Group Blog
 
 
ธันวาคม 2555
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 
สาเหตุและอาการทางพยาธิวิทยา ของเด็กสมองพิการ

สมองพิการ

(Cerebral Palsy, Spastic Paralysis, Spastic Paresis, Little’s Disease)

คำนี้รวมภาวะผิดปรกติ ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดในเด็ก ลักษณะของภาวะนี้ทั้งหมดที่เหมือนกันคือสาเหตุเดิมหรืออันแรกนั้นอยู่ในสมอง อุบัติการณ์ของภาวะผิดปรกติเหล่านี้ ทำให้ภาวะสมองพิการเป็นปัญหาทางการศึกษาและสังคมที่สำคัญของประเทศประการหนึ่ง

สาเหตุ จากสิ่งใดก็ตามที่ทำให้เกิดภยันตรายต่อสมอง สาเหตุอาจแบ่งออกได้เป็น 3 พวก คือ ก่อนคลอค ตอนคลอด และหลังคลอด

สาเหตุก่อนคลอด ได้แก่ การเจริญผิดปรกติของระบบประสาท และอิรีย์โธรบล๊าสโตซิส (Erythroblastosis) ทำให้เกิดอิคเตอรัส กราวิส (icterus gravis) ในเด็ก ตามด้วยภยันตรายที่เบซัล นิวคลีไอเกิด Kernicterus สาเหตุตอนคลอด ได้แก่ภยันตรายต่อสมอง เนื่องจากการคลอด และภาวะเลือดขาดออกซิเจน ตามด้วยสมองขาดออกซิเจน นอกจากนี้เชื่อว่าการคลอดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยที่สำคัญ สาเหตุหลังคลอดได้แก่ การ ติดเชื้อ เช่น ไอกรน สมองอักเสบและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภยันตรายต่อศีรษะ และในวัยชรา ได้แก่อุบัติเหตุหลอดเลือดสมอง (cva) ในเด็กหาสาเหตุได้ไม่ง่ายเสมอไป แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ ภยันตรายต่อสมอง เนื่องจากคลอดยากและสมองขาดออกซิเจนระหว่างคลอด

แบบ มีหลายแบบ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ สปาสติค พารีซิส (spastic Paresis) กับ อะธีโตซิส (Athetosis) นอกจากนี้มีแบบผสม ซึ่งพบได้เหมือนกัน

สปาสติค พารีซิส (Spastic Paresis)

พยาธิวิทยา ส่วนของมอเตอร์ คอร์เทกช์ถูกแทนที่โดยไกลโอซิส (Gliosis) มีการเสื่อมของใยประสาทพัยรามิดัล ( Pyramidal Tract)

ลักษณะทางคลินิค โดยมากระหว่างอายุปีแรก จะสังเกตเห็นว่าเด็กควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนขาข้างนั้นได้ยาก การนั่ง ยืน และเดินได้ เมื่อเด็กอายุมากกว่าปรกติ ส่วนใหญ่เป็นกับแขนและขาข้างเดียวกัน (Hemi­plegia) ที่พบน้อยนั้นเป็นกับแขนข้างหนึ่งหรือขาข้างหนึ่ง (Monoplegia) ขาทั้งสองข้าง(paraplegia) หรือทั้งแขนและขาทั้ง 2 ข้าง (Tetraplegia) นอกจากนี้อาจเป็นกับกล้ามเนื้อใบหน้าและลำตัวได้เหมือนกัน

การตรวจที่พบเสมอ คือ แขนขาไม่มีกำลัง กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง และคนไข้ควบคุมการเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ โดยทั่วไปแล้วมีการผิดรูปด้วย และบางรายปัญญาอ่อน ตาไม่ดีหรือหูหนวก

สำหรับแขนหรือขาไม่มีกำลังนั้น พบว่าไม่ใช่อัมพาตที่แท้จริง แต่กล้ามเนื้อไม่มีกำลังอย่างมาก และกำลังกล้ามเนื้อทั้งหมดของแขนขามักจะไม่เท่ากัน

กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง โดยต้านการเคลื่อนไหวของข้อในการตรวจ (passive Movement) แต่เมื่อกดขืนไว้สักพักหนึ่งแล้ว มักจะค่อยๆ หย่อนตัวให้ข้อเคลื่อนไหวได้ และเมื่อปล่อยมือจากการกด การหดเกร็งจะกลับคืนทันที นอกจากนี้พบว่ารีเฟลกซ์เอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon Reflex) จะไวกว่าปรกติ

