ่นดินไหว

**ทำไม กทม จะไม่เกิดเหตุการณ์ตึกถล่มเสียหาย ระเนระนาดจากแผ่นดินไหวอย่างเมืองเม็กซิโกซิตี้ในปี 1985 (8.1 ริกเตอร์ 3500 ตึกพัง คนเสียชีวิต 35000 คน) ** บทวิเคราะห์ของ ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นักวิชาการในไทยบางท่านได้เปรียบว่าหากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงในไทย (เช่น กาญจนบุรี) อาจทำให้ตึกใน กทม ถล่มทลายอย่างที่ เม็กซิโกซิตี้ ดังรูป 5 รูปแรกนี้ โดยเปรียบแค่ว่า ชั้นดินเป็นดินเหนียวเหมือนกัน และตึกไม่ได้ออกแบบมาให้รับแรงแผ่นดินไหวเช่นกัน ทำให้หลายคนพูดกันปากต่อปากในหมู่ชาวไทย จนผมขอมาพุดบ้าง ในฐานะวิศวกรโยธาและมี ปสก. ด้านธรณีวิทยามากว่า 10 ปี.... หากวิเคราะห์ลึกๆไปกว่านั้น สภาพทางกายภาพของ 2 ประเทศ จริงๆแล้วต่างกันมาก โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆดังนี้

1. ขอบด้านตะวันตกของ ปท เม็กซิโกนั้นเป็นแผ่นรอยต่อเปลือกโลกที่ทรงพลังมากที่สุดที่นึงของโลก เป็นแผ่นมุดพสุธาในทะเล (subduction) ที่สามารถเกิดแผ่นดินไหวได้ 8-9 ริกเตอร์ (รูปที่ 4) อย่างที่เกิดที่สุมาตรา/อินโด หรือญี่ปุ่นบ่อยๆ บริเวณนี้ห่างจาก เมืองเม็กซิโกซิตี้ ไปแค่ 300-350 กม. (รูปที่ 5) ก่อนปี 1985 เกิดไหวไปแล้วถึง 42 ครั้ง ในขนาด 7.8 ริกเตอร์ขึ้นไป แค่เฉพาะตั้งแต่ปี 1901 - 1984 .... ขณะเดียวกัน ในไทย 2 รอยเลื่อนที่ใกล้ กทม ที่สุดคือ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ กาญจนฯ และ รอยเลื่อนระนอง ซึ่งห่างจาก กทม ไป 200-250 กม. และ 600 กม. ตามลำดับ (รอยแยกที่เชียงราย ห่างจาก กทม มากเกินไป ไม่มีผลต่อโครงสร้างตึก แค่คนรู้สึก ดังจะเห็นแล้วเมื่อหลายวันก่อน) แต่ทั้งนี้ 2 รอยเลื่อนนี้ไม่ใช่แผ่นมุดพสุธาในทะเล แต่เป็นรอยแตกของเปลือกโลกบนพื้นดินแค่นั้น นักธรณีทั่วโลกต่างตระหนักดีว่า รอยแบบนี้อย่างมากก็เกิดแค่ 6.0-7.0 ริกเตอร์ ตามประวัติศาสตร์โลก (อย่าลืมว่า ริกเตอร์เป็น log ดังนั้น 6.0 กับ 8.0 พลังงานทำลายจะต่างกัน 100 เท่า) ดังจะเห็นได้ว่า ในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ใน 100-200 ปีที่ผ่านมา ที่กาญจนบุรี แรงสุดก้อแค่ 5.9 ริคเตอร์ มีศูนย์กลางที่อำเภอศรีสวัสดิ์ ในปี 2526 มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณศูนย์กลางและ กทม แต่ไม่ถึงกับตึกถล่ม ฯลฯ ส่วนที่รอยเลื่อนระนอง นักธรณีไทยว่ากันว่าแรงสุดเกิดเมื่อนานมากมาแล้ว 1000-2000 ปี (?) ประมาณ 6.5-7.0 ริกเตอร์ (ระยะทำลายตึกแค่ 200-250 กม.) แต่ทั้งนี้มันยังห่างไกลจาก กทม มากนัก (600 กม.) และค่อนข้างสงบมาก เมื่อเปรียบกับที่เม็กซิโก

