Knowledge Management for IM : Place you can enjoy to share your knowledge.
 
 

Foundation Courses : DS : Bias



ความลำเอียง หรืออคติ หรือ Bias นั้น มีมาคู่กับสังคมมนุษย์ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว พระพุทธองค์ทรงแบ่งแยกความลำเอียงออกเป็น 4 ชนิดตามสาเหตุ ได้แก่

§ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่ คนพิศวาสกัน ทำอะไรก็ถูกใจไปหมด
§ โทสาคติ ลำเอียงเพราะโกรธ ไม่ชอบขี้หน้าลูกน้อง ทำดีแค่ไหนก็ไม่ขึ้น
§ โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง อันนี้น่าจะรวมอคติเพราะความโง่ไว้ด้วยแล้ว
§ ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัวภัยจะมาถึงตน

สี่ข้อนี้ชัดเจนมากเลยครับ แทบไม่ต้องอธิบายอะไร เชื่อว่าในบางเวลา เกือบทุกคนก็มีบางข้อ อย่างผมนี่สองข้อแรกจะมาบ่อยมาก

ในเชิงการจัดการ วิชาพฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) จะมีคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องความลำเอียงนี้ เริ่มต้นด้วยการที่คนมักจะใช้ทางลัด (shortcut) ในการตัดสินผู้อื่น ทางลัดที่พบบ่อย เช่น

§ Selective Perception ความสามารถในการประมวลผลของมนุษย์มีจำกัด เราจึงเลือกที่จะรับรู้ และไม่รับรู้อะไร พวกนักลงทุนสาย Technical Analysis เป็นตัวอย่างที่ดี เวลา signal ที่ออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง ยังมีหน้ามาตะแบง ว่าเป็น fault signal ใครชอบอะไร ก็จะเชื่อตามนั้น

§ Halo Effect คุณสมบัติบางอย่างของคนเรามักจะล้ำหน้าคุณสมบัติข้ออื่นๆ เวลาคนมองคนนี้ก็จะถูกเจ้ารัศมีทั้งทางดีและไม่ดีนี้กลบหมด ตัวอย่างที่ใกล้ที่สุดคือ กรณีของอดีตนายกรัฐมนตรีที่แกทำอะไรมาบ้างตลอด 5 ปี ก็ไม่มีใครจำได้แล้วล่ะ ตอนนี้ Halo เรื่องทุจริตบดบังคุณสมบัติอื่นๆของเค้าจนหมด

§ Contrast Effect เราไม่ได้ตัดสินคนอย่างเป็นอิสระ แต่มักจะเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ที่คุ้นเคยหรือเพิ่งจะผ่านมา เช่นในการสัมภาษณ์งาน คนที่ถูกสัมภาษณ์ถัดจากคนบุคลิกดี หน้าตาดี พูดจาแคล่วคล่อง นับว่าซวยมาก เพราะคะแนนจะออกมาแย่กว่าที่ควรจะเป็น

§ Projection คนมักจะเอาคุณสมบัติของตนเองไปประเมินผู้อื่น ผมเองก็เป็นข้อนี้บ่อย เช่น เวลามีน้องๆทำงานผิดพลาด ไม่ตั้งใจทำ ผมก็มักจะพูดทำนองว่า ถ้าเป็นผมจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ หากเราไม่สามารถสลัดเจ้า projection นี้ออกไปจากหัวได้ ก็จะทำให้ขาดความเข้าใจในความแตกต่างของคน

§ Stereotyping บ่อยครั้งที่คนเราชอบจัดกลุ่มคนอื่น พยายามจะมองว่า คนนั้นคล้ายๆคนนี้ หรืออยู่ในกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ ดังนั้นต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แน่นอน เช่น เรามักจะมองว่านักร้องผู้หญิงตามร้านอาหารกลางคืนเป็นคนไม่ดี แต่ก็คงไม่ใช่ทั้งหมด หรือคนเกิดเดือนสิงหาเป็นคนเย่อหยิ่งจองหอง



สำหรับ Common Bias และ Error หรือความลำเอียงโดยทั่วไป ในเชิงการจัดการสามารถแบ่งออกได้เป็น

§ Overconfidence Bias มั่นใจเกินไป จนขาดความรอบคอบ

§ Anchoring Bias ความโน้มเอียงที่จะใช้ข้อมูลเริ่มต้นในการตัดสินใจ บางทีคนเราชอบยึดติด ไม่ศึกษาข้อมูลทั้งหมดให้ละเอียดเสียก่อน ไปดูรถคันแรกก็ชอบเสียแล้ว ไม่ยอมเก็บข้อมูลเอาไปเปรียบเทียบกับคันอื่นๆ

§ Confirmation Bias เราเลือกใช้ข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจที่ทำไปแล้ว ซื้อ CR-V มาคันนึงกินน้ำมันมาก บอกว่านั่งสบายดี บรรทุกของได้เยอะ (ใครล่ะเนี่ย คุ้นๆ)

§ Availability Bias การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ เป็นความมักง่าย ข้อมูลไม่พอก็ไม่ไปขวนขวายหามา

§ Representative Bias บางทีเราก็ตัดสินใจโดยดูจากตัวอย่าง เช่น การที่เด็กๆอยากจะเป็นนักร้อง เป็นดารา เพราะเห็นว่าเท่และได้เงิน หรือรับสมัครนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสิงขรมาทำงาน ไม่ถูกใจเลย คราวหน้าจะไม่รับอีกแล้ว

§ Escalation of Commitment Error หรือการยืนกระต่ายขาเดียว ยันอยู่กับสิ่งผิดๆจนกว่า หลักฐานจะชัดจนโต้แย้งไม่ได้แล้ว ศัพท์วัยรุ่นก็เค้าว่า เกรียน คงจะคุ้นกันดีนะครับ

§ Randomness Error ในโลกแห่งความเป็นจริงมีเหตุการณ์เยอะแยะที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม มันเกิดขึ้นของมันอย่างนั้นเอง ไม่ได้มีรูปแบบที่จะอธิบายเป็นตรรกะได้ หากเราพยายามจะให้เหตุผลกับสิ่งเหล่านี้ นั่นก็จะกลายเป็นความผิดพลาด ตัวอย่างของ bias ประเภทนี้ที่ผมพอจะนึกออกคือ พวกมองน้ำตาเทียน เปลือกไม้ หรือปลีกล้วยเป็นตัวเลข

§ Hindsight Bias เคยเห็นคนพูดว่า “ว่าแล้วเชียว” หรือ “ชั้นนึกแล้ว” มั้ยครับ นี่เป็นสัญญาณของพวกที่ชอบคิดว่าตัวเองทำนายถูกต่อเมื่อเหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้ว ลองถ้าเกิดอะไรที่ตรงข้ามพวกนี้ก็จะเงียบกริบเลย เมื่อก่อนมีคนแก่ๆ ใส่แว่น หน้ากลมๆ ชอบชี้นิ้ว ออกทีวีช่องหนึ่งตอนดึกๆ แกชอบพูดประโยคประมาณนี้ มีสำนวนไทยที่คล้ายๆแต่ไม่ตรงซะทีเดียวสำหรับ Hindsight Bias คือ เห่าข้างกระดาน

ลองไปซักไซ้ไล่เลียงพฤติกรรมของพวกเราดูนะครับ ว่าเคยมีความลำเอียงชนิดไหนเกินหน้าออกมาบ้างหรือเปล่า ขึ้นชื่อว่า มนุษย์ ล่ะนะ ก็คงจะต้องมีบ้าง แต่อย่าให้มันมีบ่อยนัก ที่สำคัญคือเมื่อมันเกิดขึ้น ต้องระบุได้ว่า เรากำลังมีอคติชนิดไหน เมื่อรู้แล้วการกำจัดมันก็จะทำได้ง่ายครับ




 

Create Date : 16 เมษายน 2553   
Last Update : 16 เมษายน 2553 19:36:08 น.   
Counter : 1305 Pageviews.  


