วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม (พระอารามหลวง)

สมาชิกหมายเลข 2619063
Location :
ศรีสะเกษ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




************จัดทำโดย************
นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
-----พระใบฏีกาเดชธิศักดิ์ มหาสฺกโก------
--------พระกันตพัฒน์ กิตติญาโณ---------
----------พระมหาวันชัย วชิรวํโส-----------
-------------นายปิยวัช สีแสด--------------
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2619063's blog to your web]
Links
 

 

วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม

วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม(พระอารามหลวง)
เป็นอารามราษฎร์ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว โดยกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ผูกเป็นสีมา ตั้งอยู่กลางเมืองศรีสะเกษ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  



แต่เดิมเป็นวัดป่าต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2488 ได้บูรณะและพัฒนาจนได้รับการเสนอชื่อเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับพระราชทานให้เป็น “พระอารามหลวง” ในเวลาต่อมา


............................. " ปัจจุบันมีพระภิกษุสงฆ์ จำพรรษา 35 รูป และสามเณร 53 รูป "...........................................
โดยมีพระราชกิตติรังษี บุญทัน สนฺตจิตฺโต  เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เป็นเจ้าอาวาส




สถานที่ตั้งของวัด
วัดเจียงอีศรีมงคลวรารามตั้งอยู่ที่ 1549 ถนนชัยสวัสดิ์ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000



https://goo.gl/B9GM3r Smiley 6




 

Create Date : 29 พฤศจิกายน 2558    
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2558 18:00:31 น.
Counter : 1600 Pageviews.  

ประวัติวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม

ประวัติความเป็นมาของวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม



นามและที่ตั้งวัด

ในอดีตและปัจจุบันเรียกว่า “วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม” เป็นอารามราษฎร์ ชนิดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว โดยกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สงฆ์ทำการผูกเป็นสีมาแล้ว ตั้งอยู่กลางเมืองศรีสะเกษ อยู่ในคุ้มบ้านเจียงอี ตำบลเมืองใต้ (สมัยก่อนเรียกตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ เหตุที่ได้นามว่า วัดเจียงอี เพราะตั้งอยู่ในคุ้มบ้านเจียงอี การตั้งชื่อบ้านชื่อวัดในสมัยก่อนนั้น นิยมตั้งไปตามชื่อของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดเป็นนิมิตขึ้น ได้ทราบว่าบ้านเจียงอี ประชาชนผู้เป็นเจ้าของถิ่นเดิมเป็นชนชาติไทยเผ่าส่วย ไทยเผ่านี้มีสำเนียงพูดแปร่งหรือเพี้ยนไปจากเผ่าอื่น ๆ “เจียงอี” เป็นภาษาพื้นบ้าน แยกออกได้เป็นสองศัพท์ “เจียง” แปลว่า “ช้าง” “อี” แปลว่า “ป่วย” รวมความว่า “เจียงอี” แปลว่า ช้างป่วย




เหตุที่ได้นามว่าเจียงอี


ได้ทราบและค้นพบในประวัติศาสตร์ชาติไทยว่า  เมืองศรีสะเกษ ตั้งขึ้นที่บ้านพันทาเจียงอี สมัยก่อนเมืองไทย-เมืองลาวยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บางคราวก็เป็นอิสระแก่กันบางครั้งก็รวมกันเป็นพี่น้องชาติเดียวกัน สมัยพระเจ้าไชยเชฎฐา เป็นผู้ครองเมืองนครเวียงจันทน์ สวรรคตลง มีการแย่งชิง-ราชสมบัติ นครั้งนั้นหลวงพ่อโพนสะเม็ด (ยาคูขี้หอม) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ประชาชนพลเมืองเคารพนับถือมาก เจ้าผู้ครองนครองค์ใหม่ได้พยายามเพ่งเล็งท่านมาก เพราะเกรงว่าท่านจะก่อการกบฏ หลวงพ่อทราบเกรงว่าจะมีภัยเกิดขึ้นในบ้านเมือง จึงหนีภัย แล้วมีประชาชนพลเมืองติดตามหลวงพ่อไปเป็นจำนวนมากผูกแพล่องลงไปตามลำแม่น้ำโขง พระมเหสีองพระเจ้าไชยเชฎฐา ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์แก่อยู่ก็เสด็จหนีไปด้วย เมื่อผ่านไปถึงบ้านงิ้วพันลำ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย พระนางเจ้าก็ประสูตูพระราชโอรส หลวงพ่อจึงจัดที่ให้ประทับอยู่ที่บ้านงิ้วพันลำนั้น แล้วพาประชาชนส่วนใหญ่อพยพหลบภัยล่องลงไปตามลำน้ำโงต่อไป จนเข้าเตดินแดนเขมรแล้ว ตั้งหลักฐานอยู่ในเมืองเขมรเป็นเวลานานพอสมควร