ในรายที่เป็นมาก จะขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว เมื่อคนไข้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่ง กล้ามเนื้อกลุ่มอื่นจะหดตัวในขณะเดียวกัน

การผิดรูปเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหดเกร็ง และกำลังกล้ามเนื้อต่างกันมาก ในที่สุดทำให้เกิดการผิดรูปที่ไม่กลับคืนดีได้ กล้ามเนื้อพวกที่มีกำลังมากกว่าจะดึงแขน ขา ไปอยู่ในท่าผิดปรกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ การผิดรูปที่พบบ่อยที่สุดในแขนคือ ข้อศอก งอแขนท่อนปลายอยู่ในท่าควํ่ามือ ข้อมืองอ และนิ้วหัวแม่มือหุบเข่า บริเวณขามักพบการผิดรูปคือข้อตะโพกหุบเข้า เข่างอ และสนเท้าไม่ถึงพื้น

ปัญญาอ่อน ซึ่งพบเสมอร่วมกับขาดการควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า และการพูด ทำให้สติปัญญาเลวกว่าความเป็นจริง การผิดปรกติที่สายตา และหูหนวกอาจทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า

การผิดปรกติมากหรือน้อยแล้วแต่รายๆ ไป ในรายที่เป็นน้อยที่สุด เด็กสามารถจะเจริญเติบโตเป็นปรกติ โดยมีการไม่สมประกอบน้อยมาก แต่รายที่เป็นมากนั้น มักไม่มีทางช่วย

พยากรณ์โรค เนื่องจากสมองส่วนสำคัญถูกทำลาย ทำให้โรคนี้ไม่หาย ความหวังเพียงช่วยให้อาการดีขึ้น ซึ่งต้องมีความอดทนทั้งตัวคนไข้และผู้รักษา คนไข้หลายรายมีอาการดีขึ้นเล็กน้อยหรือไม่ดีขึ้นเลย แม้ว่าได้รับการรักษาเป็นเวลานาน และจำเป็นต้องอยู่ในสถาบันเฉพาะโรคนี้ ส่วนน้อยคนไข้ดีขึ้นมาก และสามารถเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง

การรักษา ก่อนอายุ 5 ขวบ การรักษาควรเป็นแบบคนไข้ไปกลับ คือให้อยู่ที่บ้าน หลังจากอายุ 5 ขวบแล้ว เด็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ควรจะได้รรับไว้อยู่ประจำในโรงเรียนพิเศษที่มีเครื่องมือและเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับ การฝึกอบรมมาโดยเฉพาะประจำอยู่ระหว่างอยู่ที่โรงเรียน 2-3 เดือนแรก ผู้เชี่ยวชาญจะประชุมตัดสินว่าเด็กสามารถเรียนได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถเรียนได้ ก็ควรส่งเด็กกลับไปอยู่ที่บ้าน หรือส่งไปอยู่ที่บ้านศูนย์คนไร้ความสามารถ

วิธีรักษาที่ทำกันอยู่คือ การฝึกกล้ามเนื้อ การดามแขนขาให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง การฝึกหัดพูด และการผ่าตัดเกี่ยวกับเอ็นกล้ามเนื้อ กระดูกหรือเส้นประสาท

การฝึกหัดกล้ามเนื้อ มีหลักสำคัญคือสอนให้เด็กหย่อนคลายกล้ามเนื้อ ที่หดเกร็ง ให้รู้จักใช้กล้ามเนื้อแต่ละกลุ่ม และการทำงานของกล้ามเนื้อ ประสานงานกัน การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะซ้ำๆ กันเป็นการช่วยอย่างมาก ฝึกสอนเป็นลำดับขึ้นคือ การแต่งตัว นั่งส้วม กินอาหารและการเดิน

การดามแขนขาให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องโดยใช้โลหะ พลาสติค หรือเผือกปูน ซึ่งมีประโยชน์ในการป้องกันการผิดรูปเนื่องจากการดึงของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง ก่อนอื่นต้องแก้การผิดรูปโดยค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อที่หดตัว ถ้าจำเป็นอาจต้องใช้ยาสลบ จากนั้นเข้าเฝือกปูนไว้ 3 เดือน แล้วใช้เบรซ หรือสิ่งดามต่อไป เพื่อป้องกันการผิดรูปกลับเป็นแบบเก่าอีก

การฝึกหัดพูด คนไข้กล้ามเนื้อแข็งเกร็งจำนวนมากมีการผิดปรกติ ในการพูดและหน้าบิดเบี้ยว น้ำลายไหล ซึ่งบางคนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กปัญญาอ่อน การฝึกหัดพูดให้แก่คนไข้พวกนี้บางครั้งอาจทำให้อาการดีขึ้นมาก

การรักษาด้วยทางศัลยกรรม ในรายอัมพาตหดเกร็งจะต้องระวัง เพราะผลไม่ได้เป็นที่น่าพอใจทุกราย ศัลยกรรมอาจทำเกี่ยวกับเอ็นกล้ามเนื้อ ข้อ หรือเส้นประสาท

การตัดเอ็นหรือทำให้เอ็นของกล้ามเนื้อที่หดเกร็งนั้นยาวขึ้น ช่วยให้กำลังกล้ามเนื้อสมดุลย์ขึ้น เช่น การทำให้เอ็นเทนโดคาลคาเนียสยาวขึ้น ในการผิดรูปหดเกร็งส้นเท้าไม่ถึงพื้น การตัดเอ็นกล้ามเนื้อหุบข้อตะโพกในรายการผิดรูปแบบตะโพกหุบเข้า

การย้ายเอ็น ในรายที่กล้ามเนื้อทำให้เกิดการผิดรูป นำกล้ามเนื้อนี้มาช่วยเสริมกำลังกล้ามเนื้อที่อ่อนให้กลับแรงขึ้น เช่น ย้ายที่เกาะปลาย (insertion) ของเอ็นกล้ามเนื้อแฮมสตริงจากกระดูกทิเบียไปที่หลังคอนดาล์ย ของกระดูกต้นขา เพื่อไม่ให้มีการงอเข่าเนื่องจากกล้ามเนื้อแฮมสตริงหด เกร็ง ขณะเดียวกัน ช่วยเสริมกำลังการเหยียดตะโพก

การทำให้ข้อติดแข็ง (Arthrodesis) ในรายที่กระดูกเจริญเต็มที่แล้ว บางครั้งมีประโยชน์ โดยทำให้ข้อติดแข็งในท่าที่ใช้งานได้เพื่อแก้การผิดรูป

การตัดประสาท (Neurectomy) บางส่วนหรือทั้งหมด ที่เลี้ยง กล้ามเนื้อหดเกร็งที่ทำงานมากเกินไป เช่น การตัดแขนงหน้าของประสาทออบตูเรเตอร์ เพื่อแก้การหดเกร็งในท่าหุบขา

อะธีโตซิส (Athetosis)

พยาธิวิทยา ส่วนใหญ่อยู่ที่เบซัล นิวคลีไอ (Basal Nuclei)

ลักษณะทางคลินิค ที่สำคัญคือ มีการเคลื่อนไหวที่อยู่นอกการควบคุมทั่วไป ซึ่งไม่มีแบบฉบับ และรบกวนการเคลื่อนไหวธรรมดา อาจเกิดกับระบบกล้ามเนื้อส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ในรายที่มีอาการน้อย เด็กอาจดำรงชีวิตอย่างปรกติได้ แต่รายที่เป็นมาก เด็กไม่สามารถนั่ง เดิน กิน อาหารได้เอง หรือพูดได้เป็นคำ แม้ว่ามีปัญญาดี

การรักษา ทุกรายยกเว้นคนไข้ที่มีอาการน้อย ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาลเหมือนในรายสปาสติค พารีซิส ก่อนอื่นการรักษาที่จำเป็น คือ สอนให้เด็กผ่อนกลายกล้ามเนื้อทั่วไป เมื่อทำขั้นนี้แล้ว สอนให้เด็กเคลื่อนไหวตามความตั้งใจ อาจต้องดามแขน ขา ไว้ด้วย

ในอะธีโตซิสแท้ๆ นั้นไม่มีทางที่จะทำผ่าตัด แขน ขาได้ ขณะนี้ได้มีผู้รายงานผลสำเร็จในการรักษาอะธีโตซิสที่เป็นมากแล้ว โดยการผ่าตัดทำลายโกลบัส พัสลิดัส (Globus Pallidus)

 

*********************************************************

ที่มา   :  //www.helthcarethai.com

//www.healthcarethai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/

 




Create Date : 18 ธันวาคม 2555
Last Update : 18 ธันวาคม 2555 11:16:48 น. 0 comments
Counter : 4404 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

akeaoi
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add akeaoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.