Group Blog
 
All blogs
 

ลาวครั่งในดอนตูม นครปฐม (ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม)

Smiley ไม่รู้จะมีคนอคติกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมว่าเป็นการเที่ยวที่น่าเบื่อรึเปล่าเน้อSmiley



โดยเฉพาะดอนตูม มันอาจจะไม่สวย โรแมนติกเหมือนทะเล หรือภาคเหนืออากาศหนาว ๆ หมอกหนา ๆ Smiley



แต่ดอนตูมก็มีทีเด็ดของเค้าเหมือนกันค่ะ Smiley ทีเด็ดที่ว่านี้คือ ความอิ่มใจ อัธยาศัยของผู้คน รอยยิ้ม ความห่วงใย ความดีใจตื่นเต้นที่มีคนไปเยือน มีคนอยากรู้วิถีชีวิตความเชื่อของพวกเขา วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่รีบร้อนเหมือนเมืองกรุง ไม่น่าเชื่อว่าจะมีที่แบบนี้อยู่ใกล้ ๆ กรุงเทพนะคะ










ถึงบรรยายไปก็ไม่สามารถรับรู้ได้เหมือนกับการได้ลองไปเยือนของจริงนะคะ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่า ดอนตูมมันไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวที่เตรียมสถานที่สวย ๆ ไว้ให้ถ่ายรูป ไม่มีร้านขายของที่ระลึกอะไรสำหรับนักท่องเที่ยวหรอกนะคะ Smiley










Smileyมันคือ วิถีชีวิตจริง ๆ ของผู้คนดอนตูมเลย ซึ่งก็เป็นเสน่ห์ไปคนละแบบกับเมืองท่องเที่ยวดัง ๆ เช่น พัทยา หรือ ปายนะคะSmiley







ครั้งนี้เราได้มีโอกาสตามรายการพันแสงรุ้ง เดินทางถ่ายทำชาวลาวครั่งในภาคกลางใกล้กรุงเทพสุด ๆ แบบนี้ค่ะ ข้อมูลและรูปถ่ายเป็นส่วนเล็กน้อยของรายการนะคะ รูปก็ถ่ายด้วยกล้องเราเองบ้าง รูปจากกล้องพี่ทีมงานบ้าง อาจจะไม่สวยเหมือนเนื้อหาในทีวีหรอกค่ะ



เป็นเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ถ่ายทอดโดยเราเองค่ะ ฉะนั้นถ้าสนใจเรื่องชาวลาวครั่งในดอนตูมจริง ๆ หรืออยากจะฟังข้อมูลทั้งหมดภาพสวย ๆ ก็ติดตามได้ในรายการ Smileyพันแสงรุ้งSmiley ช่องไทยพีบีเอส วันเสาร์ที่ 22 และ 29 ตุลาคมนี้นะคะ เวลาสี่โมงครึ่งตอนเย็นค่ะ รายการจะแบ่งเป็นสองตอนสองวันดูให้จุใจไปเลย



เข้าไปฝังตัวอยู่ในดอนตูม คลุกคลีกับชาวลาวครั่ง 5 วันเต็ม ๆ กลับมาพูดสำเนียงคล้ายลาวครั่งเลย อิอิ Smiley









วันแรกที่ไป ก็จะได้ดูเรื่องอาหารการกินของชาวลาวครั่ง




วัตถุดิบหลักแปลกตา คือ หำ (เม็ดเล็ก ๆ เท่าเม็ดทรายสีเขียวสด) เจ้าหำเนี่ยจะอยู่ใต้จอกแหนค่ะ ชาวบ้านเค้าเอาไปทำแกง ถ้าเก็บขายก็โลละ 10 บาทเอง กว่าจะได้โลหนึ่ง คุณลุงคนเก็บหำบอกว่าต้องร่อนน้ำทั้งร้อยกว่าทีแหน่ะ








จากนั้นเราก็ตามไปดูคุณยายคุณป้าทำแกงอร่อยประจำคนลาวครั่งให้ดูกัน




แกงแรก ชื่อว่า แกงเป๊รอะ นะคะ ส่วนผสมมีดังนี้ น้ำใบย่านางคั้นสด ข้าวเกลือ ปลาร้า (ถ้าไม่ชอบใส่ก็ใส่ปลาทูสับแทนได้นะคะ) หน่อไม้หั่นเป็นชิ้น ๆ ริ้ว ๆ ผักเนา (ชะอม) ใบแมงลัก(ใบขี้ตู่เบา) และก็เอาทั้งหมดเทลงหม้อ มาถึงรสชาดกันดีกว่า อร่อยมาก เราชอบแกงอันนี้ที่สุดเลยค่ะ







ต่อไปแกงหำ อันนี้จะไม่ใส่ปลาร้านะคะ ส่วนผสมประกอบไปด้วย กะทิ(ถ้าไม่ชอบกะทิก็ใส่น้ำใบย่านางแทนได้ค่ะ) พริกแกง นำใส่หม้อ ตามด้วยหมูสับหรือหมูชิ้น พอน้ำเดือดก็ใส่หำเยอะ ๆ ถือเป็นเครื่องแกงหลัก ใส่ใบกะเพราะ(ใบขี้ตู่) ถ้าเดือดก็ยกขึ้น ไม่งั้นหำจะดำ ดูไม่น่ากินนะคะ รสชาติหำก็เหมือนผักทั่วไป ไม่เปรี้ยวไม่เผ็ดนะคะ กรุ๊บกริ๊บอร่อยดีนะคะ ยกให้ความชอบระดับที่สองค่ะ อิอิ






