บ้านเฟินสาย สำหรับผู้ชื่นชอบไม้สาย
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
28 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
รวมรูปช้องนางคลี่

ต้องเรียนให้ทราบก่อนนะครับว่าบทความนี้ เขียนจากประสบการณ์ส่วนตัว ดังนั้นชื่อวิทย์ฯ ชื่อสามัญอาจจะมีผิดเพี๊ยนไปบ้าง ส่วนชื่อทางการตลาดก็อาศัยการบอกเล่าและฟังมาจากทางพ่อค้าไม้ด้วยกันอีกที

ช้องนางคลี่ หรือ L.phelgmaria เป็นพืชคล้ายเฟิน (Fern allies) อยู่ใน Family(วงศ์) : Lycopodiaceae
Genus ( สกุล) : Lycopodium


เฟินสายตัวนี้ จัดได้ว่าน่าจะเป็นตัวที่มีความหลากหลายทางพันธุ์กรรม มากถึงมากที่สุด ตัวหนึ่ง โดยในบทความนี้จะพยายามรวบรวม สายพันธุ์ของเฉพาะ ช้องนางคลี่ ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือของต่างประเทศ เท่าที่ความรู้จะพอเอื้ออำนวยให้ได้ (^_^)

เริ่มที่ตัวแรกเลยละกันนะ (^_^)


***************************************

ช้องนางคลี่ จากจ.ชุมพร (ขอขอบคุณ เจ้าของภาพ : พี่โต้ง) ลักษณะใบและลำต้นค่อนข้างใหญ่ ยาวไม่มากนัก ประมาณ0.90 – 1.20 ม. เมื่อไม้มีอายุมากขึ้นลำต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ค่อนข้างเข้ม

ช้องนางคลี่จากจังหวัดนี้ ออกไปกวาดรางวัล ตามงานประกวดมาไม่ใช่น้อย เข้าใจว่าการปลูกเลี้ยงและการจัดทรง
ให้เป็นไปตามใจอย่างที่อยากให้เป็น จะค่อนข้างง่าย เลยทำให้เห็นช้องฯจากจังหวัดนี้ ไปกวาดรางวัลอยู่หลายๆหน (รวมถึงไม้กอนี้ด้วย ) (^_^)






-------------------------------------------

ยิ่งใหญ่เหนือคำบรรยาย




***********************************************

ช้องนางคลี่แคระ(ใบนุ่ม) ) : ไม้จาก จ.นครศรีธรรมราช ลักษณะใบจะสอบเข้าคล้ายรูปข้าวหลามตัด(แบบมนๆ) ก้านใบเล็ก มีความคล้ายคลึงกับช้องฯแคระฟิลิบปินส์ แต่ลักษณะเด่นที่สำคัญที่สุดของไม้ตัวนี้คือ เมื่อสัมผัสใบแล้วจะให้ความนุ่มมือมาก ยิ่งเมื่อต้องลมพัด จะเห็นความพริ้วและความอ่อนไหวได้อย่างชัดเจน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าหล่อนเป็นไม้ของไทยเราแท้ๆนี่เอง

ถ้าถามความคิดเห็นส่วนตัวแล้วผมว่า นี่แหละน่าจะเป็นช้องฯตัวที่สวยที่สุด ในบรรดาช้องฯทั้งหลาย




----------------------------------------------------

เล็กๆ น่าทะนุถนอม



-----------------------------------------------------

เมื่อยามต้องแสงตะวัน



------------------------------------------------------

นี่คือสาเหตุที่ผมหลงรักไม้ตัวนี้แหละ อ่อนหวาน อ่อนไหว ที่สำคัญสัญชาติไทย (^_^)




***********************************************

ช้องฯนครศรี อีกตัวหนึ่ง ลักษณะใบจะคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์คือ เมื่อลูบไล้แล้วจะสัมผัสได้ถึงความนุ่มมือ ใบดูอ่อนโยน ไม่หยาบกระด้าง สีออกเขียวค่อนข้างอ่อน




-----------------------------------------------------

ต้องได้สัมผัส ถึงจะรู้ว่านุ่มมือเพียงใด (^_^)




