"There is no instinct like that of the heart" Lord Byron
 
 

นักพยากรณ์อากาศผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสามก๊ก

ประวัติศาสตร์โลกต้องเปลี่ยนแปลงไม่รู้กี่ครั้งเพราะสภาพอากาศ
อากาศที่เย็นขึ้นกะทันหันทำให้กลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานชาวไวกิ้ง ต้องย้ายถิ่นฐานออกจากไอซ์แลนด์ ทั้งที่อีกนิดเดียวพวกเขาก็จะสามารถขยายชุมชนไปถึง "โลกใหม่" อยู่แล้ว หรือ ปีที่ไม่มีฤดูร้อน นำมาซึ่งความอดยากของผู้คนในยุโรป เมื่อกว่า200ปีที่แล้ว
อากาศที่เปลี่ยนแปลงยังส่งผลกระทบต่อสงครามด้วยเช่นกัน
ใครจะเชื่อว่าอัศวินฝรั่งเศสซึ่งมีกำลังกว่า6000นาย จะพ่ายแพ้แก่พลธนูชาวอังกฤษในการยุทธ์ที่Agincourtได้ การพ่ายแพ้ครั้งนั้นนำมาซึ่งการสิ้นสุดของการใช้อัศวินเป็นแนวแรกในการรุก ส่วนหนึ่งนั้นก็เนื่องจากฝนที่ตกลงมาก่อนหน้าการรบทำให้อัศวินซึ่งสวมเกราะเคลื่อนไหวในดินที่กลายเป็นโคลนได้อย่างเชื่องช้าจนตกเป็นเหยื่อของลูกธนูที่ตกลงมาไม่ขาดสาย
จึงไม่ผิดที่จะพูดว่าถ้าใครรู้สภาพอากาศย่อมได้เปรียบได้การทำสงครามอยากมาก
กลับมาในหงสาจอมราชันย์ มีบุคคลปริศนาที่เป็นที่รู้จักดีผู้หนึ่งที่ทำเช่นนั้นได้ คำว่า "บุคคลปริศนาที่เป็นที่รู้จักดี" ก็เนื่องจาก ตัวละครนี้ยังไม่เปิดเผยจอมหน้าให้ผู้อ่านได้ยล แต่เมื่อตัวละครตัวนี้ขยับตัวก็สามารถกระทำการสะเทือนฟ้าดินได้ทุกครั้ง ในหงสาฯเรารู้จักเขาในนาม "พิศดารเจ็ด" แต่ผู้อ่านสามก๊กด้วย ย่อมรู้ว่า พิศดารเจ็ดผู้นี้ ก็คือ "จูกัดเหลียง" "ขงเบ้ง" นั่นเอง
ความสามารถในการหยั่งรู้ดินฟ้าของ พิศดารเจ็ด ปรากฏในหงสาแล้วสองครั้งคือ ครั้งหนึ่งเมื่อทำนายศึกซ่ง-เหลียง ซึ่งพิศดารเจ็ดทำนายได้อย่างถูกต้องว่า พ่ายที่กำลังได้เปรียบในการรบจะต้องล่าถอยเพราะฝนที่ตกลงมา ผลการทำนายที่แม่นยำนี้ทำให้ ซินแสคันฉ่องถึงกับกล่าวว่าได้พบกับเทพยดาเลยทีเดียว
แต่เหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนแผ่นดิน คือตอนนี่ พิศดารเจ็ด ร่วมมือกับ สุมาอี้ เพื่อหยุดการรุกคืบเข้าสู่ซีจิ๋วของ พิศดารสี่ "กุยแก" ซึ่งครั้งนั้น กุยแกใช้ไฟเผาปิดทางเข้าออกเมืองลำกุ๋น แต่พิศดารเจ็ดก็สามารถคำนวนการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและวางแผนร่วมมือกับสุมาอี้แก้สถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำซ้ำยังเพิ่มขวัญกำลังใจให้ผู้คนเพราะเชื่อว่าสวรรค์เข้าข้างอีกด้วย
ถ้าใครอ่านสามก๊กฉบับนิยายจะเห็นว่า ขงเบ้งนอกจากจะเป็นสุดยอดเสนาธิการแล้ว ยังเพิ่มบทของผู้วิเศษเรียกลมเรียกฝนได้ แต่ในหงสา อ.เฉิน ได้ออกปากไว้ตั้งแต่เล่มแรกแล้วว่า ถ้าใครอยากเห็ฯเล่าปี่ผู้กับสัตว์ประหลาด ขงเบ้งเรียกลมเรียกฝนได้ ก็คงต้องผิดหวัง ในเมื่อไม่อยากให้เป็นเชิง
ปาฏิหาริย์ ผู้แต่งกลับกำหนดให้พิศดารเจ็ด มีวิชาคำนวนวิถีฟ้าได้อย่างแม่นยำ นับว่าเฉียบแหลมอย่างยิ่ง
เมื่อคิดเช่นนี้ก็แทบอดใจรอศึกเซ็กเพ็กไม่ไหว เมื่อลองมาคิดว่า สองพิศดาร หนึ่ง คำนวนดินฟ้า อีกหนึ่งเชี่ยวชาญยุทธนาวี ร่วมมือกัน เพื่อหยุดยั้ง อีกสองพิสดารที่หนึ่งดำเนินหนทางสว่างเชี่ยวชาญการ"เลี้ยงทัพพันวัน"และอีกหนึ่งดำเนินหนทางมืดมิดผู้นิยมการ"ถวายหัว"และหนึ่งหมาป่านักคำนวนผู้แสวงหาทางลัดเสมอนั้นจะเป็นยังไง




