เบื่อ เครียด เลี้ยงต้นไม้ ฮิฮิ
 

หลักการอ่าน และเขียนชื่อกล้วยไม้

ขอบคุณ PRY Orchids นะครับ



หลักการอ่าน และเขียนชื่อกล้วยไม้

Rsc. Haadyai Delight “Bangpromgold” AM / CST

สำหรับในการอ่านและเขียนกล้วยไม้ในสกุลต่าง ๆ จะแบ่งออกเป็น 5 ตำแหน่ง ดังนี้

ตำแหน่งที่ 1 คือ ชื่อสกุลของกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ จะเขียนเป็นอักษรย่อของชื่อสกุล หรือเขียนเป็นชื่อสกุลเต็มก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ใช้เป็นอักษรย่อ ในการเขียนชื่อสกุลจะเขียนเป็นตัวเอียง เช่น
V. = Vanda (แวนดา)
Ascda. = Ascocenda ( แอสโคเซ็นดา ลูกผสมระหว่าง Vanda กับ Ascocentum)
C. = Cattleya (แคทลียา)
S. = Sophronitis (โซโฟรไนติส)
Rl. = Rhyncholaelia (รินโคเลเลีย) ฯลฯ

ตำแหน่งที่ 2 คือ ชื่อจดทะเบียนของกล้วยไม้ชนิดนั้น จะเขียนเป็นตัวพิมพ์ โดยถ้าเป็นกล้วยไม้ป่า (พันธ์แท้) ตัวอักษรขึ้นต้นตัวแรกจะเป็นตัวพิมพ์เล็ก และถ้าเป็นลูกผสมที่จดทะเบียนจะเป็นเขียนตัวอักษรขึ้นต้นเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น
- V. coerulea (ฟ้ามุ่ย) เป็นไม้ป่าพันธ์แท้ จะเขียนตัวอักษรขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก
- C.intermedia (อินเตอร์มีเดีย) เป็นไม้ป่าพันธ์แท้ จะเขียนตัวอักษรขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก
- Rsc. Haadyai Delight เป็นลูกผสม จะเขียนตัวอักษรขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
- Ascda. Princess Mikasa เป็นลูกผสม จะเขียนตัวอักษรขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่

ตำแหน่งที่ 3 คือ ชื่อต้น หรือวาไรตี้ (Variety) หมายถึง ชื่อของต้นใดต้นหนึ่งของลูกผสม หรือไม้พันธ์แท้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ในกรณีนี้ คือ ต้นที่เกิดจากเมล็ดเดียวกัน เช่น แคทลียาลูกผสมที่ปลูกเลี้ยงจากไม้นิ้วเล็ก ๆ (ไม้เมล็ด) จนโต และได้แบ่งแยกกอออกไปปลูกใหม่ ซึ่งต้นที่แยกออกมาจากกอนั้น ถือว่าเป็นต้นเดียวกัน ต้องใช้ชื่อวาไรตี้เหมือนกัน ทั้งนี้รวมถึงไม้ที่ได้จากการนำเนื้อไปปั่นตาอีกด้วย
ตัวอย่าง เรามีแคทลียาชื่อหาดใหญ่ดีไลท์ต้นบางพรมโกลด์ 1 กอใหญ่ แล้วนำมาแยกออกมาเป็น 3 กอย่อย เราจะเรียกต้นที่แยกออกมาว่า หาดใหญ่ดีไลท์ต้นบางพรมโกลด์ เหมือนเดิม และเมื่อเรานำเนื้อเยื่อไปปั่นตา ต้นปั่นตาที่ได้ ก็ยังเป็นหาดใหญ่ดีไลท์ต้นบางพรมโกลด์ เช่นเดียวกัน
สำหรับในตำแหน่งที่ 3 นี้ สามารถเขียนได้หลายแบบ เช่น “Bangpromgold” หรือ (Bangpromgold) หรือ var.Bangpromgold ถือว่าเป็นความหมายของวาไรตี้เหมือนกัน

ตำแหน่งที่ 4 คือ รางวัลที่ได้รับจากการประกวดเพื่อรับรองลักษณะทางพันธุศาสตร์ของกล้วยไม้ต้นที่ดีโดยมีประกาศณียบัตรรับรอง ดังนี้
1) First Class Certificate (F.C.C) หมายถึง ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 ทางพันธุศาสตร์
ให้แก่กล้วยไม้ต้นที่ได้คะแนน 90 คะแนนขึ้นไป
2) Award Of Merrit (A.M.) ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 ทางพันธุศาสตร์
ให้แก่กล้วยไม้ต้นที่ได้คะแนน 80 คะแนนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 90 คะแนน
3) High Commendation Certificate (H.C.C) ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมชมเชย ทางพันธุศาสตร์
ให้แก่กล้วยไม้ต้นที่ได้คะแนน 75 คะแนนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80 คะแนน
ในตำแหน่งที่ 4 นี้ จะมีหรือไม่มีก็ได้