แกงสุดท้าย แกงป่าหอยจุ๊บ ค่ะ วิธีทำ ใส่น้ำเปล่า ตั้งไฟ แล้วใส่พริกแกง ใส่ข้าวเบื่อ แล้วก็ใส่หอยจุ๊บ ค่อย ๆ คน ถ้าคนเร็ว ๆ แกงจะคาวนะคะ เสร็จแล้วก็โรยใบชะพลูซอยเป็นเส้น ๆ ลงไป เสร็จแล้ว ง่ายสุดเลยเนอะ มาถึงรสชาติกันบ้าง ฮึ่ม ๆ ๆ รสชาติอร่อยดีนะคะ แต่ที่ให้ไว้อันดับสามเลย เพราะว่า.....ว่า.....เราจุ๊บหอยไม่เป็นนั่นเอง ฮ่าๆๆ เลยไม่ได้กินตัวหอยเลยอ่ะ วิธีกินค่อนข้างลำบาก หอยอันนี้อันเดียวกะที่ใส่แกงขี้เหล็กเลยค่ะ





หลังจากกินจนอิ่มทั้งกองถ่ายแล้ว ก็สัมภาษณ์สอบถามด้วย สิ่งที่ได้เป็นความรู้เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็มีดังนี้ค่ะ

ชีวิตประจำวัน ชาวลาวครั่งไม่เลยกินข้าวเหนียวนะคะ จะกินข้าวเจ้าเป็นหลัก


และก็ยังทำกับข้าวกินเองอยู่ ลาบสุก หรือแกงอ่อมแบบอีสาน ที่นี่ไม่มีนะคะ













เรื่องที่สองที่อยากนำเสนอ คือ เรื่องเครื่องแต่งกายของชาวลาวครั่งค่ะ เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่จะไม่พูดถึงก็คงไม่ได้นะคะ นี้คือรูปชุดประจำของหญิงชาวลาวครั่งค่ะ



เท่าที่สำรวจหมู่บ้าน บ้านๆ หนึ่ง คนแก่จะมีหนึ่งชุด เรียกได้ว่าสูญหายไปแล้ว ชุดก็ซื้อ ไม่ได้ตัดเอง แต่เค้าก็พยายามอนุรักษ์กันอยู่นะคะ กำลังฟื้นฟูขึ้นมา





ถามไปถามมาเจอบ้านหนึ่ง แอบบอกข้อมูลสำคัญว่าเมื่อก่อนใส่กางเกงโจงกระเบนด้วย เอาตามอย่างคนไทย


ผ้าถุงลายลาวครั่งก็ได้สูญหายไปจากบ้านแล้วค่ะ ตอนนี้ มีแต่พยายามสร้างให้ทดแทนหรือเลียนแบบขึ้นมาค่ะ










เรื่องที่สาม คือ เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อของชาวลาวครั่ง มีอยู่สองความเชื่อคือ ศาลเจ้านาย และหิ้งเทวดาค่ะ

มีร่างทรง มีกวน หรือคนที่ดูแลศาลเจ้านาย

ผู้ใหญ่จะปลูกฝังเด็กเล็ก ๆ เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้พิธีกรรมเหล่านี้ยังคงอยู่ค่ะ เรื่องนี้เลยยังเหนียวแน่นอยู่ในชุมชน


รายละเอียดเรื่องนี้ค่อนข้างเยอะนะคะ ไว้ติดตามในรายการแล้วกัน คนเล่าขี้เกียจเล่าซะงั้นนะ อิอิ














มาถึงคำเกือบคมของชาวบ้านตบท้ายกันดีกว่าค่ะ

เมื่อถามว่า ชาวลาวครั่งอยู่ดำรงอัตลักษณ์ได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ต้องมาอยู่กับไทยภาคกลาง และคนจีน

“อดทน และยอมรับ และต่างคนต่างอยู่”



เมื่อถามว่า หัวใจของชาวลาวครั่งคืออะไร

“ภาษา ประเพณี ศาลเจ้านาย หิ้งเทวดาและการอยู่กับปัจจุบัน พยายามปรับตัว แต่เอกลักษณ์ก็ต้องรักษาไว้”



สิ่งที่ชาวลาวครั่งเปลี่ยนไป หรืออะไรที่หายสาบสูญไปแล้ว


“อาชีพโบราณ การแต่งกาย รูปแบบบ้านเรือน”









เกริ่น ๆ ก็ประมาณนี้ค่ะ จบแล้วสำหรับสิ่งที่เก็บมาได้ และอยากจะแบ่งปันให้ทุกคนเห็นถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์ในไทย หวังว่าเราจะเข้าใจพวกเขา และยอมรับในสิ่งที่พวกเขาเป็นได้นะคะ ขอบคุณค่ะSmiley






ถ้าเรามีโอกาสออกทริปถ่ายทำรายการอีก จะนำมาเสนอให้ชมเรื่อย ๆ นะคะ เกี่ยวกับชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในไทย ถ้าใครชอบก็แอดเป็นเพื่อนกันไว้ได้นะคะ เดี๋ยวหากันไม่เจออีก แล้วเจอกันอีกค่ะ บะบายยยSmiley









ข้างล่างเป็นภาพบรรยากาศ มีทั้งภาพและวีดีโอ เสียงเพลงอาจจะไม่ใช่ดนตรีลาวครั่งนะคะ เป็นของทางเหนือคร่าา








 

Create Date : 22 กันยายน 2554    
Last Update : 22 กันยายน 2554 11:54:39 น.
Counter : 3035 Pageviews.  


Natchaza
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Natchaza's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.