ปกติหลวงพ่อเขาถือว่าเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ไปในที่ใด ๆ ก็มีคนหลั่งไหลไปกราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้ผู้ปกครองบ้านเมืองเพ่งเล็งอยู่ตลอดเวลา เพราะเกรงว่าหลวงพ่อท่านจะคิดการกบฏต่อบ้านเมือง เมื่อไปอยู่ที่เขมรแล้วก็ยังถูกเพ่งเล็งอีก และก็ยังถูกเรียกเก็บภาษีสูงกว่าคนชาติเขมรมาก คนไทยเดือดร้อนเพราะไม่ได้รับความเป็นธรรม หลวงพ่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น จึงพาประชาชนคนไทยอพยพกลับจากเขมร คราวนี้มาตั้งสำนักอยู่ที่ดอนแดง (เกาะแดง) ซึ่งอยู่กลางลำแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองนครจำปาศักดิ์ ในสมัยนั้นแคว้นนครจำปาศักดิ์ มีผู้หญิงเป็นเจ้าผู้ปกครองนคร ชื่อ นางเพา-นางแพง ประชาชนได้หลั่งไหลไปคารวะหลวงพ่อเป็นจำนวนมากไม่ขาด นางพา-นางแพง พร้อมด้วยข้าราชบริพารจึงพากันออกไปถวายการปกครองบ้านเมืองให้หลวงพ่อ เป็นผู้ปกครอง หลวงพ่อรับปกครองอยู่ระยะหนึ่ง พอเห็นว่าพระราชกุมารองพระเจ้าไชยเชฏฐา มีพระชนมายุเจริญึ้นพอสมควรแล้ว จึงให้ประชาชนไปรับเสด็จมานครจำปาศักดิ์ และได้สถาปนาหึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ครองนครจำบากนาคบุรีศรี (เมืองนครจำปาศักดิ์) ส่วนหลวงพ่อเป็นที่ปรึกษาราการบ้านเมืองเท่านั้น ในระยะนี้หลวงพ่อได้จัดส่งลูกศิษย์ผู้มีสติปัญญาแหลมคมไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ที่ขึ้นกับนครจำปาศักดิ์


อนึ่ง ผู้มีความรู้ที่จัดว่าเป็นหลักฐานได้ในสมัยนั้น ก็คือผู้ได้รับการศึกษาเล่าเรียน เข้าบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่า วัดเป็นโรงเรียน เป็นสถาบันการศึกษา แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

1.“เชียง” หมายถึง ผู้เข้าบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ได้รับการศึกษาเล่าเรียนแล้วสึกออกไปเรียกว่า “เชียง” เทียบได้กับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีสมัยนี้

2.“ทิด” หมายถึงผู้เข้าบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้รับการศึกษาเล่าเรียนแล้วสึกออกไป เรียกว่า “ทิด” เทียบได้กับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาโทสมัยนี้ คือเป็นบัณฑิตนั่นเอง

3.“จารย์” หมายถึงผู้ที่เข้าบวชในพระพุทธศาสนา แล้วศึกษาเล่าเรียนอยู่เป็นเวลานาน ศึกษาวิชาการต่าง ๆ จนมีความรู้ความสามารถชำนิชำนาญ เมื่อสึกออกไปแล้วเรียกว่า “จารย์” เทียบได้กับผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอก ในสมัยนี้

ดังนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่เมื่อลูกชายเจริญเติบโตพอที่จะบวชเรียนได้ จึงนำลูกไปบวชเรียนในพระพุทธศาสนา จึงถือเป็นประเพณีสืบทอดกันมา ตราบเท่าทุกวันนี้ หลวงพ่อได้คัดเลือกเอาลูกศิษย์ผู้มีความรู้ความสามารถส่งไปปกครองหัวเมืองต่างๆ เฉพาะสายที่มาลงจังหวัดศรีสะเกษ-สุรินทร์- ร้อยเอ็ด หัวเมืองเหล่านี้ขึ้นต่อแคว้นนครจำบากนาคบุรีศรี ที่ส่งมาครั้งแรกแบ่งเป็นห้าสาย แต่ละสายมีหัวหน้านำทางมาด้วยพร้อมกันอพยพเอา ประชาชนพลเมืองมาด้วยเป็นจำนวนมาก ผู้ที่ถูกอพยพมาส่วนมากเป็นคนไทยเผ่าส่วย (เผ่ากวย) ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโง แถวเมือง อัตตะปือ-แสนปาง อยู่ทางตะวันออกเมืองนครจำปาศักดิ์ สายที่มาลงจังหวัดศรีสะเกษ หวงพ่อได้ส่งท้าวจารย์ศรี ศิษย์ผู้มีสติปัญญาสามารถคนหนึ่ง เป็นหัวหน้าสาย ครั้งแรกได้มาตั้งลงที่อ่าวยอดห้วยดวน หรือดวงไม้ลำดวน ได้ตั้งหลักก่อสร้างบ้านเมืองขึ้นที่นั่น แล้วให้ชื่อว่า “เมืองนครศรีลำดวน” (บ้านดวนใหญ่) ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษเท่านั้น กาลล่วงมาเป็นเวลาช้านาน จึงได้แยกกันออกไปตั้งเมือง ขุขันธ์-เมืองศรีสะเกษ ขึ้นเป็นเมืองใหม่

ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย เมื่อพระเจ้าเอกทัศน์เสวยราชสมบัติอยู่นั้น ได้เกิดอาเพศึ้น พระยาช้างเผือกแตกโรงหนี แล้วมุ่ง หน้ามาทางทิศตะวันออก เลยเขตจังหวัดศรีสะเกษ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงจัดให้ทหารนายกองจับช้างติดตามมาทันที่ลำธารแห่งหนึ่ง อยู่ในเขตอำเภอ อุทุมพรพิสัย ได้เห็นตัวพระยาช้างแต่จับไม่ได้ ช้างวิ่งหนีเลยไปทางทิศไต้ถึงเชิงเขาดงเร็ก ประชาชนจึงเรียกชื่อลารที่นายกองจับช้างตามมาทันนั้นว่า ห้วยทับทัน เพราะกองทัพจับช้างตามมาทันพระยาช้างที่นั่น หัวหน้าผู้ปกครองบ้าน บ้านเมืองแถว ๆ นั้น ก็พากันช่วยตามจับพระยาช้างด้วย แล้วไป จับได้ที่เชิงภูเขาดงเร็กในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จึงนำกลับมา ประชาชนได้พากันนำส่งพระยาช้างเผือก มีบ้านบ้านหนึ่งชื่อ สงสาง ซึ่งเป็นไทยเผ่าส่วย ที่นำส่งช้าง เขาจึงเรียกชื่อบ้านนั้นว่า บ้านสงสาง (ปัจจุบันเรียกว่าบ้านเชิน) เท่าทุกวันนี้ คำว่า สงสาง ก็คือ ส่งช้าง หรือนำส่งช้างนั้นเอง เมื่อนำ พระยาช้างมาถึงบ้านใหญ่บ้านหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเมืองศรีสะเกษ พระยาช้างได้ล้มป่วยลง รักษาพยาบาลหายแล้วจึงออกเดินทางต่อไป ชาวบ้านเป็นไทย ส่วย จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า “บ้านเจียงอี” คือ บ้านช้างป่วยสืบมา วัดก็เรียกว่า “วัดเจียงอี” เช่นกัน เหตุที่ได้นามว่า วัดเจียงอี มีอย่างนี้


เมื่อปี  พ.ศ.2488 พระเกษตรศีลาจารย์ (หนู อุสฺสาโห) ขึ้นครองเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอเมืองฯ ระยะนี้ได้เริ่มบูรณะและ พัฒนา"วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม" จากวัดเล็ก ๆ จนได้รับการเสนอชื่อให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับพระราชทานให้เป็น 

"พระอารามหลวง"




 

Create Date : 29 พฤศจิกายน 2558    
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2558 18:00:58 น.
Counter : 4207 Pageviews.  

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานถวายผ้าพระกฐินสภากาชาดไทย ประจำปี 2558






























วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 08.33 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นถวายผ้าพระกฐินสภากาชาดไทย ประจำปี 2558 ณ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ที่สภากาชาดไทยจัดขึ้น โดยรวบรวมจากเงินบริจาคของประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน  เพื่อบูรณปฎิสังขรณ์วัด โอกาสนี้นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย  ได้เบิกผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานของที่ระลึก จำนวน 100 ราย

ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระราชทานพระราชวโรกาสให้เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ และคณะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดศรีสะเกษ จัดพิธีบายศรีทูลพระขวัญถวาย เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เพื่อถวายพระพรให้มีพระพลานามัยแข็งแรง มีพระชนมายุยืนยาว




 

Create Date : 29 พฤศจิกายน 2558    
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2558 14:10:24 น.
Counter : 749 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.