ทฤษฎีระบบ (SYSTEM THEORY)
SYSTEM THEORY ประวัตความเป็นมา มีต้นกำเนิดมาจากนักทฤษฎีองค์การและนักชีววิทยาคือ โบลด์ดิ้งและ เบอร์ทาแลนด์ไฟ (Boulding and Bertalunffy) ที่มององค์การในฐานะสิ่งมีชีวิต โดยมองในรูประบบเปิดเหมือนระบบกายวิภาคของสิ่งมีชีวิต (Anatomy) ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยความหมายของ ระบบ ก็คือ การรวมตัวของสิ่งที่เกี่ยวพันกัน มีความสัมพันธ์กันร่วมกันทำงานอย่างผสมผสาน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันโดยถ้ามีการเปลี่ยนแปลงตัวแปรใดก็ตามที่อยู่ในระบบนั้นๆจะส่งผลไปถึงอีกสิ่งหนึ่งภายใต้ขอบเขตที่กำหนดซึ่งการกำหนดขอบเขตทำให้สามารถสรุปวงจำกัดได้ว่าเราต้องการที่จะศึกษาถึงสิ่งใด เช่นมีเชื้อโรคเข้ามาสู่ร่างกายตัวหนึ่ง เราอยากรู้ว่าเชื้อโรคนี้ส่งผลอย่างไรต่อปอดเราก็ขีดวงว่าเราจะศึกษาเฉพาะปอด ในวงการแพทย์จะขีดที่กำหนดอยู่ตลอดจะอธิบายออกเป็นระบบทั้งหมด แบ่งร่างกายออกเป็นระบบ เช่น ระบบสมอง ระบบหู คอ จมูกระบบตา (แพทย์จักษุ) จะแบ่งเป็น sector เพื่อใช้ในการอธิบายง่ายขึ้นเพราะถ้าอธิบายทั้งร่างกายจะอธิบายยาก แต่ถ้าอธิบายทีละส่วนทีละระบบและเมื่อเกิดสิ่งหนึ่งจะส่งผลต่อสิ่งหนึ่ง โดยทั่วไประบบจะจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปิด (CloseSystem) และระบบเปิด (Open System) ระบบปิด (Close System) คือ ระบบที่สามารถควบคุมปัจจัยภายในได้ส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องทดลอง ซึ่งสามารถความคุมอุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ ระบบเปิด(Open System) คือ ระบบที่สิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อกระบวนการทำงาน เช่น การเมือง คน ลูกค้า ฯลฯ องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบหลักของ SYSTEM THEORY ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักคือ สิ่งที่ป้อนเข้ามา (INPUT) , กระบวนการ (PROCESS), ผลงาน (OUTPUT) , ข้อมูลย้อนกลับ (FEEDBACK) -
สิ่งที่ป้อนเข้ามา(INPUT) คือ ทรัพยากรต่างๆที่จะนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงยกตัวอย่างเช่น คน เงิน เวลา และข้อมูลต่างๆที่ต้องใช้ในกระบวนการ -
กระบวนการ (PROCESS) คือวิธีการต่างๆ ที่นำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ โดยในการบวนการอาจแบ่งออกได้เป็นหลายขั้นตอน ตาม INPUT ที่ป้อนเข้ามาซึ่งการบวนการหรือวิธีการจะมีผลทำให้ผลผลิตที่ออกมา -
ผลงาน (OUTPUT) คือ ความสำเร็จในด้านต่างๆ เช่น กำไร สินค้าการบริการ และความคาดหวังอื่นๆ -
ข้อมูลย้อยกลับ(FEED BACK) คือข้อมูลที่เกิดการการทำงานในกระบวนการต่างๆแล้วสามารถนำไปปรับปรุงการทำงานในส่วนต่างๆได้ การประยุกต์ใช้ SYSTEM THEORY เป็นทฤษฎีที่นำไปเป็นพื้นฐานในการ เริ่มต้นทฤษฎีอื่นๆดังนั้นควรต้องมีความเข้าใจในทฤษฎีระบบเสียก่อน จะทำให้เวลาศึกษาทฤษฎีใหม่ๆสามารถที่จะนำ ทฤษฎีระบบเข้าไปทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ที่มา -
//wasita.wikidot.com/kasetsart09-rtcsystems -
//www.wattanasinaccounting.com/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9ASystemTheory.htm -
//www.kamsondeedee.com/school/chapter-002/51-2008-12-13-14-44-22/109--system-theory -
http://pirun.ku.ac.th/~psdptt/0004.doc -
https://www.gotoknow.org/posts/458803
Create Date : 26 ตุลาคม 2557 |
Last Update : 26 ตุลาคม 2557 13:25:06 น. |
|
0 comments
|
Counter : 4139 Pageviews. |
 |
|