|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 4 Tai-Ling Biotech Inc.
เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 4 Tai-Ling Biotech Inc.
บริษัทนี้ อยู่ที่เมือง Sinying City, Tainan Country ดูจากแผ่นพับที่ให้ Website: //www.okis.com.tw ผมพยายามเปิดดู แต่เปิดไม่ออก อย่างไรเสียหากสงสัยหรือสนใจเพิ่มเติมอะไรลองเขียนไปถามได้ที่นี้ครับ okisservice@okis.com.tw
ที่นี้ให้ความสำคัญในส่วนของการผลิตต้นพันธุ์ที่ปลอดจากไวรัส 2 ชนิด คือ ปลอดจาก CyMV และ ORSV ผลผลิตทั้งหมดผลิตแบบ mericlone
เริ่มจากโรงเรือนต้อนรับแขกก่อน เป็นโรงเรือน evaporation ทั้งหมด จะสังเกตเจ้าสีฟ้าก่อนเข้าโรงเรือน เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสักอย่าง ผู้เข้าไปในโรงเรือนต้องยืนอยู่บนนี้นาน 1 นาที

พอเข้าไปดูในโรงเรือนจะเป็นโรงเรือนที่โชว์ผลผลิตของบริษัทนี้

ชมกันเพลินไปก่อนนะครับ

Phalaenopsis Maki Watanabe เป็นผลผลิตจากที่นี้ ซึ่งเป็น product สู่ตลาดไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว ลักษณะของช่อดอกและสีสรรของดอกดูคล้าย Phalaenopsis Princess Chulabhorn อย่างมากครับ

ผลผลิตมาจาก mericlone จึงให้ลักษณะของพันธุ์ที่เหมือนกันทั้งหมด

เมื่อเดินทะลุไปยังอีกโรงเรือน เป็นโรงเรือนสำหรับการเปิดดอก ทุกบริษัทที่เข้าไปเยี่ยมชม จะเหมือนกันหมดสำหรับโรงเรือนเปิดดอก เค้าจะตั้งระบบไว้ที่ 24 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน และ 18 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืน ต้นพร้อมออกดอก เมื่ออยู่ในโรงเรือนนี้ไม่เกิน 45 วันจะแทงช่อดอกอย่างพร้อมเพียงกัน

และที่สำคํญต้นพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พันธุ์สำหรับการเข้าโปรแกรมปรับปรับปรุงพันธุ์ หรือต้นที่คัดเลือกในการผลิต จะต้องผ่านการทดสอบการปลอดจากไวรัส CyMV และ ORSV ทุกขั้นตอนการผลิต (โดยใช้เทคนิค RT-PCR เพื่อเพิ่มปริมาณไวรัสในหลอดทดลองด้วยคู่ primer ทีเฉพาะต่อ CyMV และ ORSV)

การตัดช่อดอก จะตัดเหนือตาดอกมากๆ เพื่อ
1. สำหรับการทำ mericlone จากช่อดอกอ่อน จำนวน explant เริ่มต้นจะต้องมีปริมาณมากพอ เมื่อทำการตัดช่อดอกที่อยู่เหนือขึ้นไป ตาดอกทุกข้อนำไปเพิ่มปริมาณได้ทุกตาดอก เมื่อตาดอกอยู่ต่ำกว่ารอยตัดก็จะงอกช่อดอกใหม่ เราจะได้ explant จากต้นเดิมอีก กระทำแบบนี้... จะได้ explant สำหรับการทำ mericlone ต้นเดิมได้จำนวนมาก
2. เป็นการวางแผนการส่งให้ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เนื่องจาก การตัดช่อดอกออกก่อน จะมีนักวิจัยคำนวนว่า ตาดอกที่อยู่ต่ำกว่ารอยตัดจะ sprout อีกเมื่อไร และเป็นการบังคับให้ตาดอกที่อยู่ในตำแหน่งต่ำสุด (ตำแหน่งส่งออก) มีแรงส่ง...อย่างแรง

ให้ดูวิธีบังคับให้ดอกโค้งงอ ผมก็ไม่เข้าใจว่าเค้าเอาท่อไปใส่ช่อดอกในระยะใด และเพื่อประสงค์ใด

คณะฯ ได้เข้าชมในส่วนของการผลิต mericlone ด้วย แต่ห้ามถ่ายภาพ แต่ก็พยายามสอบถามในส่วนของ Tissue Culture Lab ให้มากที่สุด ดังนี้
1. ต้นพ่อแม่พันธุ์ และต้นที่คัดเลือกหลังจากจบขั้นคัดเลือกพันธุ์จากการผสมเกสรแล้ว ต้นพันธุ์ทั้งหมดจะต้องผลิตในโรงป้องกันการปนเปื้อนของไวรัส 2 ชนิด คือ CyMV และ ORSV และเป็นโรงเรือนปลอดแมลงบางชนิดด้วย (เค้าไม่ตอบชนิดของแมลง) 2. mericlone จะได้จากช่อดอกอ่อน และเพิ่มปริมาณโดยใช้ BA และ NAA (เค้าไม่บอกสูตรนะครับ) แต่สิ่งสำคัญการเพิ่มปริมาณเค้าจะควบคุมการเพิ่มปริมาณ 3 เท่า (เท่านั้น) และจะทำการเพิ่มต้นพันธุ์ 3 เท่า (sub culture) ภายใน 1 ปีเท่านั้น บริษัทที่นี้การทำ mericlone จะไม่ผ่าน PLB และทุกขั้นตอน ต้นพันธุ์ mericlone จะต้องถูกตรวจสอบในสภาพแปลงปลูก โดยต้องไม่พบการกลายพันธุ์เกินกว่า 5 %
3. สายพันธุ์ใหม่ จะถูกคัดเลือก ผสมเกสร การทำ mericlone เพิ่มปริมาณ mericlone ปลูกทดสอบ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 5-6 ปีต่อหนึ่งสายพันธุ์
มาดูขั้นตอนกัน ดูโรงเก็บวัสดุปลูก ที่นี้ใช้ สแฟกนัมมอสจากนิวซีแลนด์ทั้งหมด