ตำแหน่งที่ 5 คือ สมาคมผู้ที่ให้การรับรองรางวัลที่กล้วยไม้ต้นนั้นได้รับในตำแหน่งที่ 4 สำหรับในประเทศไทยมี 2 สมาคม คือ
1) R.H.T. เป็นชื่อย่อของสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทย
2) C.S.T เป็นชื่อย่อของสมาคมกล้วยไม้แคทลียาแห่งประเทศไทย
ในตำแหน่งที่ 5 นี้ จะมีหรือไม่มีก็ได้

ตัวอย่างการเขียน และอ่านชื่อกล้วยไม้
Rsc. Haadyai Delight “Bangpromgold” AM / CST

ความหมาย
รินโคโซโฟรแคทลียา หาดใหญ่ดีไลท์ ต้นบางพรมโกล์ด ได้รับรางวัล AM (ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 ทางพันธุศาสตร์) จาก สมาคมกล้วยไม้แคทลียาแห่งประเทศไทย




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2551 10:23:12 น.
Counter : 1111 Pageviews.  

Ratio ปุ๋ย

Ratio ปุ๋ยเป็นสัดส่วนของ N P K ซึ่งบ่งบอกปริมาณธาตุอาหารหลัก โดยทั่ไปมี4แบบ
Ratio เสมอ เช่น 1:1:1 เหมาะกับการเติบโตโดยทั่วไป
Ratio Nสูง เช่น 2:1:1 เหมาะกับการเติบโตทางใบและยอด
Ratio Pสูง เช่น 1:2:1 เหมาะกับการเติบโตทางดอกและราก
Ratio Kสูง เช่น 1:1:2 เหมาะกับการเติบโตทางต้น
ปุ๋ยแต่ละratio เหมาะแก่การเติบโตต่างระยะกัน อะคับ นอกจากธาตุหลักแว้วยังมีกลุ่มธาตุรองเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และกลุ่มจุลธาตุ ในสูตรปุ๋ยจะบ่งบอกถึงปริมาณต่อหน่วยธาตุทีไม้จะนำไปใช้ได้เช่น 20:20:20 หมายถึง ในปุ๋ย 100 กก. จะมี N 20 กก. เป็นต้น และจับมารวมกันด้ตัวเลขมาก ก่า 50 % ของปริมาณปุ๋ย คือปุ๋ยหนักหรือ ปุ๋ยสูตรสูง ซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะที่ดีของปุ๋ยง่ะ
การให้ปุ๋ยควรให้ตอนเช้า ก่อนแสงอาทิตย์สองถึงรัง นี่แหะวัดใจกันว่าจะตื่นกันไหม และควรคำนึงถึงฤดูกาลด้วยเช่นฤดูฝนนั้นควรงดปุ๋ยที่มี N สูงเพราะ ในน้ำฝนมีN ในรูปของไนเตรทอยู่แว้ว หรือในฤดูหนาวสูตรพี่เฟินจะให้ตัวP,K สูงเพื่อช่วยลดการทิ้งใบของไม้บางชนิด แต่คุณจรัญ จะให้ประมาณกลางฝนถึงต้นหนาวแล้วเปลี่ยนมาใช้สูตรเสมอ สำหรับช้าง ส่วนผมใช้สลับกันแบบคุณ มด Xว่าไว้
การให้ปุ๋ยมากเกินไปก็ไม่ดี มีหลายอาการฉะนั้นไม่แน่นใจใช้น้อยๆ นะก๊าบ เคยอ่านเจอว่า receptor ของไม้ใน ค่า N กับ P เป็นค่าBalance กัน เช่นถ้าให้Pมาก ไม้จะรับ Nน้อยลงเองโดยปริยาย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะก๊าบ