***********************************************

ช้องนางคลี่ก้านดำ (มาเลย์) ไม้ตัวนี้ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเลี้ยงเฟินสาย ไม้ตัวนี้จะเป็นไม้ตัวที่เห็นได้มากที่สุดตามท้องตลาด

แหล่งที่เจอ ป่าเขตติดต่อระหว่างชายแดนไทยและมาเลเซีย เลยจนเข้าไปถึงป่าด้านในของประเทศมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป(ตัวSTD) ใบจะแหลม ค่อนข้างแข็ง ลำต้นมีสีน้ำต่าลเข้มกึ่งดำ มีความยาวเฉลี่ย 1.20 -1.50 ม. ผู้เขียนเคยเห็นว่าบางกอที่มีสภาพสมบูรณ์ มีความยาวร่วมๆ 2 เมตร แต่ด้วยความยาวขนาดนั้น เมื่อนำออกมาจากป่ามาอยู่ในเมือง ส่วนใหญ่ก็จะทิ้งเส้นทั้งหมด และเส้นใหม่ที่เกิดขึ้นมาก็จะไม่ยาวเท่ากับเส้นที่อยู่ในสภาพในป่า




-----------------------------------------------------------

ภาพใกล้ๆ



***********************************************

มาต่อกันอีกตัว ไม้ตัวนี้พ่อค้าไม้ตั้งให้ว่า “ช้องใบลู่” , ช้องไฮบริด

เข้าใจว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ย่อย (variety) จาก ช้องนางคลี่ก้านดำ (มาเลย์) เนื่องมาจากส่วนใหญ่มักจะเจอมาพร้อมๆกัน บางที่ก็อยู่ในกอใกล้กัน

ลักษณะโดยรวม เหมือนกันเกือบทุกประการ แต่มีขนาดที่ย่อส่วนเล็กลงมาทั้งใบและก้านใบ โดยลักษณะเด่นที่พบเห็นได้มากคือ ลักษณะใบจากโคนจะมีลักษณะลู่ๆติดแนบชิดกับก้าน จนบางครั้งดูเหมือน เกล็ดหอยไฮบริด



----------------------------------------------------------

ใบลู่ๆ เล็กๆ



***********************************************

ช้องก้านดำ(มาเลย์)แคระ นี่ก็น่าจะเป็นสายพันธุ์ย่อย (variety) จาก ช้องนางคลี่ก้านดำ (มาเลย์) อีกเช่นกัน เนื่องมาจากส่วนใหญ่มักจะเจอมาพร้อมๆกัน บางที่ก็อยู่ในกอใกล้กัน

ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือ ย่อส่วนจากช้องนางคลี่ก้านดำ (มาเลย์) จนเรียกว่าแคระจริงๆ




--------------------------------------------------



---------------------------------------------------

ดูใบแบบ close-up ก็จะเห็นได้ว่าไม่แตกต่างจากตัวใหญ่เลย แต่ถ้าใครชอบแบบแคระๆ มินิๆ ก็คงต้องหามาเก็บไว้



***********************************************

ช้องฯแคระหรือสิงห์สร้อย เป็นไม้แท้ๆอีกตัวของเมืองไทย พบได้ตามภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ตั้งแต่จ.ชุมพรลงไป โดยแหล่งที่พบมากที่สุดคือ จ.นครศรีธรรมราช (แต่เดี๋ยวนี้ก็ชักน้อยแล้วนะ)

ใบมีลักษณะแข็ง ซี่เล็ก จนบางครั้งดูเหมือนหางสิงห์ (นี่คือชื่อที่มาของ สิงห์สร้อย) การที่ใบมีลักษณะแข็งเช่นนี้นี่เอง ทำให้ไม้ตัวนี้จะมีฟอร์ม แข็งๆเก้งก้าง อย่างในรูปเป็นตัวอย่าง ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเค๊า ดูแล้วก็สวยไปอีกแบบ