Foundation Courses : DS : กลศึกสามก๊ก

กลศึกสามก๊ก เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่าง แดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่าง ที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอา ชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม

แต่มีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหาร ที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักตำราพิชัยสงคราม เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกในการทำศึกสงคราม ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊ก

>>การวางกลศึก<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<

การวางแผนการศึกในเชิงรบระหว่างทัพ แม่ทัพผู้นำศึกต้องมีความรู้ความสามารถ มีภูมิปัญญาอันเป็นเลิศ มีความมั่นใจในตนเอง มีความเมตตา ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และความกล้าหาญชาญชัย รักไพร่พลของตนรวมทั้งมีการแม่นยำในสภาพภูมิศาสตร์ รู้สภาพดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติและฤดูกาลต่าง ๆ อันส่งผลให้เกิดขอบเขตขีดจำกัดในการทำศึก ดั่งคำกล่าวของจูกัดเหลียงที่ว่า "อันธรรมดาเป็นชายชาติทหาร ถ้าไม่รู้คะเนการฤกษ์บนแลฤกษ์ต่ำ ก็มิได้เรียกว่ามีสติปัญญา" ถ้าแม่ทัพผู้นำศึกขาดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ย่อมเพลี่ยงพล้ำหลงกลศึกของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย กลศึกทางบกเป็นการคำนวณระยะทางใกล้ไกล สภาพภูมิประเทศ และความยากง่ายต่อการเข้าถึงของพื้นที่ รวมทั้งการให้คุณให้โทษแก่ไพร่พลทหาร การจัดส่งเสบียงอาหารและกองกำลังหนุนยามเพลี้ยงพล้ำ

การวางแผนการศึกในเชิงรบระหว่างทัพเรือ แม่ทัพผู้นำศึกต้องมีความรู้ความสามารถ มีภูมิปัญญาอันเป็นเลิศ มีความมั่นใจในตนเอง มีความเมตตา ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และความกล้าหาญชาญชัย รักไพร่พลของตนรวมทั้งมีการแม่นยำในสภาพภูมิศาสตร์ ชำนาญในการเดินเรือ รู้สภาพดินฟ้าอากาศ โขดหินและร่องน้ำตามธรรมชาติ รวมทั้งรู้จักฤดูกาลต่าง ๆ อันส่งผลให้เกิดขอบเขตขีดจำกัดในการทำศึก ถ้าแม่ทัพผู้นำศึกขาดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ย่อมหลงกลศึกของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย กลศึกทางน้ำเป็นการคำนวณระยะทางใกล้ไกลในการเดินทัพเรือ สภาพภูมิประเทศ และความยากง่ายต่อการเข้าถึงของพื้นที่ รวมทั้งการให้คุณให้โทษแก่ไพร่พลทหาร การจัดส่งเสบียงกรังและกองกำลังหนุนยามเพลี้ยงพล้ำและพ่ายแพ้

ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อให้ได้มาซึ่งชัย ชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักและเชี่ยวชาญตำราพิชัยสงคราม เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารภายใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ ตำราพิชัยสงครามซุนวู 13 บท กล่าวไว้ว่า "การบัญชาทัพชั้นเอกคือชนะด้วยอุบาย รองลงมาคือชนะด้วยการทูต รองลงมาอีกคือชนะด้วยการรบ" จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ตันฮก ลิบอง ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกและตำราพิชัยสงครามในการทำศึก ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊กในแต่ละครั้งมีดังนี้

1. กลยุทธ์ชนะศึก (อังกฤษ: Winning Stratagems)
2. กลยุทธ์เผชิญศึก (อังกฤษ: Enemy Dealing Stratagems)
3. กลยุทธ์เข้าตี (อังกฤษ: Attacking Stratagems)
4. กลยุทธ์ติดพัน (อังกฤษ: Chaos Stratagems)
5. กลยุทธ์ร่วมรบ (อังกฤษ: Proximate Stratagems)
6. กลยุทธ์ยามพ่าย (อังกฤษ: Defeat Stratagems)

>>>กลยุทธ์ชนะศึก<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<

กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล.............................

กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล หรือ หมานเทียนกว้อไห่ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่คิดหรือมองข้ามสิ่งใด ๆ ก็ตามที่คิดว่าตนเองนั้นได้ตระเตรียมไว้พร้อมสรรพแล้ว ก็มักจะมีความประมาทมองข้ามศัตรูไปอย่างง่ายดาย พบเห็นสิ่งใดที่มองเห็นเสมอในยามปกติ ก็ไม่เกิดความติดใจสงสัยในสิ่งนั้น เกิดความชะล่าใจในตนเอง การบุกเข้าโจมตีศัตรูโดยที่ศัตรูไม่รู้ตัวนับว่าเป็นการได้ชัยชนะมาแล้ว ครึ่งหนึ่ง สามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย การปกปิดอำพรางซ่อนเร้น จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำศึกสงคราม ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลไปใช้ได้แก่ลิบองที่ลอบบุกเข้าโจมตีเกงจิ๋วโดยที่กวนอูไม่รู้ตัวแม้แต่น้อย

กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเวยช่วยจ้าว.............................

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว หรือ เหวยเวยจิ้วจ้าว เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูรวบรวมกำลังทหารและไพร่พลไว้เป็นจุด ศูนย์กลางของกองทัพ ทำให้มีกำลังและความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการดึงแยกศัตรูให้แตกออกจากกัน เพื่อให้กำลังไพร่พลทหารกระจัดกระจาย คอยเฝ้าระวังและมีความห่วงหน้าพะวงหลังในการทำศึกสงครามแล้วจึงบุกเข้าโจมตี ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล้อมเวยจิ้วจ้าวไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกให้โจโฉนำทัพไปทำศึกสงครามกับซุนกวน และนำทัพบุกเข้ายึดฮันต๋งจากโจโฉมาเป็นของตนได้สำเร็จ

กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน.............................

กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน หรือ เจี้ยเตาซาเหริน เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็งและแข็งแกร่งใน ศึกสงคราม ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือจัดการด้วยตนเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรูโดยไม่ต้องออกแรง เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋น แม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างเล่าปี่และซุนกวนจนโจโฉถูกเผาเรือพ่ายแพ้ย่อยยับ

กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย.............................

กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย หรือ อี่อี้ไต้เหลา เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังคงมีความเข้มแข็ง กำลังไพร่พลทหารยังคงแข็งแกร่งยากจะต่อสู้ก็ไม่ควรจะเข้าปะทะโดยตรงด้วย กำลังที่มีอยู่ แต่ยามใดที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอในกองทัพเมื่อใด ต้องรีบฉวยโอกาสบุกเข้าโจมตีโดยเร็ว เพื่อเป็นการข่มขวัญและป้องกันไม่ให้ศัตรูกลับมาแข็งแกร่งดั่งเดิม กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเป็นการใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ให้ระยะเวลาเป็นการบั่นทอนกำลังและจิตใจของศัตรู ฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์จากเดิมที่กลายเป็นรองหรือเสียเปรียบให้กลายเป็นฝ่าย ได้เปรียบ ในสามก๊กยามเกิดศึกสงคราม กองทัพทุกกองทัพต่างใช้กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเพื่อหาโอกาสเหมาะในการบุกเข้า โจมตีศัตรูยามเพลี่ยงพล้ำอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยไปใช้ได้แก่ลกซุนที่แนะนำซุนกวนให้ พระเจ้าเล่าเสี้ยนนำกำลังทหารไปตีลกเอี๋ยง

กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตามไฟ.............................

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ หรือ เชิ่นหว่อต่าเจี๋ย เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอและ ย่ำแย่ ควรรีบฉกฉวยโอกาสนำทัพเข้าโจมตีเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือมอบหมายให้แม่ทัพหรือทหารที่มีความเข้มแข็งนำทัพเข้าโจมตี ซึ่งเป็นการฉกฉวยเอาผลประโยชน์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรง และยุ่งเหยิง นำความดีความชอบมาเป็นของตน ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ตีชิงตามไฟไปใช้ได้แก่ตั๋งโต๊ะที่ฉกฉวยโอกาสยึดเอาเมืองหลวงและราชสำนักของพระเจ้าหองจูเหียบมาเป็นของตน และแต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราชและเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าหองจูเปียน

กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม.............................

กลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม หรือ เซิงตงจีซี เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการโจมตีศัตรู จะต้องเตรียมการและบุกโจมตีในจุดที่ศัตรูต่างคาดไม่ถึงเพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้ศัตรูวางแนวการตั้งรับได้ถูก โดยหลอกล่อศัตรูให้เกิดการหลงทิศกับการบุกโจมตีและนำกำลังทหารไปเฝ้าระวัง ผิดตำแหน่ง เกิดการหละหลวมต่อกำลังทหารและเปิดโอกาสให้สามารถเอาชนะได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิมไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกล่อเฮ็กเจียวให้เกิดความสับสนและหลงทิศในการนำกำลังทหารเฝ้าระวังการบุกเข้าโจมตีด่านตันฉองของจูกัดเหลียงและทหารจ๊กก๊ก

>>>กลยุทธ์เผชิญศึก<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<

กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี.............................

กลยุทธ์มีในไม่มี หรือ อู๋จงเซิงโหย่ว เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ภาพลวงในการหลอกล่อศัตรูเพียงครั้งคราว ให้หลงเชื่อ แปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริงจากจริงเป็นลวง ทำให้ศัตรูเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าการ "ลวง" ก็คือการ "หลอกหลวง" ที่ว่า "มืด" ก็กลายเป็น "เท็จ" แสงสว่างจากมืดน้อยย่อมทวีความมืดไปจนถึงมืดมาก จากมืดมากย่อมแปรเปลี่ยนกลับกลายเป็นสว่าง การใช้ภาพลวงเพื่อเสแสร้งปกปิดภาพจริง การผันผวนคำเท็จจากลวงให้กลายเป็นความจริง ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง ทำให้ในการทำศึกสงครามย่อมมีกลลวงข้อเท็จจริงสลับเป็นฟันปลากันอยู่เสมอ ตัวอย่างการทำเอากลยุทธ์มีในไม่มีไปใช้ได้แก่โจโฉที่วางแผนหลอกลิโป้ให้หลงเชื่อว่าตนเองตายและลอบซุ่มบุกตีโจมตีกระหนาบจนลิโป้พ่ายแพ้ยับเยิน

กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชาง.............................

กลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง หรือ อั้นตู้เฉินชาง เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ศัตรูตัดสินใจที่จะรักษาพื้นที่ เขตแดนของตนไว้ และแสร้งทำเป็นนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีทางด้านหน้า แต่ลอบนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีในพื้นที่เขตแดนที่ศัตรูไม่ทันคาดคิดและสนใจ วางแนวกำลังป้องกัน ในการศึกสงครามการ ใช้กลวิธีการวกวนลอบเข้าโจมตีย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ สามารถบุกเข้าโจมตีศัตรูได้โดยที่ไม่ทันระวังตัวและเอาชนะมาเป็นของตนได้โดย ง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลอบตีเฉินชางไปใช้ได้แก่ตันฮกที่ให้กวนอูคุมทหารลอบเข้าบุกยึดห้วนเสีย ทำให้โจหยินที่พ่ายแพ้ต้องหนีกลับฮูโต๋

กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง.............................

กลยุทธ์ดูไฟชายฝั่ง หรือ เก๋ออั้นกวนหว่อ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ศัตรูเกิดการแตกแยก วุ่นวายและปั่นป่วนอย่างหนักภายในกองทัพ พึงรอจังหวะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ จับตาดูความเคลื่อนไหวของศัตรูทุกฝีก้าว ถ้าศัตรูเกิดความระแวงและใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันเอง เกิดการเข่นฆ่าแย่งชิงความเป็นใหญ่ แนวโน้มความพินาศและวอดวายก็จะเกิดขึ้นภายในกองทัพ ในช่วงระยะเวลานี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของศัตรู เตรียมความพร้อมในกองทัพไว้ล่วงหน้า ช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตนโดยใช้การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของศัตรูให้เป็น ประโยชน์ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ดูไฟชายฝั่งไปใช้ได้แก่กุยแกที่ให้คำแนะนำแก่โจโฉเพื่อนำกำลังทหารไปตีกิจิ๋วในขณะที่อ้วนซงขึ้นครองกิจิ๋วแทนอ้วนเสี้ยว

กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบในรอยยิ้ม.............................

กลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้ม หรือ เสี้ยวหลี่ฉางเตา เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการหลอกให้ศัตรูหลงเชื่อถึงความสงบ ไม่ให้ล่วงรู้ถึงความเคลื่อนไหวใด ๆ ของกองทัพ ทำให้ศัตรูเกิดความสงสัยและเกิดความสงบไม่เคลื่อนไหวในกองทัพเช่นกัน ทำให้เกิดความคิดที่มึนชาขึ้น และฉวยโอกาสเตรียมการเป็นความลับ เฝ้าคอยระวังมิให้ศัตรูล่วงรู้ความลับหรือรู้ตัว รอคอยโอกาสเพื่อจะจู่โจมโดยฉับพลันอันจะทำให้สถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นการแสร้งทำเป็นมิตรแต่แท้จริงจ้องหาโอกาสจะกำจัดศัตรูอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้มไปใช้ได้แก่ชีฮูหยินภรรยาของซุนเซียง น้องสะใภ้ของซุนกวนที่วางแผนลอบฆ่าอิหลำที่คิดข่มเหงตนเองเป็นภรรยาด้วยรอยยิ้มประดุจยินดีจะมีสามีใหม่

กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว.............................

กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว หรือ หลี่ไต้เถาเจียง เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เสียบเปรียบในศึก สงคราม ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ตนเองและกองทัพ เกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อที่จะแปรเปลี่ยนจากสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบให้เป็นการได้เปรียบ จำต้องยินยอมเสีย "มืด" เพื่อที่จะได้ประโยชน์จาก "สว่าง" ซึ่งหมายความถึงการจะได้ประโยชน์จากการเสียเปรียบในสถานการณ์ขับคัน จำต้องเสียสละส่วนหนึ่งส่วนใดของกองทัพหรือของตน เสียค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชัยชนะในทุก ๆ ด้าน ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลี่ตายแทนถาวไปใช้ได้แก่โจโฉที่ยอมเสียหัวของอองเฮานายทหารชั้นผู้น้อย เพื่อแลกกับขวัญและกำลังของทหารทั้งกองทัพ

กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ.............................

กลยุทธ์จูงแพะติดมือ หรือ ซุ่นโส่วเชียนหยาง เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ความประมาทเลินเล่อของศัตรูเพียงเล็กน้อย ให้เป็นประโยชน์ เมื่อพบเห็นโอกาสให้รีบฉกฉวยมาเป็นของตน แม้จะเป็นเพียงชัยชนะที่เล็กน้อยก็ตาม แต่เมื่อเป็นประโยชน์แก่กองทัพจำต้องช่วงชิงมาเป็นของตนให้ได้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จูงแพะติดมือไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกเอาลูกเกาฑัณฑ์จำนวนมากจากโจโฉ ตามคำสั่งของจิวยี่ที่ สั่งให้จูกัดเหลียงทำลูกเกาฑัณฑ์จำนวนสิบหมื่นให้เสร็จภายในระยะเวลาสามวัน เพื่อหาทางกำจัดจูกัดเหลียงด้วยความอิจฉาริษาที่มีความฉลาดหลักแหลม รู้เท่าทันแผนการณ์ของตนเองตลอดเวลา

>>>กลยุทธ์เข้าตี<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<

กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น.............................

กลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น หรือ ต๋าเฉ่าจิงเสอ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่มีสิงใดพึงสงสัย ผิดแผกไปจากเดิม ควรจักส่งคนไปทำการสอดแนมให้รู้ชัดแจ้งเพื่อเป็นการกุมสภาพศัตรูเอาไว้ เมื่อได้ข่าวคราวศัตรูแล้วจึงนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีให้พ่ายแพ้ย่อยยับ เรียกว่า "สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน" คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ใช้ มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้วจึงเข้าใจสิ่งนั้นได้ หากศัตรูสงบนิ่งก็พึงสร้างสถานการณ์ให้ศัตรูเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดช่องโหว่ จากนั้นจึงหาโอกาสเอาชัย" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่นไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ต้องการดูชั้นเชิงกองกำลังทหารโจโฉเมื่อคราวเล่าปี่นำกำลังทหารไปตีฮันต๋ง

กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ.............................

กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ หรือ เจี้ยซือหวนหุน เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทในหน้าที่ ต่าง ๆ จะใช้ความสามารถนั้นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างผลีผลามไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ก็มักจะขอความช่วยเหลืออยู่เป็นนิจ การที่ใช้ผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ มิใช่เป็นการที่จะมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ หากแต่เป็นเพราะผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถต้องการความพึ่งพายามต้องการความ ช่วยเหลือ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมซากคืนชีพไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ให้นำเมล็ดข้าวสารใส่ไว้ในปากเพื่อเป็นการรักษาดาวสำหรับต่ออายุ และหลอกทหารสุมาอี้ให้หลงชื่อว่ายังมีชีวิตอยู่

กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ.............................

กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ หรือ เตี้ยวหู่หลีซาน เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ใช้ภาพลวงที่จงใจสร้างขึ้นเพื่อหลอกล่อ ให้ศัตรูเกิดความประมาท ชะล่าใจในการทำศึกสงคราม ละทิ้งแนวฐานการป้องกันของกองทัพซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ฉกฉวยจังหวะและโอกาสที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอหลงเชื่อในภาพลวงที่สร้างขึ้น นำกำลังบุกเข้าโจมตีหรือทำลายเสียให้สิ้นซากช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตน ดั่งคำกล่าวว่า "อันธรรมดาเสือเมื่ออยู่ในถ้ำย่อมอันตราย จะจับเสือได้ก็ต่อเมื่อล่อให้มาตกในหลุมพรางที่ดักไว้" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำไปใช้ได้แก่อ้องอุ้นที่ใช้กลยุทธ์สาวงามทำให้ตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป้และลวงไปฆ่าในวังหลวง

กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ.............................

กลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับ หรือ อวี้ฉินกู้จ้ง เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้สติปัญญาในการวางแผน การจับเชลยศึกสงครามได้นั้นถ้าหากบีบคั้นจนเกินไปจนไม่สามารถรีดเอาความต่าง ๆ ได้ เปรียบประหนึ่ง "สุนัขที่จนตรอก ย่อมต่อสู้จนสุดชีวิต" การปล่อยศัตรูให้เป็นฝ่ายหลบหนีก็จักเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจ ความเหิมเกริมของศัตรูได้ การปล่อยศัตรูหลบหนีจะต้องนำกำลังไล่ติดตามอย่าลดละ เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของศัตรูให้อ่อนแรง กะปลกกะเปลี้ยน ครั้นเมื่อหมดสิ้นเรี่ยวแรง มิได้มีใจคิดต่อสู้ด้วยก็จะยอมจำนนสวามิภักดิ์ เมื่อนั้นจึงจับเอาเป็นเชลยได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการทำศึกสงครามที่ไม่เสียเลือดเนื้อและกำลังทหาร อีกทั้งยังเป็นเหตุให้ศัตรูแตกพ่ายยับเยินไปเอง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ทำศึกสงครามกับเบ้งเฮ็ก เมื่อจับได้เป็นเชลยก็ปล่อยตัวเสียเพื่อให้เบ้งเฮ็กไปรวบรวมผู้คนมาต่อสู้อีกครั้ง จนกระทั่งยอมแพ้และสวามิภักดิ์ต่อจูกัดเหลียง

กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก.............................

กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยก หรือ เพาจวนอิ่วอวี้ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้สิ่งใดที่มีความคล้ายคลึงกันในการหลอกล่อ ศัตรู ให้ศัตรูเกิดความสับสนและต้องกลอุบายแตกพ่ายไป การใช้กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกนี้ เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของศัตรู ในยามทำศึกสงครามเมื่อ ได้รบพุ่งกับศัตรู แม่ทัพหรือขุนศึกฝ่ายตรงข้ามมีแต่ความโง่เง่า มิรู้จักการพลิกแพลงกลยุทธ์ในเชิงรบ จักหลอกล่อด้วยผลประโยชน์ อำนาจวาสนา ถ้าศัตรูหลงในลาภยศต่าง ๆ มิรู้ผลร้าย ขาดการไตร่ตรองใคร่ครวญในกลอุบาย ก็สามารถลอบซุ่มทหารโจมตีเอาชนะมาเป็นของตนได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่พึงพอใจฝีมือเกียงอุยจึงอยากได้ตัวไว้ จึงยอมเสียแฮหัวหลิมซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงบุตรเขยของโจโฉเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งนายทหารที่มีสติปัญญาเป็นเลิศ

กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก.............................

กลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจก หรือ ฉินเจ๋ยฉินหวาง เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการทำศึกสงคราม จักต้องบุกเข้าโจมตีศัตรูในจุดที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของกองทัพ เพื่อสลายกำลังของศัตรูให้แตกกระจาย ศัตรูที่มีแม่ทัพฝีมือดีในการทำศึกสงครามย่อม เป็นขวัญและกำลังใจของเหล่าทหาร การวางแผนใช้กลอุบายหลอกล่อเอาชนะแม่ทัพที่มีฝีมือในเชิงยุทธ์ที่เก่งกาจ จักให้ต้องกลอุบายที่สับสน หลอกล่อให้หลงทิศและขจัดไปเสียให้พ้น เสมือน "มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง" ซึ่งเปรียบประหนึ่งดุจมังกรในท้องทะเล อาจหาญขึ้นมาต่อสู้กับศัตรูบนผืนแผ่นดิน ก็ย่อมได้รับความปราชัยแก่ศัตรูได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจกไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่มีความกริ่งเกรงต่อสุมาอี้ใน การทำศึกสงครามกับวุยก๊กจึงวางกลอุบายขจัดสุมาอี้ ซึ่งเมื่อปราศจากสุมาอี้แล้วจูกัดเหลียงก็ไม่เกรงกลัวต่อความยิ่งใหญ่ของกอง ทัพวุยก๊กอีกต่อไป

กลยุทธ์ติดพัน.............................

กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ.............................

กลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะ หรือ ฝูตี่โชวซิน เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการพิเคราะห์เปรียบเทียบกำลังของศัตรูในการทำศึกสงคราม ถ้ากองทัพมีน้อยกว่าควรพึงหาทางบั่นทอนขวัญและกำลังใจ ความฮึกเหิมของศัตรูให้ลดน้อยถอยลง คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ" โดยคำว่า "น้ำ" หมายถึงความแข็งแกร่ง คำว่า "ฟ้า" หมายถึงความอ่อนแอ เมื่อรวมกันแล้ว "ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ" หมายความถึงความอ่อนชนะความแข็ง คือการพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยจังหวะและโอกาสในการทำลายกองทัพส่วนหนึ่งของศัตรูให้แตกพ่ายย่อยยับใน ภายหลัง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะไปใช้ได้แก่เกียงอุยที่วางกลอุบายให้พระเจ้าโจฮวนหลงเชื่อว่าเตงงายคิดหมายตั้งตนเองเป็นใหญ่และสั่งให้จับไปฆ่า

กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา.............................

กลยุทธ์กวนน้ำจับปลา หรือ หุนเสว่ยออวี๋ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการรู้จักฉกฉวยจังหวะที่ศัตรูเกิดความปั่นป่วน ภายในกองทัพให้เป็นประโยชน์ แย่งยึดเอาผลประโยชน์นั้นมาเป็นของตน นำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ การเอาชัยชนะจากศัตรูโดยอาศัยความปั่นปวนภายในกองทัพ เป็นดุจดั่งพายุฝนที่พัดกระหน่ำในยามค่ำคืน ภูมิประเทศที่ต่ำกว่าก็จักขังน้ำฝนไว้เป็นแอ่ง ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อสัมผัสกับไอเย็นและละอองฝนจักเข้าสู่ห้วงนิทรา การเฝ้าระวังเวรยามย่อมหละหลวม กองกำลังป้องแนวสำคัญย่อมเพิกเฉยต่อหน้าที่ ทำให้สามารถบุกเข้าโจมตียึดครองได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์กวนน้ำจับปลาไปใช้ได้แก่อ้วนเสี้ยวที่วางกลอุบายหลอกใช้กองซุนจ้านในการนำกองกำลังทหารบุกร่วมเข้าโจมตียึดเอาเกงจิ๋วจากฮันฮก

กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ.............................

กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ หรือ จินฉานทวอเชี่ยว เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการรักษาไว้ซึ่งตามแบบแผนการจัดแนวรบในรูปแบบ เดิม ให้แลดูสง่าและน่าเกรงขาม เป็นการหลอกล่อไม่ให้ศัตรูเกิดความสงสัย ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตี เมื่อรักษาแนวรบไว้เป็นตั้งมั่นแล้วจึงแสร้งถอยทัพอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังทหารให้หลบหลีกไป คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "เลี่ยงเพื่อสลายลวง" โดยคำว่า "เลี่ยง" หมายถึงการหลบหลีก คำว่า "ลวง" หมายถึงการทำให้เกิดความสับสนงงงวย เมื่อรวมกันแล้ว "เลี่ยงเพื่อสลายลวง" หมายความถึงการหลบหลีกโดยมิให้ผู้ใดล่วงรู้ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ในการถอยทัพโดยไม่เกิดความกระโตกกระตาก เพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ หรือเป็นการหลีกเลี่ยงความสูญเสียเลือดเนื้อหรือการปะทะที่อาจเกิดขึ้นในกอง ทัพ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จักจั่นลอกคราบไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่วางกลอุบายอำพรางการถอยทัพกลับจ๊กก๊กในการบุกวุยก๊กครั้งที่ 5 โดยไม่ให้สุมาอี้ล่วงรู้และนำกำลังทหารติดตามมา

กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร.............................

กลยุทธ์ปิดประตูจับโจร หรือ กวนเหมินจวอเจ๋ย เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีความอ่อนแอแล ด้วยจำนวนที่น้อยนิด พึงตีโอบล้อมแล้วบุกทำลายเสียให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นภัยต่อไปในภายหลัง คัมภีร์อี้จิ้งกล่าวว่า "ปล่อยมิเป็นคุณซึ่งติดพัน" โดยคำว่า "ปล่อย" หมายความถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของศัตรู พละกำลังย่อมอ่อนเปลี้ย ไร้สมรรถนะ เสียขวัญและกำลังใจในการต่อสู้ คำว่า "ติดพัน" หมายความถึงการติดตามไล่ล่าอย่างไม่ลดละทั้งระยะทางใกล้หรือไกล ซึ่งคำว่า "มิเป็นคุณติดพัน" ก็คือเมื่อแม้นศัตรูจะแตกออกเป็นกองเล็กกองน้อย หากในการทำศึกสงครามแล้ว ปล่อยให้หลบหนีไปได้ด้วยเหตุอันใดก็ตาม แม้จะเป็นเพียงกองเล็ก ๆ แต่อาจนำภัยหวนย้อนกลับมาสร้างความยุ่งยากได้ในภายหลังจนต้องไล่ติดตามเพื่อ ทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์ในการทำศึกสงคราม ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดประตูจับโจรไปใช้ได้แก่ลิบองที่วางกลอุบายดักจับกวนอูและกวนเป๋งที่นำกำลังทหารหวนกลับมาตีเกงจิ๋วคืน หลังจากกวนอูพลาดท่าเสียทีให้แก่ซุนกวน

กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้.............................

กลยุทธ์คบไกลตีใกล้ หรือ เหวี่ยนเจียวจิ้นกง เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อถูกจำกัดโดยสภาพภูมิศาสตร์ ควรจักตีเอาศัตรูที่อยู่ในบริเวณใกล้ตัวจึงจะเป็นประโยชน์ การบุกโจมตีศัตรูที่อยู่ห่างไกลออกไป จักกลายเป็นผลร้ายแก่กองทัพ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก" หมายความถึงในการหยิบยื่นไมตรีเพื่อผูกมิตรสัมพันธ์นั้น แม้นความคิดเห็นแต่ละฝ่ายอาจไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะยุติความขัดแย้ง และสามารถที่จะจับมือร่วมกันทำศึกสงครามได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูแม้ใกล้ไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับแคว้นไกลเพื่อเอาชัยชนะต่อแคว้นใกล้อย่างหนึ่ง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์คบใกล้ตีไกลไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงแนะอุบายให้เล่าปี่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือกังตั๋งของซุนกวนให้รอดพ้นจากเงื้อมมือการบุกโจมตีของโจโฉ

กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล.............................

กลยุทธ์ยืมทางพรางกล หรือ เจี่ยเต้าฝากว๋อ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการทำศึกสงคราม ประเทศเล็กที่ตั้งอยู่ในระหว่างประเทศใหญ่สองประเทศ เมื่อถูกศัตรูบีบบังคับให้ยอมแพ้ด้วยความจำใจ ยอมสยบอยู่ภายใต้อำนาจ ถูกกดขี่ข่มเหงก็ควรจะให้การช่วยเหลือโดยฉับพลัน เพื่อให้ประเทศเล็กที่ถูกข่มเหงรังแก มีความเชื่อถือต่อประเทศที่ยอมช่วยเหลือประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ความยากลำบาก หากการช่วยเหลือแต่เพียงการเจรจามิได้มีการกระทำที่แท้จริง ย่อมจะไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่เฝ้ารอคอยรับความช่วยเหลือ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมทางพรางกลไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่รู้เท่าทันการวางกลอุบายของจิวยี่ที่คิดยืมทางเพื่อไปตีเสฉวน และฉวยโอกาสฆ่าเล่าปี่ที่บิดพลิ้วไม่ยอมคืนเกงจิ๋วให้แก่ซุนกวน

>>>กลยุทธ์ร่วมรบ<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<

กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา.............................

กลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสา หรือ โทวเหลียงห้วนจวู้ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการต่อกำลังที่ร่วมทำศึกด้วยหรือต่อศัตรู จักต้องหาหนทางเปลี่ยนแปลงการจัดเตรียมแนวรบของศัตรูอยู่เสมอ การถอดถอนเคลื่อนย้ายจุดยุทศาสตร์และกองกำลังสำคัญของศัตรูไป รอให้ศัตรูเกิดความอ่อนแอเสียขวัญและกำลังใจ ประสบกับความพ่ายแพ้ จึงฉกฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์ที่ศัตรูเกิดความย่ำแย่ให้เป็นประโยชน์แก่ตน นำกำลังบุกเข้าโจมตียึดครองและควบคุมกองทัพของศัตรูไว้ภายใต้การบังคับบัญชา เพื่อประโยชน์ต่อไปในภายหน้า ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสาไปใช้ได้แก่เทียเภาที่วางกลอุบายหลอกเอาตัวตันฮกมาจากเล่าปี่เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาแก่โจโฉ ภายหลังที่ตันฮกวางกลอุบายซุ่มโจมตีกองทัพของโจหยินจนแตกพ่ายยับเยิน

กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว.............................

กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว หรือ จวื่อซ่างม่าไหว เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อฝ่ายที่มีความเข้มแข็งมากกว่า หรือแคว้นที่มีกองกำลังทหารภายใต้สังกัดมากมาย ข่มเหงรังแกแคว้นเล็กหรือผู้ที่มีกำลังทหารน้อยกว่า ควรที่จะใช้วิธีการตักเตือนให้เกิดความเกรงกลัวและยำเกรง แม้นหากแสดงความเข้มแข็งให้ได้ประจักษ์ ก็จักได้รับความสนับสนุนจากผู้ที่อ่อนแอกว่า ถ้าหาญกล้าใช้ความรุนแรง ก็จักได้รับความยอมรับนับถือจากผู้ที่อ่อนแอกว่า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี่ถือหนทางปกครองแผ่นดินราษฏรจึงขึ้นต่อ" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหวไปใช้ได้แก่สุมาอี้ที่บุกเข้าควบคุมตัวของครอบครัวโจซองภายหลังจากที่ลิดรอนอำนาจของสุมาอี้เพียงเพื่อหวังในตำแหน่งอุปราช

กลยุทธ์ที่ 27 แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า.............................

กลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า หรือ เจี่ยชือปู้เตียน เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการแสร้งยอมทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหวอย่าอวดทำเป็นสู่รู้ทำบุ่มบ่าม การอวดรู้ย่อมกลายเป็นผลเสียแก่ตนเองได้ในภายหน้า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน" โดยคำว่า "หยุด" หมายความถึง "อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับ ๆ มิให้ผู้ใดล่วงรู้ ประหนึ่งคมดาบที่แอบซ่อนอยู่ภายในฝัก มิปรากฏให้ผู้ใดได้เห็น ครั้นเมื่อถึงเวลาอันสมควรก็จักคำรนคำรามเสมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไป ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้าไปใช้ได้แก่เล่าปี่ที่แสร้งทำเป็นหวาดกลัวเสียงฟ้าร้องจนตะเกียบหลุดจากมือ เพื่อให้โจโฉตายใจและไม่คิดระแวงเล่าปี่ที่อ่านคิดการใหญ่ในภายหน้า

กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได.............................

กลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันได หรือ ซ่างอูโชวที เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการจงใจปกปิดซ่อนเร้นจุดอ่อนเพื่อมิให้ศัตรูมอง เห็น สร้างเงื่อนไขและหลอกล่อให้ศัตรูเป็นฝ่ายบุกเข้าโจมตี แล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยวางกำลังสมทบและส่วนหลังที่วางกองกำลังไว้เป็นกอง หนุน ตีโอบศัตรูให้หลบหนีเข้าไปภายในกองทัพ เสมือนถุงที่อ้าปากไว้รับหรือวงล้อมหลุมพรางที่วางดักไว้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวไว้ว่า "เจอพิษ มิควรที่" การขบเปรียบประดุจการบดเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อที่มีความเหนียว รังแต่จะทำให้ฟันเกิด การชำรุดเสียหาย หรือเสมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ฉันใด ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉันนั้น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ชักบ้านขึ้นบันไดไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่วางกลอุบายให้ม้าต้ายนำเกวียนที่บรรทุกประทัดและดินดำไปซุ่ม เพื่อช่วยเหลืออุยเอี๋ยนในคราวทำศึกกับลุดตัดกุด

กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก.............................

กลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอก หรือ ซู่ซ่างไคฮวา เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้แนวรบของพันธมิตร มาสร้างแนวรบป้องกันที่จะกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ตนเอง แม้กองกำลังทหารจะเล็กน้อยก็สามารถทำให้แลดูเสมือนกองกำลังทหารที่ใหญ่โตได้ ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ ผกผินบินอยู่ในอากาศ เมื่อกางปีกทั้งสองข้างออกก็ช่วยทำให้นกอินทรีแลดูมีท่วงท่าที่สง่าและน่าเก รงขราม เฉกเช่นเดียวกับต้นไม้ที่ไร้ซึ่งดอกแลผล เมื่อนำดอกไม้มาเสียบติดไว้ทำให้ดูสวยงามขึ้น ผู้ที่ไม่ทันสังเกตก็จะไม่รู้ว่าดอกไม้ไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงการสร้างสิ่งบังหน้าเพื่อสบโอกาสในการเคลื่อนไหว ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอกไปใช้ได้แก่โจโฉที่ฉวยจังหวะและโอกาสอาศัยพระนามของพระเจ้าหองจูเปียนบังหน้าในการนำกองกำลังทหารปราบปรามแคว้นต่าง ๆ ที่ไม่ยอมขึ้นแก่ตนเอง

กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน.............................

กลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน หรือ ฝ่านเค่อเหวยจวู่ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเปิดช่องสบโอกาสให้สอดแทรก ควรสอดแทรกเพื่อกุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ค่อยผันสู่ชัยชนะ" โดยคำว่า "รุก" หมายความถึง "สรรพสิ่งใดในใต้หล้า เคลื่อนอย่าใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อย ๆ ผันไปช้า ๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล" โดย "ค่อยผันสู่ชัยชนะ" หมายความถึงการตอกลิ่มเข้าไปในฝ่ายตรงข้ามเพื่อยึดครองอำนาจการบังคับบัญชา นั้น จักต้องค่อยเป็นค่อยไปจึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะ การใช้อารมณ์วู่ว่ามบุ่มบามทำการใหญ่ไม่เป็นผลดีในการทำศึกสงคราม นอกจากจะเป็นการเปิดช่องโหว่ให้ศัตรูแล้ว ยังเสี่ยงต่อการพ่ายแพ้ในการศึกอีกด้วย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้านไปใช้ได้แก่เตียวสิ้วที่วางกลอุบาลลอบฆ่าโจโฉและเตียนอุยโดยใช้อาสะใภ้ตนเองเป็นเหยื่อล่อให้โจโฉหลงกล

>>>กลยุทธ์ยามพ่าย<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<

กลยุทธ์ที่ 31 สาวงาม.............................

กลยุทธ์สาวงาม หรือ เหม่ยเหรินจี้ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีกำลังเข้มแข็ง ในการทำศึกสงครามจำต้องหาหนทางกำจัดแม่ทัพเสียก่อน หากปล่อยไว้จะเป็นภัยในภายหน้า ต่อแม่ทัพที่มีความเฉลียวฉลาด สติปัญญาเป็นเลิศ ชำนาญตำราพิชัยสงคราม รอบรู้ภูมิประเทศและจุดยุทธศาสตร์ เก่งกาจในเชิงยุทธ์ จักต้องโจมตีจุดอ่อนทางใจให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่หย่อนย่อท้อแท้ กำลังทหารไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักอ่อนแอแลเสื่อมโทรมพ่ายแพ้ไปเอง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์สาวงามไปใช้ได้แก่อ้องอุ้นที่วางกลอุบายทำลายความสัมพันธ์ของตั๋งโต๊ะและลิโป้บุตรบุญธรรมด้วยการยกเตียวเสี้ยนให้เป็นภรรยา ทำให้ทั้งสองฝ่ายผิดใจกันจนเป็นเหตุให้ลิโป้ฆ่าตั๋งโต๊ะ

กลยุทธ์ที่ 32 ปิดเมือง.............................

กลยุทธ์ปิดเมือง หรือ คงเฉิงจี้ เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงในยามศึกสงคราม หากกำลังทหารไพร่พลเกิดความอ่อนแอหรือมีกำลังน้อย ยิ่งจงใจแสดงให้ศัตรูเห็นว่าในการศึกมิได้มีการวางแนวป้องกัน ทำให้ศัตรูเกิดความฉงนสนเท่ห์ ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังเข้าบุกโจมตี ในสถานการณ์ที่ศัตรูมีกำลังมากกว่า การใช้กลยุทธ์ปิดเมืองเพื่อป้องกันกองทัพตนเองเป็นการเลือกใช้กลยุทธ์ที่มี ความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ท่ามกลางแข็งกันอ่อน" โดยคำว่า "แก้" ใช้ควบคู่กับคำว่า "พิสดาร ซ่อนพิสดาร" ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ศัตรูมีกองกำลังแข็งแรง หากแต่กองกำลังแลไพร่พลอ่อนแอให้จัดกำลังทหารโดยใช้กลยุทธ์ "กลวงยิ่งทำกลวง" เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ศัตรูคาดการณ์ไม่ถึง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดเมืองไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ถอยทัพหลบหนีสุมาอี้หลังจากม้าเจ๊กเสียเมืองเกเต๋ง โดยแสร้งทำเป็นวางเฉยไม่สะดุ้งสะเทือนกับกองกำลังทหารสุมาอี้ที่ยกทัพติดตามมา

กลยุทธ์ที่ 33 ไส้ศึก.............................

กลยุทธ์ไส้ศึก หรือ ฝ่านเจี้ยนจี้ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อศัตรูแสร้งวางกลอุบายหลอกล่อให้เกิดการแตก แยกภายในกองทัพ ขาดความไว้ใจ พึงซ้อนกลอุบายสร้างแผนลวงให้ศัตรูเกิดความแตกแยกร้าวฉาน ให้ศัตรูเกิดความระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ใช้ประโยชน์จากความระแวงแล้วฉกฉวยโอกาสบุกเข้าโจมตีแย่งชัยชนะมาเป็นของตน คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา" โดยคำว่า "ช่วย" หมายความถึงเมื่อมีการช่วยเหลือจากภายในของศัตรู ย่อมเป็นประโยชน์ในการทำศึก จึงเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการบุกเข้าโจมตีศัตรูให้ย่อยยับสิ้นซาก ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ไส้ศึกไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่แสร้งรับชัวต๋งและชัวโฮนายทหารไส้ศึกของโจโฉไว้ในคราวศึกเซ็กเพ็ก และวางกลอุบายซ้อนแผนเผากองทัพเรือของโจโฉจนวอดวาย

กลยุทธ์ที่ 34 ทุกข์กาย.............................

