Wellcome to PRAKAN Blog.!!!!!!
Group Blog
 
All blogs
 

ITM640 Internet and Communication Technologies - Fiber to the Home

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต) มหาวิทยาลัยรังสิต

พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ





ปริญญาตรี

วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (เกียรตินิยมเหรียญทอง) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า BS in EE (Telecommunication) นักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 26 , นักเรียนนายร้อย จปร. รุ่น 37


ปริญญาโท

วิศวกรรมไฟฟ้า (Computer Communication Network) MS in EE (Computer Communication Network) Georgia Institute of Technology, Atlanta, Georgia, USA.

วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (ระบบสื่อสารเคลื่อนที่และเซลลูล่า) MS in EE (Mobile Communication) The George Washington University, Washington DC, USA.


ปริญญาเอก

วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (Telecommunications) Ph.D. in Telecommunications State University System of Florida (Florida Atlantic University), USA.


ตำแหน่งและหน้าที่ปัจจุบัน

อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

นายทหารฝ่ายเสนาธิการ สำนักงานรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

คณะอนุกรรมการบริหารโปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง (NECTEC)

Associate Professor of Business School, Touro University International, USA. (Accredited Internet Distance Learning University)

Assistant Professor, American University of London, Information Technology South East Asia

Adjunct Professor, Southern New Hampshire University, USA


ตำแหน่งและหน้าที่สำคัญในอดีต

ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

เลขานุการประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

ที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

คณะกรรมการร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสาร และโครงข่ายสถานีวิทยุคมนาคมภาคพื้นดิน (คำสั่ง กทช. 22/2548)

Adjunct Professor, School of Information Technology, Southern Cross University, Australia

Adjunct Professor, University of Canberra, AU. (Cooperation with Dhulakij Bandit University, Thailand)

ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาระบบงานด้านเทคโนยีสารสนเทศกองทัพบก

CIO Board สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =


Fiber to the Home


นายปราการ คำเอี่ยม
รหัสนักศึกษา : 5108883

ทวีปเอเชียเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ที่มีการขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง

(โคเบนเฮเก้นท์, เดนมาร์ก) – ในกลุ่มประเทศประชาคมยุโรปหลายๆประเทศ ต่างเป็นที่ยอมรับและตระหนักถึงความสำคัญของการบริการแบบ Fiber to the Home ซึ่งมีทิศทางในการขยายตัวของตลาดเพิ่มมากขึ้น ในรอบ 18 เดือน มีการควบคุมและกำหนดโดยให้มีการขยายพื้นที่การให้บริการไปในหลายพื้นที่ โดยคณะกรรมการ FTTH ของเอเชียแปซิฟิก , ยุโรป และ อเมริกาเหนือ

ผู้บริหารระดับสูง กล่าวว่า มีความวิตกกังวลถึงปัญหา เมื่อราว 2 ปีก่อน (2007) ได้มีการประกาศจากคณะกรรมการกลุ่มยุโรป FTTH ภายในงานประจำปี ที่เมือง โคเมนท์เฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก ได้มีการศึกษาและติดตามอัตราการขยายตัวของตลาด FTTH ภายในกลุ่มประเทศประชาคมยุโรป พบว่า มีจำนวนครัวเรือนมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ที่มีการเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับเครือข่ายบริการ Fiber ความเร็วสูง ซึ่งทั้งหมดในกลุ่มประเทศประชาคมยุโรปเกือบ 20 ประเทศ พบว่า มีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นเมื่อ 14 ก.ค. 2008 และ 11 ก.ค. 2007

การขยายตัวเป็นไปอย่างมากมาย เนื่องจากหลายๆประเทศทางกลุ่มยุโรป เข้ามาเปิดให้บริการ เช่นเดียวกับการแข่งขันการให้บริการ Fiber to the Home ที่กำลังเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วข้ามทวีปไปยังทวีปต่างๆ มียอดจำนวนสมาชิกหรือผู้ใช้บริการในยุโรปเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ล้านราย

ในเอเชีย กลุ่มประเทศยุโรปยังคงความเป็นผู้นำในตลาดด้านการให้บริการ FTTH และขยายฐานการให้บริการในแถบเอเชีย เช่นที่ ประเทศเกาหลีใต้ (คิดเป็น 44 % ของตลาด) , ฮ่องกง(คิดเป็น 28 % ของตลาด , ญี่ปุ่น(27 %) และไต้หวัน (12%) ซึ่งยังคงมีการรักษาตลาดของทั้ง 4 ประเทศได้ตามลำดับ

ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น มีจำนวนผู้ใช้บริการสูงที่สุด เกี่ยวกับจำนวนผู้ใช้บริการเชื่อมต่อ Fiber to the Home จำนวนสูงถึง 13.2 ล้านครัวเรือน , ตามมาด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 6.05 ล้านครัวเรือน และ ผู้ใช้บริการชาวจีนอีก 5.96 ล้านครัวเรือน

ในช่วงแรก คณะกรรมการระดับสูงได้กล่าวถึงการยุบตัวลงของระบบเศรษฐกิจระหว่าง การให้บริการ Fiber to the Home (การให้บริการตามสายส่ง Fiber ปกติ เข้าถึงตัวบุคคล) และ Fiber to the building ( FTTB) ซึ่งอาจจะต้องปิดตัวลงไป และที่ไม่ใช่(โครงข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะบริเวณ LAN ) ก็ต้องหันมาให้บริการแบบเข้าถึงตัวบุคคล ในสิ่งที่เพิ่มต่อผู้ให้บริการของ FTTB ได้เตรียมการให้ไปรวมกับตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญมากที่ทำให้ จำนวนของการใช้บริการเพิ่มมากขึ้นจากตั้งแต่ก่อน จนถึงเดือน กรกฏาคม 2008 เทคโนโลยีต่างๆที่ให้บริการผ่านคู่สายทองแดง ไม่สามารถเปิดให้บริการต่อไปได้ นี่จึงเป็นสาเหตุหลักๆที่จะทำให้เกิดการสิ้นสุดลงของระบบใดระบบหนึ่ง ระหว่าง FTTH กับ FTTB ซึ่งในแต่ละชนิด สามารถอธิบายได้โดยภาพ ดังนี้



มันเป็นสิ่งเกื้อหนุนอย่างมาก ที่จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อ , ติดต่อกันระหว่างกลุ่ม EU ชาวรัสเซีย และอาจนำไปสู่การเป็นประเทศผู้นำทางด้านการสื่อสารไปพร้อมๆกับกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งในอนาคตจะกลายเป็นศูนย์กลาง ท่ามกลางกลุ่มประเทศผู้นำกว่า 20 ประเทศ ทั่วโลก

จากการตั้งข้อสังเกตของ Joeri Van Bagaert (ประธานคณะกรรมการของ FTTH) กล่าวว่า มันอาจจะลำบากมากสำหรับประเทศผู้นำที่มีขนาดใหญ่ ที่จะสร้างประเทศอย่างประเทศรัสเซีย ให้รวมเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน มาดูที่ยุโรป เรามองเห็น ระบบ FTTH ได้มีการแผ่ขยายตัวในการให้บริการมากขึ้น ในการใช้ประโยชน์จาก Fiber อย่างชัดเจน

