Chess Mysteries of Sherlock Holmes

ปัญหาตรรกะหลายข้อของ Smullyan ถูกจัดให้ขึ้นหิ้งในฐานะปัญหาคลาสสิกไปแล้วครับ สไตล์ของเล่มนี้เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียว มีส่วนผสมลงตัวหอมหวานชวนปวดหัวของ logic puzzle, chess puzzle และ retrograde analysis ผูกเรื่องโดยใช้ตัวละครนักสืบชื่อดังจากปลายปากกาของดอยล์ คุณเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ร่วมถกปริศนาลึกลับที่ปรากฏบนกระดานหมากรุกกับคุณหมอวัตสัน (เนื้อเรื่องคุณหมอเป็นผู้เล่า) บางข้อผมนำไปตั้งเป็นโจทย์ปัญหาเล่นกับเพื่อน ๆ ในห้องหว้ากอ (แม้จะมีคนเล่นด้วยไม่มากนัก - -") ลองดูตัวอย่างสักข้อจากปกของ Hutchinson (ปกรูปบนฉบับของ Random House) ซึ่งเป็นตัวอย่างที่บอกแนวหนังสือเล่มนี้ได้ดี ก่อนมาเป็นรูปนี้ ตาสุดท้ายคือฝ่ายดำเดิน ถามว่าดำเดินจากไหนไปไหน แล้วตาก่อนหน้านั้นขาวเดินอะไร (เฉลยอยู่ย่อหน้าถัดไป)

ดูเหมือน impossible ใช่มั้ยครับ เพราะดำมีเหลืออยู่แค่ตัวเดียวคือคิง และคิงเดินจาก b7, b8 ไม่ได้แน่ ครั้นจะเดินจาก a7 ก็แปลว่ามันต้องเดินหนีบิชอบรุกนะสิ แต่บิชอบไปรุกตรงนั้นได้ยังไง เพราะเบี้ยขาว h1 ดันมาอุดทางเอาไว้ ปริศนาทั้งหมดจะคลี่คลายทันทีถ้าคุณพิจารณาความเป็นไปได้ว่า ด้านล่างของรูปคือฝั่งดำ และบิชอบตัวนั้นมาจากเบี้ยขาว f2 หรือ g2 ที่ได้โปรโมตเป็นบิชอบที่ g1 สำหรับคนที่มองหาหนังสือฝึกทักษะเชส เล่มนี้ "ไม่" แนะนำ เพราะมันไม่ช่วยให้คุณเล่นเชสเก่งขึ้นเลย แต่ถ้าคุณมองหาหนังสือลับสมองประลองปัญญาและฝึกการให้เหตุผล เล่มนี้ "ไม่" ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
ผมให้    
Create Date : 08 มิถุนายน 2554 |
Last Update : 8 มิถุนายน 2554 12:18:33 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1190 Pageviews. |
 |
|
|
เกี่ยวกับการเล่นหมากรุกหรอคะเนี่ย