 

Create Date : 14 มีนาคม 2554   
Last Update : 14 มีนาคม 2554 11:55:31 น.   
Counter : 699 Pageviews.  


นายและบ่าวที่ขัดกัน

ในหงสาเล่มน่าสุดอ้วนปึงได้รำพึงประโยคหนึ่งในใจว่า
"เจ้าละทิ้งที่สูงเข้าสู่สมรภูมิอันลึกล้ำ"
"อย่าลืมสิว่า ใน8พิสดารมีเพียงข้ากับกงจิน(จิวยี่)ที่เติบโตมากับสายบู๊"
"ต่างเป็นจอมอหังการทางน้ำและทางบก"
"พิศดารสี่ ทั้งการตัดสินใจและการรบเจ้าล้วนเป็นรองข้า"
พร้อมกันนั้นศิษย์ผู้พี่ก็ได้แสดงภูมิปัญญาของเสนาธิการทัพกลางที่รบ จนจากทัพที่เพลี่ยงพล้ำแตกพ่าย ซ้ำยังเสียสองขุนพลหลักกลับกลายเป็นได้ชัยในการรบครั้งนั้น
ดังที่อ้วนปึงได้กล่าวไว้"ใน8พิสดารมีเพียงข้ากับกงจิน(จิวยี่)ที่เติบโตมากับสายบู๊" ในหงสาทั้ง40เล่มที่ผ่านมายังมีบุคคลอีกผู้หนึ่ง ออกบัญชาทัพในแนวหน้า ซ้ำกล้าเอาชัยกลางสมรภูมิรบ วึ่งแม้แต่พิสดารเจ็ดยังเคยทำนายการศึกของศิษย์ผู้พี่เอาไว้ว่า"ต่อไปเป็นการทำศึกกลาง สมรภูมิ พี่ห้าคงไม่อาจใช้แผนพิศดารเอาชัย" แม้แต่พิศดารเจ็ดยังคำนวนก้าวต่อไปของ จิวยี่ผู้นี่ผิดพลาด แสดงว่า จิวยี่แห่งหงสาจอมราชันย์คงมิใช่เป็นเพียง"ผู้ถ่มน้ำลายรดฟ้า" ดั่งที่ถูกปรามาสไว้แน่
การศึกครั้งนั้น ซุนเซ็กนำทัพต่อกรกับ เงียมแปะฮ้อ ผู้นำกบฏชาวนา แม้จะเป็นเพียงกบฏ แต่ผู้นำทัพกลับเชี่ยวชาญพิชัยยุทธเน้นวินับในการจัดกระบวนทัพ ขุนศึกของซุนเซ็ก ต่างคาดการณืการศึกครั้งนี้คงไม่ง่ายดาย ครานั้นไทสูจู้กล่าวแก่ ผู้เป็นนายว่า
"นายท่าน ข้าศึกดำเนินตามพิชัยยุทธ์ ซุนวู ใช้วิธีรุกลวงเพื่อโอบล้อม ซ้ำกำลังพลยังมีมากกว่าฝ่ายเรา"
ปาอ๋องน้อย หันไปทางจิวยี่ว่าจะดำเนินการประการใด จิวยี่ได้เพียงกล่าวว่า
"ได้ยินมาว่า ข้าศึกนิยมพิชัยยุทธ์ ซุนวู ข้าเองก็ปรารถนาจะประลองกับท่านซุนสักครั้ง"
และนั่นคือจุดเริ่มของชัยชนะในการรบครั้งนั้น
แต่ในเมื่อจิวยี่โดดเด่นด้วยปัญญาและความสามารถเช่นนั้น แต่กลับปราศจากราศีเจิดจ้า แม้จะดำเนินการรบและแผนการจดซุนเซ็กได้กลับมาเป็นใหญ่ในตังกั๋ง
แต่การปรากฏตัวครั้งแรกของจงโหมว(ซุนกวน)กลับดูตระการตายิ่งเพียงหมากตาแรกที่ดำเนินการก็ทำให้สุกลซุนผูกสัมพันธ์กัลตระกูลใหญ่ของตังกั๋ง เพิ่มทั้งกำลังทุนซ้ำสยบคลื่นไต้น้ำเป็นจุดเสริมแนวหลังให้ซุนเซ็กก้าวไปข้างหน้ามั่นคง
แต่ตัวจิวยี่กลับวาดหวั่น แม้จะเปี่ยมด้วยปัญญาและความสามารถ แต่เมื่ออยู่กับบนายที่เชี่ยวชาญการยุทธ์เช่นเดียวกัน จิวยี่ก็มิอาจแสดงความสามารถได้เต็มที่ ทำได้เพียงคอยปิดช่องโหว่แต่ผู้เป็นนาย
และกังวลอยู่ในใจว่าตนเองจะตามทันผู้เป็นนายหรือไม่
การตายของซุนเซ็ก นับว่ามีความสำคัญต่อจิวยี่เป็นอย่างยิ่ง มิใช่ในแง่ของการสูญเสียนายและพี่ร่วมสาบานไป แต่ในแง่ของการได้แสดงความสามาถอีกด้วย ในเมื่อซุนกวนได้แสดงให้เห็นแล้วว่า เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการภายในได้ดีกว่าการรบทัพภายนอก เช่นนี้แล้วก็ไม่มีใครจะข่มจิวยี่ได้อีก ในการทำสงคราม เป็นดั่งที่ซุนเซ็กฝากคำสั่งเสียแก่ผู้น้อง ไว้ว่า"การภายนอกให้ปรึกษาจิวยี่ การภายในให้ปรึกษาเตียวเจียว"
แต่ในทางกลับกันกลับน่าสงสารเตียวเจียวเป็นอย่างยิ่ง ฐานะในหงสาจอมราชันย์นั้นเป็นถึงผู้ช่วยสอนของสำนักคันฉ่องซึ่งถูกส่งมาช่วยซุนเซ็ก เตียวเจียวนั้นเชี่ยวชาญการบริหารจัดการ การภายในอย่างยิ่งและมีบทความสำคัญในการช่วยบริหารบ้านเมืองยามซุนเซ็กออกทำสงคราม นัยหนึ่งที่เตียวเจียวทำงานได้อย่างราบรื่นนั้นก็เพราะนายบ่าว ไม่ต้องขัดกันเองในการทำงานไม่เหมือน จิวยี่และซุนเซ็ก
แต่เมื่อสิ้นซุนเซ็กก็เป็นเวลาที่จิวยี่จะได้ฉายแสง แต่เป็นเวลาอับแสงของเตียวเจียว ถ้าใครเคยอ่านสามก๊กจะพบว่า วุนกวนและเตียวเจียว มีเรื่องเบาะแว้งกันบ่อย จนถึงขั้นเตียวเจียวปิดบ้านไม่ยอมให้วุนกวนเข้าพบเลยก็มี ก็เนื่องเพราะนายบ่าวคู่นี้เชี่ยวชาญในสิ่งเดียวกันแลพต่างมีแนวทางการทำงานของตน
น่าสนุกว่าเมื่อถึงตอนนั้นแล้ว "หงสาจอมราชันย์ จะถ่ายทอดเรื่องน่าปวดหัวระหว่างซุนกวนและเตียวเจียวออกมาเช่นใด




 

Create Date : 09 มีนาคม 2554   
Last Update : 9 มีนาคม 2554 17:48:48 น.   
Counter : 860 Pageviews.  



honig
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"ดอกรักบานในใจใครทั้งโลก แต่ดอกโศกบานในหัวใจฉัน สองมือเขากุมกอดพรอดรักกัน สองมือฉันเกยก่ายพ่ายรักเอย"
[Add honig's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com