แคลเซียม เป็นกลุ่มธาตุที่ต้องการ อันดับรองลงมาจากธาตุหลัก โดยในกลุ่มนี้จะมี แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ โดยปกติไม้ที่ปลูกในดินจะไม่ค่อยมีปัญหา การขาดธาตุนี้แต่กล้วยไม้จะมีความต้องการธาตุนี้สูงกว่าไม้อื่นๆง่ะ ซึ่งในสูตรปุ๋ยกล้วยไม้จะมีธาตุรองนี้ผสมอยู่แว้ว
แคลเซียม เป็นธาตุที่ช่วยบำรุงระบบรากให้เติบโต และยังช่วยให้ไม้ใช้ประโยชน์จาก N ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในบางระยะของการสร้างโปรตีนในไม้ เมื่อไม้ขาดแคลเซียม รากจะไม่ค่อยเจริญและมีใบเล็กลงเพราะการรับ N ลดลงมีผลตามที่ถามมา อะคับ การรับแคลเซียมมากเกินส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะไม้จะไม่รับเข้าเกินความจำเป็น แต่(ต้องมีแต่ทุกที) ถ้าไม้รับ แคลเซียม เข้ามากไป (อาจเกิดจากสภาพบางอย่างของปุ๋ยไม่เหมาะสม) จะส่งผลให้ ต้นไม้ไม่สามารถดูดรับธาตุเหล็กได้ และต้นเขียวผิดปกติจากการรับ N มากไป ล่าคับ
P เป็นตัวประกอบในการสร้างโครงร่างของไม้ทำให้ต้นแข็งแรงและรากเดินซึ่งส่งผลช่วยในการแตกหน่อและออกดอก โดยมีผลต่อความสมบูรณ์ของดอกด้วย เคยอ่านเจอในกระทู้อื่นที่พี่เฟินตอบว่าดูจากต้นโดยรวมจะรู้ได้ไงว่าไม้จะออกดอกซึ่งพี่เฟินได้ให้ข้อสังเกตในบริเวณรากที่เดินดีขาวกลางเขียวปลายลำต้นแข็งแรงอวบๆแบบเสป็กแก เฮ้ยไม่ใช่ นั่นคือ การทำงานที่มาจาก P แต่ก็ต้องมีส่วนประกอบอื่นๆด้วยนะฮะ เช่นน้ำ อากาศ แสง ที่สำคัญ ใจ ฮิฮิ
K ช่วยในการเติบโตของต้น หน่อ โดยส่งผลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอาหารและน้ำเลี้ยงในไม้ และทำหน้าที่ช่วยในการสะสมอาหารพวกแป้งไว้เลี้ยงตัวในระยะพักตัว ถ้าไม้ได้ มากไปดูๆเหมือนยืนเกร็งแกรนใบเปลี่ยนสีคล้ายไม้เมืองนอกปลายใบจะเหี่ยวแบบพิลึก
วิธีใช้ให้ผสมน้ำตามส่วนที่บอก ตอนเช้า แล้วพ่น ไม่รู้ว่าตอบที่ถามอ่ะป่าว ลองดูกระทู้อื่นประกอบ
ปัจจัยในการโตของไม้ มีมาก สภาพแวดล้อม โรคและศตรูไม้รบกวน ความเหมาะสมของเรือนรัง น้ำที่ใช้
ถ้าเอาแบบหลักการหน่อย คุณมังกร โลหะอุดม ให้ไว้เป็นแนวทาง ดังนี้ก๊าบ
1.น้ำ
2.ความชื้นในอากาศ
3.อุณหภูมิ
4.การถ่ายเทอากาศ
5.แสง
6.เครื่องปลูก
7.ปุ๋ย
โดยใช้หลักการพิจารณา
- ชนิดที่ใช้
- จำนวนที่ใช้
- เวลาที่ใช้
แล้วไม้จะบอกเองว่าจุดเหมาะสมอยู่ที่ใด จากการสังเกต นะก๊าบ




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2551 10:20:49 น.
Counter : 591 Pageviews.  