Fiber to the Home. ขยายตัวไปอย่างต่อเนื่อง , รวดเร็ว , ในสหรัฐอเมริกานั้น ระบบเครือข่าย Fiber Network ขยายตัวอย่างรวดเร็วและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดความสนใจใน FTTH ท่ามกลางบริษัทผู้ให้บริการที่มีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นของผู้คน ในการดำรงชีวิตในเศรษฐกิจยุคดิจิตอล Joe Savage (ประธานกรรมการ FTTH อเมริกาเหนือ) กล่าวว่า ความพึงพอใจในการบริการและส่วนแบ่งทางการตลาด FTTH จะถูกขับเคลื่อนและพัฒนาให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

เรามีความยินดีที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เข้ามาดำเนินการอยู่ในกลุ่มประเทศผู้นำสูงสุดในตลาดการให้บริการ ที่มีผู้ใช้บริการในปริมาณที่สูงที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ , ฮ่องกง , ญี่ปุ่น , และไต้หวัน Shoichi Hanatani (ประธานกรรมการกลุ่ม FTTH เอเชียแปซิฟิก) กล่าวว่า “เราเห็นการเพิ่มจำนวนการใช้บริการอย่างเป็นกลุ่มก้อน ในจำนวนประชากรแถบเอเชีย และเชื่อมั่นว่า เราจะชนะ เนื่องจากการขยายตัวของ FTTH เป็นหลักสำคัญ”

เกี่ยวกับคณะกรรมการ FTTH ของกลุ่มประเทศยุโรป หมายถึงความเจริญก้าวหน้าของตลาดการค้า มีองค์ประกอบซึ่งประกอบด้วย ภาระหน้าที่การขยายการให้บริการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก คณะกรรมการจึงกำหนดให้มีการจัดทำโฆษณาเกี่ยวกับเทคโนโลยีชนิดนี้ เพราะว่า ต้องการกระตุ้นให้มีการยอมรับและใช้บริการ ซึ่งจะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในกลุ่มลูกค้าและบริษัทต่างๆ รวมไปถึงปริมาณการใช้งานในสังคมที่มากขึ้น คณะกรรมการกลุ่มยุโรป ปรกอบด้วย กว่า 90 บริษัท ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมการสื่อสารของโลก

Building the Business of FTTH

อะไรเป็นส่วนประกอบทางธุรกิจที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จ? การบริการและการประยุกต์ใช้งาน เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจและค้นหาการบริการ ทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นให้มีการขยับเข้าสู่ ยุคของการใช้งาน การค้นหา เครือข่าย FTTH ถูกสร้างขึ้นอย่างมีประโยชน์ ช่วยลดปัญหามลภาวะต่างๆที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม กับความสามารถในการเชื่อมต่อเข้ากับกลุ่มลูกค้า ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นประตูสู่ความสำเร็จ

เข้าสู่ Honston ในเดือน กันยายน 2009 สำหรับการสร้างธุรกิจของ FTTH ซึ่งผู้นำในภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบธุรกิจร่วมกัน ต้องการความสำเร็จร่วมกัน และ เรียนรู้ส่วนประกอบทางธุรกิจ ที่ต้องการสร้างเงินด้วย FTTH รับฟังความต้องการจากลูกค้าเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งพวกเขาต้องชำระค่าบริการ เรียนรู้จากงานบริการด้านต่างๆเกี่ยวกับ FTTH นำมาประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจและข่าวสาร และยกระดับคุณให้เข้าสู่การตลาดออีกรูปแบบหนึ่ง

นั่นคือ Fiber to the Home เท่านั้น ที่มีลักษณะเด่นในรูปแบบการบริการล่าสุดของ FTTH จากการทำการตลาด สำหรับธุรกิจการบิน , ทรัพย์สิน ล เพื่อการสร้างระบบโครงข่าย เพื่อการได้มาซึ่งความพึงพอใจและการขยายตัวของธุรกิจที่ทันสมัย ด้วยกว่า 50 ช่องทาง ส่วนประกอบที่สำคัญและต้องการเนื้อหาที่ครอบคลุมทั้งหมดในภาคอุตสาหกรรม การสร้างธุรกิจจะต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญด้าน FTTH ในการควบคุมและให้บริการแก่ลูกค้า.

แหล่งที่มาข้อมูล

//www.ftthconference.com/FTTH09/public/enter.aspx
//www.ftthcouncil.org/




 

Create Date : 09 มีนาคม 2552    
Last Update : 9 มีนาคม 2552 22:48:35 น.
Counter : 443 Pageviews.  

ITM640 Internet and Communication Technologies - สถิติการใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต) มหาวิทยาลัยรังสิต

พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ





ปริญญาตรี

วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (เกียรตินิยมเหรียญทอง) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า BS in EE (Telecommunication) นักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 26 , นักเรียนนายร้อย จปร. รุ่น 37


ปริญญาโท

วิศวกรรมไฟฟ้า (Computer Communication Network) MS in EE (Computer Communication Network) Georgia Institute of Technology, Atlanta, Georgia, USA.

วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (ระบบสื่อสารเคลื่อนที่และเซลลูล่า) MS in EE (Mobile Communication) The George Washington University, Washington DC, USA.


ปริญญาเอก

วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (Telecommunications) Ph.D. in Telecommunications State University System of Florida (Florida Atlantic University), USA.


ตำแหน่งและหน้าที่ปัจจุบัน

อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

นายทหารฝ่ายเสนาธิการ สำนักงานรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

คณะอนุกรรมการบริหารโปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง (NECTEC)

Associate Professor of Business School, Touro University International, USA. (Accredited Internet Distance Learning University)

Assistant Professor, American University of London, Information Technology South East Asia

Adjunct Professor, Southern New Hampshire University, USA


ตำแหน่งและหน้าที่สำคัญในอดีต

ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

เลขานุการประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

ที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

คณะกรรมการร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสาร และโครงข่ายสถานีวิทยุคมนาคมภาคพื้นดิน (คำสั่ง กทช. 22/2548)

Adjunct Professor, School of Information Technology, Southern Cross University, Australia

Adjunct Professor, University of Canberra, AU. (Cooperation with Dhulakij Bandit University, Thailand)

ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาระบบงานด้านเทคโนยีสารสนเทศกองทัพบก

CIO Board สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =


สถิติการใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก



























 

Create Date : 09 มีนาคม 2552    
Last Update : 9 มีนาคม 2552 1:31:19 น.
Counter : 333 Pageviews.  

ITM640 Internet and Communication Technologies - Cryptography

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต) มหาวิทยาลัยรังสิต

พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ





ปริญญาตรี

วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (เกียรตินิยมเหรียญทอง) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า BS in EE (Telecommunication) นักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 26 , นักเรียนนายร้อย จปร. รุ่น 37


ปริญญาโท

วิศวกรรมไฟฟ้า (Computer Communication Network) MS in EE (Computer Communication Network) Georgia Institute of Technology, Atlanta, Georgia, USA.

วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (ระบบสื่อสารเคลื่อนที่และเซลลูล่า) MS in EE (Mobile Communication) The George Washington University, Washington DC, USA.


ปริญญาเอก

วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (Telecommunications) Ph.D. in Telecommunications State University System of Florida (Florida Atlantic University), USA.


ตำแหน่งและหน้าที่ปัจจุบัน

อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

นายทหารฝ่ายเสนาธิการ สำนักงานรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

คณะอนุกรรมการบริหารโปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง (NECTEC)

Associate Professor of Business School, Touro University International, USA. (Accredited Internet Distance Learning University)

Assistant Professor, American University of London, Information Technology South East Asia

Adjunct Professor, Southern New Hampshire University, USA


ตำแหน่งและหน้าที่สำคัญในอดีต

ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

เลขานุการประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

ที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

คณะกรรมการร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสาร และโครงข่ายสถานีวิทยุคมนาคมภาคพื้นดิน (คำสั่ง กทช. 22/2548)

Adjunct Professor, School of Information Technology, Southern Cross University, Australia

Adjunct Professor, University of Canberra, AU. (Cooperation with Dhulakij Bandit University, Thailand)

ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาระบบงานด้านเทคโนยีสารสนเทศกองทัพบก

CIO Board สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =


Cryptography


นายปราการ คำเอี่ยม
ID : ITM0140


การเข้ารหัส (Cryptography) คือการเปลี่ยนข้อมูลหรือข้อความ (Data/Message) ให้อยู่ในรูปที่ไม่สามารถอ่านความหมายได้ นับว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งในการปกป้องข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากไม่ว่าข้อมูลจะถูกจัดเก็บในสื่อประเภทใด รวมทั้งข้อมูลที่ส่งผ่านช่องทางที่ไม่ปลอดภัย

ปัจจุบันได้มีการนำเอาการเข้ารหัส (Cryptography) มาประยุกต์ใช้อย่างมากมายในระบบเทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น การลงลายมือชื่ออิเล็คทรอนิค์ (Digital Signature) การซ่อนความหมายของข้อความ การพิสูจน์ตัวตน การไม่สามารถปฎิเสธได้ (Nonrepudiation) การทำธุรกรรมบนระบบอินเทอร์เน็ต และอื่นๆ


การเข้ารหัสข้อมูล (Cryptography)

การเข้ารหัสข้อมูลโดยพื้นฐานแล้ว จะเกี่ยวข้องกับวิธีการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการป้องกันข้อมูลหรือข้อความตั้งต้นที่ต้องการส่งไปถึงผู้รับ ข้อมูลตั้งต้นจะถูกแปรเปลี่ยนไปสู่ข้อมูลหรือข้อความอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่สามารถอ่านเข้าใจได้โดยใครก็ตามที่ไม่มีกุญแจสำหรับเปิดดูข้อมูลนั้น เราเรียกกระบวนการในการแปรรูปของข้อมูลตั้งต้นว่า "การเข้ารหัสข้อมูล" (Encryption) และกระบวนการในการแปลงข้อความที่ไม่สามารถอ่าน และทำความเข้าใจให้กลับไปสู่ข้อความดั้งเดิม ว่าการถอดรหัสข้อมูล (Decryption) การทำงานของ ระบบเข้ารหัส

ในการกระบวนการเข้า และ ถอดรหัส จะมี Cryptography Algorithms หรือ ที่เรียกว่า " Cipher “ เป็นฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้ทำงานร่วมกับกุญแจ เพื่อเข้ารหัสข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ธรรมดา โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นข้อมูลที่เข้ารหัสแล้ว เมื่อพิจารณา ถ้ากุญแจที่ใช้ในการเข้ารหัสต่างกัน ก็จะได้ผลลัพธ์ จากการเข้ารหัสต่างกัน ถึงแม้ว่า จะกระทำ กับข้อมูลเดียวกัน จากการศึกษาจะ พบว่า ความปลอดภัยของข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ

1. ความยาวของ อัลกอริทึม ที่ใช้
2. การเก็บ กุญแจ ที่ใช้ให้เป็นความลับ



รูปที่ 1 แสดงระบบเข้ารหัสโดยทั่วไป


เนื่องจาก กุญแจที่ใช้ในการเข้า – ถอดรหัสเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมาก ดังนั้นระบบการเข้ารหัสสามารถ แบ่งตามวิธีการใช้ กุญแจ ได้ 2 ประเภท ดังนี้

1.ระบบการเข้าและถอดรหัสแบบสมมาตร ( Symmetric Cryptosystem )

ในการเข้ารหัสและถอดรหัสจะใช้กุญแจตัวเดียวกัน โดยกุญแจดังกล่าวจะถูกเก็บเป็นความลับระหว่าง 2 บุคคล วิธีนี้ใช้งานได้ดีเมื่อผู้ใช้มีจำนวนน้อยและผู้ใช้อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ห่างไกลกันมากนัก ซึ่งช่วยให้การแจกจ่ายกุญแจทำได้ง่ายขึ้น แต่ในกรณีที่มีผู้ใช้มากจะมีผลทำให้กุญแจยิ่งมากขึ้นเนื่องจากจะต้องมีกุญแจหนึ่งดอกสำหรับแต่ละคู่สื่อสาร เช่น ถ้ามีผู้ใช้จำนวน 1,000 คน ก็ต้องใช้กุญแจทั้งหมด 499,500 ดอก คิดตามสมการ n(n-1)/2 โดยที่ n คือ จำนวนผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการจัดการกุญแจ การควบคุม และการแจกจ่าย



รูปที่ 2 แสดงระบบการเข้า – ถอดรหัสแบบสมมาตรโดยใช้กุญแจดอกเดียว


อัลกอริทึม ที่ใช้ใน การเข้าและถอดรหัสด้วยวิธีนี้ เรียกว่า “Secret Key Algorithm” หรือ “Symmetric Cipher” ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
1. DES เป็น อัลกอริทึม ที่พัฒนาขึ้นในปี 1970 ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานของรัฐบาล US และได้มีการนำมาใช้ในวงรัฐบาล รวมทั้ง อุตสาหกรรมของประเทศต่าง ๆ DES เป็น block cipher ที่มีขนาด 64 bits โดยใช้ร่วมกับกุญแจขนาด 56 bits ซึ่งปัจจุบันนับว่า ยังมีจุดอ่อนอยู่เพราะง่ายต่อการบุกรุกเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านฮาร์ดแวร์ มีมากขึ้น
2. Blowfish เป็น อัลกอริทึม ที่พัฒนาโดย Bruce Schneier โดย Blowfish เป็น block cipher ที่มีขนาด 64 bits ใช้ร่วมกับกุญแจที่ได้หลาย bit แต่ไม่เกิน 448 bits Bloefish ได้รับการยอมรับอย่างมาก เพราะมีความเข้มแข็งมาก จึงได้มีการนำมาใช้ ใน software package ต่าง ๆ เช่น Nautilus PGPfone เป็นต้น
3. IDEA ( International Data Encryption Algorithm ) เป็น อัลกอริทึม ที่พัฒนาโดย ETH Zurich ชาวสวิตเซอร์แลนด์ เป็น อัลกอริทึม ใหม่ และ นับว่ามีความปลอดภัยมากอีก อัลกอริทึม หนึ่ง มี Ascom – Tech เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
4. RC4 เป็น cipher ซึ่งสร้างโดยบริษัท RSA Data Security และทำงานได้รวดเร็ว
5. Safer เป็น อัลกอริทึม ซึ่งถูกพัฒนาโดย J.L. Massey ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งในกลุ่มนักพัฒนาของ IDEA