ห้องเก็บขวดสำหรับบรรจุ mericlone รูปทรงขวดของไต้หวันเป็นแบบนี้ทั้งหมด ไม่พบการผลิตในขวดวิสกี้แบบบ้านเรา

ส่วนเตรียมอาหารวิทยาศาสตร์

ตี๋น้อยกำลังปิดจุกขวดด้วยเครื่องอัตโนมัติ

เป็นส่วนที่เพิ่มปริมาณต้นพันธุ์แบบ mericlone จะนำมาไว้ที่นี้

และถ้าต้นพร้อมออกปลูกก็ย้ายมายังห้องที่ปรับสภาพให้พร้อมออกปลูก Acclimatization Room

สแฟกนัมมอสจะต้องถูกนำมาผ่านความร้อนด้วยน้ำร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที 2 ครั้ง (อัดน้ำเสียออกก่อนแล้วค่อยผ่านน้ำร้อนอีกครั้ง) และจะต้องผ่านน้ำเย็นเพื่อปรับสภาพให้ pH เป็นกลาง 3 น้ำ (อัดน้ำเสียออกก่อนเช่นเดียวกัน) แล้วนำไปยังเครื่องปั่นเพื่อให้ไม่แฉะพร้อมเป็นเครื่องปลูกได้แล้ว และเพื่อทำความสะอาดจะแมลง ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ และอื่นๆ ก่อนนำมาใช้ เมื่อถึงขั้นตอนนี้สแฟกนัมมอสจะสามารถเก็บไว้ในภาชนะปิด ก่อนนำมาใช้ไม่เกิน 3 วัน

อย่างที่บอกทุกขั้นตอนการผลิต mericlone จะนำออกปลูกทดสอบ ในกรณีของลูกผสม จะปลูกทดสอบเพียง 200-300 ต้นต่อหนึ่งลูกผสมเท่านั้น

ในกรณีต้นพันธุ์จะต้องนำออกปลูกในโรงเรือนทดสอบเพื่อทดสอบการปลอดจาก CyMV และ ORSV ในโรงเรือนปลอดแมลงด้วย สังเกตมีป้ายสีเหลือง คอยจับแมลง แล้วจะมีเจ้าหน้าที่มาดูชนิดของแมลงต้องห้าม

ดูเปอร์เซนต์ของ mericlone ไม่ให้เกิน 5 %

โรงเรือนอันทันสมัยของไต้หวัน ใครๆ ก็ต้องมาดูโรงเรือนของไต้หวัน

แต่ก็ยังใช้แรงงานอยู่ดี ได้ข่าวว่าค่าแรงของไต้หวันแพงมาก

จะมีคนงานมาเก็บต้นที่ไม่สมบูรณ์ เช่นต้นเล็กกว่าเพื่อน ต้นมีใบไม่สมบูรณ์ หรือดูเหมือนเป็นโรคจะโดนกำจัดทิ้งทั้งหมด   

อยากได้สักโรงเรือน คงมีความสุขมากน่ะครับ   

สุดท้ายของตอน 4 ด้วยภาพโรงเรือนที่พบได้ง่ายในไต้หวัน

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม หากมีคำถามหรือขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่าได้รีรอนะครับ
 
Create Date : 06 เมษายน 2551 |
Last Update : 6 เมษายน 2551 21:28:16 น. |
|
3 comments
|
Counter : 2695 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: internal IP: 124.121.0.119 วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:16:44:56 น. |
|
|
|
โดย: pat IP: 124.121.179.110 วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:12:08:43 น. |
|
|
|
| |
|
|
|
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

|
ไม่เคยชอบกล้วยไม้มาก่อนเลย แต่หน้าที่การงานเข้าไปเกี่ยวข้องกับกล้วยไม้....เลยสนใจบ้าง แล้วมาจับกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis เลยชอบ และได้ทำการสะสมพันธุ์แท้เพื่อทำ DNA fingerprint โดยขณะนี้ เริ่มสะสมกล้วยไม้ดินบางชนิดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ การปลูกเลี้ยงที่ง่ายขึ้น มีสีสรรแปลกใหม่ไปกว่าเดิมและอื่นๆ
ชอบการท่องเที่ยวเดินทางและการถ่ายภาพ
|
|
|
|
|
|
|
|