สมาชิกหมายเลข 3519206
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






เราคือนักเขียนบล็อกอิสระ
เราที่หลงใหลการค้นหาแรงบันดาลใจให้ชีวิต
เราก็คือเมฆที่สว่างได้ด้วยตัวของมันเอง
ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นเช่นไร...

The clouds are always improvising,
but the culprit is wind.
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3519206's blog to your web]
Links
 

 
(Let's Psychology เหลือเชื่อจิตวิทยา) Classical Conditioning กับชีวิตประจำวันของเรา





Classical Conditioning กับชีวิตประจำวันของเรา

Classical Conditioning คืออะไร?
ขออธิบายอย่างรวบรัดว่า Classical Conditioning Theory ก็คือ ทฤษฏีการเรียนรู้จากเงื่อนไขการกระทำ
ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้น และการตอบสนอง (เขาเลยเรียกว่าเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบคลาสสิคน่ะ)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ivan pavlov
แล้วใครเป็นผู้คิดค้นทฤษฎี Classical Conditioning นี้ขึ้นมาล่ะ?
เขามีชื่อว่า Ivan Pavlov อีวาน พาฟลอฟ นักสรีรวิทยา ผู้คิดค้นทฤษฏีอย่างว่านี้ขึ้นมาในปี 1900
ซึ่งการทดลองครั้งแรกของเขา ก็ได้ใช้สุนัขในการทดลองครั้งสำคัญครั้งนี้ด้วย ร่วมกับนักทดลอง อาหาร และการหลั่งน้ำลายของสุนัขจึงเกิดเป็นทฤษฏี Classical Conditioning ขึ้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ classical conditioning

ในขั้นแรกของการทดลอง สุนัขได้ถูกมัดไว้ให้อยู่กับที่และปล่อยให้อยู่ในกล่องเป็นเวลาสักพัก พวกเขาทำแบบนี้หลายๆครั้งเป็นเวลาหลายวัน
ขณะเดียวกัน พวกเขาได้ทำการผ่าตัดใส่ปลายท่อหลอดเข้าไปใส่ขากรรไกรของสุนัขด้วย และทิ้งส่วนที่เหลืออีกด้านของท่อหลอดพักไว้ในเหยีอกแก้วตวง
ขั้นตอนที่สองนักทดลองทำการสั่นกระดิ่งและให้อาหารกับสุนัขทันทีหลังจากสั่นกระดิ่งแล้ว สุนัขกินอาหารนั้นอย่างเอร็ดอร่อย พวกเขาทำเช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลาสองสามวัน
เมื่อกระดิ่งสั่น กริ๊งงง ก็มีจะมีอาหารมาเสิร์ฟให้เจ้าสุนัขในทันที(อาหารที่ว่าก็คือผงเนื้อ) ระหว่างนั้น สุนัขจะน้ำลายไหลทันทีที่เห็นผงเนื้อในจาน
แต่ไม่ได้ตอบสนองต่อเสียงกระดิ่งสั่นแต่อย่างใด(สนแต่อาหารว่างั้น) น้ำลายมันก็ยังคงไหลไม่หยุดหลังจากที่อาหารถูกวางต่อหน้าแล้ว เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งที่การทดลองก็ดำเนินไปเช่นเดิม เว้นแต่ว่าหลังจากการสั่นกระดิ่งจบลง ก็ไม่มีอาหารมาปรากฎต่อหน้าสุนัขอีกแล้ว
อย่างไรก็ตาม พวกเขาพบว่าสุนัขน้ำลายยังคงไหลย้อยอยู่อย่างนั้นแม้มันจะได้ยินแค่เสียงกระดิ่งสั่นก็ตาม (มันหวังจะได้เห็นอาหารปรากฎหลังจากนั้นเหมือนครั้งที่ผ่านๆมา)
การหลั่งน้ำลายของสุนัขที่เกิดขึ้นระหว่างการสั่นกระดิ่งกับการปรากฎขึ้นของอาหาร ส่งผลให้เกิดการตอบสนองใหม่ของสุนัข
ที่ว่าสุนัขน้ำลายไหลเพราะได้ยินเสียงกระดิ่งนี้ก็คือที่มาของการนิยามของคำว่า conditioning นั่นเอง
สามารถเข้าไปดูวีดีโอถ่ายการทดลองต้นฉบับได้ตามลิ้งค์นี้