ชื่อย่อของกล้วยไม้กลุ่มแคทลียา

ชื่อย่อของกล้วยไม้กลุ่มแคทลียา
กลุ่มแคทลียาที่เราพูดถึง หมายถึงกล้วยไม้ที่มีการผสมกันในสกุลต่างๆ ที่ใกล้
เคียงกันหลายสกุล โดยมีสกุล Cattleya เป็นตัวยืน สกุลอื่นๆ ที่นำเข้ามาผสม
คือ Brakeria , Brassavola , Brongtonia , Cattleyonopsis , Diacrium , Laelia ,
Laeliopsis , Epidendrum , Schomburgkia และ Sophronitis จากการผสมข้าม
สกุลกันหลากหลาย จึงทำให้เกิดลูกผสมข้ามสกุลซึ่งอาจจะมีหลายสกุลเข้ามา
รวมกันดังนั้นจึงได้มีการกำหนดการเรียกชื่อลูกผสมข้ามสกุลต่างๆ ขึ้น เพื่อให้
นักเล่นกล้วยไม้ต่างๆถือเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยมีชื่อที่กำหนดขึ้น
ดังนี้ครับ
Bishopara (Bish.) = Cattleya x Brongtonia x Sophronitis
Brassocattleya (Bc.) = Cattleya x Brassavola
Brassolaeliocattleya (Blc.) = Cattleya x Brassavola x Laelia
Brownara (Bwna.) = Cattleya x Brongtonia x Diacrium
Buiara (Bui.) = Cattleya x Brongtonia x Epidendrum x Laelia x Sophronitis
Cattletonia (Ctna.) = Cattleya x Brongtonia
Diacattleya (Diaca.) = Cattleya x Diacrium
Epicattleya (Epc.) = Cattleya x Epidendrum
Epilaeliocattleya (Eplc.) = Cattleya x Epidendrum x Laelia
Fergusonara (Ferg.) = Cattleya x Brassavola x Laelia x Schomburgkia x Sophronitis
Fujiwarara (Fiw.) = Cattleya x Brassavola x Laeliopsis
Hasegawarara (Hasgw.) = Cattleya x Brassavola x Brongtonia x Laelia x Sophronitis
Hawkesara (Hwkra.) = Cattleya x Cattleyonopsis x Epidendrum
Hawkinsara (Hknsa.) = Cattleya x Brongtonia x Laelia x Sophronitis
Herbertara (Hbtr.) = Cattleya x Laelia x Schomburgkia x Sophronitis
Higashiara (Hgsh.) = Cattleya x Diacrium x Laelia x Sophronitis
Hookerara (Hook.) = Cattleya x Brassavola x Diacrium
Iwanagara (Iwan.) = Cattleya x Brassavola x Diacrium x Laelia
Jewellara (Jwa.) = Cattleya x Brongtonia x Epidendrum x Laelia
Kirchara (Kir.) = Cattleya x Epidendrum x Laelia x Sophronitis
Laeliocatonia (Lctna.) = Cattleya x Brongtonia x Laelia
Laeliocattkeria (Lcka.) = Cattleya x Brakeria x Laelia
Laeliocattleya (Lc.) = Cattleya x Laelia
Northenara (Nrna.) = Cattleya x Epidendrum x Laelia x Schomburgkia
Osmentara (Osmt.) = Cattleya x Brongtonia x Laeliopsis
Ottara (Otr.) = Cattleya x Brassavola x Brongtonia x Laelia
Potinara (Pot.) = Cattleya x Brassavola x Laelia x Sophronitis
Recchara (Recc.) = Cattleya x Brassavola x Laelia x Schomburgkia
Rolfeara (Rolf.) = Cattleya x Brassavola x Sophronitis
Rothara (Roth.) = Cattleya x Brassavola x Epidendrum x Laelia x Sophronitis
Scullyara (Scu.) = Cattleya x Epidendrum x Schomburgkia
Sophrocattleya (Sc.) = Cattleya x Sophronitis
Sopholaeliocattleya (Slc.) = Cattleya x Laelia x Sophronitis
Stacyara (Stac.) = Cattleya x Epidendrum x Sophronitis
Stellamizutaara (Stlma.) = Cattleya x Brassavola x Brongtonia
Vaughnara (Vnra.) = Cattleya x Brassavola x Epidendrum
Westara (Wsta.) = Cattleya x Brassavola x Brongtonia x Laelia x Schomburgkia
Willburchangara (Wbchg.) = Cattleya x Brongtonia x Epidendrum x Schomburgkia
Yahiroara (Yhra.) = Cattleya x Brassavola x Epidendrum x Laelia x Schomburgkia
Yamadara (Yam.) = Cattleya x Brassavola x Epidendrum x Laelia

บางกอก ซันเซ็ต เป็นการผสมกันระหว่างไทยน้อย (กุหลาบอินทจักรxเขาแกะบลู)xกุหลาบเหลืองโคราช
ทำให้เราได้ไม้ที่มีคุณลักษณะที่ดีหลายประการคือ ออกดอกทั้งปี กลิ่นหอมทั้งวัน
นอกจากนี้ยังแตกหน่อเก่งอีกด้วย
( ช้างกระ x บางขุนเทียน) x เขาแกะชมพู ถ้าจำไม่ผิดน่าจะตั้งชื่อว่า
Vasco. Veerawan
"AM" เป็นคำย่อ มาจาก Award of Merit

ถามว่ามีคำอื่นอีกมั้ย ตอบ มีค่ะยังมีอีกมากเช่น

"FCC" ย่อมาจาก First Class Certificiate

"HCC" ย่อมาจาก Highly Commendable Certificate

"CCM" ย่อมาจาก Certificate of Cultural Merit

จากเมืองนอกก็จะมี

"AOS" ย่อมาจาก American Orchid Society (USA)

"HOS" " Honolulu Orchid Society (Hawaii)

"TOS" " Taiwan Orchid Society (Taiwan)


Rhynchostylis gigantea ช้างกระ
Rhynchostylis gigantea var.alba ช้างเผือก
Rhynchostylis gigantea var.coerulea ช้างบลู
Rhynchostylis gigantea var.rubrum Sagarik ช้างแดง
Rhynchostylis gigantea var.virapandahui ช้างพราย




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2551 13:08:45 น.
Counter : 608 Pageviews.  

