Comrade Loves of the Samurai

เป็นหนังสือฉบับพิมพ์ซ้ำจาก edition แรก ปี 1928 ที่ยังคง font และการจัดหน้าแบบเดิม เพิ่ม introduction โดย Terence Barrow เข้ามา นี่น่าจะเป็นเหตุผลให้โดนบ่นโดย reviewer บางคนในฉบับ Kindle เพราะ OCR อ่านภาพ font เก่า (เช่น มีการเชื่อมหางตัว s กับ t) แล้วอาจจะแปลงเป็น text ผิดพลาด หนังสือประกอบด้วยหนังสือ 2 เล่ม เล่มแรก Comrade Loves of the Samurai รวม 13 เรื่องสั้นของ Ihara Saikaku ว่าด้วยความรักระหว่างซามูไรด้วยกันหรือซามูไรกับเด็กรับใช้ของเจ้านาย ผู้เตรียมจะเป็นซามูไร เล่มสอง Songs of the Geisha ในโน้ตแนะนำบอกว่าเป็น folk songs ที่ขับร้องโดยเกอิชา เล่มหลังนี้อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ให้อารมณ์เหมือนอ่านบทกวีที่นางพร่ำเพ้อถึงผู้ชายบ้าง ธรรมชาติอย่างหิมะ ฝน บ้าง เราขอพูดถึงเล่มแรกเล่มเดียวก็แล้วกัน
แค่นึกว่ากำลังอ่านงานแต่งเพื่อความบันเทิงของศตวรรษที่ 17 ก็ตื่นตาตื่นใจระดับหนึ่งแล้ว เมื่อนับรวมกับการเป็นเรื่อง homosexual loves ซึ่งมีพิสัยครอบคลุมตั้งแต่ความรักแบบ platonic ไปจนถึง pederasty ก็ยิ่งตื่นไปกันใหญ่ ในบทนำ Barrow บอกว่าทัศนคติเกี่ยวกับผู้หญิงของญี่ปุ่นยุคก่อนเปลี่ยนจากอุดมคติแบบยุคกลางมาเป็นยุคค้าขาย (ช่วงเปลี่ยนผ่านยุคโทะกุงะวะ) ไม่ต่างจากกรีกโบราณ คือ ผู้หญิงเพื่อสืบพันธุ์ เด็กผู้ชายเพื่อความอภิรมย์ อย่างในเรื่อง They Loved Each Other even to Extreme Old Age ไซคาคุเขียน "Woman is a creature of absolutely no importance; but sincere pederastic love is true love." วัตถุที่จะถูกรักจากบรรดาซามูไรหรือเจ้าชายในเรื่องคือเด็กผู้ชายนะฮะ ไม่ใช่ผู้ชาย ในจักรวาลของทั้ง 13 เรื่องเล่า เราพูดได้ว่า 2 สิ่งนี้แตกต่างกัน อย่างในเรื่อง He Rids himself of his Foes with the Help of his Lover ไซคาคุเขียน "The beauty of boys will vanish when they become men, ..." และเด็กผู้ชายที่ถูกกล่าวถึงจะมีอายุiระหว่าง 13 ถึง 19 ปี มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือเวลาบรรยายความงามของเด็กผู้ชายนั้น จะเปรียบเทียบกับผู้หญิง และความรักที่ซามูไรมีให้เด็กชาย จะเป็นความรักที่ถูกส่งมอบให้จากผู้ชาย อย่างเรื่อง Letter from a Buddhist Priest telling his Friend that his Lover comes to him ไซคาคุเขียนให้พระรูปหนึ่งเขียนจดหมายรักถึงเด็กผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งหวานมาก, เราอ่านไปขวยไป) ว่า "I am a priest, but, alas! I have also the passions of a man, and I confess that I love you with all my being." แล้วชื่นชมความงามของเด็กผู้ชายคนนั้นว่าดุจความงามของจักรพรรดินี Seishi หรือกวีหญิง