ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

งานช่างหลวง ช่างสิบหมู่

“กรมช่างสิบหมู่” เป็นชื่อส่วนราชการเมื่อสมัยโบราณส่วนหนึ่ง ที่มีฐานะ และความสำคัญระดับ “กรม” ตามขนบนิยม และ ระเบียบการบริหารราชการแต่สมัยก่อน

ชื่อ “กรมช่างสิบหมู่” ย่อมบอกความหมายอยู่ในตัวเองว่า เป็น “กรม” หรือ ส่วนราชการ ที่เกี่ยวกับการช่าง ต่างๆ มีอยู่หลายพวก หลายหมู่ด้วยกัน ทั้งนี้พิจารณาได้จากคำว่า “สิบหมู่” ที่อยู่ต่อข้างท้ายคำว่า “ช่าง” ย่อมแสดงความหมายให้ทราบได้ว่า เป็นกรมที่ข้าราชการในกรม เป็นช่างต่างจำพวกกัน ร่วมกับราชการอยู่ที่นั้น ประมาณได้ “สิบหมู่” ซึ่งจัดว่า เป็นส่วนราชการทางการที่ใหญ่ และสำคัญกรมหนึ่ง

กระนั้นก็ตามชื่อว่า “กรมช่างสิบหมู่” หรือ คำว่า “ช่างสิบหมู่” ยังดูจะเป็นปัญหาว่า มีข้าราชการเป็นช่างทำการช่างต่างๆ อยู่เพียง ๑๐ ประเภท หรือ ๑๐ หมู่เท่านั้น หรือ จึงได้รับการกำหนดชื่อ ขนานนามว่า “กรมช่างสิบหมู่” ทั้งนี้ เนื่องด้วยมีพระนิพนธ์ ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ผู้บัญชาการกรมช่างสิบหมู่ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นโครง ว่าด้วยช่างจำพวกต่างๆ บรรดาที่สังกัดอยู่ในกรมช่างสิบหมู่ ที่พระองค์ทรงกำกับราชการอยู่สมัยนั้น มีจำพวกช่าง จำนวนมากกว่า ๑๐ หมู่ ดังความตามโคลงพระนิพนธ์ ต่อไปนี้

“เขียนกระดาษแกะหุ่นปั้น ปูนรักบุฮา กลึงหล่อไม้สูงสลัก ช่างไม้”

ให้ช่างดอกไม้เพลิง นาย ๔ คน คนละ ๓ ตำลึง เงิน ๑๒ บาท ช่างดี ๑๓ คน คนละ ๑ ตำลึง เงิน ๑๓ ตำลึง ช่างกลาง ๑๑ คน คนละ ๓ บาท เงิน ๘ ตำลึง ๑ บาท ช่างเลว ๒๗ คน คนละ ๒ บาท เงิน ๑๓ ตำลึง ๒ บาท ๕๕ คน เงิน ๓ ชั่ง ๖ ตำลึง ๓ บาท”

ช่างที่ได้ระบุขึ้นไว้ในโคลง ที่ได้ตัดตอนคัดมาแสดงให้ทราบนี้ พึงจำแนกออกเป็นช่างจำพวกต่างๆ ได้ดังนี้ คือ ๑ ช่างเขียน ๒ ช่างกระดาษ หรือช่างฉลุกระดาษ ๓ ช่างแกะ ๔ ช่างหุ่น ๕ ช่างปั้น ๖ ช่างปูน ๗ ช่างรัก ๘ ช่างบุ ๙ ช่างกลึง ๑๐ ช่างหล่อ ๑๑ ช่างไม้สูง ๑๒ ช่างสลัก ๑๓ ช่างไม้ จำนวนช่าง ซึ่งปรากฏตามความในโคลงบท ดังกล่าวนี้ มีจำนวนถึง ๑๓ จำพวก หรือ ๑๓ หมู่ เกินจำนวนซึ่งกำหนดเป็นชื่อกรมไป ๓ หมู่ ดังนี้ คำว่า “กรมช่างสิบหมู่” หรือ “ช่างสิบหมู่” จะหมายความว่า กรมนี้มีช่างต่างๆ เป็นข้าราชการประจำกรม แต่จำเพาะ ๑๐ หมู่ หรือ ๑๐ ประเภทเท่านั้น หรือ คำว่า กรมช่างสิบหมู่ และ คำว่าช่างสิบหมู่ จะมีความหมายเป็นอย่างอื่นต่างไปกว่านี้