2. ถึงแม้ว่า ที่ เม็กซิโกซิตี้ และ กทม. จะเป็นดินเหนียว (clay) เหมือนกัน แต่ความแข็งแรงและการกำเนิดของชั้นดิน ลักษณะกายภาพยังต่างกันนัก ที่เม็กซิโกนั้น ชั้นดินเหนียวก่อกำเนิดมาจากทะเลสาปเก่า ที่ฝุ่นละอองจากภุเขาไฟระเบิดค่อยๆทับถมในทะเลสาป และน้ำในทะเลสาปเก่าค่อยๆระบายออกจนหมด เมื่อไม่กี่พันปีที่ผ่านมา ชั้นดินเหนียวนี้อายุน้อยกว่าที่ กทม มากนัก ทั้งอ่อนมากและเต็มไปด้วยน้ำ (เพราะเป็นทะเลสาปเก่า) และมีความลึก 10-55 ม. จากพื้นดิน ดังรูปที่ 6 (ระดับ 10 ม. แรกเป็นเศษโบราณวัตถุต่างๆและดินที่เอามาถมกันทีหลัง ซึ่งความแข็งแรงต่ำ) .... การที่ดินเหนียวของเม็กซิโกมีสัดส่วนน้ำสูงมากนั้นทำให้เวลาแผ่นดินไหว (ถึง 8 ริกเตอร์) ชั้นดินจะทำตัวเหมือนของเหลวได้ง่าย (วิศวกรเรียก liquefaction) สูญเสียความแข็งแรงของดิน ทำให้ฐานรากของตึกใหญ่ๆสูญเสียแรงรองรับและล้มลงมา
ทั้งนี้ ชั้นดินเหนียวที่ กทม นั้น มีลักษณะและต้นกำเนิดต่างกันนัก ดังรูปที่ 7 นี้ ดินเหนียวแข็ง (stiff clay) ของ กทม กำเนิดมาจากตะกอนน้ำพาจากแม่น้ำในสมัย 12,000 - 30,000 ปีมาแล้ว เมื่อมีอายุมากกว่ามันก็เกิดกระบวนการที่ทำให้แข็งขึ้นนำไปสู่การเป็นหินชั้น (ศัพท์วิทย์เรียก over-consolidated) ดังที่วิศวกรไทยเรียก "ดินเหนียวแข็งกรุงเทพ" ในความลึก 10 - 20 ม. และ 30 - 50 ม. จากพื้นดินโดยประมาณ ชั้นทรายก็ค่อนข้างแข็งเช่นกัน และในชั้นระดับดิน 10 ม. แรกเป็นดินเหนียวแข็งปานกลางและอ่อน เพราะอายุน้อยกว่า แต่ส่วนใหญ่ตึก กทม จะตอกเสาเข็มไปลึกกว่านี้อยู่แล้ว มากกว่า 20 ม. จากผิวดิน

ถึงแม้ว่า liquefaction จะสามารถเกิดที่ไหนก็ได้ในโลกเวลาแผ่นดินไหวแรงๆ โดยเฉพาะที่ชั้นดินอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดินหรือระดับน้ำทะเล แต่ความแข็งแรงของชั้นดินเหนียวที่ กทม ยังสูงกว่าและเสถียรกว่าที่เม็กซิโก และเกิดการกดยุบตัว (compressed) ได้น้อยกว่าที่เม็กซิโกนัก ทำให้ทรุดตัวน้อยกว่า และ ข้อ 1 ข้างต้น สำคัญที่สุด ... นอกจากนี้แล้ว เป็นที่รู้กันว่า เนื้อดินชนิดนี้ที่เม็กซิโกซิตี้นั้นมีการสั่นตามธรรมชาติ (resonance) ด้วยความถี่ต่ำ ทำให้ตึกที่ตั้งอยู่บนดินชนิดนี้ ที่มีความสูงตึกปานกลาง 6-15 ชั้น โยกสั่นรุนแรงมากกว่าตึกอื่นๆมาก ปัจจัยนี้ผมว่าน่าจะต่างจากที่ กทม. และหลายที่อื่นๆของโลก หากแผ่นดินไหวแรงๆกระทำ

ทั้งนี้ บางคน อาจบอกว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ ไพโรจน์ทำให้ชะล่าใจ อย่าประมาท ถูกต้องครับ แต่หน้าที่ของนักวิทย์และวิศวกรนั้น ใช้หลักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ หาความน่าจะเป็น ที่จะทำให้เกิดหรือไม่เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ความน่าจะเป็นที่ตึกจะถล่มที่ กทม จากแผ่นดินไหว ผมจึงวิเคราะห์ว่า น่าจะน้อยกว่าความน่าจะเป็นที่คุณจะถูกรถชนที่ไทย หรือ เป็นโรคหัวใจ นัก.... และผมก็ไม่รู้ว่า คำว่า "ไม่ประมาท" นั้นหมายความว่ายังไง เพราะถ้ามันมา เราคงทำอะไรไม่ได้นัก ยกเว้นถ้าคุณอยู่เชียงรายตอนนี้ ใช่ครับ ไม่ควรประมาท หากบ้าน/ตึกร้าว ไปอยู่ที่อื่นสักพักเถอะ อีกอย่าง อาฟเตอร์ช๊อคสามารถเกิดได้เป็นเดือนๆจากวันที่เกิด 6.0 ริกเตอร์ ทีเชียงราย (7-8 เดือนยังมีมาแล้ว)....ดังนั้น เราทำอะไรมากนักไม่ได้หรอกครับ ควรรู้ไว้ว่า พอมันมาแล้วปฎิบัติตัวยังไง คงแค่นั้น

(ข้อมูล ชั้นดิน กทม นำมาจาก งานวิจัยของวิศวะ ม. เกษตร โดย คุณ ธนวรรณ วรรณวงษ์และพวก จาก 300 หลุมเจาะ และ กรมทรัพฯ)

ปล. แผ่นดินไหว 9.0 ริกเตอร์ที่สุมาตราอินโด จะไม่มีผลต่อตึกที่ กทม ดังที่พิสูจน์มาแล้วในปีที่สึนามิถล่มภาคใต้ไทย แรงทำลายมันไปไม่ถึง

ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช




Create Date : 10 พฤษภาคม 2557
Last Update : 10 พฤษภาคม 2557 14:18:38 น. 0 comments
Counter : 1588 Pageviews.

belle1
Location :
ohio United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
10 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add belle1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.