ตัวอย่าง อัลกอริทึม ที่ใช้ในระบบสมมาตร

1. RSA ( Rivest – Shamir- Adelman ) เป็น Public key algorithms ที่ใช้กันมากที่สุด โดยสามารถใช้ในการ encryption และ sign ความปลอดภัยของ RSA ขึ้นกับความน่าเชื่อถือของกุญแจที่ใช้และขนาดของกุญแจ
2. Diffie-Hellman เป็นอีกหนึ่ง Public key algorithms ที่ได้รับความนิยม ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1976
3. DSS ( Digital Signature Standard ) เป็น อัลกอริทึม ที่ใช้ภายใน รัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ระบบการเข้าและถอดรหัสแบบอสมมาตร ( Asymmetric Cryptosystem ) หรือ ระบบรหัสกุญแจ สาธารณะ ( Public key Cryptosystem )

จากปัญหาจำนวนกุญแจที่ใช้ในระบบสมมาตร ในปี 1975 Whitfield Diffie และ Martin Hellman มีแนวความคิดใหม่ในการสร้างกุญแจที่ใช้เข้าและถอดรหัสใหม่ ซึ่งในการเข้าและถอดรหัสจะใช้กุญแจคนละดอก นั้นคือ กุญแจสาธารณะ และ กุญแจส่วนตัว นั้นคือ บุคคล 1 คน ก็จะมีกุญแจ1 คู่ ดังกล่าว โดยในการใช้งาน เราจะใช้กุญแจสาธารณะ ในการเข้ารหัส และใช้กุญแจส่วนตัวในการถอดรหัสข้อความ ซึ่งกุญแจสาธารณะสามารถบอกให้บุคคลอื่น ๆ รู้ได้ ส่วนกุญแจส่วนตัวจะเก็บไว้เป็นความลับ ดังจะพบว่ากุญแจที่จำเป็นต้องใช้มีปริมาณน้อยกว่า เมื่อเทียบกับแบบระบบการเข้าและถอดรหัสแบบสมมาตร ในปริมาณที่ผู้ใช้เท่ากัน แต่ระบบนี้ต้องอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน



รูปที่ 3 แสดงระบบการเข้า – ถอดรหัสแบบอสมมาตรโดยใช้กุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัว


ระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะสามารถแบ่งลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. การเข้า-ถอดรหัสข้อมูล



รูปที่ 4 แสดงการเข้า - ถอดรหัสโดยใช้กุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัว


ซึ่งจะพบว่าเกิดคุณสมบัติ 2 ข้อ คือ

1. การรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality)
2. การรักษาความครบถ้วนของข้อมูล ( Integrity)

2. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Digital Signature )

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ สิ่งที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลในการทำการติดต่อสื่อสารกัน โดยที่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็คล้ายกับการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งลงลายมือชื่อ เพื่อใช้ยืนยันตัวบุคคลในการสื่อสารกับบุคคลอื่นๆ นั้นคือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเหมือนกับลายเซ็นที่ใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคล โดยอาจจะใช้ในลักษณะของ การ เข้ารหัสข้อมูล ซึ่งเป็นการใช้งานอย่างง่าย ๆ ในการสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังรูป



รูปที่ 5 แสดงการใช้กุญแจสาธารณะ กุญแจส่วนตัวร่วมกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์


จากรูปจะพบว่า ในการเข้ารหัสข้อมูล จะใช้ กุญแจส่วนตัว ของผู้ส่ง ซึ่งเปรียบได้กับการเซ็นเอกสาร นั้นเป็นการแสดงว่าเอกสารดังกล่าวถูกส่งโดยเจ้าของจดหมายอย่างแท้จริง ส่วนการถอดรหัสข้อมูลนั้น จะใช้ กุญแจสาธารณะ ของผู้ส่ง นั้นแสดงว่า ผู้รับเอกสารต้องทราบว่า ใครคือ ผู้ส่งเอกสารดังกล่าว จึงทำให้การถอดรหัสข้อมูลได้
จากตัวอย่างดังกล่าวจะพบว่า จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับความล่าช้า และ ขนาดของข้อมูลที่ได้มีขนาดใหญ่ จึงได้มีการปรับปรุงระบบโดยการเพิ่ม one -way hash function เข้าไปในระบบ (ลักษณะ one way คือ ไม่สามารถเปลี่ยนผลลัพธ์กลับไปเป็นตัวต้นฉบับได้ ) hash function เป็นฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ใช้เพื่อเปลี่ยนข้อมูลที่มีขนาดเท่าไรก็ได้ ให้กลายเป็นข้อมูลที่มีขนาดเล็กและความยาวคงที่ ( Message Digest ) ซึ่งเป็นการมั่นใจว่า ผลลัพธ์ที่ได้จะต่างจากเดิม แม้ข้อมูลเข้าจะมีเพียง 1 บิต จากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้ดังรูป



รูปที่ 6 แสดงการประยุกต์ใช้ hash function กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์


จากรูปเมื่อได้ Message Digest ได้ จะนำ กุญแจส่วนตัว ของผู้ส่ง ไปผ่านกระบวนการ เข้ารหัสซึ่งจะได้ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นก็ทำการส่งเอกสารไป พร้อมกับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไปยังผู้รับเอกสารปลายทาง ทางด้านผู้รับเอกสารเมื่อได้รับเอกสารแล้วก็จะทำการตรวจสอบความถูกต้อง โดย นำเอกสารไปผ่าน hash function ซึ่งจะได้ Message Digest จากนั้นนำ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกส่งมาพร้อมกับเอกสาร และ กุญแจสาธารณะ ของผู้ส่งไปผ่านกระบวนการถอด ซึ่งผลก็จะได้ Message Digest เช่นกัน แล้วทำการเปรียบเทียบ Message Digest ที่ได้ว่า เหมือนกันหรือไม่ ถ้าเหมือนกันทุกประการแสดงว่าข้อมูลที่ส่งมาถูกต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง ซึ่งจะพบว่า เกิดคุณสมบัติ 4 ข้อคือ

การรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality)

1.การรักษาความครบถ้วนของข้อมูล (Integrity)
2.การระบุตัวบุคคลผู้ส่งข้อมูล เนื่องจากผู้ส่งต้อง Sign จดหมายก่อน(Authentication)
3.การที่คู่สื่อสารไม่สามารถปฏิเสธการสื่อสารที่เกิดขึ้นได้(Non-repudiation)

ตัวอย่าง Hash Function ที่ใช้ในการสร้าง Message Digest

1. SHA เป็น Hash alorithms ที่มีขนาด 160 บิต ซึ่งถูกออกแบบโดย NIST ( The National Institute of standards and Technology )

