Group Blog
 
 
ธันวาคม 2554
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
8 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 

มะเร็งปากมดลูก

เมื่อวานเพิ่งพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับผลตรวจมะเร็งปากมดลูก
คุณหมอบอกว่าการตรวจ pap smear พบเซลล์ผิดปกติ ต้องทำการตรวจโดยการส่องกล้องเข้าทางช่องคลอดเพื่อดูลักษณะเซลล์และอาจจะต้องตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูก


ตอนนี้เลยเครียดมาก กลัวจะเป็นมะเร็ง กว่าจะได้ตรวจอีกทีก็อังคารหน้า
และหลังจากตรวจภายในมีเลือดออกกระปริปกระปรอยอยู่ประมาณ ๕ วัน
ซึ่งคุณหมอบอกว่าอาจจเป็นอาการของมะเร็งหรือไม่ใช่ก็ได้ อาจจะแค่เป็นการอักเสษเรื้อรัง


วันนี้เลยขอลงบทความเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก จากเว็ปไซด์ //www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/cervixcancer.htm

โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น polyps,cyst,wart
Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

มะเร็งในระยะเริ่มแรก

เซลล์ที่ประกอบเป็นปากมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์ squamous cells and glandular มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทั้งสองชนิด การเปลี่ยนแปลงของเซล์จะค่อยเปลี่ยนจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า Precancerous ซึ่งมีด้วยกัน คือ cervical intraepithelial neoplasia (CIN), squamous intraepithelial lesion (SIL), and dysplasia.

Low-grade SIL หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเริ่มแรกของ รูปร่าง ขนาด และจำนวน บางครั้งอาจหายไปเองแต่ก็มีจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น High-grade SIL บางครั้งเรียก mild dysplasia
High-grade SILหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุมดลูกที่เปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจน ถ้าเซลล์อยู่เฉพาะปาดมดลูกเรียก moderate or severe dysplasia

มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Squamous cell ประมาณร้อยละ 80%ถึง 90% ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิด Adenocarcinomas

การเปลี่ยนแปลงจาก Precancerous เป็นมะเร็งใช้เวลาเป็นปี การรักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งจะป้องกันมิให้เกิดมะเร็ง

การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม

เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี

อาการของมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว

มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่

การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
การรับประทานยาคุมกำเนิด
ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง

การวินิจฉัย

จากการทำ pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร

การรักษามะเร็งปากมดลูก precancerous

การรักษาขึ้นกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ลักษณะ precancerous ว่าเป็น low หรือ high-SIL ผู้ป่วยมีบุตรพอหรือยัง สุขภาพผู้ป่วย ความต้องการของผู้ป่วยและแพทย์ โดยทั่วไม่

หากผลการตรวจพบว่าเป็น low-grade SIL ก็แนะนำให้มาตรวจภายในซ้ำ ใน 6 เดือนถึงสองปี แต่แพทย์บางท่านอาจจะตรวจพิเศษแบบ colposcopy โดยการส่องกล้องตรวจ
สำหรับผลการตรวจ PAP เป็นแบบชนิด high-SIL แนะนำให้ตรวจพิเศษ colposcopy และตักชิ้นเนื้อตรวจ หากผลชิ้นเนื้อเป็นแบบเดียวกันก็แนะนำผ่าตัดเอาออกเนื้อจนหมด
ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจประจำปี ถ้าจำเป็นต้องรักษาแพทย์อาจเลือกวิธีรักษาได้หลายวิธีคือ การใช้ความเย็น (cryosurgery)ใช้ไฟจี้( cauterization) ใช้ laser

การรักษามะเร็งปากมดลูก

หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะตรวจต่อเพื่อตรวจว่าโรคมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น หรือยังโดยแพทย์จะตรวจ

เจาะเลือดตรวจเลือดทั่วไป( CBC )เพื่อดูว่าซีดหรือไม่ เกร็ดเลือดปกติหรือไม่ ตรวจการทำงานของไต (BUN ,CREATININ) เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกอาจแพร่กระจายอุดทางเดินของปัสสาวะทำให้ไตวาย ตรวจตับ (LFT)เนื่องจากมะเร็งมักจะแพร่กระจายไปยังตับ
แพทย์จะส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ cystoscopy ,ตรวจลำไส้ใหญ่ (proctosigmoidoscopy) โดยใช้อุปกรณ์ส่องเข้าไปตรวจ
แพทย์จะตรวจสวนสีตรวจลำไส้ใหญ่ barium enema เพื่อตรวจว่ามะเร็งแพร่ไปลำไส้ใหญ่หรือยัง
แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจไต {intravenous pyelogram,IVP }เพื่อตรวจว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อไตหรือยัง
ตรวจ computer x-ray,ultrasound เพื่อตรวจอวัยวะอื่นดูการแพร่กระจายของมะเร็ง

ก่อนการรักษาใดๆผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจดังตัวอย่าง

มะเร็งที่เป็นอยู่นี้แพร่กระจายหรือยัง
วิธีการรักษาที่ดีทีสุด แพทย์เลือกวิธีไหน ทำไมจึงเลือกดวิธีนี้
โอกาสจะประสบผลสำเร็จมีมากน้อยเพียงใด
มีโอกาสเสี่ยงอะไรบ้าง ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
ใช้เวลารักษานานเท่าใด
ใช้ค่าใช้จ่ายแค่ไหน
ถ้าไม่รักษาจะเป็นเช่นใด
จะมีคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติหรือไม่
ต้องตรวจซ้ำบ่อยแค่ไหน


วิธีการรักษา

การผ่าตัด ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมากแพทย์อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
การให้รังสีรักษาทำได้ 2 วิธี

โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่องแพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์
โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์

การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ interferon

ผลข้างเคียงของการรักษา

การผ่าตัด หลังการผ่าตัดมักจะมีอาการปวด เลือดออก ถ้าต้องตัดมดลูกผู้ป่วยอาจจะปัสสาวะและอุจาระลำบากต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ระยะหนึ่ง ผู้ป่วยควรพักระยะหนึ่งเพื่อให้แผลหาย จะมีเพศสัมพันธ์หลังผ่า 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ตัดมดลูกยังคงมีอารมณ์ทางเพศปกต ิแต่อาจมีปัญหาทางจิตใจกังวลว่าไม่สามารถมีบุตรได้คู่ครองควรที่จะช่วยกันปลอบใจและให้กำลังใจ
การให้รังสีรักษา ระหว่างการให้รังสีรักษาผู้ป่วยจะเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร ผมร่วง ผิวบริเวณที่สัมผัสรังสีจะมีสีน้ำตาล ห้ามทาโลชั่น อาการต่างๆจะหายไปหลังหยุดการรักษา การร่วมเพศอาจจะลำบากเนื่องจากช่องคลอดจะแคบและแห้งต้องใช้ครีมหล่อลื่นช่วย นอกจากนี้อาจมีปัญหาเรื่องปัสสาวะและถ่ายเหลว
การให้เคมีบำบัด จะฆ่าเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว
ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย
ผมร่วง
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
เป็นหมัน

การสร้างภูมิคุ้มกัน ผลข้างเคียงมีไม่มาก มีอาการคล้ายไข้หวัด ปวดตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง

การป้องกัน สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่ามีหลายปัจจัยเป็นความเสี่ยง

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ HPV
งดการมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุน้อย
ไม่สำส่อนทางเพศ
ไม่มีเพศสัมพันธุ์กับคนที่มีคู่นอนหลายคน
ไม่มีเพศสัมสัมพันธุ์กับคนที่ยังไม่ได้คลิบอวัยวะเพศhaving sex with uncircumcised males
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 18 ปีและการมีสำส่อนทางเพศ เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส human papillomaviruses
สวมถุงยางอนามัยเมื่อจะมีเพศสัมพันธุ์
การสูบบุหรี่
การได้รับยาคุมกำเนิด diethylstilbestrol ระหว่างตั้งครรภ์
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การได้รับวิตามิน A ป้องกันมะเร็งได้แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติม
การออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างพอเพียงจะช่วยป้องกันโรคได้
การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2554
1 comments
Last Update : 8 ธันวาคม 2554 8:47:06 น.
Counter : 633 Pageviews.

 

seo สวัสดีชาว bloggang ยินดีที่ได้รู้จักครับ Directory

 

โดย: nooblue88 8 ธันวาคม 2554 21:42:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นภันต์-สุดขอบฟ้า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ความรักอยู่รอบตัวเรา
Friends' blogs
[Add นภันต์-สุดขอบฟ้า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.