Group Blog
พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง และภาพงานวันงานเปิดให้บูชาผู้เป็นเจ้าภาพกองผ้าป่า
พระนอนวัดขุนอินทประมูล อย่าพึ่งเชื่อนะครับว่าสมเด็จโตท่านสร้างไว้ จนกว่าท่านจะได้เห็นด้วยตัวท่านเองและพิสูตรแล้วเท่านั้น อย่าเชื่อคนอื่นมากนักเชื่อตัวท่านเองดีกว่าครับเก็บไว้คนละองค์สององค์ดีกว่าอย่าคิดค้ากำไลครับ



ภาพองค์พระนอนที่พังทลายลงมาและได้พบสมบัติอันมีค่าแด่พระพุทธศาสนา

ยังที่เห็น




วัดขุนอินทประมูล อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯในปีพ.ศ. ๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป ด้านหน้าพระนอนมีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูล ซึ่งตามประวัติเล่ากันว่า เป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ โดยยักยอกเอาเงินของหลวงมาสร้างเพื่อเป็นปูชนียสถาน ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบรับสั่งถามว่าเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ขุนอินทประมูลไม่ยอมบอกความจริงเพราะกลัวส่วนกุศลจะตกไปถึงองค์พระมหากษัตริย์จึงถูกเฆี่ยนจนตาย วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดขุนอินทประมูล”

การเดินทางไปสามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สายคือ สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (เส้นทาง ๓๐๖๔) แยกขวาที่กิโลเมตร ๙ เข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่ ๘ จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก ๒ กิโลเมตร
เป็นพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความเก่าแก่หลายร้อยปี ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง เพราะโบสถ์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระนอนนั้นพังทลายไป พระพักตร์พระพุทธรูปมีลักษณะงาม พระ มหากษัตริย์ทั้งสมัยอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์เคยเสด็จมานมัสการพระนอนที่วัดหลายครั้ง นับเป็นพระนอนที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของ จ. อ่างทอง คู่กับพระนอนที่วัดพระนอนจักรสีห์ จ. สิงห์บุรี

ที่ตั้ง ต. อินทประมูล อ. โพธิ์ทอง จ. อ่างทอง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กม.

ประวัติ พระนอนวัดขุนอินทประมูลสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด มีเพียงตำนานซึ่งก็มีหลายสำนวน สำนวนหนึ่งกล่าวถึงพระยาเลอไทย เสด็จพระราชดำเนินจากสุโขทัยทางชลมารค เพื่อมานมัสการพระฤษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอน กรุงละโว้ ทรงพักแรมอยู่ ณ เขาสมอคอน 5 เพลา จากนั้นได้เสด็จผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาล่องไปตามแม่น้ำน้อย ผ่านคลองบางพลับ ขณะประทับแรมที่บ้านโคกบางพลับ เกิดศุภนิมิตทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นเหนือยอดไม้แล้วหายไปทางตะวันออก พระองค์ทรงปีติโสมนัสจึงสร้างพระนอนเป็นพุทธบูชา ขนาดยาว 20 ม. สูง 5 วา ใช้เวลา 5 เดือนจึงสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 1870 แล้วขนานนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทยนฤมิต ทรงมอบหมายให้นายบ้านเป็นผู้ดูแล และทรงแต่งตั้งทาสวัดห้าคน จากนั้นจึงเสด็จกลับสุโขทัยซึ่งสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ศิลปะบางท่านว่า พระนอนอาจสร้างในสมัยสุโขทัยก็เป็นไปได้ เพราะมีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย

องค์พระนอนขาดการบำรุงรักษา จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยามีพระภิกษุเข้าไปตั้งสำนักสงฆ์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2279 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จมานมัสการพระนอนที่วัดนี้ และสันนิษฐานว่าพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระนอนและศาสนสถานในวัดด้วย

อีกสำนวนหนึ่งว่า ขุนอินทประมูลซึ่งเป็นนายอากรเก็บภาษีเข้าแผ่นดินเป็นผู้สร้างขึ้น ตามอย่างสิงหพาหุผู้สร้างพระนอนที่ จ. สิงห์บุรี แต่เงินที่ขุนอินทประมูลนำมาสร้างพระนอนนั้นเป็นเงินภาษี ของรัฐ จึงถูกทางการลงโทษเฆี่ยนจนตาย

Situated at Tambon Inthapranum,Amphoe Pho Thong,accessed by 2 routes : from Angthong to Amphoe Pho
Thong (Road No 3064), turning right at Kilometer 9 and the temple is 2 kilometers from the intersection ; from
Singburi to Amphoe Chaiyo turning left at Kilometers 8. The temple 4 kilometer from the intersection. This
ancient temple was constructed during the Sukhothai period. Being observed from the ruined brick walls, the
temple was rather large Within the temple the largest reclining Buddha image is enshrined, measuring 50
meters from the topknot to the feet. The image features and size are similar to those of Phranon Chaksi, a
reclining Buddha image in Singburi Province. Therefore, it is assumed to have been constructed at the same
period (early Ayutthaya period) of the one in Singburi and was named "Phra Simuangthong" enshrined on an
earthen mound called "Khok Phranon". Formerly this reclining Buddha image was enshrined in a wihan but
during the first fall of Ayutthaya, this temple was destroyed by fire and left deserted. Only the image was left
in the open for hundreds of years. The image possesses attractive Buddha features with a serene smiling face
attracting respectfulness and faithfulness from people. Many Thai kings went to pay homage to the image e.g.,
King Borommakot in 1753, King Rama 5 in 1878 and 1908. The present king came to present the royal Kathin
robes in 1973 and again in 1975 to pay homage to the image. Buddhist from all over the country always comes
to worship the image. In front of the reclining Buddha image is a monument which is said to be of Khun
Inthapramun, a government duty collector who embezzled some of the government duty collector who
embezzled some of the government tax for constructing the reclining Buddha image as an object of worship.
When the King asked him how he obtained the fund to build the image, the man did not tell the truth because
he was afraid that his merit from building the image would be gained by the King. He was finally sentenced
by lashes to death. Still,many stories about Khun Inthapramun were told.



ถ้าทำบุญเอาปัจจัยเข้าวัดจะได้กล่องแบบนี้ครับ



ท่านที่มีความประสงค์ ต้องการพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลเป็นพุทธบูชา
ขณะนี้ทางวัดยังพอมี พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลเป็นที่ระลึกในการร่วมสร้างพระอุโบสถ
สามารถติดต่อได้ที่ พระครูวิเศษชัยวัฒน์ โทร ๐๘๑-๘๕๒๔๙๘๑
ที่วัดขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง เปิดให้บูชาครับ
กล่องแดงพิพม์เจดีย์ทำบุญ 10,000 บาท
กล่องเขียวพิมพ์ใหญ่ทำบุญ 20,000 บาท
กล่องสีน้ำเงิน พิมพ์พระธานใหญ่ทำบุญ 40,000 บาท พระทุกองค์ที่ออกจากวัดจะมีหมายเลขและรูปถ่ายเป็นประวัติครับ
ไปไม่ถูกโทรสอบถามได้ครับ เช่าข้างนอกเงินเข้ากระเป๋าใครไม่รู้เช่าที่วัดเงินรายได้นำสร้างพระอุโบสถในรอบ 400 ปีครับ ไปไม่ถูกโทรสอบถามเส้นทางได้ครับ ส.อ.กฤตพล แสงซื่อ 081-4852202
เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้มีโอกาสไปกราบนมัสการท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์หรือหลวงพี่เสวยเจ้าอาวาสวัดชัยมงคลและ รักษาการเจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง

ท่านพระครูหลวงพี่เสวยได้ถามถึง พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ซึ่งขุดขึ้นมาจากกรุใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และสิ่งที่ผมจะกล่าวถึงก็เป็นเพียงเฉพาะ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลเท่านั้น

และด้วยปรัชญาการวินิจฉัยพระเครื่องพระบูชานั้นไม่ควรจะใช้หูฟัง ไม่ควรจะเชื่อ หรืออ่านจากพุทธประวัติทั้งสิ้น ให้ใช้ตา พิจารณาถึงความเป็นไปได้ขององค์พระพุทธปฏิมากรรม คือ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เท่านั้น



พระสมเด็จอันล้ำค่ากรุขุนอินทประมูล เป็นพระผงสีขาว ที่มีมวลสารตามทฤษฎีของพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตารามเป็นพระรูปทรงสี่เหลี่ยม และมีขนาดเท่าๆ กับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พุทธศิลป์ใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังมาก แต่ก็มีพุทธพิมพ์ในรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง อันเป็นเอกลักษณ์แม่พิมพ์ของ พระสมเด็จ กรุขุน
อินทประมูล โดยเฉพาะ

พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล นั้น ท่านผู้รู้ใน จ.อ่างทอง แบ่งออกเป็น ๔ พิมพ์ คือ ๑.พระพิมพ์พระประธาน ๒. พระพิมพ์ใหญ่ ๓. พระพิมพ์ทรงเจดีย์ และ๔.พระพิมพ์คะแนน

ส่วนแต่ละพิมพ์จะมีพิมพ์ย่อยเหมือนพระสมเด็จวัดระฆังอีกหรือไม่ ผมยังไม่ทราบ เพราะยังไม่ได้ไปวิเคราะห์ หรือเห็นพระให้ทั่วถึงทั้งหมด

พิมพ์พระประธานเอกลักษณ์ของพระประธานนั้น เป็นพระพิมพ์ ๓ ชั้น มีเส้นแซมใต้ตักที่มีขนาดค่อนข้างหนา อย่างเห็นได้ชัด ซุ้มเรือนแก้วเป็นซุ้มผ่าหวายที่เส้นใหญ่และคมลึกมาก องค์พระประธานมีพุทธศิลป์ที่ล่ำสันสง่างามมาก มีความลึกมากกว่าพิมพ์อื่นเล็กน้อยเศียรขององค์พระเป็นรูปกลมรี ในพุทธลักษณะของศิลปะสุโขทัย คือ มีคางเล็กลง และเชื่อมลงมายังต้นพระศอขององค์พระ ซึ่งเห็นอยู่ในทีเท่านั้น มิได้เป็นรูปแท่งของลำคอเหมือนพระรุ่นใหม่ทั่วไป

พุทธศิลป์ที่แตกต่างกับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ คือ ไม่ปรากฏมีหูอยู่รำไรพระพักตร์ไม่ปรากฏมีหน้าตาชัด พระเกศเป็นกรวยยาวแหลมขึ้นไปจรดครอบแก้ว

