Listening The Music

การฟังเพลงมีหลายระดับของการเข้าถึงเพลง ซึ่งก็เป็นเรื่องของความต้องการส่วนตัว ของใครของมัน! สำหรับตัวผมก็เช่นกัน ผมก็ฟังตามความชอบส่วนตัวของผม ตั้งแต่เกิดมาผมก็ฟังเพลงมาแล้วทุกประเภท แต่จุดเริ่มต้นเมื่อสมัยเด็ก มันเป็นความประทับแรกพบที่ไม่เคยลืมเลือน เหมือนในหนังเรื่องจุลสิกปราคที่มีตอนหนึ่งบอกว่า ลูกไดโนเสาร์ออกมาจากไข่ แล้วพบเห็นใครเป็นแรก มันก็จะคิดว่านี่แหละพ่อมัน ผมก็คงเป็นเช่นกันคือเพลงคลาสสิกเปิดกรอกหูมาตั้งแต่เกิดจนโต จึงทำให้รู้สึกรักกันมาก ถึงแม้จะมีบ้างช่วงที่หลงไปเป็นอื่นไปบ้างก็ตาม

การฟังเพลงคลาสสิกนั้น เราทุกคนสามารถฟังได้ ไม่ใช่สิ่งสูงส่ง หรือยากแก่การฟัง เพราะหลายเพลงที่เราชอบฟังกัน ก็อาจเอาทำนองมาจากเพลงคลาสสิกก็เยอะนะครับ คุณอาจชอบฟังมันแล้วโดยไม่รู้ตัวก็ได้ อันนี้เป็นเรื่องท้าทายที่น่าค้นหากันนะครับ แล้วผมจะค่อยๆ ยกเอามาคุยกัน

เพลงคลาสสิกก็เหมือนเพลงเก่าทั่วๆ ไป ที่มีคนเอามาร้อง เอามาเล่น กันอีกหลายครั้งหลายหน ก็แล้วแต่ว่าใครจะชอบคนที่ร้องคนแรกหรือคนที่ร้องในอันดับหลังๆ แต่เพลงคลาสสิกนั้นส่วนใหญ่แต่งกันมาหลายร้อยปี จะหาฟังคนแต่งเล่นเอง คุมวงเองก็คงจะหาไม่ค่อยได้แล้ว นอกจากนักแต่งยุคหลังๆ ไม่กี่คนเท่านั้น ผมไม่ต้องการคุยเรื่องยุคต่างๆ ว่าใครบ้าง เพราะท่านสามารถค้นหาอ่านกันได้ในกูเกิ้น

สิ่งที่ผมอยากเขียนลงในนี้คือ ผมจะเอาประสบการณ์จากการฟังตามคำแนะนำของผู้รู้จากการอ่านบทความหรือพูดคุยกันมาเล่าให้ฟังว่า เราควรเลือกหาฟังเพลงคลาสสิกที่มีคุณภาพกันอย่างไร? ถ้าใครที่มีอายุมากๆ อาจจะได้เปรียบในเรื่องนี้ เพราะยุคสมัยก่อน เราไม่มีโรงหนังกัน ทำให้วงดนตรีคือที่ระบาย จึงทำให้เกิดวงดีๆ คนเก่งๆ เพราะรายได้ของนักดนตรีจะดีกว่าสมัยนี้ คุณภาพจึงดีตาม และด้วยความละเอียดประณีตของคนยุคนั้น จึงมีของดีๆ ที่คนรุ่นใหม่อาจมองข้ามไป เพราะการอัดเสียงในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น มันยังไม่ค่อยจะดี และก็ด้วยความเก่าแก่ มีการชำรุดร่วมด้วย เสียงจึงออกมาแย่ จนคนรุ่นใหม่ๆ ไม่สนใจหามาฟัง สู้ฟังเสียงแบบสเตอริโอชัดๆ ไม่มีเสียงกรอบแกลบร่วมติดมาด้วยกับเสียงเพลง นี่คือการยึดติดกับเสียง ไม่ใช่สนใจในรายละเอียดของเพลงที่ยอดเยี่ยมของยุคโบราณ ที่เหนือกว่ากันหลายขุม ขอยกตัวอย่างให้เห็นกันง่ายๆ ว่าปัจจุบันนี้ วงดนตรีกับคอนดักเตอร์ซ้อมกันไม่ถึงอาทิตย์ ก้ออกมาแสดงกันแล้ว แล้วมันจะมีความพร้อมเพียงกันอย่างไร? เป็นเมื่อก่อน ด้วยงานเยอะ นักดนตรีก็มีรายได้ดี ซ้อมเล่นกันเป็นปีๆ ถึงออกมาอัดแผ่นขายกัน มันยังมีอีกหลายอย่างที่ของเก่าๆ นั้นเหนือกว่าของที่เล่นกันใหม่ในปัจจุบัน แต่ของเก่ามันก็ไม่ได้ดีไปทั้งหมดนะครับ เราก็ต้องเลือกเช่นเดียวกับของใหม่ ซึ่งก็มีของดีๆ ออกมาก็มีนะครับ แต่มันต้องน้อยกว่าของเก่าๆ ที่สะสมกันเป็นเกือบร้อยปีที่เริ่มมีการอัดเสียงกัน

เพลงคลาสสิกจะออกมาดีหรือไม่ดีนั้น คอนดักเตอร์ เป็นคนที่สำคัญที่สุด เพราะเค้าจะเป็นคนที่จะเลือกสแกนวงที่ดี ที่เค้าควรจะเข้าไปคุมให้เรา แล้วการที่จะให้ท่วงทำนองออกมาในแนวไหน? ชิ้นดนตรีอะไร? ควรให้เสียงดังแค่ไหน? หรือเบาแค่ไหน? จัดกลุ่มชิ้นดนตรีกันอย่างไร? จังหวะเป็นอย่างไร? ถ้าฟังบ่อยๆ แล้ว แม้แต่คนเดียวกันคุมการเล่นวงเดิมนั่นแหละ เล่นแต่ละครั้งก็ยังไม่เหมือนกันเลยละครับ เช่นท่าน Furtwangler เล่นเพลงซิมโฟนี่ของลุงบรามห์เบอร์หนึ่งนั้น (ผมถือว่าคนนี้เล่นเพลงนี้ดีที่สุดสำหรับผม ผมเคยชอบเพลงลุงบรามห์เบอร์สี่มากที่สุด แต่มาวันนี้ผมกับชอบเบอร์หนึ่งนี้เป็นที่สุดของบันดาซิมโฟนี่ที่มีอยู่ในโลกใบนี้ เลยขอกล่าวถึงก่อนเพลงอื่นใด) มีเล่นไว้ให้พวกเราฟังกันสามสี่ครั้ง แต่ครั้งที่เล่นไว้ปี 1952 นั้น เล่นไว้ได้ดีที่สุด มันดีอย่างไร? เอาไว้วันหน้ามาว่ากันต่อนะครับ





 

Create Date : 13 มกราคม 2550   
Last Update : 3 ตุลาคม 2553 23:31:30 น.   
Counter : 352 Pageviews.  



K. PJ
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add K. PJ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com