2. MD5 เป็น Hash alorithms ที่มีขนาด 128 บิต ซึ่งถูกออกแบบโดย บริษัท RSA Data Security แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากในปี 1996 Hans Dobbertin ชาวเยอรมัน สามารถทำลาย อัลกอริทึม นี้ได้


ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน( Application)
1. Automatic Teller Machines (ATM)
การใช้เครื่อง ATM ในการเข้าถึงบัญชีเพื่อถอนเงินหรือทำธุระกรรมต่าง ๆ ผู้ใช้บริการจะต้องใส่หมายเลข PIN ( Personal Identification Number ) ลงไปที่เครื่อง จากนั้นหมายเลขนี้จะถูกส่งผ่านระบบเครือข่ายไปถึงฐานข้อมูลที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารเพื่อทำการตรวจสอบ ดังนั้นหมายเลขเหล่านี้จึงจำเป็นต้อมมีการเข้ารหัสด้วยวิธีของระบบรหัส เพื่อไม่ให้ผู้อื่นสามารถดึงข้อมูลมาดูได้ระหว่างการส่งผ่านเครือข่าย ความจำเป็นอีกประการหนึ่งของการใช้ระบบรหัส คือ การป้องกันไม่ให้ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง ( Data Integrity ) เช่น ในการถอนเงิน ต้องมีการป้องกันไม่ให้จำนวนเงินที่ขอถอนถูกเปลี่ยนเป็นจำนวนที่มากขึ้น เป็นต้น

2. บัตรโทรศัพท์ (Phone Cards)
การใช้บัตรโทรศัพท์แบบชำระเงินล่วงหน้า ในกรณีนี้ จำนวนเงินที่เหลือจะถูกเก็บอยู่บนบัตรในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลข จำนวนเงินที่เหลืออยู่บนบัตร

3. Remote System Access

แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในวงการธุรกิจ คือ การใช้อุปกรณ์เพื่อทำงานจากสถานที่ห่างไกล โดยพนักงานสามารถทำงานจากบ้านหรือ สำนักงานเคลื่อนที่ และ สื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยการเชื่อมต่อทางไกล การใช้งานลักษณะนี้ทำให้เกิดความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข้อมูลที่แลกเปลี่ยนอาจถูกดักฟังและนำไปใช้ในการก่อให้เกิดความเสียหายกับองค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถใช้ระบบรหัสช่วยป้องกันและสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้

4. บัตรเครดิต (Credit Cards)
บริษัทบัตรเครดิตใหญ่ ๆ หลายแห่งกำลังวางแผนเพื่อเปลี่ยนจากบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็กแบบเดิมซึ่งไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยมาใช้สมาร์ตการ์ด การใช้สมาร์ตการ์ดจะสามารถทำให้ใช้ระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ ซึ่งเป็นการรักษาความลับ ของหมายเลขบัตร รวมทั้งการระบุตัวบุคคล การยืนยันความแท้จริงของข้อมูลและการห้ามปฏิเสธความรับผิด ผ่านระบบการลงลายมือชื่อดิจิตอล การประยุกต์ใช้งานอีกรูปแบบหนึ่งของระบบรหัสในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ บัตรเครดิตจะเป็นการจัดหาระบบความปลอดภัยสำหรับการซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยในปัจจุบันบริษัท Visa และ Master card ได้พัฒนาโปรโตคอล( Protocol ) ที่เรียกว่า Secure Electronic Transaction ( SET) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตอย่างปลอดภัย ผ่านระบบเครือข่าย

5. เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cash)

เทคโนโลยีซึ่งนำไปสู่การใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยระบบนี้จะทดแทนธนบัตรและเหรียญในกระเป๋าเงินด้วยสมาร์ตการ์ด ซึ่งมีมูลค่าเงินจำนวนหนึ่งเก็บไว้ ทั้งนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องถือเงินสดอันเป็นการป้องกันการเกิดอาชญากรรม และป้องกันการทอนเงินที่ผิดพลาด


References

ดร. บรรจง หะรังษี. ความรู้เบื้องต้นของการเข้ารหัสข้อมูล (Introduction to Cryptography). ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย, 2547.

สำนักบริการคอมพิวเตอร์. การเข้ารหัสข้อมูล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรกฎาคม, 2544.

ธนา หงษ์สุวรรณ. ว่าด้วยการเข้ารหัสลับ. PC Magazine ฉบับที่ 51. เมษายน, 2546.




 

Create Date : 09 มีนาคม 2552    
Last Update : 9 มีนาคม 2552 1:13:18 น.
Counter : 691 Pageviews.  

ITM640 Internet and Communication Technologies - Circuit Switching และ Packet Switching

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต) มหาวิทยาลัยรังสิต

พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ





ปริญญาตรี

วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (เกียรตินิยมเหรียญทอง) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า BS in EE (Telecommunication) นักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 26 , นักเรียนนายร้อย จปร. รุ่น 37


ปริญญาโท

วิศวกรรมไฟฟ้า (Computer Communication Network) MS in EE (Computer Communication Network) Georgia Institute of Technology, Atlanta, Georgia, USA.

วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (ระบบสื่อสารเคลื่อนที่และเซลลูล่า) MS in EE (Mobile Communication) The George Washington University, Washington DC, USA.


ปริญญาเอก

วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (Telecommunications) Ph.D. in Telecommunications State University System of Florida (Florida Atlantic University), USA.


ตำแหน่งและหน้าที่ปัจจุบัน

อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

นายทหารฝ่ายเสนาธิการ สำนักงานรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

คณะอนุกรรมการบริหารโปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง (NECTEC)

Associate Professor of Business School, Touro University International, USA. (Accredited Internet Distance Learning University)

Assistant Professor, American University of London, Information Technology South East Asia

Adjunct Professor, Southern New Hampshire University, USA


ตำแหน่งและหน้าที่สำคัญในอดีต

ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

เลขานุการประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

ที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

คณะกรรมการร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสาร และโครงข่ายสถานีวิทยุคมนาคมภาคพื้นดิน (คำสั่ง กทช. 22/2548)

Adjunct Professor, School of Information Technology, Southern Cross University, Australia

Adjunct Professor, University of Canberra, AU. (Cooperation with Dhulakij Bandit University, Thailand)

ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาระบบงานด้านเทคโนยีสารสนเทศกองทัพบก

CIO Board สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =



Circuit Switching Technology และ Packet Switching Technology


นายปราการ คำเอี่ยม
ID : ITM0140

ให้นักศึกษาอธิบายการทำงานและเปรียบเทียบเทคโนโลยี Circuit Switching Technology และ Packet Switching Technology โดยการอธิบายของนักศึกษาต้องครอบคลุมหัวข้อดังนี้คือ

(1) การทำงานของเทคโนโลยีทั้งสอง
(2) ข้อดี – ข้อด้อยของทั้งสองเทคโนโลยี
(3) ทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติในหัวข้อที่สำคัญระหว่างเทคโนโลยีทั้งสอง
(4) แนวโน้มของเทคโนโลยีเครือข่ายในอนาคต

