แหลมหลวง อบต. แหลมผักเบี้ย เพชรบุรี ไปย่ำเท้าบนหาดทรายแห่งแรกของอ่าวไทย









Vartika Adventure Kuiburi  VARTIKA Kuiburi

ไปย่ำเท้าบนหาดทรายแห่งแรกของอ่าวไทยที่ แหลมหลวง อบต. แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี

หาดแหลมหลวง ตั้งอยู่ที่ อบต. แหลมผักเบี้ย เมื่อไหร่ก็ตามที่นึกถึงชายหาดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย หาดแรกที่น่าจะผ่านเข้ามาในความคิดคำนึงของหลายๆ คนน่าจะเป็นหาดชะอำ หรือใกล้กว่านั้นก็คือหาดปึกเตียน และหาดเจ้าสำราญ ทั้งหมดล้วนอยู่ที่เพชรบุรี ส่วนตั้งแต่บางขุนเทียน ลงมาผ่าน  สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ไม่มีหาดทรายเลยสักแห่ง เพราะปากอ่าวไทยในจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ได้รับตะกอนจำนวนมหาศาลที่ไหลมาจากแม่สายใหญ่หลายสาย ทำให้ผืนดินริมทะเลทั่วบริเวณดังกล่าวกลายเป็นโคลน

แหลมหลวง อบต. แหลมผักเบี้ย

ดังนั้นหากอยากย่ำเท้าอยู่บนหาดทรายแห่งแรกของอ่าวไทยให้ได้จริงๆล่ะก็...ต้องลงมาที่หาดแหลมหลวง ซึ่งเป็นแหมลที่กั้นทะเลโคลนกับหาดทราย ตั้งอยู่ที่แหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม ก่อนถึงโครงการศึกษาวิจัยพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยประมาณ 1 กิโลเมตร แถมยังเป็นแหล่งที่คนรักธรรมชาติ ชอบมาดุนก แต่ต้องจอดรถและเดินลุยผ่านชุมชนประมงเอานิดนึง


แหลมหลวง ตั้งอยู่ในตำบลแหลมผักเบี้ย ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเพชรบุรี ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร เส้นเดียวกับทางไปหาดเจ้าสำราญ อยู่ที่แยกซ้ายก่อนถึงหาดเจ้าสำราญเพียงเล็กน้อย ปลายแหลมของหาดทรายยื่นยาวออกไปในทะเล 2 กิโลเมตร โดยแหลมนี้จะแยกระบบนิเวศวิทยาของป่าออกเป็น 2 ประเภท คือระบบนิเวศป่าชายเลน (ด้านทิศเหนือ) ระบบป่านิเวศป่าชายหาด (ด้านทิศใต้) สำหรับทางด้านทิศเหนือจะเป็นหาดโคลน เป็นชายทะเลท่ามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ด้านทิศใต้จะเป็นหาดทรายขาวยาวไปจนถึงหาดเจ้าสำราญ

   แหล่งศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ

  • · ระบบนิเวศป่าชายเลน
  • ระบบนิเวศป่าชายหาด

แหลมหลวง อบต. แหลมผักเบี้ย

    ลักษณะหาด

    แหลมหลวงเป็นแหลมที่ยื่นออกไปในทะเล 2 กิโลเมตร โดยแหลมนี้จะแยกระบบนิเวศวิทยาของป่าออกเป็น 2 ประเภท คือระบบนิเวศป่าชายเลน (ด้านทิศเหนือ) ระบบนิเวศป่าชายหาด (ด้านทิศใต้) ด้านทิศเหนือจะเป็นหาดโคลน เป็นชายทะเลที่สามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ด้านทิศใต้จะเป็นหาดทรายขาวยาวไปจนถึงหาดเจ้าสำราญ สามารถเดินทางตามเส้นทางเดียวกับ ทางไปตามถนนทางหลวงแผ่นดิน สายหาดเจ้าสำราญเพชรบุรี-หาดเจ้าสำราญ เมื่อถึงสี่แยกหาดเจ้าสำราญให้เลี้ยวซ้ายก่อนถึงชายหาดเจ้าสำราญเล็กน้อย

ข้อมูลติดต่อหาดแหลมหลวง อบต. แหลมผักเบี้ย  
หาดแหลมหลวง อำเภอ บ้านแหลม เพชรบุรี บ้านแหลม เพชรบุรี 76100 0 3241 1029 (อบต. แหลมผักเบี้ย)








Create Date : 17 กรกฎาคม 2559
Last Update : 22 กรกฎาคม 2559 13:17:19 น.
Counter : 2652 Pageviews.