Komachi หรือเรื่อง At Last Rewarded for his Constancy บรรยายความงามของเด็กรับใช้ผู้ชายตัวเอกว่า "At first sight you would have taken him for a charming Princess." ตรงจุดนี้ Barrow เขียนว่า homosexuality (คำนี้ในความหมายปัจจุบัน ผมมองว่าแตกต่างกันอย่างมากกับความหมายในจักรวาลของ 13 เรื่องเล่า, แต่เอาเถอะ) นั้นเป็นที่ยอมรับในโลกตะวันออกมากกว่าตะวันตก โดยให้เหตุผลทางชาติพันธุ์ว่าความแตกต่างระหว่างเพศหญิงกับชายของมองโกลอยด์ไม่มากเท่าคอเคเซียน นม-ตูดของผู้หญิงคอเคเซียนโดยเฉลี่ยแล้วใหญ่กว่ามาก แกว่างั้น
ถึงแม้ความรักแบบนี้จะเป็นที่ยอมรับ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นที่ถูกใจของคนเป็นแม่นะฮะ อย่างเรื่อง Love long Concealed ตอนพ่อส่งลูกไปเป็นเด็กรับใช้ของเจ้าชาย แม่กระซิบสั่งคนรับใช้ที่ติดตามลูกไปว่า หากมีซามูไรวานให้ส่งจดหมายรักให้ลูกตน ก็อย่าส่งให้ ฝ่ายลูกรู้ไต๋ พอออกจากบ้าน ก็บอกกับคนรับใช้คนนั้นว่า "I want to be loved by some great samurai, since that is one of the best things in this life of ours." และดูเหมือนเป็นความจำเป็นที่เด็กชายหน้าตาดีจะต้องถูกรัก อย่างตัวละครตัวนี้ก่อนที่จะถูกส่งเข้าวัง เขามีความงามที่ "..., and so beautiful that people thought it a pity to leave him hidden in this remote village, ..." และภายหลัง หลังจากเข้าวังแล้วและหายป่วย และรู้ความจริงว่ามีซามูไรคนหนึ่งแอบมาเยี่ยมทุกวัน วันละ 3 ครั้ง และไปสวดมนตร์ขอพรให้เขาหายป่วย เขาก็เข้าไปหาซามูไรคนนี้แล้วบอก "but if you love me, humbles as I am, I have come to be loved by you this evening, ..."
ทั้ง 13 เรื่องวนอยู่รอบแก่น เกียรติ ความรัก และความตาย
Ihara Saikaku เกิดและตายที่โอซาก้า ส่วนเราอ่านจบและเขียนรีวิวที่โอซาก้า
ผมให้     
Create Date : 25 ธันวาคม 2557 | | |
Last Update : 25 ธันวาคม 2557 7:18:47 น. |
Counter : 1046 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
The Arrow Impossibility Theorem

หนังสือจากบรรยาย Kenneth J. Arrow Lecture Series โดยผู้บรรยาย 2 คน Sen กับ Maskin ในหัวข้อเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีบท Impossibility ของ Arrow หนังสือประกอบด้วย 2 ภาค ภาคแรกเป็นเลกเชอร์ ในส่วนของ Sen เนื้อหาหลักมี 2 ประเด็น คือ เสนอพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ กับตั้งข้อสังเกต 5-6 ข้อจากทฤษฎีบท ในส่วนของ Maskin จะพูดถึงทฤษฎีบทในบริบทของการเลือกตั้ง ต่อท้ายเลกเชอร์ยังมี commentary จาก Ken Arrow ภาคหลังเป็นบทความอ่านประกอบเสริมจากเลกเชอร์