ระบบที่ใช้ในการรับ – ส่งสัญญาณ สำหรับ WAN นั้นมีหลายประเภท ซึ่งจะแตกต่างกันทางด้านขนาด , ประสิทธิภาพ , อัตรา
ข้อมูล , และราคา แบนวิธของระบบนำสัญญาณเหล่านี้จะเป็นไปได้ตั้งแต่ 9.6 Kbps ไปจนถึง 44.736 Kbps หรือมากกว่านั้น สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราการรับส่งที่คงที่และกำหนดได้

ระบบส่งสัญญาณจะแตกต่างกันมากในเรื่องของลักษณะการส่งสัญญาณ ซึ่งสามารถจำแนกระบบส่งสัญญาณเหล่านี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตช์ ( Circuit-Switched Facility)
2. ระบบส่งสัญญาณแบบแพ็กเก็ตสวิตช์ (Packet – Switched Facility)


ระบบส่งสัญญาณแบบ Circuit Switching Technology

วงจรสวิตช์ (Circuit Switching) เป็นกลไกการสื่อสารข้อมูล ที่สร้างเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีรับและสถานีส่งก่อนที่จะทำการส่งข้อมูล เมื่อเส้นทางดังกล่าวนี้สร้างแล้ว จะใช้ในการส่งข้อมูลได้เฉพาะ 2 สถานีนื้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์ ซึ่งแต่ละเลขหมายจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อจากชุมสายฯมายังโทรศัพท์เครื่องรับ โดยภายในชุมสายฯจะมีสวิตช์ติตตั้งอยู่ (Central Office) ระหว่างชุมสายโทรศัพท์ก็จะมีการเชื่องต่อระหว่างกัน ทำให้เราสามารถติดต่อเรียกไปหายังเบอร์อื่นๆได้ ซึ่งบางทีอาจจะต้องผ่านชุมสายฯหลายๆชุมสายฯ ทุกๆครั้งที่ใช้โทรศัพท์จะมีเส้นทางสัญญาณที่ถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนาแต่ละครั้ง เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์ เส้นทางก็จะถูกยกเลิกและพร้อมสำหรับการใช้งานในครั้งต่อไป การสร้างเส้นทางข้อมูลผ่านวงจรสวิตช์เป็นขั้นตอนที่สำคัญในระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตช์ เฟรมข้อมูลที่ส่งแต่ละการเชื่อมต่อจะถูกส่งผ่านเครือข่าย โดยใช้เส้นทางเดียวกันทั้งหมด

ระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตช์ที่ใช้ในเครือข่าย WAN มีดังนี้
- โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)
- สายคู่เช่า (Leased Line)
- ISDN (Integrated Services Digital Network)
- DSL (Digital Subscriber Line)
- เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)

ระบบส่งสัญญาณแบบ Packet Switching Technology

การสื่อสารแบบแพ็กเก็ตมีการใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว เริ่มจากการสร้างเครือข่ายสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง และต่อมามีการพัฒนาจนกลายเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีการสื่อสารแบบแพ็กเก็ตมีอยู่หลายมาตรฐาน เริ่มจากมาตรฐาน X.25 ในยุคแรก พัฒนาต่อมาเป็นเทคโนโลยี Frame Relay และเป็นเทคโนโลยี IP (Internet Protocol) ในปัจจุบัน

หัวใจสำคัญของการสื่อสารแบบแพ็กเก็ต คือ การออกแบบให้แพ็กเก็ต มีการบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับและผู้ส่ง รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการลำเลียงข้อมูลไปร่วมกับข้อมูลของผู้ใช้งาน จึงออกแบบอุปกรณ์เครือข่ายให้สามารถทำงานได้ เพียงการตรวจสอบเงื่อนไขการรับส่งที่แฝงไปกับแพ็กเก็ตข้อมูลแต่ละแพ็กเก็ต ปัจจุบันอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เชื่อมต่อและทำหน้าที่ตรวจสอบรวมถึงรับส่งข้อมูลก็คือ เราท์เตอร์ (Router) ซึ่งเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสารขององค์กรเข้ากับเครือข่ายสาธารณะ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Packet Switching เป็นการรับส่งข้อมูลที่จะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ ที่เรียกว่า Packet ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแต่ละ Packet จะไม่ยาวมาก ในบางระบบอาจจะยาวเพียง 64 byte(512 bits)ในหนึ่งแพ็กเก็ต จะมีโครงสร้างง่ายๆประกอบด้วยส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา คือ Packet Overhead และส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน (User data) ส่วนที่เรียกว่า Packet Overhead นั้น เป็นส่วนที่ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ Address ของผู้รับที่ปลายทาง

ข้อดี – ข้อด้อยของทั้งสองเทคโนโลยี

Circuit Switching

ข้อดี
1.มีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องแบ่งช่องทางกับผู้อื่น
2.ถึงแม้มีผู้ใช้งานระบบมาก แต่จะไม่ทำให้ speed ช้าลง

ข้อเสีย
1.ต้องมีการเชื่อมต่อกันทุกๆจุดทีมีการติดต่อกัน
2.เสียเวลาไปบางส่วนในการติดต่อ (connecting)แต่ละครั้ง
3.ถ้าโหนดจุดศูนย์กลางหยุดทำงาน โหนดอื่นในระบบจะไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้
4.คู่สายมักจะว่าง ทำให้ใช้สายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

Packet Switching

ข้อดี
1.สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าจะมีการติดต่อกันกี่จุดก็ตาม
2.สามารถรับ-ส่งข้อมูลแต่ละแพ็กเก็ตด้วยเส้นทางที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย
3.ประหยัด –ไม่เปลือง BandWidth และใช้เวลาในการหน่วงแพ็กเก็ตแรกน้อย
4.รับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงและใช้สายหรือช่องทางอย่างมีประสิทธิภาพ,ประหยัด,สะดวก

ข้อเสีย
1.ถ้ามีผู้ใช้งานระบบฯมากๆ จะทำให้ระบบฯช้า ทำให้ไม่สามารถรับประกันเรื่อง speed ได้
2.มีความล่าช้าเกิดขึ้นในโหนดข้อมูลแต่ละแพ็กเก็ตไปถึงที่หมายไม่พร้อมกัน(jitter)ทุกแพ็กเก็ตต้องเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่

เปรียบเทียบคุณสมบัติข้อแตกต่างของทั้ง 2 เทคโนโลยี

Circuit Switching
1.การรับ-ส่งข้อมูล ต่อสายด้วยระบบกายภาพ(วงจร) เช่น สะพานไฟ ปิด-เปิด
2.มีการสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลไว้แบบตายตัว มีการจองช่องทาง ตลอดการสื่อสาร ผู้อื่นจะไม่สามารถใช้เส้นทางเดียวกันได้
3.การรับ-ส่งข้อมูลจะเป็นแบบต่อเนื่อง ในอัตราความเร็วคงที่ ระหว่างผู้ส่ง ถึง ผู้รับ
4.ไม่เกิดการหน่วงเวลา เนื่องจากปริมาณผู้ใช้