คำว่า “ช่างสิบหมู่” หรือ ชื่อ “กรมช่างสิบหมู่” นี้ได้พบคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผล ปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง พระประวัติพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เกี่ยวกับเรื่อง “ช่างสิบหมู่” ที่เนื่องด้วยพระประวัติของพระองค์ท่าน โดยเฉพาะทรงอธิบายคำ ช่างสิบหมู่ และ กรมช่างสิบหมู่ ขึ้นเป็นความสำคัญต่อไปนี้

“ช่างสิบหมู่ เป็นคำที่เลื่อนมาแต่คำว่า “ช่างสิปป” เป็นภาษาบาลี มีความหมายนัยเดียวกับคำว่า “ศิลป” ในภาษาสันสกฤต คือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงาม พึงชม และ เกิดอารมณ์สะเทือนใจ คนไทยแต่ก่อน นิยมใช้ภาษาบาลีเป็นพื้น ไม่สู้นิยมใช้ภาษาสันสกฤต จึงใช้คำว่า “สิปป” แทนคำว่า “ศิลป” อย่างที่ใช้ดื่นไปในเวลานี้ คำว่า “ช่างสิปป” ก็คือ“ช่างศิลป” หรือ “ช่างศิลป์” นั่นเอง แต่คนไทยพูดประหยัดคำมาก หรือไม่ก็ออกเสียงไม่คล่องลิ้นอย่างไทย คำว่า “สิปป” จึงหดสั้นลงเป็น “สิบ” “ช่างสิปป” ก็ตัดให้สั้นเข้าเป็น “ช่างสิป” ก็ตัดให้สั้นเข้าเป็น “ช่างสิป” ต่อนานๆ เข้าคำว่า “สิป” ก็ค่อยห่างไกลความเข้าใจ และเปลี่ยนรูปคำเป็น “สิบ” กลายเป็นจำนวนนับ ๑๐ เสียเลย และ ด้วยความไม่เข้าใจในคำว่า “ช่างสิบ” ว่าเป็นช่างอะไรเสียแล้ว ก็เลยเติมคำว่า “หมู่” ต่อท้ายเข้าให้ได้ความว่า เป็นช่างมีจำนวนสิบหมู่ด้วยกัน คำว่า “ช่างสิบหมู่” ก็ดังว่ามานี้”

อนึ่ง คำว่า “ช่างสิบหมู่” กล่าวโดยเฉพาะคำว่า “สิบ” พึงเห็นได้ว่า ไม่ได้เขียนเป็นตัวเลข “๑๐” และคำว่า “กรมช่างสิบหมู่” ก็ดี คำว่า “ช่างสิบหมู่” ก็ดี ในที่อื่นๆ ก็ไม่เคยปรากฏเขียนว่า “กรมช่าง ๑๐ หมู่” หรือ “ช่าง ๑๐ หมู่” เช่นกัน จึงน่าจะเห็นพ้องที่ว่า “ช่างสิบหมู่” เลื่อนมาแต่ “ช่างสิปปหมู่” และ “กรมช่างสิบหมู่” ก็คลายมาแต่ “กรมช่างสิปปหมู่” เป็นแน่แท้



ที่มา: changsipmu.com



Create Date : 12 กรกฎาคม 2556
Last Update : 12 กรกฎาคม 2556 23:15:50 น. 0 comments
Counter : 2033 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]