การตัดสินประกวดกล้วยไม้

ลอกมาจากที่เดิมอีก ง่ะ ขอบคุณน้องเจนมาก อิอิ

การตัดสินกล้วยไม้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ด้วยกันคือ

1. การตัดสินการประกวดกล้วยไม้ทั่วไป
การตัดสินแบบนี้ เป็นการตัดสินในงานประกวดกล้วยไม้ที่พบเห็นทั่วไป มีการให้รางวัลที่ 1 2 และ 3 โดยมีการแยกประเภทกล้วยไม้ออกมาก่อน ขึ้นอยู่กับช่วงของการจัดงานประกวดว่ามีกล้วยไม้ประเภทไหนบานอยู่ โดยทั่วไปแล้วการจัดประเภทแบบนี้ จะจัดตามกลุ่มของกล้วยไม้ก่อนแล้วมีการแบ่งย่อยตามปริมาณและชนิดของกล้วยไม้ที่มีการส่งเข้าประกวดเช่น มีการแบ่งประเภทออกเป็น แวนดา หวาย กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ แคทลียา กล้วยไม้ไทยลูกผสม ช้าง ฯลฯ และเมื่อถึงในวันงาน มีผู้ส่งกล้วยไม้ในแต่ละประเภทเข้ามาแล้ว ก็จะมีการแบ่งกลุ่มย่อยอีก อย่างน้อยในแต่ละกลุ่มย่อยต้องมีผู้ส่งกล้วยไม้เข้าประกวดไม่น้อยกว่า 5 ราย การแบ่งแบบกลุ่มย่อยนี้ สามารถแบ่งได้ตาม สี ขนาดดอก ขนาดต้น เช่น กลุ่มแวนดาสีบลู กลุ่มแวนดาสีแดง และกลุ่มแวนดาสีเหลือง เป็นต้น และถ้ามีจำนวนต้นในแต่ละกลุ่มมากอีก ก็จะแบ่งย่อยไปได้อีก เช่น แวนดาสีบลูดอกใหญ่ และแวนดาสีบลูดอกกลาง ในหวาย ก็อาจมีการแบ่งแกลุ่มตามลักษณะของกลีบดอก และรูปทรงของดอกได้อีกด้วย เช่น หวายกลีบบิด หวายดอกกลม เป็นต้น ในการตัดสินกรรมการผู้ตัดสินจะทำการคัดเลือกต้นที่เข้าเกณฑ์ แล้วนำมาให้คะแนนว่าต้นใดสมควรได้รางวัลที่ 1, 2 หรือ 3 ตามลำดับ หรือไม่ก็มีการให้คะแนนแล้วนำคะแนนมารวมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมาคมที่จัดประกวด วิธีการนี้กรรมการตัดสินต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มาก

คณะกรรมการตัดสินโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยกรรมการ 5 คน และ 1 ใน 5 ทำหน้าที่เป็นเลขานุการการตัดสิน และมีผู้ช่วยอีก 2 คน ทำหน้าที่ในการติดป้ายรางวัลและบันทึกต้นที่ได้รับรางวัล ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ประธาณคณะกรรมการตัดสินจะเป็นผู้ชี้ขาด

2. การตัดสินกล้วยไม้เพื่อขอประกาศนียบัตรประจำต้น
วิธีการนี้ จะทำการตัดสินโดยกรรมการประจำสมาคมกล้วยไม้แต่ละสมาคม ผู้ที่เป็นเจ้าของต้นกล้วยไม้ ต้องยื่นความจำนงต่อสมาคมที่ต้องการจะขอรับการตัดสิน แล้วนำต้นกล้วยไม้ที่ต้องการให้ตัดสินมาขอรับการตัดสิน การตัดสินแบบนี้ ผู้เป็นเจ้าของต้นกล้วยไม้ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการตัดสิน ตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมนั้นๆ ในประเทศไทย มีอยู่หลายสมาคมด้วยกันที่ทำการตัดสินกล้วยไม้แบบนี้ได้แก่ สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (RHT) สมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (COS) สมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ประเทศไทย ในต่างประเทศก็มีอยู่หลายสมาคมด้วยกัน เช่น American Orchid Society (AOS) Hawaiian Orchid Society (HOS) เป็นต้น การตัดสินก็จะมีหลักเกณฑ์การตัดสินของแต่ละสมาคมไป สมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ฯ จะมีชื่อเสียงมากในการตัดสินกล้วยไม้ประเภทแวนดา และรองเท้านารี

ผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินกล้วยไม้ประกาศนียบัตร ต้องผ่านการฝึกอบรม และฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ของสมาคมนั้นๆเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน ถึงจะมาทำหน้าที่เป็นกรรมการได้ เกณฑ์การตัดสินกล้วยไม้แต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป เช่นในรองเท้านารี จะให้ความสำคัญของรูปทรงดอกและสีของดอกมากกว่าลักษณะอื่นๆ ในขณะที่ถ้าเป็นแคทลียาจะให้ความสำคัญของ substance และ texture ของดอกค่อนข้างมาก ในการตัดสินของ American Orchid Society ได้มีการแบ่งเกณฑ์การให้คะแนน ดังตารางที่ 1

ตารางที่ - เกณฑ์การให้คะแนนกล้วยไม้ที่ขอเข้ารับการตัดสินเพื่อขอประกาศนียบัตรประจำต้น



* ที่มา American Orchid Society Awards

ในการตัดสิน เมื่อกรรมการทั้งหมดให้คะแนนแล้วจะนำคะแนนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย กล้วยไม้ต้นใดที่ได้คะแนนมากกว่า 90 คะแนน จะได้รับการตัดสินให้เป็นต้นที่ได้รับประกาศนียบัตรที่เรียกว่า First Class Certificate หรือ FCC ต้นใดที่ได้รับคะแนนอยู่ระหว่าง 80 - 89 จะได้รับประกาศนียบัตรที่ชื่อว่า Award of Merit หรือ AM และต้นใดที่ได้รับคะแนนอยู่ระหว่าง 75 - 79 จะได้รับประกาศนียบัตรที่ชื่อว่า Highly Commended Certificate หรือ HCC โดยการเขียนชื่อกล้วยไม้ที่ได้รับการตัดสินแบบประกาศนียบัตรนี้ สามารถเขียนรางวัลที่ได้รับพร้อมทั้งชื่อของสมาคมที่ทำการตัดสินไปด้วยกับ เช่น
Ascocenda Medasand 'T. Orchid No.4' AM/OST
กล้วยไม้ต้นนี้เป็นลูกผสมระหว่าง Ascocentrum และ Vanda มี grex name เป็น Medasand มี cultivar epithet เป็น T. Orchid No. 4 และได้รับประกาศนียบัตรชั้น Award of Merit จากสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย (OST = Orchid Society of Thailand) และต้นที่ได้รับรางวัลจะมีการบันทึกภาพเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการตัดสินรางวัลอื่นๆได้อีก เช่น การตัดสินต้นที่มีการปลูกเลี้ยงมาอย่างดี (Certificate of Horticultural Merit, CHM) ต้นที่มีลักษณะพิเศษไม่พบเห็นกันมากนัก (Certificate of Cultural Merit, CCM) ฯลฯ

เกณฑ์ในการตัดสิน ที่สำคัญ คือ

1. ความสมบูรณ์ของต้น ต้องแข็งแรง ทนทาน เหมาะปลูกเป็นไม้ประดับ
2. ความสมดุล ต้องมีลักษณะการด่างที่สม่ำเสมอกันทั้งต้น เหมาะกับพืชชนิดนั้นๆ
3. ความสวยงาม มีลักษณะการด่างที่สวยงาม เข้ากันได้ดีทั้งต้น
4. ความแปลก มีลักษณะการด่างที่แปลกตากว่าที่เคยมีมา
5. ความหายาก ต้นมีลักษณะการด่างที่หาดูได้ยาก


หลักเกณฑ์ทั่วไป

1. ต้องเขียนชื่อกล้วยไม้และลูกผสมให้ถูกต้องทุกต้น มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการตัดสิน
2. กล้วยไม้แต่ละประเภทต้องมีอย่างน้อย 5 ต้น และมีคุณภาพที่จะตัดสินได้
3. คณะกรรมการทรงไว้ซึ่งเอกสิทธิ์ในการพิจารณาชี้ขาด กล้วยไม้ต้นใดจัดอยู่ในประเภทใด และสมควรได้รับการตัดสินหรือไม่
4. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด
5. กล้วยไม้ที่ส่งเข้าประกวดอนุโลมให้โยง ยึด ใต้ก้านดอกแรกได้หนึ่งจุด
6. กล้วยไม้ช่อแรกความสูงไม่เกิน 30 ซม. ไม้ตัดแยกหน่อ - ปั่นเนื้อเยื่อ ไม่ทำการตัดสิน

* แต่ในการตัดสินจริงนั้นอาจจะมีการปรับประยุกต์เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกมากขึ้น แต่ก็ยังคงใช้แนวทางทั้งหมดด้านบนเป็นหลักครับ




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2551 10:20:09 น.
Counter : 1013 Pageviews.  