Classical Conditioning ที่เราสามารถสังเกตได้ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างที่1 คุณแม่ท่านหนึ่งเปิดประตูให้ลูก และก่อนที่เธอจะปล่อยให้ลูกเดินผ่านประตูออกไป เธอจะสั่งให้ลูกพูดว่า ขอบคุณค่ะ ทุกครั้ง
คุณแม่ทำเช่นนี้เสมอเวลาที่เปิดประตูให้ลูกก็จะคอยสั่งว่า พูดขอบคุณค่ะสิลูก แล้วลูกก็ทำตามอย่างเชื่อฟัง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า
จนมาวันหนึ่ง ทันทีที่คุณแม่เปิดประตูให้ลูก ยังไม่ทันที่เธอจะพูดอะไรกับลูกสาว เธอแค่มองหน้าลูกเท่านั้น ลูกก็พูดโดยอัตโนมัติว่า ขอบคุณค่ะ

ตัวอย่างที่2 เด็กที่ถูกรังแกในโรงเรียนจะเริ่มมีอคติและปฏิกิริยาในแง่ลบต่อโรงเรียนและสถานศึกษา พวกเขาเริ่มเกลียดและกลัวการมาโรงเรียน
หรือแม้แต่แค่พูดหรือนึกถึงภาพโรงเรียนพวกเขาก็จะมีความรู้สึกที่ไม่ดีเกิดขึ้นแล้ว เด็กนักเรียนบางคนถึงขั้นไม่ชอบวิชาใดวิชาหนึ่งไปเลย
นั่นเพราะอาจมีสาเหตุมาจากการถูกล้อเลียนหรือถูกลงโทษโดยคุณครูผู้สอนในวิชานั้นๆ พฤติกรรมนี้อาจส่งผลไปถึงตอนโตหากเขาต้องทำงานหรือร่วมงานกับสถานศึกษาในอนาคต
Classical conditioning ไม่ใช่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการเรียนรู้ และสามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดระบบการเรียนรู้ให้เกิดพฤติกรรมแง่บวกใหม่
ยกตัวอย่างเช่น คุณครูสามารถสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นมิตรและไม่กดดันนักเรียนให้เกิดความรู้สึกกลัวหรือกังวลใดๆ อาจจะจัดกิจกรรมทำงานกลุ่มร่วมกันกับเพื่อน
ทำกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนในเชิงบวก ในระยะยาวนักเรียนจะเกิดความมั่นใจและไม่กลัวที่จะเผชิญกับกลุ่มคนจำนวนมาก สามารถผ่อนคลายและสงบจิตใจได้ดี

ตัวอย่างที่3 วันที่เด็กอนุบาลต้องมารับการฉีดวัคซีน ทันทีที่เด็กคนแรกร้องลั่นตัวสั่นเพราะความเจ็บปวดที่ถูกเข็มฉีดยาเจาะเข้าไปในแขนของเขา
ส่งผลให้เด็กๆที่รอต่อแถวที่เหลือเริ่มร้องไห้และมีอาการกลัวจนตัวสั่นเกร็ง เด็กๆเหล่านั้นเริ่มร้องไห้ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เห็นเข็มด้วยซ้ำ
และนี้ก็คืออีกหนึ่งตัวอย่างของทฤษฎี Classical Conditioning ที่เด็กๆร้องไห้ก็คือพฤติกรรมตอบสนองที่เด็กๆเรียนรู้มาว่าเมื่อครูและพยาบาลบอกว่า ฉีดยา หรือได้ยินเพื่อนๆร้องด้วยความเจ็บปวด
Classical conditioning สำคัญอย่างไรกับชีวิตประจำวันของเรา?
Classical conditioning เป็นเหมือนเครื่องมือทรงพลังอย่างหนึ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในหลายสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็น การฝึกทางทหาร, การฝึกซ้อมนักกีฬา, การสอนมารยาทเด็กๆ หรือแม้แต่ การฝึกสุนัข ก็ย่อมทำได้
Sources:  psychestudy.com



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2560 16:33:59 น. 0 comments
Counter : 12732 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.