6 comment
โครงการแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี แหลมผักเบี้ย ชมนกชมไม้ เพลินตา เพลินใจ โครงการพระราชดำริ










Vartika Adventure Kuiburi  VARTIKA Kuiburi


 โครงการแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี  แหลมผักเบี้ย ชมนกชมไม้ เพลินตา เพลินใจ กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

         โครงการศึกษาวิจัยแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดเพชรบุรี  เป็นแหลมเล็กๆ ยื่นออกไปในอ่าวทะเลไทย เป็นจุดที่เรียกว่า ทรายเม็ดแรกของทะเลอ่าวไทย เนื่องจากที่บริเวณปลายแหลมระยะทางยาวกว่า 2 กิโลเมตร เป็นจุดเริ่มต้นของหาดทรายริมฝั่งทะเลอ่าวไทย เพราะทะเลตั้งแต่กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม มาจนถึงเพชรบุรีเป็นทะเลโคลนทั้งหมด  บริเวณโครงการแหลมผักเบี้ยเหมาะแก่การดูนกชายทะเล มีนกมากมายหลายชนิด อาทิ นกนางนวลแกลบธรรมดา  นกตีนเทียน นกกระตี๊ดขี้หมู นกกาน้ำ ฯลฯ 

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้สำนักงานมูลนิธิ ชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และกรมชลประทาน ร่วมกันศึกษาหาวิธีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับขยะมูลฝอย น้ำเสีย และการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ บริเวณตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ประมาณ 1,135 ไร่


        การเดินทางไป โครงการแหลมผักเบี้ย ก็แสนสะดวก เพราะนอกจากจะเข้าถึงได้โดยรถยนต์แล้ว ทางเรือก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งตามแต่ใครสะดวก ผู้ที่สนใจจะล่องเรือมาที่ปลายหาดอันเป็นที่ตั้งของทรายเม็ดแรก สามารถล่องเรือตามคลองอีแอด ระยะทาง 5 กิโลเมตรจากท่าเทียบเรือแหมลผักเบี้ย ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง จะได้เห็นชีวิตสองฝั่งคลอง  การล่องเรือจากคลองอีแอดจะต้องตรวจสอบระดับน้ำก่อนออกเดินทาง เพราะจะมีเวลาน้ำขึ้น น้ำลง 


ศัพท์น่ารู้ในโครงการพระราชดำริ แหลมผักเบี้ย 
อ้างอิงข้อมูลจาก   เรียบเรียงโดย คุณศุลีพร บุญบงการ


           ทฤษฎีการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เน้นความเรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย และใช้ธรรมชาติบำบัด โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดเพชรบุรี เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่าย และการใช้ธรรมชาติบำบัดอย่างเห็นได้ชัด โครงการนี้เรียกสั้นๆ ว่าโครงการแหลมผักเบี้ย ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า The Laem Phak Bia Environmental Study and Development Project ดูแลในเรื่องของการบำบัดน้ำเสีย และกำจัดขยะ โดยยึดตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า ...ให้ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ใครๆ ก็สามารถทำได้ และมีวัสดุหาได้ในท้องที่...


     เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่เรียบง่ายและใช้ธรรมชาตินี้ แบ่งออกเป็น 4 ระบบ


      ระบบแรกคือ ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Lagoon Treatment คำว่า Lagoon แปลตรงตัวจะหมายความว่าทะเลสาบ หรือจะหมายความว่า ทะเลสาบเล็กๆ บึง บ่อน้ำ ซึ่งคำว่า lagoon ก็แปลว่าทะเสสาบขนาดเล็ก หรือบ่อน้ำได้ด้วยนั่นเอง ส่วนคำว่าบำบัดภาษาอังกฤษใช้คำว่า treatment ซึ่งคำว่า treat แปลได้หลายความหมายแต่อีกความหมายหนึ่งก็คือ รักษา หรือบำบัดก็ได้ ระบบนี้ใช้วิธีการพึ่งพาธรรมชาติ ให้สาหร่ายสังเคราะห์แสงเพื่อเติมออกซิเจนให้จุลินทรีย์หายใจและย่อยสลายสารอินทรีย์ (organic matter) ในน้ำเสีย ซึ่งบ่อบำบัดมีทั้งหมด 5 บ่อ ประกอบไปด้วย บ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพ 1 บ่อ