แคท กับซองหลอก สาระจากสวนน้ำผึ้ง

นี่ก็ลอกเขามา อีก ...สาระจากคุณเจนสวนน้ำผึ้ง

นานาสาระ แคทลียาไม่ออกดอก (ซองหลอก)

พอดีมีเพื่อนสมาชิกถามกันมาหลายท่านว่าทำไมเลี้ยงแคทลียาแล้วไม่ค่อยได้ชมดอก มีแต่ลำ หรือแทงซองดอกออกมาหลอกให้ดีใจ แต่สุดท้ายซองก็แห้งไปโดยไม่มีดอก วันนี้เลยเอาประสบการจากที่ได้รับมาแล่งปันกันสำหรับเพื่อนๆ ที่ชอบแคทลียานะครับ

แคทลียาแทงซองหลอก (ไม่แทงดอก)

1. สาเหตุแรกมาจากด้านกรรมพันธุ์ของเค้า (ถ่ายทอดตามทฤษฎีของเมนเดลล์) บางประเภทเป็นไม้ปีซึ่งออกดอกปีละครั้ง และที่หนักที่สุดคือเป็นไม้ปีแล้งยังหนักดอก (ให้ดอกยาก) หากผ่านฤดูของเค้าไปแล้วยังไม่ให้ดอก ก็ร้องเพลงรอไปอีกปีเลยครับ

2. อากาศตอนกลางคืนร้อนเกินไป เช่น เครื่องปลูกคายความร้อนมากไปหรือวางไว้ใกล้ๆ กำแพงหรือปูน
ควรลองเปลี่ยนเครื่องปลูกหรือย้ายที่แขวนครับ

3. ต้นไม้ยังไม่เจริญเต็มที่พร้อมจะให้ดอกได้ แต่อาจจะมีผลจากปุ๋ยต่างๆ เลยออกซองมา เช่น ไม้ที่แบ่งลำมาและรากเพิ่งจะเดินไม่มาก (แต่บางทีขนาดเพิ่งแบ่งลำก็มีออกดอกนะครับ)

4. กรณีที่ดอกตูมแห้งตั้งแต่อยู่ในซอง (เพราะซองแห้งก่อนกำหนดก็ให้ลองฉีกซองให้แตกเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้)

5. หากซองเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลตั้งแต่ยังไม่เห็นเงาดอกเลย อาจจะเป็นเพราะมีแก๊สเอทิลีนในอากาศมากเกินไป แก้ไขโดยการเพิ่มการระบายอากาศให้ดีขึ้น

6. อีกกรณีถ้าความชื้นในอากาศต่ำมาก ๙องดอกจะตีบติดแน่นไม่ยอมเปิดครับ แก้ไขโดยรดน้ำให้ชุ่มเพื่อเพิ่มความชื้น และ/หรือ ช่วยฉีกซองดอกให้เค้าครับ


เพิ่มเติม

1. โดยปกติแล้วแคทลียาบางชนิดจะให้ดอกดอกในช่วงที่กลางวันสั้น กลางคืนยาว (หน้าหนาว) แต่ถ้าหากว่าได้รับแสงสว่างเพิ่มขึ้นในตอนเย็น ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าที่โรงเรือนหรือจากอาคารบ้านเรือนก็ตาม อาจจะทำให้คัทลียาหลงเวลาเลยพาลไม่ออกดอกได้

2. แคทลียาบางต้นจะแทงซองทุกครั้งที่มีลำใหม่ออกมา แต่ไม่ออกดอกเพราะว่ายังไม่ถึงฤดูกาลให้ดอก ดังนั้นจึงไม่ควรฉีกซองทิ้ง เพราะเค้าจะออกดอกทุกลำที่แทงซองไว้เมื่อถึงฤดูกาลของมันเอง

3. การให้ปุ๋ยผิดสูตรแทนที่จะออกดอกก็กลายเป็นออกหน่อมาแทน เช่นการให้ปุ๋ยสูตรเสมอในช่วงหน้าฝนนั้น จะทำให้ได้รับไนโตรเจนมากเกินพอดี เพราะในน้ำฝนมีไนโตรเจนอยู่แล้ว ต้นไม้ทุกชนิดจะได้รับ ไนโตรเจนได้ก่อนฟอสเฟต และโปแตสเซียม ดังนั้นการได้รับปุ๋ยที่มีไนโตรเจนบวกกับไนโตรเจนจากน้ำฝน ทำให้คัทลียาได้รับไนโตรเจนมาก จึงเกิดการแทงซองแล้วไม่ออกดอก เนื่องจากการทำงานของฟอสเฟตนั้นช้ากว่าไนโตรเจน

แต่ก็มีบางต้นที่แทงหน่อแล้วแทงตาดอกออกมาในภายหลัง แสดงว่าคัทลียามีการสะสมอาหารไว้ในต้นไม่พร้อมกันไนโตรเจนมีมากกว่าฟอสเฟตและโปแตสเซียม แต่ไนโตรเจนถูกนำไปใช้ได้ก่อนและหมดเร็ว
เมื่อใช้ไปได้ระยะหนึ่งและไม่มีการเติมไนโตรเจนเพิ่มเข้าไปอีก ฟอสเฟตก็จะไปกระตุ้นให้เกิดตาดอก
แต่เป็นการออกดอกที่ผิดจังหวะ ทำให้ดอกออกมาไม่สมบูรณ์่

4. ความผิดปกติของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นเมื่อถึงฤดูฝนแล้วฝนไม่ตก อากาศร้อนอบอ้าวเกินไป
หรือเมื่อ ถึงฤดูหนาวแต่ไม่หนาว ก็ทำให้คัทลียาไม่ออกดอกได้เหมือนกัน หรือออกดอกมาไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรส่วนความผิดปกติจากผู้เลี้ยงเอง เช่นการย้ายที่ปลูกจากรังหนึ่งไปอีกรังหนึ่งในขณะที่คัทลียาแทงซองบางครั้งก็อาจจะกระทบกระเทือนการออกดอกได้เช่นกัน ยิ่งถ้าย้ายข้ามจังหวัดแล้ว สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปทำให้คัทลียาปรับตัวไม่ทัน มันก็จะชงักการออกดอกไปได้ หรืออีกกรณีหนึ่งที่ไม่มีการย้ายที่ปลูกแต่อย่างใดแต่มีสิ่งปลูกสร้างวางขวางทิศทางลม ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าอับลม ก็ทำให้คัทลียาไม่ออกดอกได้เหมือนกันซึ่งจะอยู่ในลักษณะที่เลี้ยงไม่โต แต่ไม่ตาย

5. แคทลียาโดยทั่วไปที่เราเห็นกันอยู่ จะเป็นไม้ปีซะกว่า 70-80% ครับ โดยเฉพาะประเภทดอกกลางและดอกใหญ่ นอกนั้นก็จะให้ดอกปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น น้อยต้นนักที่จะให้ดอกได้ 3-4 ครั้งต่อปี
ซึ่งถือมาให้ดอกบ่อยสุดในกลุ่มแคทลียาแล้วครับ (ดอกเล็กหรือแบบช่อ)

แคทลียาไม่เหมือนหวาย การให้ดอกจะให้เฉพาะลำหน้าใหม่เท่านั้น ลำเก่าจะไม่ให้ดอกเหมือนหวายที่สามารถแทงช่อดอกได้ที่ลำเดิมหลายครั้ง ปกติลำใหม่โตเร็วสุดก็ประมาณ 3 เดือน ดังนั้น 1 ปีก็จะได้ลำหน้าเพียง 4 ครั้งสูงสุด (แต่หากเป็นไม้กอหรือไม้หลายหน้าก็จะได้มากกว่า) สรุปว่าให้ดอก 4 ครั้งต่อปีก็สุดๆ แล้วครับ

6. การใช้สแลนพรางแสง 50-60% และปุ๋ยที่ใช้ก็เริ่มใช้ตัวกลางสูง พ่นปุ๋ยในช่วงเช้าประมาณ 8.00-10.00 น. หากพ่นช่วงเย็นจะไม่มีแสงแดดมาช่วยปรุงอาหาร

7. ตรวจดูและว่ามีไรแดง เพลี้ยไฟ หรือแมลงอื่นๆ มาทำลายยรึป่าวครับ เพราะน้ำเลี้ยงที่จะทำให้เกิดเป็นดอกถูกดูดกินหมด อย่างนี้ก็ฟ่อแน่นอน

8. ธาตุอาหารรองเสริมทางใบก็จำเป็นนะครับ ควรจะสลับให้คือในหนึ่งเดือนให้ธาตุอาหารรองสูตรชีวภาพประเภทคีเลต ที่มีอยู่หลายยี่ห้อในท้องตลาด เสริมหนึ่งครั้งแทนปุ๋ยหลัก NPK ครับ

9. เวลาจากเริ่มแทงซองและลำลูกกล้วยสมบูรณ์เต็มที่แล้วก็ประมาณ 30-45 วันครับ ดอกก็จะบานให้ได้ชมครับ แต่ให้มั่นสังเกตุด้วยนะครับ บางครั้งซองดอกอาจเหี่ยวแห้งก่อน แต่ภายในยังมีดอกตูมอยู่ เราควรจะช่วยฉีดซองเขาออกด้วยนะครับ เพราะซองที่เหี่ยวก่อนเวลามักจะเหนียว จนบางครั้งอาจทำให้ดอกอ่อนภายในดันออกมาไม่ได้ครับ

10. หากซองฝ่อไปแล้วก็ไม่ต้องไปทำอะไรนะครับ เลี้ยงดูแบบปกติ แล้วพอถึงฤดูที่เหมาะสมเค้าก็จะออกดอกมาให้เราชมเอง แต่แน่นอนว่าคุณภาพดอกคงสู้แบบที่ออกมาในซองที่ไม่ฝ่อได้ อย่างน้อยออกดอกก็ยังดีกว่าไม่ออกใช่มั้ยครับ

“ มาแล้วก็ยังดีกว่ามาช้า..... มาช้าก็ยังดีกว่าไม่มา..... ”




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2550 11:38:08 น.
Counter : 283 Pageviews.  

1  2  
 
 

kit2783a
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





[Add kit2783a's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com