กลยุทธ์ทุกข์กาย หรือ ขู่โร่วจี้ เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงโดยสามัญสำนึกของมนุษย์ทั่วไป ย่อมไม่มีผู้ใดยากทำร้ายตนเอง หากบาดเจ็บก็เชื่อว่าคงเกิดจากการถูกทำร้าย ถ้าหากแม้นสามารถทำเท็จให้กลายเป็นจริง หลอกให้ศัตรูหลงเชื่อโดยไม่ติดใจสงสัย กลอุบายย่อมจะสัมฤทธิ์ผล การแสร้งทำให้ศัตรูหลงเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต" โดยคำว่า "ปิด" หมายความถึงการอาศัยความไร้เดียงสาของทารก หลอกล่อโดยโอนอ่อนผ่อนตามไป ก็จักลวงให้ศัตรูหลงเชื่อและบรรลุตามความประสงค์ที่ตั้งไว้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ทุกข์กายไปใช้ได้แก่อุยกายที่ยอมเสียสละร่างกายให้จิวยี่โบยหนึ่งร้อยที และแสร้งทำเป็นยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉเพื่อให้จิวยี่และจูกัดเหลียงใช้ไฟทำลายกองทัพเรือของโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็ก

กลยุทธ์ที่ 35 ลูกโซ่.............................

กลยุทธ์ลูกโซ่ หรือ เหลียนหวนจี้ เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อกองกำลังศัตรูมีพละกำลังที่เข้มแข็งกว่า หลายเท่า จักปะทะด้วยกำลังมิได้โดยเด็ดขาด พึงใช้กลอุบายนานาให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกัน ทำลายความแข็งแกร่งของศัตรูหรือร่วมมือกับพลังต่าง ๆ ร่วมโจมตีเพื่อขจัดความฮึกเหิมของศัตรูให้หมดสิ้นไป คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์" ซึ่งหมายความว่าแม่ทัพผู้ปรีชาสามารถในการศึก ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกสงครามได้ อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งตามคำ "ความประสงค์ของฟ้า" จักต้องได้รับชัยชนะในการศึกสงครามเป็นมั่นคง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลูกโซ่ไปใช้ได้แก่โจโฉวางกลอุบายลอบโจมตีอ้วนเสี้ยวด้วยการตัดกำลังเสบียงของอ้วนเสี้ยวจนแตกพ่าย

กลยุทธ์ที่ 36 หลบหนี.............................

กลยุทธ์หลบหนี หรือ โจ่วเหวยซ่าง เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงเมื่อทำการศึกสงครามกับศัตรู หากศัตรูมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่แข็งแกร่ง ชำนาญภูมิศาสตร์ อาจจะถอยร่นหลบหนีอย่างรวดเร็วเพื่อหลบเลี่ยงการปะทะและการเผชิญหน้า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม" ซึ่งเป็นการชี้ชัดว่าการถอยหนีในการทำสงครามนั้น มิใช่ความผิดผลาด หากแต่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการทำศึก ที่มักจะพบเห็นเสมอ การถอยหนีเป็นการถอยเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงความเสียหาย แลหาโอกาสชิงตอบโต้ในภายหลัง มิใช่เป็นการถอยหนีอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลบหนีไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ลอบหลบหนีจิวยี่ภายหลังจากทำพิธีเรียกลมสลาตันที่เขาลำปินสานเพื่อใช้ไฟเผากองทัพเรือโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็ก




 

Create Date : 31 มีนาคม 2553   
Last Update : 31 มีนาคม 2553 14:11:19 น.   
Counter : 536 Pageviews.  


Foundation Courses : DS : The 33 strategies of war

It has been a customary perception that peace-loving people triumph more in life. Few realize that this is the very idea that acts as a barrier to realizing and identifying indispensable provisions to thrive in the challenges of day-to-day living.

Bestselling author Robert Greene shares 33 effective strategies of war to guide you through the realistic battlefield called life. Here are the 33 Strategies that are not only helpful in war, but also in life.

Part I
SELF-DIRECTED WARFARE

1: Declare war on your enemies: Polarity

You cannot fight effectively unless you can identify them. Learn to smoke them out, then inwardly declare war. Your enemies can fill you with purpose and direction.


2: Do not fight the last war: Guerilla-war-of-the-mind

Wage war on the past and ruthlessly force yourself to react to the present. Make everything fluid and mobile.


3: Amidst the turmoil of events, do not lose your presence of mind: Counterbalance

Keep your presence of mind whatever the circumstances. Make your mind tougher by exposing it to adversity. Learn to detach youself from the chaos of the battlefied.


4: Create a sense of urgency and desperation: Death-ground

Place yourself where your back is against the wall and you have to fight like hell to get out alive.



Part II
ORGANIZATIONAL WARFARE


5: Avoid the snares of groupthink: Command-and-control

Create a chain of command where people do not feel constrained by your influence yet follow your lead. Create a sense of participation, but do not fall into groupthink.


6: Segment your forces: Controlled-chaos

The critical elements in war are speed and adaptability--the ability to move and make decisions faster than the enemy. Break your forces into independent groups that can operate on their own. Give them the spirit of the campaign, a mission to accomplish, and room to run.


7: Transform your war into a crusade: Morale

Get them to think less about themselves and more about the group. Involve them in a cause, a crusade against a hated enemy. Make them see their survival is tied to the success of the army as a whole.



Part III
DEFENSIVE WARFARE


8: Pick your battles carefully: Perfect-economy

Consider the hidden costs of war: time, political goodwill, an embittered enemy bent on revenge. Sometimes it is better to undermine your enemies covertly.


9: Turn the tables: Counterattack

Let the other side move first. If aggressive, bait them into a rash attack that leaves them in a weak position.


10: Create a threatening presence: Deterrence

Build a reputation for being a little crazy. Fighting you is not worth it. Uncertainty can be better than an explicit threat. If your opponents aren't sure what attacking you will cost, they will not want to find out.


11: Trade space for time: Nonengagement

Retreat is a sign of strength. Resisting the temptation to respond buys valuable time. Sometimes you accomplish most by doing nothing.




Part IV

OFFENSIVE WARFARE

12: Lose battles, but win the war: Grand strategy

Grand strategy is the art of looking beyond the present battle and calculating ahead. Focus on your ultimate goal and plot to reach it.


13: Know your enemy: Intelligence

The target of your strategies is not the army you face, but the mind who runs it. Learn to read people.


14: Overwhelm resistance with speed and suddenness: Blitzkrieg

Speed is power. Striking first, before enemies have time to think or prepare will make them emotional, unbalanced, and prone to error.


15: Control the dynamic: Forcing

Instead of trying to dominate the other side's every move, work to define the nature of the relationship itself. Control your opponent's mind, pushing emotional buttons and compelling them to make mistakes.


16: Hit them where it hurts: Center-of-gravity

Find the source of your enemy's power. Find out what he cherishes and protects and strike.


17: Defeat them in detail: Divide and conquer

Separate the parts and sow dissension and division. Turn a large problem into small, eminently defeatable parts.


18: Expose and attack your opponent's soft flank: Turning

Frontal assaults stiffen resistance. Instead, distract your enemy's attention to the front, then attack from the side when they expose their weakness.


19: Envelop the enemy: Annihilation

Create relentless pressure from all sides and close off their access to the outside world. When you sense weakening resolve, tighten the noose and crush their willpower.


20: Maneuver them into weakness: Ripening for the sickle

Before the battle begins, put your opponent in a position of such weakness that victory is easy and quick. Create dilemmas where all potential choices are bad.


21: Negotiate while advancing: Diplomatic war

Before and during negotiations, keep advancing, creating relentless pressure and compelling the other side to settle on your terms. The more you take, the more you can give back in meaningless concessions. Create a reputation for being tough and uncompromising so that people are giving ground even before they meet you.


22: Know how to end things: Exit strategy

You are judged by how well things conclude. Know when to stop. Avoid all conflicts and entanglements from which there are no realistic exits.




Part V

UNCONVENTIONAL WARFARE

23: Weave a seamless blend of fact and fiction: Misperception

Make it hard for your enemies to know what is going on around them. Feed their expectations, manufacture a reality to match their desires, and they will fool themselves. Control people's perceptions of reality and you control them.