      ระบบที่สองคือ ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย หรือ Plant and Grass Filtration ซึ่งคำว่า plant และ grass แปลว่าพืชและหญ้า การบัดบัดน้ำเสียแบบนี้ใช้พืชและหญ้าเป็นตัวกรองน้ำเสีย คำว่า filtrate แปลว่ากรอง ดังนั้น คำว่า filtration จึงแปลว่าการกรอง ซึ่งแปลงหรือบ่อจะเก็บกักน้ำเสีย และปลูกธูปฤาษี กกกลม และหญ้าแฝกอินโดนีเซีย หรือปลูกหญ้าอาหารสัตว์ พืชเหล่านี้มีคุณสมบัติกรองและดูดซับของเสียที่อยู่ในน้ำ

      สองระบบสุดท้าย เป็นระบบที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัด หรือใช้พืชในการบำบัดทั้งสิ้น ระบบที่สามมีชื่อว่า ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม หรือ Constructed Wetland ระบบบำบัดแบบนี้เป็นการจำลองพื้นที่ทางธรรมชาติ จึงใช้คำว่าเทียม ซึ่งสามารถแปลได้แบบไม่ตรงความหมายนักว่า สร้างขึ้นมา คำว่า construct แปลว่าสร้าง ดังนั้นสิ่งที่สร้างขึ้นมาจึงเป็นสิ่งที่ทำจำลองขึ้น ไม่ใช่ของจริง หรือเป็นของเทียมนั่นเอง ส่วนคำว่า พื้นที่ชุ่มน้ำ นั้น ใช้คำว่า wetland คำว่า wet แปลว่าเปียก หรือชุ่ม ส่วนคำว่า land นั้นแปลได้หลายความหมาย ไม่ว่าจะเป็น อสังหาริมทรัพย์ อาณาจักร หรือพื้นดิน แต่ในที่นี้แปลว่าพื้นที่ ดังนั้น คำว่า wetland จึงเป็นว่าพื้นที่ที่เปียกชุ่ม หรือพื้นที่ที่มีน้ำขัง การบำบัดน้ำเสียแบบนี้ใช้วิธีการปล่อยน้ำเสียผ่านบ่อดินตื้นๆ ที่ภายในปลูกพืชประเภทกก รากของพืชเหล่านี้จะช่วยดูดซับสารพิษ (toxin) และอินทรีย์สารให้ลดน้อยลง และย่อยสลายให้หมดไปในที่สุด


     ระบบสุดท้ายคือ ระบบแปลงพืชป่าชายเลน หรือ Mangrove Forest Filtration คำว่า mangrove แปลว่า ต้นไม้จำพวกโกงกาง แต่เมื่อเติมคำว่า forest แปลว่าป่าชายเลน แต่หลายคนเรียกป่าชายเลนว่าป่าโกงกางด้วยเช่นกัน ระบบนี้ใช้หลักการบำบัดจากการเจือจางระหว่างน้ำทะเลกับน้ำเสีย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนหรือกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ติดกับป่าชายเลนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสร้างแปลงพืชป่าชายเลน
โครงการแหลมผักเบี้ยนี้นับว่าเป็นแบบอย่างแก่ชุมชนทั่วประเทศในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะเป็นแบบที่เรียบง่าย แล้วยังเข้าใจง่าย จึงสามารถนำไปใช้ปฏิบัติตามได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง และใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก ซึ่งความเรียบง่ายนี้เองที่จะนำชุมชนไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด




การเดินทาง : โครงการ ศึกษา วิจัย แหลม ผักเบี้ย  อยู่ระหว่างทางเลียบชายทะเลจากหาดเจ้าสำราญไปยังอำเภอบ้านแหลม ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ทางเข้าแหลมผักเบี้ยอยู่ข้างวัดสมุทรโคดม
แผนที่แหลมผักเบี๊ย



Create Date : 16 กรกฎาคม 2559
Last Update : 22 กรกฎาคม 2559 13:17:27 น.
Counter : 1897 Pageviews.

6 comment

สมาชิกหมายเลข 1128958
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments