2015 สิ่งที่ชัดเจนจากแผนผังคือ
ข้อแรกใน 4 ไม่ได้เริ่มด้วยการทำเอกสาร แต่เริ่มด้วย การพิจารณา
ทบทวน สถานะขององค์กรขององค์กร ส่วนข้อกำหนดเอกสารย้ายไปเป็นข้อกำหนดสนับสนุน 7.5
ข้อ 5 ฝ่ายบริหารผู้บริหารสูงสุดเพิ่มเติมด้วย ความเป็นผู้นำ โดยการชี้นำระบบ การตัดสินใจการมอบหมายอำนาจ วิสัยทัศน์ ทิศทางองค์กร กลยุทธ์ และชักนำให้ฝ่ายบริหารลำดับถัดไปในการเป็นผู้นำของหน่วยงานนั้นๆ แม้ว่าในข้อ 5ใหม่นี้ไม่มีคำว่า QMR (จากเดิมที่ 5.2.2) แต่ ใน 5.3 ยังมีการมอบหมายงานด้าน ข้อกำหนด ISO คล้ายกับงานที่ QMR ทำอยู่เดิม เช่น การสรุปรายงาน KPI, INTERNAL AUDIT เป็นต้น ความสัมพันธ์ของกระบวนการข้อ 5 ใหม่นี้ ให้มีการกระจายอำนาจ งานไปในทุกทิศทาง (ไปในข้อ 6,7,8,9,10ตามผังข้อกำหนดใหม่)มีความคล้ายคลึงกับผังองค์กรนั่นตามปกตินั่นเอง
ข้อ 6 การวางแผน นำมาจากข้อ 5 เดิมใน 2008 จากข้อการวางแผนกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายobjective (5.4) เปลี่ยนเป็น 6.2 และเพิ่มเติมการพิจารณาจัดการความเสี่ยง ใน 6.1 ก่อนการกำหนดเป้าหมายคุณภาพ ซึ่งเป็นข้อที่พบข้อถกเถียงอย่างกว้างขวางในการนำ 6.1 ไปปฏิบัติใช้ (จะกล่าวในครั้งถัดไป)
ข้อ 7 นำมาจากข้อ 6 เดิมใน 2008 เรื่องทรัพยากรบุคคล เครื่องจักรสภาพแวดล้อม และเพิ่มทรัพยากรการวัด (จาก 7.6 เดิมของ 2008)
ข้อ 8 กระบวนการปฏิบัติ นำมาจากข้อ 7 เดิม การทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ ในทุกข้อจาก 7.1 to 7.5 เลื่อนมาเป็น 8.1 to 8.5 และนำข้อการตรวจปล่อยสินค้า มาต่อท้ายที่ 8.6 และการจัดการ NC ที่ข้อ 8.7 ให้ครบขั้นตอนการผลิตและบริการ(มีการเพิ่มเติมข้อย่อย การควบคุมการเปลี่ยนแปลง control of change 8.5.6)
ข้อ 9 การประเมินสมรรถนะ มาจากข้อ 8 เดิม การวัด วิเคราะห์ ปรับปรุงนำมาคือ การวัดความพึงพอใจลูกค้า การตรวจติดตามภายใน และนำการทบทวนโดยฝ่ายบริหารในข้อ 5.6เดิมมาใส่ในข้อการประเมินสมรรถนะองค์กร ตัดการปรับปรุงจากข้อ 8.5 เดิม ไปไว้ในข้อ 10(2015)