Packet Switching
1.การรับ-ส่งข้อมูล ต่อสายด้วยระบบลอจิก(เงื่อนไข) ซึ่งในหนึ่งกายภาพอาจมีหลายๆเงื่อนไข
2.เมื่อทำการส่งข้อมูลแล้ว จะปล่อยเส้นทางนั้น ทำให้ผู้อื่นเข้ามาใช้เส้นทางนั้นได้
3.การรับ-ส่งข้อมูลจะเป็นแบบแยกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ อัตราความเร็วในการรับ-ส่งระหว่างผู้ส่ง ถึงผู้รับปลายทางไม่เท่ากัน
4.เกิดการหน่วงเวลา เนื่องจากมีผู้ใช้งานระบบมาก

แนวโน้มของเทคโนโลยีเครือข่ายในอนาคต

ปัจจุบันมีการสำรวจพบว่า มีประชากรจำนวนมากที่มีความสนใจและใช้โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต และก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังทดลองใช้เทคโนโลยีนี้ จึงมีกลุ่มธุรกิจชั้นนำได้พยายามรุกตลาดและเปิดให้บริการ Voice over IP เนื่องจาก ความยืดหยุ่นของโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ทำงานบนมาตรฐานเปิด จึงแตกต่างจากเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ที่ต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและเสียค่าใช้จ่ายสูงในการเพิ่มลูกเล่นใหม่ ด้วย Voice over IP สามารถพัฒนาฟังก์ชันใหม่ได้เร็วเท่ากับการเขียนโปรแกรม

ในปัจจุบันการส่งสัญญาณเสียงกับข้อมูล จะถูกส่งผ่านโครงข่ายที่แยกจากกัน แต่แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นลักษณะการรวมบริการหลายๆ อย่างไว้ในโครงข่ายเดียว ซึ่งสามารถให้บริการได้ทั้งสัญญาณเสียง, ข้อมูล, ภาพ ภายใต้โครงข่าย แบบแพ็คเกจโดยการส่งข้อมูลทั้งสัญญาณภาพ และเสียงเป็นชุดของข้อมูล ที่สัญญาณเสียง จะถูกแปลงเป็นข้อมูล ก่อนที่จะถูกส่ง ในโครงข่าย โดยใช้ไอพีโปรโตคอล (Internetworking Protocol: IP) ซึ่งกำลังเป็นสิ่งทีได้รับ ความสนใจ เป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนขององค์กร ธุรกิจ และผู้ให้บริการโครงข่ายหลายราย


สิ่งสำคัญที่เป็นที่ต้องการทางด้านการตลาด พอที่จะสรุปได้ 8 ประการ คือ

1. โอกาสที่จะติดต่อ สื่อสารระหว่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต โดยมีราคาที่ถูกกว่าโครงข่ายโทรศัพท์ทั่วไป
2. การพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยที่ส่วนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถใช้งานใน VoIP ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลมากขึ้น
3. การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมทั้งการเพิ่ม จำนวนขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ VoIP ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสาร
4. มีการใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในปัจจุบัน ให้สามารถใช้งาน ได้ทั้งในการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน
5. ความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ช่วยลดต้นทุนในการสร้างเครือข่ายของ VoIP ในขณะที่ ความสามารถ การให้บริการมีมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาร่วมใน VoIP มากขึ้น
6. ความต้องการที่จะมีหมายเลขเดียวในการติดต่อสื่อสารทั่วโลก ทั้งด้านเสียง, แฟกซ์ และข้อมูล ถึงแม้ว่าบุคคลนั้น จะย้ายไปที่ใด ก็ตามก็ยังคงสามารถใช้หมายเลขเดิมได้ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานและธุรกิจ
7. การเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของการทำรายการต่างๆ บน e-Commerce ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างก็ต้องการการ บริการที่มีคุณภาพ และมีการโต้ตอบกันได้ระหว่างที่กำลังใช้ อินเทอร์เน็ตอยู่ ซึ่ง VoIP สามารถเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้
8. การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต้องการ การติดต่อสื่อสาร ที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้น ตลาดกลุ่มนี้ถือว่า เป็นโอกาสของ VoIP ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานแบบแพ็คเกจสวิตชิ่ง (Packet Switching) มากขึ้น โดยการแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็คเกจย่อยๆ และทำการส่งไปตามเส้นทางต่างๆ กัน อันเป็นการกระจายทราฟฟิก (Traffic) ทั้งหมดในโครงข่ายให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่น
และคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักการของแพ็คเกจ สวิตชิ่งนี้ได้นำมาใช้เป็น Voice Over Packet เนื่องจากมีการปรับปรุง การทำงาน (Performance) บน Packet Switching ทำให้ Performance per Cost ของ Packet Switching ในอนาคตดีกว่า Circuit Switching ทิศทางของการใช้บริการโทรศัพท์แบบเสียง มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตค่อนข้างต่ำ ในขณะที่อัตราการเจริญ เพิ่มของการ ใช้โทรศัพท์แบบข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากการใช้งานที่แพร่หลายในทั่วโลก และนับจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนามาจนกระทั่งเป็นระบบโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ต (VoIP)

สำหรับในอนาคตนั้น ได้มีการคาดการณ์ถึงแนวโน้มเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในปี 2552 ในภาวะที่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป หรือแม้กระทั่งญิ่ปุ่น และ ประเทศในแถบเอเชียฯ โดยแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นนั้นมีอยู่ 3 แนวโน้มด้วยกันคือ

1 : ความต้องการใช้บริการมัลติมีเดียแบบ High Bandwidth จะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ประเทศต่างๆในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่มีความสำคัญมากที่สุดในโลก โดยมีการเดินหน้าขยายความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะยังคงไม่สดใสนัก แต่การเพิ่มการพัฒนาทั้งในด้านการค้าและที่อยู่อาศัยสามารถเห็นได้ทั่วไป จากการที่หลายโครงการดังกล่าวมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มพนักงานมืออาชีพที่มีฐานะและมีความสามารถในด้านไอทีสูง ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จึงไม่รีรอ ที่จะหันมาพัฒนาการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นมัลติมีเดียให้ง่ายยิ่งขึ้นความคึกคักของกิจกรรมการก่อสร้างย่อมหมายถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้เทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) ที่สามารถเชื่อมต่อบ้าน และสำนักงานต่างๆ เพื่อให้บริการมัลติมีเดียแบบอินเตอร์แอคทีฟที่มีแบนด์วิธสูงและสามารถปรับขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ สำหรับเชื่อมต่ออาคาร วิทยาเขต และเมืองต่างๆ การเติบโตดังกล่าวจะยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ต่างแข่งขันกันในการริเริ่มโครงการระดับชาติในการสร้างระบบเครือข่ายเทคโนโลยีการเชื่อมต่อด้วยไฟเบอร์ในแบบต่างๆ (FTTx) เพื่อเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจนอกจากนี้แล้ว จะมีการเปิดแนวรบใหม่ในอุตสาหกรรมผู้ให้บริการ ในขณะที่ผู้จัดการธุรกิจพัฒนาการค้าและที่อยู่อาศัยต่างเริ่มหันมาจัดจำหน่ายแบนด์วิธและคอนเทนท์แบบขายส่ง พร้อมทั้งก่อกระแสสร้างรายได้ใหม่ๆ จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการเสนอบริการมัลติมีเดียแบบอินเตอร์แอคทีฟเองทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการในการนำเสนอคอนเทนท์มัลติมีเดียแบบอินเตอร์แอคทีฟขนาดใหญ่ทสะดวก คุ้มค่าและวางใจได้ โดยอาศัยระบบเครือข่ายเทคโนโลยี passive optical แบบกระจายสัญญาณ (point-to-multipoint) ที่ทำงานบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต

2: ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นจะเข้ามากระตุ้นความต้องการการใช้โซลูชั่นการสื่อสารแบบ Unified -Communications and Collaboration (UCC) ในปี 2552 ให้เพิ่มสูงขี้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในช่วงสภาวะสุญญากาศที่มีภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจสูงอย่างในปัจจุบัน ประกอบกับความพยายามของแวดวงอุตสาหกรรมในการประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ของโซลูชั่น UCC แก่ภาคธุรกิจ จะส่งผลให้ปี 2009 เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้งานโซลูชั่น UCC อย่างกว้างขวาง ในขณะที่ธุรกิจต่างหันมาลดภาระค่าใช้จ่ายอย่างจริงจัง จากความสามารถในการรวมข้อมูลเสียงและบริการอื่นๆ เข้าไว้เครือข่ายข้อมูลมาตรฐานเดียวกัน โซลูชั่น UCC ช่วยมอบวิธีที่สามารถตอบสนองความต้องการและเป็นส่วนสำคัญแก่ฝ่าย IT ในการลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการลงหลายองค์กรมีการคาดการณ์ว่า ความต้องการโซลูชั่น UCC จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะผ่านพ้นไปก็ตาม ทั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงเพราะองค์กรธุรกิจจะเห็นประโยชน์จากการได้ทดลองใช้ แต่เป็นเพราะเทคโนโลยีนี้ยังได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแวดวงอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบ virtualization หรือ Embedded Software ที่ใช้งานกับแพลตฟอร์มแบบเปิด และโมเดล Software-as-a-service ซึ่งเพิ่มความสำคัญทางด้านการบริการและการต่อยอดแอพพลิเคชั่นบนระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ และทุกวันนี้กฎเกณฑ์ในการเลือกซื้อสินค้าได้เปลี่ยนไปแล้ว จากเดิมที่เคยมุ่งเน้นไปที่ระบบการจัดการและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ แต่กลับกันคือเลือกให้ความสำคัญในการใช้งานที่สะดวกง่ายดาย ปลอดภัยและวางใจได้ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม โซลูชั่น UCC ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการธุรกิจมีความราบรื่น ด้วยการลดความยุ่งยากในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายโอนข้อมูลสื่อสารของแต่ละบุคคล ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการลูกค้า และเอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจใหม่ๆ สำหรับองค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นความต้องการทางธุรกิจที่สำคัญอยู่ไม่ว่าในยามเศรษฐกิจแบบใดก็ตาม

3: ในปี 2552 จะเป็นปีแห่งการใช้งานมาตรฐาน 802.11n อย่างแพร่หลาย ทั่วโลก

เนื่องจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และการแสวงหาแอพพลิเคชั่นเพื่อรองรับการใช้งานทางธุรกิจ จะทำให้เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ไร้สายที่รองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมาก บริการข้อมูลเสียงแบนด์วิธสูง การเชื่อมต่อเครือข่ายได้อย่างราบรื่น รวมทั้งบริการพิเศษสำหรับภาคอุตสาหกรรม เช่น การระบุสินค้าด้วยเทคโนโลยีด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification - RFID) จะยิ่งทวีความสำคัญให้กับทั้งภาคธุรกิจและอุปโภคบริโภคมาตรฐาน 802.11n ถือเป็นพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะให้กับการใช้งานที่ได้กล่าวมา และคาดว่าเทคโนโลยีที่อาศัยการทำงานด้วยมาตรฐานดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาและนำมาใช้ทั่วภูมิภาคเอเชียในปี 2552 มาตรฐาน 802.11n นี้จะเป็นแรงผลักดันอย่างชัดเจนอันเนื่องมาจากความสามารถในการจัดการที่ดีกว่าและให้ความปลอดภัยกับอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Access point)ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณการใช้งานจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ การผลิต และการค้าปลีก ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อแบบไร้สายของมาตรฐาน 802.11n ขั้นสูง เพิ่มให้ความสามารถในการควบคุมแบบไร้สายประสิทธิภาพ

การก้าวสู่ยุคของระบบ Network รูปแบบใหม่

NGN เป็นระบบ Network รูปแบบใหม่ที่กำลังถูกเร่งพัฒนารูปแบบการทำงาน ซึ่งนับได้ว่าเป็นวิวัฒนาการในเชิงสถาปัตยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งของระบบ Network การสื่อสาร คาดว่าระบบฯดังกล่าวน่าจะนำมาใช้งานและสามารถเชื่อมต่อเข้าระบบ ได้อย่างสมบูรณ์และพร้อมที่จะให้ใช้บริการได้ ในอีกระยะเวลา 5 -10 ปี ซึ่งจะสามารถรองรับความต้องการใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก

แหล่งที่มาของข้อมูล

1.หนังสือเรื่อง “ เจาะระบบ Network ฉบับสมบูรณ์ ” เรียบเรียงและแต่ง โดย จตุชัย แพงจันทร์ , อนุโชต วุฒิพรพงษ์ จัดพิมพ์โดย บริษัท ไอดีซี อินโฟ ดิสทริบิวเตอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด อยู่ที่ 200 หมู่ 4 ชั้น 5 ห้อง 514 จัสมินอินเตอร์เนชั่นแนลทาวเวอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกล็ด จ.นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2962-1081 โทรสาร 0-2962-1084
2. Packet Switching Available on //e-learning.yru.ac.th/yrublog/wp-content/uploads/2007/10/packet-switching.pdf [ 1 December 2008]
3. วิวัฒนาการการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต //www.vcharkarn.com/varticle/17875/1 [ 1 December 2008 ]
4. Economic FAQs about the Internet. Available on //www.cs.ssru.ac.th/karnchana/Textbook/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2011.pdf [ 1 December 2008 ]
5.แนวทางการออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่าย (Network Design) , Available on //cptd.chandra.ac.th/rawin/chap8.doc [ 1 December 2008 ]
6.การคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับ ปี 2552 โดย บริษัท ทรีคอม (ประเทศไทย) จำกัด , , Available on //www.quickpcextreme.com/blog/archives/1856 [ 7 January 2009 ]
7. Next Generation Networking , Available on //en.wikipedia.org/wiki/Next_Generation_Networking [ 7 January 2009 ]





 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 9 มีนาคม 2552 1:13:09 น.
Counter : 6582 Pageviews.  


Prakan_ITM0140
Location :
ตาก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Prakan_ITM0140's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.