ภาพวาดโดเรียน เกรย์ (The Picture of Dorian Gray)

สมมติคุณไม่รู้ว่า Oscar Wilde เป็นเกย์ ทันทีที่คุณอ่านโดเรียน เกรย์ บทแรกจบ คุณจะเริ่มสงสัย นี่มันอะไร หนึ่งลอร์ดกำลังสนใจคนที่หนึ่งศิลปินบรรยายว่าช่างรูปงาม หลอเหลา และทำให้เขาตกเป็นทาส บทที่สองชักเข้าเค้า อีสองคนนั่นมันแย่งกันจีบหนุ่มเกรย์ ไม่เกินบทที่สามด้วยความที่เหล่าบุรุษชื่นชมความงามของบุรุษจนออกนอกหน้า คุณก็ตั้งสมมติฐานเสร็จสรรพละครับว่าไวลด์มิใช่ชายธรรมดา คุณเธอสาวแตกแทรกให้เห็นเป็นระยะ ๆ โดเรียน เกรย์เป็นชายหนุ่มรูปงามครับ และไวลด์ท้าทายผู้อ่านของเขาอย่างไม่อิดเอื้อนว่าความงามนี่แหละคือคุณธรรม คือความดี คือความจีรัง คือความสมบูรณ์ คือสิ่งซึ่งสติปัญญาควรยอมสูญเสียไปเพื่อให้ได้มันมา "โดเรียน มีทุกอย่างรออยู่ในชีวิตข้างหน้าของเจ้าแล้ว หน้าตาอันหล่อเหลาของเจ้า จะให้เจ้าทำได้ทุกสิ่งทุกอย่าง" สิ่งที่ออสก้า ไวลด์ยกมา challenge ผมว่าไม่ได้เป็น argument ดาด ๆ อย่างที่ถ้าคุณรู้แค่ plot คุณจะด่วนตัดสินได้นะครับ ปฏิกิริยาแรกที่เราอ้าปากโต้ตอบคือ "(อีนี่) เสื่อม", "ไม่จริง", "นอกลู่นอกทาง" ฯลฯ แต่อะไรไม่จริงครับ 'ความงามเป็นคุณธรรม ไม่จริง' หรือ 'คนยอมรับและใช้ชีวิตโดยยึดถือว่าความงามเฉกเช่นคุณธรรม ไม่จริง' อันนี้ไม่ผิดหากจะบอกว่าสิ่งที่เราพูดว่าเราเป็นกับสิ่งที่เราเป็นนั้นมิเช่นเดียวกัน ไวลด์ก็หนีไม่พ้นลักษณะร่วมอันนี้ เกรย์ก็หนีไม่พ้น เขาหนีพ้นจากความชราและริ้วรอยตราบาปซึ่งจะประทับลงไปบนภาพแทนที่จะเป็นเขาซึ่งคงความหนุ่มและอ่อนเยาว์ได้ถึง 18 ปี จนบทสุดท้ายดูซิว่าไวลด์ทำอะไรกับเกรย์ ไม่ใช่คุณธรรมหรืออยากจะบอกกับเราว่าเกรย์มีจิตสำนึก เบื่อหน่าย เกิดพุทธิปัญญาหรอกครับ ผมว่าเป็นความอิจฉา!
ผมให้    
Create Date : 29 ตุลาคม 2552 |
Last Update : 25 เมษายน 2553 23:32:21 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1430 Pageviews. |
 |
|
|
เป็นความอิจฉา!
เออ อาจจะจริง ^^