------------------------------------------------------------

ดูเผินๆนึกว่าเป็นหางสิงห์



***********************************************

ช้องฯแคระฟิลิบปินส์ : ต้องบอกว่าเป็นไม้ที่เลี้ยงได้ค่อนข้างง่าย อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว ขยายพันธุ์ง่าย ใบมีลักษณะคล้ายกับเกล็ดหอยไฮบริด และช้องนางคลี่แคระ(ใบนุ่ม) ของทางจ.นครศรีฯ แต่ใบจะใหญ่กว่าเล็กน้อย ยอดอ่อน ที่ขึ้นมาใหม่ จะมีความนุ่มมือ และมีสีเขียวตองอ่อน ดูแล้วสวยงามสบายตาดีมาก



--------------------------------------------------------------

ใบใกล้ๆ



--------------------------------------------------------------

สายสตอปิลัส




***********************************************

ช้องฯแคระลาว(ใต้) : หรือช้องเมรีลาว ขึ้นชื่อว่าช้องเมรี นี่ก็เป็นอีกตัวที่เลี้ยงค่อนข้างยาก ลักษณะการเรียงตัวของใบ คล้ายๆกับช้องเมรี ใบมีลักษณะนุ่มมือ คาดว่าถ้าเลี้ยงแล้วรอดเป็นกอใหญ่ๆได้ น่าจะสวยไม่แพ้ไม้ตัวอื่นเลยทีเดียว



-----------------------------------------------

เสน่ห์สาวเมือง ลาว (^_^)



***********************************************

ช้องฯแคระลาว(เหนือ) เป็นช้องนางคลี่แคระอีกตัวหนึ่งของประเทศลาว ไม้ตัวนี้เจอทางภาคเหนือของลาว

เจอและอยู่ใกล้กับ ช้องเมรี เข้าใจว่าน่าจะเลี้ยงยากพอสมควร ชอบอากาศเย็นและชื้นจัด




------------------------------------------------

ยาวไม่เกิน 10 ซม. เกิดอยู่ติดๆกันเป็นกระจุก ซึ่งแตกต่างจาก ช้องฯแคระลาว(ใต้) ที่มักเจอแบบสะเปะสะปะ ไม่เป็นแพๆ



------------------------------------------------

ใกล้ๆ (^_^)



***********************************************

มาดูตัวไม่แคระของลาวกันมั่ง

ช้องนางคลี่ – ลาว : หรือชื่อเรียกตามท้องตลาด ช้องก้านขาว มีลักษณะใกล้เคียงกับช้องฟิลิบปินส์มาก (ช้องฟิลิบปินส์ก็มีแยกย่อยออกไปอีกหลายสายพันธุ์) จนบางครั้งมองแทบไม่ออกว่าตัวไหนเป็นตัวไหนกันแน่

ลักษณะเด่นที่สังเกตุได้ของช้องนางคลี่ลาวคือ ก้านใหญ่ อวบ และดูอิ่มน้ำ ใบมีลักษณะที่กางออก แต่สั้นๆ มีลักษณะค่อนข้างแข็ง ตัวก้านเองมีสีขาวนวล เมื่อไม้ได้อายุก้านจะออกเป็นสีน้ำตาล ความยาวไม่มากนัก




------------------------------------------------

ใกล้ๆ



***********************************************

มีลาวแล้ว ก็ต้องเลยต่อไปอีกหน่อยจิ

ช้องนางคลี่-พม่า : ลักษณะก้านใหญ่ อวบน้ำ สีขาวนวล ใบสั้น



----------------------------------------------

เนี่ย....ถ้าไม่ติดป้ายไว้ แล้วเกิดแขวนอยู่ใกล้ๆกันนะ 555 ไม่รู้ว่าจะรู้รึป่าวว่าตัวไหนมาจากประเทศไหน 555



***********************************************

เอามาให้ดูอีกตัว ไม้ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพ คล้ายๆกับของทางลาวและพม่า

ช้องฯก้านเขียว คนละตัวกับช้องฯเขียวนะครับ (จะกล่าวต่อไปในคคห.หน้า)

แหล่งที่พบ จะเป็นแหล่งเดียวกับ ช้องนางคลี่ก้านดำ (มาเลย์) ลักษณะโดยรวมแล้วทั้งหมด แทบจะเหมือนกับช้องลาว โดยมีความยาวที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะก้านที่อวบใหญ่เหมือนกัน จะแตกต่างกันบ้างก็คือใบจะมีความยาวที่มากกว่า และนุ่มกว่านิดหน่อย และสีของก้านใบส่วนใหญ่ที่พบจะออกเป็นสีเขียว (มีสีขาวบ้าง)



----------------------------------------------

ก้านเขียวๆ นี่คือที่มาของชื่อช้องฯก้านเขียว



-------------------------------------------------

แล้วถ้าเกิด มันไปเจอเป็นก้านขาว มิเรียกว่าช้องก้านขาวเหรอ

แล้วถ้าเรียกช้องก้านขาว มันจะไม่ไปซ้ำกะช้องฯลาวเหรอ

เฮ้อ......ทำไมมันถึงยุ่งยากอย่างงี้นะ (^_^)



***********************************************

ช้องฯเขียว หรือที่คนพื้นที่ทางใต้เรียก ช้องฯบลูเขียว (บางทีมันก็ขัดๆ มีทั้งบลูแล้วยังมีเขียวอีก 555)

ตัวนี้จัดได้ว่าหาได้ค่อนข้างยากพอสมควร แหล่งกำเนิด จะเป็นแหล่งเดียวกับ ช้องนางคลี่ก้านดำ (มาเลย์)

ยังไม่เคยมีรายงานว่าพบในเขตป่าเมืองไทย (คำว่าป่าเมืองไทยของผมหมายถึงป่าที่อยู่ในเขตไทยจริงๆเช่นป่าของทางชุมพรหรือนครศร๊ฯอะไรทำนองนั้น)

ลักษณะเด่นคือมีใบที่กางและใหญ่ได้เทียบเท่ากับช้องฯบลู แต่สีจะออกเป็นสีเขียวอ่อน (นี่ละมั๊งคือที่มาของชื่อ ช้องฯบลูเขียว)

ทางผมคาดเดา เอาเองว่าไม้ตัวนี้น่าจะเป็นลูกผสมระหว่าง ช้องนางคลี่ก้านดำ (มาเลย์) x ช้องฯบลู

เพราะหลายครั้งที่ได้เห็นว่า ช้องฯเขียวนั้นบางที่ก็มีช้องบลูหรือไม่ก็ช้องก้านดำติดมากับกอมันเองด้วย
นั่นแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง เพราะบางตัวสีและฟอร์มของมันมีความใกล้เคียงกับ ช้องนางคลี่ก้านดำ (มาเลย์) แต่ในทางกลับกัน บางตัวสีและฟอร์มของมันมีความใกล้เคียงกับ ช้องบลู




---------------------------------------------

ดูใบแบบใกล้ๆ



----------------------------------------------

แบบมีสตอปิลัส




----------------------------------------------

เปรียบมวย ระหว่างญาติผู้พี่ กับผู้น้อง ใครจะงามกว่ากัน (^_^)




***********************************************

ช้องนางกลาย หรือ ช่อนางคลาย ไม้ของทางนครศรีฯอีกตัวหนึ่ง เลี้ยงยากพอสมควร แต่เมื่อเลี้ยงติดแล้ว

ต้องบอกว่าสวยมาก จัดว่าเป็นไม้ที่มีเสน่ห์อีกตัวหนึ่ง ของเมืองไทย



---------------------------------------------

เลี้ยงอยู่ในระดับที่3 ของโรงเรือน (ให้สังเกตุว่าต้องมีน้ำ เพื่อเพิ่มความชื้น)



----------------------------------------------

ใบแบบใกล้ๆ (^_^)



***********************************************

ช้องฯแคระ อินโดฯ ลักษณะใบจะคล้ายกับช้องฯฟิลิบปินส์ แต่ใบจะเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด ใบแข็งกระด้างกว่า

โดยส่วนตัวแล้วไม้สายพันธุ์นี้เลี้ยงค่อนข้างยาก การแทงหน่อใหม่เป็นไปได้ด้วยดี แต่ถ้าชื้นหรือแฉะมากเกินความต้องการ จะพาลฟุบเอาดิ้อๆ ค่อนข้างใจเซาะ

ยังไม่เคยเห็นแบบที่เป็นกอใหญ่ๆ ถ้าเพื่อนๆท่านใดมีช่วยกรุณาโพสรูปเอามาแบ่งกันชมมั่งนะครับ (^_^)



------------------------------------------------

หน่อใหม่...แทงตลอด



------------------------------------------------

ใบเล็กกระจิ๊ดเดียว สวยดีครับ ติดตรงที่ผมว่ามันยาวไปหน่อย ถ้าสั้นๆเหมือนตัว H.pinifolia ละก็ ต้องจัดเป็นไม้ที่สวยปิ๊งแน่นอน (^_^)



************************************************


Create Date : 28 กันยายน 2551
Last Update : 28 กันยายน 2551 20:44:02 น. 10 comments
Counter : 28099 Pageviews.

 
เธชเธงเธขเธกเธฒเธเธ„เนˆเธฐเน„เธ›เธ‹เธทเน‰เธญเธ—เธตเนˆเธ‡เธฒเธ™เธชเธงเธ™เธชเธฒเธกเธžเธฃเธฒเธ™เธกเธฒ เน„เธกเนˆเธ—เธฃเธฒเธšเธงเนˆเธฒเน€เธ›เน‡เธ™เธชเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เนŒเนƒเธ”


โดย: เธ”เธงเธ‡เธชเธกเธฃ IP: 203.153.170.254 วันที่: 7 ธันวาคม 2551 เวลา:19:02:12 น.  

 
ขอยืมข้อมูลไปลงหน้าเว็บหน่อยน่ะค่ะ พอดีลูกค้าถามเรื่องช้องบลูเขียวกับเรื่องช้องบลูธรรมดามา


โดย: Ray IP: 118.173.135.32 วันที่: 28 เมษายน 2552 เวลา:10:32:45 น.  

 
รับทราบและยินดีครับ (^_^)


โดย: พจมารรร IP: 58.9.126.138 วันที่: 30 เมษายน 2552 เวลา:9:24:05 น.  

 
แวะมาเยี่ยมนะตะเอง....มาด้วยฟามคิดถึงนะเนี่ย อิอิ(ป่าวเวอร์นา) มาชมเฟินสวยๆงามๆจ้า


โดย: ป้าฟ้าใส วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:22:37:54 น.  

 
อยากดูช้องบลูสวยนะครับขอชมหน่อยครับ


โดย: sabaydee IP: 124.121.148.149 วันที่: 14 สิงหาคม 2552 เวลา:21:31:07 น.  

 
งามดี


โดย: ออ IP: 10.103.250.214, 202.28.64.1 วันที่: 6 กันยายน 2552 เวลา:23:47:12 น.  

 
เริ่มหัดเล่นกล้วยไม้และเฟิร์นต่างๆ คือผมอยากรู้ว่า เจ้าต้นสิงห์บลู กับ ช้องบลูมันต่างกันยังงัยครับ พอดีซื้อมาจาก อ.เบตง มาหนึ่งต้นคนขายก็ไม่รู้จักผมก็ไม่รู้จัก ไว้คราวหลังจะโพสรูปมาให้ดูครับ


โดย: choice IP: 118.175.188.130 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:26:00 น.  

 
อยากทราบวิธีขยายพันธุ์ แบบง่ายที่สุด วัสดุปลูกใช้กาบมะพร้าวได้หรือไม่


โดย: ศันสนีย์ IP: 124.122.172.84 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2552 เวลา:18:11:00 น.  

 
ใครมีของดี ของแปลก โทรมา0847497407


โดย: คนรักเฟิน IP: 110.49.86.100 วันที่: 4 สิงหาคม 2553 เวลา:15:59:51 น.  

 
อยากทราบว่าวิธีขยายพันธุ์แบบไหนที่ง่ายที่สุด


โดย: นัยนา IP: 113.53.242.138 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:27:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

บ้านเฟินสาย
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add บ้านเฟินสาย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.