หลอกคู่ต่อสู้ ไม่ให้รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
แล้วแสดงออกให้คู่ต่อสู้เห็นในสิ่งที่เค้าอยากเห็น
เพื่อให้เค้าเข้าใจผิด แล้วคิดเข้าข้างตัวเอง
คราวนี้เราก็จะควบคุมการรับรู้ของเค้า และควบคุมเค้าได้ในที่สุด

The more unclear your actions and strategies are to the opponent, the better. This makes it more complex for your enemies to fathom reality.

การกระทำและกลยุทธ์ของเรายิ่งกำกวม, ไม่ชัดเจน, ซับซ้อนเท่าไหร่ยิ่งดี

24: Take the line of least expectation: Ordinary-Extraordinary

Upset expectations. First do something ordinary and conventional, then hit them with the extraordinary. Sometimes the ordinary is extraordinary because it is unexpected.


25: Occupy the moral high ground: Righteousness

The cause you are fighting for must seem more just than the enemy's. Questioning their motives and making enemies appear evil can narrow their base of support and room to maneuver. When you come under moral attack from a clever enemy, don't whine or get angry--fight fire with fire.


26: Deny them targets: The Void

The feeling of emptiness is intolerable for most people. Give enemies no target to attach. Be dangerous and elusive, and let them chase you into the void. Deliver irritating but damaging side attacks and pinpricks.


27: Seem to work for the interests of others while furthering your own: Alliance

Get others to compensate for your deficiencies, do your dirty work, fight your wars. Sow dissension in the alliances of others, weakening opponents by isolating them.


28: Give your rivals enough rope to hang themselves: One-upmanship

Instill doubts and insecurities in rivals, getting them to think too much and act defensive. Make them hang themselves through their own self-destructive tendencies, leaving you blameless and clean.


29: Take small bites: Fait Accompli

Take small bites to play on people's short attention span. Before they notice, you may acquire an empire.


30: Penetrate their minds: Communication

Infiltrate your ideas behind enemy lines, sending messages through little details. Lure people into coming to the conclusions you desire and into thinking they've gotten there by themselves.


31: Destroy from within: The Inner Front

To take something you want, don't fight those who have it, but join them. Then either slowly make it your own or wait for the right moment to stage a coup.


32: Dominate while seeming to submit: Passive-Aggression

Seem to go along, offering no resistance, but actually dominate the situation. Disguise your aggression so you can deny that it exists.


33: Sow uncertainty and panic through acts of terror: Chain Reaction

Terror can paralyze a people's will to resist and destroy their ability to plan a strategic response. The goal is to cause maximum chaos and provoke a desperate overreaction. To counter terror, stay balanced and rational.




 

Create Date : 31 มีนาคม 2553   
Last Update : 31 มีนาคม 2553 14:46:12 น.   
Counter : 272 Pageviews.  


Foundation Courses : DS : Why DS?



DS or Decision Skill is a foundation course which provide for IM students (and for other major who study at CMMU too).
Below sections will show why we need to study DS and other information.

Why DS?


















Course objective:

This course is designed to
1) expose the students to the tools that are designed to increase their decision making capability
2) emphasize the application aspect of psychology and the impact of competition on decision making
3) introduce biases that may distort individuals from making rational decisions, and
4) develop creative thinking skills.

The course will first provide the basic philosophical foundation for the analyses of decision-making processes. It will then introduce several conceptual frameworks that would help to enhance decision-making capability.

During the first half of the course, students will learn to
1) familiarize themselves with analytical tools that would enable them to construct well defined objectives
2) form more structured decision making and problem solving strategies; 3) rationally generate options and establish clear bases of comparisons; and
4) learn how to generate and define options that would offer desirable outcomes without going through heavy computation (as opposed to the traditional operation research or operation management courses).
These decision analytic tools will also take into account several concepts from the disciplines of psychology, sociology, and economics that are relevant to the studies of decision making and combine them together as part of the analysis. This is to create a more holistic approach for decision-making.

The second half of the course will cover topics that concern the cognitive mechanism behind decision-making, risk assessment processes, and creative thinking capability. These include heuristics and biases that distort people from making rational decisions, the impact of emotions on decision-making, and the influence of social factors, resources, and power on anticipating decision outcomes. Furthermore, they will learn how to not only think creatively but also to manage creativity. Students will be given opportunities to practice various decision-making exercises and will be exposed to several tools essential for increasing their decision quality as well as creative thinking capability. Furthermore, they will also learn useful communication techniques derived from the conceptual understanding of decision-making procedures and get to apply these techniques on their group presentation.




 

Create Date : 15 มีนาคม 2553   
Last Update : 18 มีนาคม 2553 19:49:37 น.   
Counter : 374 Pageviews.  


Foundation Courses : PM : Why PM?



PM of Project management is a foundation course which provide for IM students. Below parts will tell you why we need to study PM, course objective, PM benefits, and PM vs. IM.

Project Management [MGMG605]

Why PM?














Course Objective:

This course is designed to
1. To understand the use of projects to accomplish limited duration tasks in today’s organization.
2. To examine the activities, techniques and issues involved throughout life cycle of a project and to understand the reasons behind the activities and techniques involved.
3. To gain practical experience of planning, implementing and tracking a project.
4. To appreciate hoe information systems can support project management tasks.

The benefits:

Project management is an essential segment in every organization. Be it, the small scale enterprises or corporate giants, project management has the power to transform the market standing of a company. Every business undertakes projects of some sort. But some undertake far more than others. Similarly, some industries are more project-intensive than others. Aerospace and defence, for example, are extremely project-intensive, working for years on long-term contracts or development projects that will eventually bring forth a new jet aircraft, missile system, ship or piece of electronic wizardry. Likewise, almost by definition, construction is another industry that exhibits a high degree of project activity. It is highly probable that enhanced project management capabilities would have seen an even greater transformation.
Food, retailing and textiles, on the other hand, are less project-intensive. Even so, care must be taken. While corner shops may not be prone to launching new projects, the major supermarkets are: each year sees a number of new distribution depots, IT systems, retail outlets and the like.
In management terminology, the duration in which an entire project is carried out, from its inception till the end, is called the project life cycle. The project life cycle can consist of one or multiple project management approaches. The management approaches are the various project management methodologies that the team can decide to follow so that the target is achieved in allotted time.
World class companies usually recruit project managers that lead the team in order to timely achieve the targets set by the clients and customers. This means project management can be directly used as the occupation, person who has project management skill can be hired with satisfactory pay.
Some of the prime advantages of having a good project management team for a company are as follows.
1. Excellent product quality
Maintaining a high standard of excellence in developing quality products earns the company goodwill amongst its customers. The project management plans the allocated budget, resources and testing methods that keep the pace of production high, both qualitatively and quantitatively.
2. Adequate communication
Improper communication among employees can lead to misunderstandings and negatively impact the performance of the firm. A project manager can be a bridge among the diversified branches of project undertaking. And why only employees? Stakeholders also form a part of the company. They prefer investing in those companies that deliver projects on time and keep them informed about updates and progress of the projects. If a client is satisfied with the performance of the firm, it is likely that it will return with much bigger projects, not to mention huge investments. A project leader can hold meetings on a daily, weekly or monthly basis and can make sure that everyone is aware about the project plan and his/her responsibilities, both as an individual and as a team.
3. Reducing risks
The probability of getting hit by an unwanted or unexpected event has increased manifold in today's competitive business environment. The project management team can identify the potential risks, take their time to rectify them and help the company save valuable resources.
4. Strategic objectives and goals
Strategic goals are the blueprint of the task undertaken by a company. For instance, a software company aims to prepare software and related programming codes, whereas an infrastructure company has a target of constructing dams, bridges and other construction works. A project management team helps the company in achieving the strategic goals, as it streamlines the task of a company in taking many important decisions.

Project management and innovation:

Almost by definition, innovation relies on project management. Irrespective of whether the innovation concerns a new product, or a new process, or indeed a contribution to pure science, better project management, on the whole, will see a successful outcome reached more quickly, having consumed fewer resources.
Once the task is allotted, the project team is responsible for the goal to be finished in the dedicated time. Innovation is an area in which the project team can invest more and come out with new ideas that can increase the sale and reputation of the firm.
Stating the benefits of innovation is one thing - defining innovation itself, or quantifying it, is another. As successive generations of statisticians have found, the measurement of innovation is almost as slippery a concept as the measurement of project management.




 

Create Date : 14 มีนาคม 2553   
Last Update : 18 มีนาคม 2553 19:55:22 น.   
Counter : 590 Pageviews.  



Kwantie
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Kwantie's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com