พระพุทธศิลป์ที่คล้ายคลึงกับพระสมเด็จวัดระฆังคือ ที่รักแร้ขององค์พระประธานด้านซ้ายมือจะลึกสูงกว่า ซอกรักแร้ด้านขวามือขององค์พระประธาน หน้าตักซ้ายขององค์พระประธานจะสูงขึ้นกว่าหน้าตักทางขวามือขององค์พระประธาน เป็นเหตุให้พุทธลักษณะขององค์พระประธานจะนั่งเอียงจากฐานเล็กน้อย ซึ่งเหมือนกับพุทธศิลป์ของพระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ฐานทั้ง ๓ ชั้นใหญ่และลึก มีฐานสิงห์ปรากฏที่ฐานชั้นสองทั้ง ๒ ข้าง

พุทธศิลป์พิมพ์หลังองค์พระเรียบทั้ง๓ พิมพ์เหมือนกัน การตัดพิมพ์ขององค์พระนั้น เมื่อปั๊มแม่พิมพ์แล้วน่าจะตัดด้วยตอกจากด้านหลังขององค์พระ เสร็จแล้วจึงถอดองค์พระออกจากแม่พิมพ์ เหมือนพระสมเด็จ วัดระฆัง จึงไม่ปรากฏมีเนื้อปลิ้นบนขอบตัดด้านหน้า แตกต่างจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ซึ่งตัดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง จึงปรากฏขอบตัดที่ปลิ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การตัดแม่พิมพ์นั้นถึงจะเป็นการตัดแม่พิมพ์จากด้านหลังมาสู่ด้านหน้า แต่ก็ใช้กรรมวิธีตัดขอบที่ไม่เหมือนกัน จึงไม่ปรากฏรอยปูไต่บนพิมพ์ด้านหลังทั้ง ๔ ขอบ สันนิษฐานได้ว่าอาจจะใช้ตอกตัดตรงทั้ง ๔ ด้านทุกองค์

มวลสารขององค์พระนั้นมีเอกลักษณ์ของสมเด็จ วัดระฆัง ค่อนข้างจะครบสูตร คือ มีรอยพรุนบนองค์พระทั่วๆ ไป จึงสันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีส่วนผสมของผงธูปที่บูชาพระ เมื่อพระได้อายุนานปี ผงธูปได้หดตัวและเสื่อมหายไป จึงเกิดรอยรูพรุน หรือรอยเข็มทั่วไป

รอยบุ้งไต่หรือ รอยหนอนด้น ซึ่งเกิดจากมวลสารที่เป็นดอกไม้ พืชผักหรือเนื้อสัตว์ที่เป็นเศษอาหาร เมื่อสลายตัวแล้วจึงปรากฏร่องรอยที่เหลืออยู่เป็นรอยคล้ายบุ้งไต่ หรือหนอนด้น คล้ายกับพระสมเด็จ วัดระฆัง

เม็ดพระธาตุซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จ วัดระฆัง คือ เป็นมวลสารที่ผสมด้วยเศษปูนเก่าที่ตำละเอียด ผสมอยู่ในมวลสารของการสร้างพระ เมื่อพระสมเด็จมีอายุเป็นร้อยปี เศษปูนเก่าและส่วนผสมของปูนใหม่มีการหดตัว และมีรอยแยกกันเป็นธรรมชาติ

สำหรับไม้ก้านธูปหรือเศษมวลสารอื่นๆ ซึ่งมีในพระสมเด็จ วัดระฆังนั้น ยังไม่พบ อาจจะมี หรือไม่มีก็ได้

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ ซุ้มครอบแก้วจะเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด พุทธลักษณะของพระประธานจะไม่ล่ำสันเหมือนพิมพ์พระประธาน แต่พุทธศิลป์ยังคงรักษาเอกลักษณ์เหมือน หรือคล้ายกับพิมพ์พระประธาน เส้นแซมใต้ตักมีขนาดเล็กลงบ้างเท่านั้น

พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ พุทธศิลป์ดูจะล่ำสันกว่าพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่เสียอีก แต่ก็ไม่เท่ากับพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน เส้นแซมใต้ตักเป็นเส้นเล็ก และแหลมคม นอกนั้นพุทธศิลป์จะเหมือนและคล้ายกับพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน และพิมพ์ใหญ่



ทำไมจึงขนานพระนามเป็น"พระสมเด็จ" ในความเป็นจริงนั้น พระพุทธปฏิมากรรม หรือพระเครื่องที่สร้างขึ้นโดยพระคณาจารย์ที่มีตำแหน่งระดับ พระสมเด็จเช่นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) คนไทยจะขนานพระนามว่าเป็น พระสมเด็จ วัดระฆัง พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จอรหัง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยพระคณาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งชั้นสมเด็จพระเครื่องเหล่านั้นจะไม่ขนานพระนามว่าเป็น พระสมเด็จ เช่น พระวัดรังษีพระวัดพลับ พระหลวงปู่ภู เป็นต้น

อย่างไรก็ตามปัจจุบันแนวทางการขนานพระนามของพระเครื่องในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ พระสมเด็จ วัดระฆัง ได้มีการขนานพระนามเป็น พระสมเด็จเช่นกัน เช่น พระสมเด็จ วัดไชโย เป็นต้น



สำหรับ พระสมเด็จ กรุขุนอินทประมูลนั้น เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ พระสมเด็จ วัดระฆัง ทั้งพุทธศิลป์และมวลสารทั้งหมด อีกทั้งตามประวัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้มากราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลเหมือนเช่น วัดไชโย พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล จึงอาจจะได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง และบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล



หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับบารมีจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) คณะกรรมการจึงขนานพระนามเป็นพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล
พระสมเด็จอันล้ำค่า


ผศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

สวัสดีครับ ท่านผู้มีเกียรติและพ่อแม่พี่น้องที่เคารพทั้งหลาย วันนี้กระผมมีโอกาสได้มาพูดคุยกับท่านผู้มีเกียรติและพ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย เนื่องจากกระผมได้มีโอกาสกราบนมัสการท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ หรือหลวงพี่เสวย ท่านเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล และ รักษาการณ์ เจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง ท่านเจ้าประคุณหลวงพี่เสวยได้ถาม “ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ” ซึ่งขุดขึ้นมาจากกรุใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปรางค์ ไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่มาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระพุทธประวัติของ พระพุทธไสยาสน์ ขุนอินทประมูลนั้น ท่านเจ้าประคุณหลวงพี่เสวย ก็คงจะได้รวบรวมมาในหนังสืออย่างละเอียดแล้ว สิ่งที่กระผมจะกล่าวถึง ก็เป็นเพียงเฉพาะ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลเท่านั้น และด้วยปรัชญาการวินิจฉัยพระเครื่องพระบูชานั้น ไม่ควรจะใช้หูฟัง ไม่ควรจะเชื่อหรืออ่านจากพุทธประวัติทั้งสิ้น ให้ใช้ตาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ขององค์พระพุทธปฎิมากรรม คือ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลเท่านั้น
พระสมเด็จอันล้ำค่า กรุขุนอินทประมูล

เป็นพระผงสีขาวที่มีมวลสารตามทฤษฎีของพระสมเด็จ พุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆษิตาราม เป็นพระรูปทรงสี่เหลี่ยมและมีขนาดเท่าๆ กับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พุทธศิลป์ใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามมาก แต่ก็มีพุทธพิมพ์ในรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้างอันเป็นเอกลักษณ์แม่พิมพ์ของ พระสมเด็จ กรุขุนอินทประมูลโดยเฉพาะ

พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลนั้น ท่านผู้รู้ในจังหวัดอ่างทอง ได้ขนานพระนาม เป็นพระพิมพ์ว่า
1. พระพิมพ์พระประธาน
2. พระพิมพ์ใหญ่
3. พระพิมพ์ทรงเจดีย์
4. พระพิมพ์คะแนน
สำหรับแต่ละพิมพ์จะมีพิมพ์ย่อยเหมือนพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามอีกหรือไม่ กระผมยังไม่ทราบเพราะยังไม่ได้ไปวิเคราะห์หรือเห็นพระให้ทั่วถึงทั้งหมด สำหรับวันนี้ให้ถือว่า มี 4 พิมพ์ ก็แล้วกันครับ

พิมพ์พระประธาน เอกลักษณ์ของพระประธานนั้น เป็นพระพิมพ์ 3 ชั้น มีเส้นแซมใต้ตักที่มีขนาดค่อนข้างหนาอย่างเห็นได้ชัด ซุ้มเรือนแก้วเป็นซุ้มผ่าหวายที่เส้นใหญ่และคมลึกมาก. องค์พระประธานจะมีพุทธศิลปที่ล่ำสันสง่างามมาก มีความลึกมากว่าพิมพ์อื่นเล็กน้อย เศียรขององค์พระเป็นรูปกลมรีในพุทธลักษณะของศิลปสุโขทัย คือมีคางเล็กลงและเชื่อมลงมายังต้นคอขององค์พระซึ่งเห็นอยู่ในทีเท่านั้น มีได้เป็นรูปแท่งของลำคอเหมือนพระรุ่นใหม่ทั่วไป พุทธศิลปที่แตกต่างกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่คือ ไม่ปรากฏมีหูอยู่รำไร พระพักไม่ปรากฏมีหน้าตาชัด พระเกศเป็นกรวยยาวแหลมขึ้นไปจรดครอบแก้ว

พระพุทธศิลปที่คล้ายคลึงกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามก็คือ ที่รักแร้ขององค์พระประธานด้านซ้ายมือจะลึกสูงกว่า ซอกรักแร้ด้านขวามือขององค์พระประธานหน้าตักซ้ายขององค์พระประธานจะสูงขึ้นกว่าหน้าตักทางขวามือขององค์พระประธาน เป็นเหตุให้พุทธลักษณะขององค์พระประธานจะนั่งเอียงจากฐานเล็กน้อย ซึ่งเหมือนกับพุทธศิลปของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามพิมพ์ใหญ่

ฐานทั้ง 3 ชั้นจะใหญ่และลึก มีฐานสิงห์ปรากฎที่ฐานชั้นสองทั้ง 2 ข้าง
พุทธศิลปพิมพ์หลังเป็นพิมพ์หลังเรียบทั้ง 3 พิมพ์เหมือนกัน การตัดพิมพ์ของ องค์พระนั้น เมื่อปั้มแม่พิมพ์แล้วน่าจะตัดด้วยตอกจากด้านหลังขององค์พระ เสร็จแล้วจึงถอดองค์พระออกจากแม่พิมพ์ เหมือนพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม จึงไม่ปรากฏมีเนื้อปลิ้นบนขอบตัดด้านหน้า ซึ่งจะแตกต่างจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ซึ่งตัดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง จึงปรากฏขอบตัดที่ปลิ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การตัดแม่พิมพ์นั้น ถึงจะเป็นการตัดแม่พิมพ์จากด้านหลังมาสู่ด้านหน้า แต่ก็ใช้กรรมวิธีตัดขอบที่ไม่เหมือนกัน จึงไม่ปรากฏรอยปูไต่บนพิมพ์ด้านหลังทั้ง 4 ขอบ. จึงสันนิษฐานได้ว่าอาจจะใช้ตอกตัดตรงทั้ง 4 ด้านทุกองค์

มวลสารขององค์พระนั้น มีเอกลักษณ์ของสมเด็จวัดระฆังค่อนข้างจะครบสูตร คือมีรอยพรุนบนองค์พระทั่วๆไป จึงสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีส่วนผสมของผงธูปที่บูชาพระ เมื่อพระได้อายุนานปีผงธูปได้หดตัวและเสื่อมหายไป จึงเกิดรอยรูพรุนหรือรอยเข็มทั่วไป.

รอยบุ้งไต่หรือรอยหนอนด้น ซึ่งเกิดจากมวลสารที่เป็นดอกไม้ พืชผักหรือเนื้อสัตว์ที่เป็นเศษอาหาร เมื่อสลายตัวแล้วจึงปรากฏร่องรอยที่เหลืออยู่เป็นรอยคล้ายบุ้งไต่หรือหนอนด้น คล้ายกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม

เม็ดพระธาตุ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม คือเป็นมวลสารที่ผสมด้วยเศษปูนเก่าที่ตำละเอียดผสมอยู่ในมวลสารของการสร้างพระ เมื่อพระสมเด็จมีอายุเป็นร้อยปี เศษปูนเก่าและส่วนผสมของปูนใหม่มีการหดตัวและมีรอยแยกกันเป็นธรรมชาติ สำหรับไม้ก้านธูปหรือเศษมวลสารอื่นๆซึ่งมีในพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามนั้น ยังไม่พบอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้.

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่
ซุ้มครอบแก้วจะเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด พุทธลักษณะของพระประธานจะไม่ล่ำสันเหมือนพิมพ์พระประธานแต่พุทธศิลปยังคงรักษาเอกลักษณ์เหมือนหรือคล้ายกับพิมพ์พระประธาน. เส้นแซมใต้ตักจะมีขนาดเล็กลงบ้างเท่านั้น



พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์
พุทธศิลปะดูจะล่ำสันกว่าพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่เสียอีก. แต่ก็ไม่เท่ากับพระสมเด็จพิมพ์พระประธานเส้นแซมใต้ตักเป็นเส้นเล็กและแหลมคม นอกนั้นพุทธศิลปจะเหมือนและคล้ายกับพระสมเด็จทั้งของพิมพ์พระประธานและพิมพ์ใหญ่



ทำไมจึงขนานพระนามเป็นพระสมเด็จ
ในความเป็นจริงนั้น พระพุทธปฎิมากรรมหรือพระเครื่องที่สร้างขึ้นโดยคณาจารย์ที่มีตำแหน่งระดับพระสมเด็จ เช่น สมเด็จพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังสี ,หรือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ( สุกไก่เถือน ) ประชาชนชาวไทยจะขนานพระนามว่าเป็น พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จอรหัง เป็นต้น แต่ถ้าเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยคณาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งชั้นสมเด็จ พระเครื่องเหล่านั้นจะไม่ขนานพระนามว่าเป็นพระสมเด็จ ดังตัวอย่าง เช่น พระวัดรังษี พระวัดพลับ พระหลวงปู่ภู เป็นต้น

แต่ปัจจุบันแนวทางการขนานพระนามของพระเครื่องในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม ก็มีการขนานพระนามเป็นพระสมเด็จเช่นกัน เช่น พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นต้น สำหรับพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลนั้น เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามทั้งพุทธศิลปและมวลสารทั้งหมด อีกทั้งตามพุทธประวัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้เคยเสด็จมากราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล เหมือนเช่น วัดเกศไชโย พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูลจึงอาจจะได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างและบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับพระบารมีจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี . คณะกรรมการจึงขนานพระนามเป็น “ พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ”

แนวทางการดูพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล

พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เป็นพระเนื้อผงที่บรรจุในใต้ฐานพระพุทธไสยาสน์ ขุนอินทประมูล และน่าจะบรรจุอยู่ในที่สูงปราศจากน้ำท่วมใดๆ ด้วยอายุขององค์พระที่บรรจุไว้นานเป็นร้อยปี กลางวันจะร้อนด้วยไอแดด และกลางคืนจะเย็นด้วยอากาศในตอนกลางคืน จึงก่อเกิดคราบปูนในอากาศที่ตกตระกอนจับลงบนองค์พระเครื่องที่เป็นพระผง จนกระทั่งมีคราบปูนสีขาวนวลและจับแน่นเหมือนหินปูนโดยทั่วทั้งองค์พระ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ดังตัวอย่าง เช่น พระหลวงปู่ภูพิมพ์ 7 ชั้น ของวัดอินทร์ ฯ ที่ไปบรรจุไว้ในกรุที่จังหวัดพิษณุโลกนั้น จะมีผิวคราบปูนจับอยู่บาง ๆ เป็นต้น แต่คราบปูนที่จับอยู่บนพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลมีความหนากว่ามาก แสดงว่าพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลได้บรรจุในกรุมีอายุนานกว่า พระหลวงปูภูพิมพ์ 7 ชั้นที่เปิดกรุได้ที่จังหวัดพิษณุโลก และอาจจะนานกว่าสองเท่า


คราบปูนที่จับอยู่บนผิวขององค์พระตามธรรมชาตินั้น นอกจากจะมีผิวธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันแล้วผิวปูนตามธรรมชาติจะจับแน่นไม่สามารถหลุดโดยง่ายต้องใช้ของแข็งขุดจึงจะสามารถเข้าถึงเนื้อได้ นอกจากผิวจะแข็งแกร่งแล้ว ยังมีสีด้านเหมือนหินปูนธรรมชาติ เหมือนหินปูนในถ้ำ ถ้าเป็นหินปูนที่สร้างเทียมขึ้นจะต้องเป็นลักษณะปูนขาวผสมกาวที่แข็งและจับแน่น แต่ก็จะต้องปรากฏความมันของกาวที่สร้างจากเคมีสังเคราะห์ขึ้นครับ

จึงหวังว่าท่านพุทธศาสนิกชนจะได้นิมนต์ไว้เป็นพุทธบูชาต่อไป

ผศ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

มีหลายต่อหล่ายท่านถามผมบ่อยๆว่าทำไมลักษณะคราบกรุพระสมเด็จวัดขุนอินบางองค์คราบหนาบางองค์นอยและบางองค์ถึงขั้นแทบไม่มีเอาเสียเลยและทำไมพระดูไม่เก่าเหมือนวัดอื่นๆ

ครับผมจะตอบให้แบบง่ายๆก่อนครับ พระกรุวัดขุนอินนั้นเป็นพระที่ฝังอยู่ในดินช่วงเอวของพระนอน และถ้าสังเกตุดูดีๆแล้วนั้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้น้ำได้ท่วมอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงครั้งใหญ่ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ก็ได้ลงรูปน้ำท่วมครังนั้นแต่ที่ผมสะกิดใจก็คือภาพที่ลงเป็นภาพพระนอนวัดขุนอินทประมูลนี่เองแม้ว่าน้ำจะท่วมครั้งใหญ่ก็ท่วมได้แค่ปริ่มๆบันไดขั้นแรกเท่านั้นเพราะองค์พระนอนอยู่บนโคกสูงกว่าพื้นระนาดทั่วไปซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง กรุพระของวัดนี้จึงอยู่ในสภาพที่ดีไม่เคยโดนน้ำท่วมและโดยเฉพาะเป็นกรุที่ฝังอยู่ในพื้นดินไม่ได้เป็นกรุที่อยู่ในเจดีย์ที่มีอากาศถ่ายเทฝนไม่ได้ประทะโดยตรงอาจจะมีเพียงความชื้นที่ผ่านจากทางหน้าดินลงไปเท่านั้นอีกทั้งจากแหล่งข้อมูลที่ผมได้ศึกษามาได้บอกกล่าวว่าพระเครื่องชุดนี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในกระถางที่คร้ายกับกระถางธูปตอนกรุแตกนั่นยิงทำให้เข้าใจสภาพกรุมากขึ้นครับ

คราบกรุโดยมากของกรุนี้จะเลียบติดองค์พระไม่หนามากมีเพียงจำนวนไม่มากที่มีคราบกรุแน่นหนา เพราะพระนั้นฝังอยู่ใต้ดินองค์ที่หน้าจะมีคราบกรุหนาหน้าจะเป็นองค์บนและองค์ล่างๆเท่านั้นส่วนองค์กลางๆมีไม่ค่อยเยาะและที่ผมกล่าวมาตอนต้นพระนั้นถูกบรรจุอยู่ในกระถางมังกรแบบโบราณ สภาพจึงยังอยู่ดีไม่เขราะแบบกรุอื่นๆนั้นทำให้คิดย่อนกลับไปว่าพระรอดเองอายุที่กล่าวกันว่า1,200ปีนั้นทำไมถึงไม่มีคราบกรุล่ะครับพระคงและอีกหลายๆกรุ เหตุผลเพราะว่าเป็นพระกรุดินไงครับไม่ใช้กรุเจดีย์ที่มีอากาศฝ่านได้หรือระอองฝนเข้ามาประทะโดยตรงได้ พระจึงอยู่ในสภาพที่ดี และอีกประการหนึ่งเหตุผลง่ายๆพระเพิ่งแตกกรุมาไม่กี่ปีเพิ่งออกมาสู่โลกภายนอกเหมือนประหนึ่งท่านซื้อเสื้อมา2ตัวตัวหนึ่งเก็บไว้ในตู้อีกตัวเอามาใส่หลังจากนั้นหนึ่งเดือนท่านนำเสื้อ2ตัวนี้มาเทียบกันดูท่านก็จะรู้ว่าแม่พระจะทำมาพร้อมๆกันชุดหนึ่งเก็บลงกรุไว้อีกชุดแจกให้ผู้คนเอาไว้ใช้พอผ่านเวลานานไปกรุแตกออกมาถ้านำมาเทียบกันมันจะได้สภาพเหมือนกันได้อย่างไร เรื่องง่ายๆแค่นี้แหละครับ ลองคิดดูเอาเองแล้วกันว่าทำไมพระกรุวัดขุนอินทประมูลถึงได้อยู่ในสภาพที่ดีนักและถ้าว่าด้วยเหตุและผลก็คงจะไม่แปลกอะไรปัญญาชลว่ากันที่เหตุและผลไม่ใช่ที่ความรู้สึกแต่เพียงอย่างเดียวครับส่วนลักษณะบางจุดบนองค์พระที่ผมจะนำเสนอในโอกาศต่อไปจะเป็นการคลายข้อสงสัยด้านธรรมชาติของพระกรุที่จะไม่สามารถทำเทียมขึ้นมาได้อย่างเด็ดขาดครับอดใจนิดนึงครับ

href="//www.bloggang.com/data/sanmongkol/picture/1232302336.jpg" target=_blank>



แผนที่วัดขุนอินทประมูล




วันงานครับเตรียมตัวกันแต่เช้าครับ จัดพระไว้ในตู้ครับเห็นๆนั้นเป็นเจ้าภาพกองผ้าป่าละ 40,000 บาท พิมพ์พระประธานใหญ่ กล่องสีน้ำเงิน


อนาคตคงหาแท้ๆได้ยากครับของเก๊ของฝีมือ ตามออกมารอหน้าวัด เลยใครโลภเสร็จ



แม่บ้านนับเงินกันไม่หยุดเลยผ้าป่า กองละ 20,000 บาทได้กล่องเขียว พิพม์ใหญ่ครับ




แขกผู้ใหญ่ที่มีพระสมเด็จวัดระฆังมากที่สุดในประเทศมากันครบครับแถมขึ้นสมเด็จวัดขุนอินองค์อีกต่างหากของแพงต้องอยู่ในธนาคารครับ


ช่วยด้วยใจเก็บภาพเป็นประวัติศาสตร์


ทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ครับ


พี่ต้อม ศาลายา พี่บั้ม นครปฐม จ่าแสน จ๋าอินทประมูล



ทีมงานเหนื่อยแต่อิมบุญ

ทีมงานเหนื่อยแต่อิมบุญ

เตรียมพร้อมครับโชวก่อนแจกจ่าย




ต้องขออภัยนะครับ กรุณาอย่านำพระที่มีการลงประมูลที่มีส่วนได้เสียกันอยู่มาโพทในกระทู้ที่ผมโพทตัวอย่างครับ ถ้าอยากคัดองค์ที่ขึ้นคอได้แบบสบายใจ ส่งอีเมลมาครับ ยินดีเสนอแนะและบอกจุดพิจารณาให้ครับ



มีคำถามหรือข้อสงสัยถามได้ครับ



องค์นี้ของผมเองว่าจะแลกกับรถยนต์มือสองสักคัน


มีหลายท่านถามผมว่าทำอะไรที่วัดถึงมีของออกมาให้คนอื่นบูชาได้ ขอบอกว่าเก็บมาตั้งแต่เขาไม่เล่นนานแล้วครับโดนว่าเล่นวัดระฆังเก๋มาเล่นสร้างตำนานบ้างโดนมาสารพัดแต่ก็เก็บถ้าเจอหลุดในสนามจนมาวันหนึ่งความจริงถูกเปิดเผยผู้ใหญ่ในบ้านเมื่องมองเห็ตคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญกับพระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล จึงนำของที่เก็บมาแบ่งให้ผู้ที่มีปัจจัยไม่ถึงแต่อยากบูชาได้ใช้กัน

คำวิจารณ์ของ อ.เสมียน ราชวัตร
วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 9 โมงเช้าตรงเพี้ยะกระผมและทีมงานก็ได้เดินทางไปถึงบ้าน อาจาย์เสมียน ราชวัตร ตามที่พี่ตี๋สะพานสูงได้นำทีมไป ฝนก็ตกพอประมาณเหมือนกับฟ้าพรมน้ำมนต์ให้แต่เช้า พอเข้าไปในบ้านของอาจารย์ก็ได้การต้อนรับอย่างอบอุ่นจากครอบครัวของอาจารย์ ตอนแรกอาจารย์นึกว่าจะให้วิจารณ์แค่องค์สององค์แต่พออาจารย์เห็นจำนวนพระท่านก็รีบคว้าแว่นตามาใส่ พร้อมกับมองพระในกล่องอย่างละเอียด แล้วอาจารย์ก็บอกว่าพระแท้ดูง่ายเก่าแน่นอนอีกทั้งคราบกรุถูกต้องลักษณะธรรมชาติรอบๆองค์พระ แล้วอ.เสมียน ก็ได้ถามถึงประวัติของพระกรุขุนอินทประมูล พวกเราก็ได้เล่าโดยคร้าวๆให้ฟังทั้งนำหลักฐานที่ได้นำติดตัวไปบ้างเล็กน้อยนำให้ท่านดูท่านบอกว่าถ้าหลักฐานชัวร์ก็ดูว่ากรุนี้ก็คงผ่านฉลุยและอาจารย์ยังกรุณาแยกพิมพ์พระให้พวกเราเข้าใจอีกด้วย ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดภายในสิ้นปีนี้มีเฮแน่นอนคร้าบและอาจารย์ก็จะให้เกรียติไปเป็นประธานในการประกวดด้วยนะครับ ต่อไปสมเด็จกรุขุนอินก็จะเป็นมาตราฐานสากลตามแบบฉบับของสมเด็จแล้วนะคร้าบ
จริงๆแล้วพวกเราคุยกันค่อนข้างเยาะผมจึงตัดขั้นตอนสำคัญมาลงไว้พอหอมปากหอมคอ

เราถามถึงคราบกรุขาว ท่านบอกว่าเป็นคราบแป้งและคราบฝุ่นละอองของกรุเกาะหน้าผิวพระแบบหนึบ อีกทั้งบางองค์มีคราบราดำติดหนึบเข้าไปในฝิวองค์พระคราบเหล่านี้เป็นคราบที่จะเกิดขึ้นกับพระกรุที่มีอายุเป็นร้อยปีเท่านั้น อีกทั้งลอยปริรอบๆและรอย ปูไต่, หนอนด้น, และรอยปริแยกตามขอบพระเนื้อถ้าเทียบกับวัดระฆังแล้วกรุขุนอินจะดูฟามๆกว่าเพราะมวลสารมีมากกว่านั่นเอง

เราจึงถามต่อไปว่าในความรู้ศึกส่วนตัวตอนนี้ อ.คิดว่าถึงยุคของสมเด็จหรือไม่
ท่านตอบว่าท่านว่าถึงยุคสมเด็จแน่นอนแต่ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องมีประวัติที่แน่นอนซะก่อน

ครับพอหอมปากหอมคอก่อนครับที่ผมไม่ได้ลงในข้อความที่เราคุยกันทั้งหมดเพราะมากมายหลายคำถามเหลือเกิน และเราต้องการนำเสนอข้อมูลที่มีตัวตนจริงซะก่อนบดความวิจารณ์ของบุคคลใดก็ตามก็เป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต้องมีหลักฐานประกอบด้วยเสมอครับ
จบกันตรงนี้ที่ว่าพระแท้และเก่าถึงยุคก่อนส่วนประวัติผมจะค่อยๆนำเสนอข้อมูลสนับสนุนกันต่อไปครับ
ส.อ.กฤตพล แสงซื่อ โทร 081-04852202 สอบถามข้อมูลเพื่มเติมไดครับ
มาชมของแท้ ๆ เก็บเก่าเดิมๆ



ด้านหลัง

อีกองค์ครับมีเส้นเกษาตอนบรรจุอาจะปลิวอยู่ภายใน

ด้านหลัง

อีกองค์ครับ ให้บูชาทุกองค์ครับสอบถามได้



พิมพใหญ่

อีกองค์พิมพใหญ่

พิมพ์ใหญ่อีกองค์ครับ
พิมพ์ใหญ่อีกองค์ครับ
พิมพ์ใหญ่อีกองค์

ก่อนจะเข้ามาศึกษาสายนี้ควรไปทำบุญที่วัดเพื่อเป็นตัวอย่างที่ถูกต้องครับในการสะสมไม่งั้นมีปัญหาตามมาที่ไม่รู้จบครับเล่นแบบวัดเล่นแบบที่ลงหนังสือจบง่ายครับและขอแจ้งให้ทราบนะครับว่าไม่รับเช็คพระใครทั้งนั้นและถ้ามีใครแอบอ้างช่วยกรุณาโทรมาบอกด้วยครับจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งเนื่อจากตอนนี้มีการอ้างอิงและพราดพพิงว่าได้ตรวจสอบแล้วโดยบอกผมบ้างทางร้านบ้างเนื่องจากไม่พอใจและอยากได้เงินคืนจึงมีการแอบอ้างไปกันหมดจึงขอชีแจงมา ณ โอกาสนี้ครับ ไม่รับดูพระวัดขุนอินให้ใครทั้งนั้นนอกจากท่านไปเช่าที่วัดและสงสัยว่าได้พระมาไม่ตรงกับการขึ้นทะเบียนใว้เป็นหลักฐานจะช่วยตรวจสอบกับทางวัดให้ที่วัดก็ไม่รับเช็คพระให้ใครทั้งนั้นพระถือว่าเป็นการทำบุญไม่ได้ให้เช่าครับ ขอบคุณครับ ส.อ.กฤตพล แสงซื่อ 0814852202 พิมพ์ใหญ่มาใหม่ครับแบ่งให้ใช้โทรสอบถามได้ครับ

พระสมเด็จวัดขุนอินทประมูลพิมพ์พระประธานใหญ่เก็บเข้ามาใหฒ่ครับแบ่งให้บูชา
โซนนี้น่าศึกษามากเพราะจะได้เห็นคราบแคลเซียมธรรมชาติอีกแบบหนึ่งที่ทำเลียนแบบได้ไม่เหมื่อนเพราะของเลียนแบบจะเป็นน้ำปูนไม่เป็นฝุนตะกอนจับตัวกันเป็นชั้นๆ



ด้านหลังยิ่งดูง่ายครับโซนนี้มวลสารจัดมากและหยาบ



แฟนพันธ์แท้พระเตรื่องพระบูชาไทยท่านแรกลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล



พิมพ์พระประธาน


ด้านหลัง

ด้านข้างอย่าไปยึดติดคราบสวยๆมากนักยึดหลักของแท้ดูง่ายดีกว่าไม่เจ็บตัวที่หลัง



พิมพ์พระประธาน


ด้านหลัง









Create Date : 29 ตุลาคม 2551
Last Update : 19 ธันวาคม 2553 13:56:01 น.
Counter : 70720 Pageviews.

121 comment

ธันยาภัทร์
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



ดูดวงไพ่ยิปซี ดูดวงไพ่ยิปซี ไพ่ยิปซี ไพ่ยิบซี ทำนายไพ่ยิบซี สามารถ ดูดวงความรัก ดูดวงเนื้อคู่ ดวงการงาน การเงิน ค่าบูชาครู 199 บาท
ดูดวงไพ่ยิปซี สามารถดูออนไลน์ได้ทั่วโลก
ดูเรื่องความรัก
เนื้อคู่ การงาน การเรียน สุขภาพ
และเรื่องที่คุณอยากรู้ ค้นหาชะตาชีวิตของคุณ
ด้วยศาสตร์ลี้ลับของไพ่ยิปซี โทร. กดเพื่อดูเบอร์โทร 089-052-5056 กชพร โฉมศรี Line ID: 0 8 9 0 5 2 5 0 5 6
ค่าบูชาครู 199 บาท
ธนาคารไทยพานิชย์ ออมทรัพย 093-2-20941-1
https://www.10luc.com