ทฤษฎีบทของ Arrow นั้นเป็นการค้นพบพาราด็อกซ์ของ Condorcet (ศตวรรษที่ 18) ซ้ำ ซึ่ง Ken เองก็กล่าวในบทปิดท้ายหนังสือ The Origins of the Impossibility Theorem ว่า ตอนแกเสนอทฤษฎีบทนี้นั้น ไม่เคยตระหนักถึงพาราด็อกซ์ของ Condorcet มาก่อน เพิ่งจะมารู้ว่าทฤษฎีบทดังว่าเป็นกรณีทั่วไปของพาราด็อกซ์เอาทีหลัง
พาราด็อกซ์ของ Marquis de Condorcet พูดถึงกรณีที่ ถ้าเรามีเซ็ตของลำดับความต้องการของทุกคนในกลุ่ม เราอาจจะไม่สามารถใช้เซ็ตนั้นสร้างลำดับความต้องการของกลุ่มได้ก็ได้ ขอยกตัวอย่างตามตัวอย่างของ Sen ในเลกเชอร์นะฮะ กลุ่มมี 3 คน และมีตัวเลือก 3 ตัวคือ x, y, z (โดย x, y, z คือสิ่งที่จะถูกเลือก อาจเป็นอะไรก็ได้ เช่น อาหาร, สถานที่ หรือแม้กระทั่ง social states) ถ้าคนแรกเลือก x > y > z (หมายความว่า คนแรกเลือก x เป็นอันดับ 1 เลือก y เป็นอันดับ 2 และเลือก z เป็นอันดับ 3) คนที่สองเลือก y > z > x และคนที่สามเลือก z > x > y เราจะพบว่า มี 2 ใน 3 ที่เห็นว่า x ดีกว่า y ขณะเดียวกัน มี 2 ใน 3 ที่เห็นว่า y ดีกว่า z ซึ่งโดยทั่วไปถ้ามันมีสมบัติ transitive เราก็จะอ้างเหตุผลว่า เพราะคนส่วนใหญ่เห็นว่า x ดีกว่า y และเพราะคนส่วนใหญ่เห็นว่า y ดีกว่า z เพราะฉะนั้น x ดีกว่า z แต่ในความเป็นจริง 2 ใน 3 เห็นว่า z ดีกว่า x นั่นคือ ในตัวอย่างนี้ การใช้ simple majority rule ทำให้ผลลัพธ์ขาดสมบัติ transitive ทำให้เราไม่สามารถใช้เช็ตของลิสต์ของทั้งสามคนมาสร้างลิสต์ของกลุ่มแบบ democratic ได้ (แต่ก็ยังสร้างลิสต์แบบ dictatorial ได้ เช่น เราพูดว่าคนแรกมี 3 เสียง หรือลิสต์กลุ่มไม่เป็นฟังก์ชั่นของลิสต์ของคนที่ 2 และ 3 เราก็จะได้ลิสต์ของกลุ่มคือ x > y > z)
ทฤษฎีบทของ Arrow ก็คล้าย ๆ กันนี่แหละครับ แต่เป็นกรณีทั่วไปกว่า Arrow กำลังจะสร้างฟังก์ชั่นตัวหนึ่งซึ่งมีโดเมนคือเซ็ตของลำดับความต้องการของแต่ละคนในกลุ่ม และมีเรนจ์คือลำดับความต้องการของกลุ่ม Arrow เรียกฟังก์ชั่นดังกล่าวว่า social welfare function และทฤษฎีบท Impossibility ของแกจะบอกว่าฟังก์ชั่นนั้นไม่มีอยู่จริงภายใต้ axioms ชุดหนึ่ง ทำให้เราสามารถพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า axioms ชุดนี้สร้างเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันเอง สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อเราพิจารณา axiom ทีละตัว (ตามเลกเชอร์ของ Sen ทั้งหมดมี 4 ตัว, แต่ในเลกเชอร์ของ Maskin ซึ่งเอามาพูดถึงในบริบทของการเลือกตั้ง มี 5 ตัว) จะเห็นว่าแต่ละตัวเป็น axiom ที่เป็นที่ต้องการและไม่น่าจะขัดแย้งซึ่งกันและกัน (ภายหลัง Maskin วิจารณ์ว่ามันมักจะขัดแย้งกันในกรณีที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อยในทางปฏิบัติ, Maskin นี่เป็นศิษย์ของ Arrow นะฮะ)
พูดตามเลกเชอร์ของ Sen สัจพจน์ทั้ง 4 ข้อคือ U (unrestricted domain) สำหรับโดเมนที่เป็นไปได้ทุกตัว ฟังก์ชั่นนี้ต้องมีเรนจ์ พูดอีกอย่างว่า ไม่ว่าแต่ละคนจะเลือกยังไงก็ตามที่เป็นไปได้ (ตัวอย่างการเลือกที่เป็นไปไม่ได้ เช่น มีคนที่เลือก c > x > y เมื่อ c ไม่อยู่ในเซ็ตของเลือกตัว) เราจะต้องได้ลิสต์ของกลุ่ม, I (independence of irrelevant alternatives) ในการจัดลำดับของสังคมสำหรับคู่ {x,y} ใด ๆ จะขึ้นอยู่กับการจัดลำดับของแต่ละคนสำหรับ x และ y เท่านั้น
(จากเลกเชอร์ของ Maskin จะพูดว่าสัจพจน์ข้อนี้กำจัด spoiler เมื่อพูดถึงในบริบทการเลือกตั้ง แกยกตัวอย่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีของอเมริกาปี 2000 ระหว่างบุชกับกอร์ ซึ่งมาตัดสินชี้ชะตากันที่ฟลอริด้า ใครชนะก็ได้เป็นประธานาธิบดี ซึ่งกฎที่ใช้ในการนับผลโหวตของรัฐนี้คือ plurality rule (คนชนะคือคนที่ได้คะแนนโหวตในอันดับ 1 สูงสุด, ผลลัพธ์จากการใช้ plurality rule กับ majority rule อาจแตกต่างกันได้นะฮะ และถึงตอนนี้ เราพอมองออกได้ไม่ยากละว่า majority rule จะมีปัญหากับสัจพจน์ U ในกรณีพาราด็อกซ์ของ Condorcet) สุดท้ายบุชชนะกอร์ไปด้วยคะแนนน้อยกว่า 600 เสียง ทีนี้ ปัญหาซับซ้อนมันอยู่ตรงที่มี Nader เป็นผู้สมัครคนที่สามในฟลอริด้า ถึงแม้สุดท้ายแล้ว Nader จะได้เสียงโหวตไม่ถึง 2% แต่แกก็เป็นสปอยเลอร์ เพราะคน 2% นี้มีโอกาสจะโหวตให้กอร์มากกว่าบุชถ้า Nader ไม่ลง นั่นหมายความว่า ลำดับของสังคมสำหรับคู่ {บุช,กอร์} ขึ้นอยู่กับ Nader ซึ่งเป็น irrelevant alternative ในแง่ที่ว่าตัวของแกเองยังไงก็ไม่มีโอกาสชนะอยู่แล้ว, ประเด็นของ Maskin คือ plurality rule ไม่ผ่านสัจพจน์ I)
P (Pareto principle) ถ้าทุกคนอยากได้ x มากกว่า y แล้ว x เป็นสิ่งที่สังคมต้องการมากกว่า y, สุดท้าย D (nondictatorship) จะต้องไม่มีคนที่ถ้าเขาต้องการ x มากกว่า y แล้ว สังคมจะต้องการ x มากกว่า y โดยไม่แยแสว่าคนอื่นจะต้องการอย่างไร
ทฤษฎีบทของ Arrow บอกว่า ถ้ามีสิ่งที่ถูกเลือก (social states) ที่แตกต่างกันอย่างน้อย 3 ตัวและประชากรในสังคมมีจำนวนจำกัดแล้ว จะไม่มี social welfare function ภายใต้เงื่อนไข U, I, D, และ P ในเลกเชอร์ Sen ใช้ spread of decisiveness กับ contraction of decisive sets ในการพิสูจน์ว่า ถ้าเราสร้าง social ranking ได้ภายใต้ U, I, และ P แล้วเราจะหาคนที่เป็นเผด็จการเจอเสมอ รายละเอียดการพิสูจน์นอกจากในส่วนของเลกเชอร์ยังอ่านได้จากภาค 2 ของหนังสือในบทความ The Information Basis of Social Choice
หนังสืออ่านได้เพลิน ๆ สนุก ๆ ไม่ยากจนเกินไป
ผมให้     
Create Date : 09 ธันวาคม 2557 | | |
Last Update : 9 ธันวาคม 2557 11:05:36 น. |
Counter : 1305 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |