อุปสรรคทุกอย่างมีทางแก้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกวิธีแก้อย่างไร
Group Blog
 
All Blogs
 
ความสิ้นเปลือง ในเรื่องของเทคโนโลยี

หลายๆ ครั้งผมได้พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเบื่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตนเองใช้มาเกิน 1 ปี และต้องการเปลี่ยนก่อนระยะเวลาอันควร เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ / คอมฯ / รถยนต์ / เครื่องเสียง / ทีวี เป็นต้น

ความสิ้นเปลืองนี้ผมแยกแยะออกเป็นประเภท ดังนี้
1. ราคา/เงิน - เพราะของเก่ายังสามารถใช้งานได้ดี ไม่เสีย เพียงแต่ตกรุ่น ทำให้ต้องการเปลี่ยนไปยังรุ่นใหม่ ทำให้ต้องเสียเงินเพิ่ม เพื่อ Turn ของเก่าไปซื้อรุ่นใหม่ หรือ อาจจะซื้อใหม่เลย โดยของเก่าให้ผู้อื่นใช้ต่อ หรือ ไม่ก็เก็บไว้เป็นเครื่องสำรอง

เรื่องสิ้นเปลืองราคา/เงิน ผมเห็นว่าสิ่งนี้ไม่อยู่ในเรื่อง "พอเพียง" เลยแม้แต่น้อย เพราะมีผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมเป็นอย่างมาก เราต้องเสียเงินตราให้กับต่างประเทศเป็นจำนวนมากกับการใช้เทคโนโลยี แบบไม่คุ้มต่อประสิทธิภาพ โดยไม่มีผู้ใดร่วมกันรณรงค์กันสักเท่าไหร่ หรือ ปลูกฝังค่านิยมที่ควรจะเป็นให้กับเด็กๆ และวัยรุ่น (บ้านเรามีค่านิยมที่ผิดๆ หลายๆ เรื่องจริงๆ ครับ)

2. Spec/ประสิทธิภาพของสินค้า - หลายครั้งผมเห็นผู้ใช้เลือกซื้อ Spec/ประสิทธิภาพของสินค้า ไม่ตรงกับความต้องการในการใช้งาน (หากงบประมาณเพียงพอต่อการซื้อ Spec นั้นๆ) ซึ่งเกิดจากผู้ใช้อ่าน Spec ไม่เป็นว่าอะไรคืออะไร และตนเองมีความต้องการใช้งานในระดับใด ทำให้เลือกซื้อสินค้ามาแล้วไม่ตรงกับความต้องการ (ซื้อของมาต่ำกว่า Spec ที่ควรจะเป็น หรือ ซื้อของมาสูงกว่า Spec ที่ควรจะเป็น) ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองเงินที่อาจจะต้องซื้อสินค้าใหม่เป็นตัวที่สอง สาม สี่..... หรือ ไม่ก็จ่ายแพงเกินกว่าที่ใช้งาน อาทิเช่น

ทีวี LCD/Plasma HD Ready (720i/P - 1080i)/Full HD (1080P) ทั้งๆ ที่ปัจจุบันระบบ TV บ้านเรายังคงออกอากาศเป็นระบบอนาล็อก (Analog) ที่ความละเอียดเพียง 480-520 เส้นเท่านั้น (Master Plan สำหรับการเปลี่ยนเป็นออกอากาศเป็น Digital อยู่ในปี 2558/2015) แต่เรากลับต้องการใช้เพื่อดู TV ทั่วไป (ฟรีทีวี) และ DVD เท่านั้น (DVD ที่ดีๆ จะให้คุณภาพ 720i/P - 1080i เท่านั้น แต่เรากลับเห็นหลายๆ คนไปซื้อ LCD/Plasma Full HD (1080P) มาใช้งาน ซึ่งจะดูภาพระดับ Full HD ได้นั่นคือ ต้องมีเครื่องเล่น Blu-ray / HD-DVD หรือ เครื่องเล่นระดับ Full HD มาต่อกับจอประเภทนี้ ทำให้เราต้องเสียเงินซื้อของเกิน Spec ไปมาก ขณะที่เทคโนโลยียังไม่หยุดการพัฒนาอีกด้วย ซึ่งโอกาสที่จะใช้งานหรือดูหนังจากเครื่องเล่นเหล่านี้เพียงแค่ 10-30% ของการใช้งานตลอดอายุการใช้ (จนกว่าจะเบื่อ) เท่านั้น

3. ปริมาณ - ความสิ้นเปลืองเรื่องปริมาณ ทำให้เราต้องบริโภคมหาศาล เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการ แต่ความประหยัดจากปริมาณความต้องการ (Econonic of Scale) นั้นกลับเติมโตได้ช้ากว่าเป็นอย่างมาก (ราคากลับลดลงไม่มาก กับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น) แต่ผู้ผลิตสินค้ากลับเพิ่ม Function อีกเพียงเล็กน้อย ขณะที่ขายในราคาที่สูงขึ้นอีกเล็กน้อย ซึ่งสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง

ความสิ้นเปลืองเรื่องปริมาณ รวมถึงปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ขยะพิษ ที่นับวันจะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยในบ้านเรา ส่งผลให้มีต้นทุนในการกำจัดสูงมากเช่นกัน เพราะต้องใช้เครื่องมือในการกำจัดที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

4. คุณภาพสินค้า - เรื่องคุณภาพของสินค้ายังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการว่า ความสิ้นเปลืองจากคุณภาพของสินค้าที่ลดลง มีจริงหรือไม่ โดยสังเกตได้จากอายุการใช้งานของสินค้าสั้นลง อาจเนื่องด้วยปริมาณการผลิตที่มีจำนวนมาก ทำให้ระบบ QC จะใช้เป็นระบบสุ่มตรวจ (random check) เท่านั้น ส่งผลให้เกิดความไม่คุ้มค่าในการซ่อม (บาง Part ค่าซ่อมแพงกว่าซื้อใหม่) จึงทำให้เกิดการซื้อสินค้าใหม่เร็วกว่ากำหนดที่ควรจะเป็น

**********************************************
หมายเหตุ บทความนี้ต้องการสื่อให้เห็นผลของการสิ้นเปลือง ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก


Create Date : 14 สิงหาคม 2551
Last Update : 14 สิงหาคม 2551 23:37:00 น. 0 comments
Counter : 624 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

rogthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add rogthai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.