มาทำความรู้จักกับ Arduino รุ่นต่างๆกัน
1). Arduino Uno R3 เป็นบอร์ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพง ส่วนใหญ่โปรเจคและไลบรารี่ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมาจะอ้างอิงกับบอร์ดนี้เป็นหลัก และในกรณีที่ตัว MCU เสีย ผู้ใช้สามารถซื้อมาเปลี่ยนเองได้ง่าย ![]() 2.) Arduino Uno SMD เป็นบอร์ดที่มีฟีเจอร์และการทำงานเหมือนกับบอร์ด Arduino UNO R3 ทุกประการ แต่ต่างกันที่แพ็คเกจ MCU ซึ่งบอร์ดนี้มีแพ็คเกจ MCU แบบ SMD (ส่วน R3 มีแพ็คเกจ MCU แบบ DIP) ![]() 3.) Arduino Mega 2560 R3 เป็นบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับงานที่ต้องใช้ I/O มากกว่า R3 เช่น งานที่ต้องรับสัญญาณจากเซ็นเซอร์ต่างๆ หรือควบคุมมอเตอร์ Servo หลายๆ ตัว ทำให้ขา I/O ของบอร์ด R3 ไม่รองรับ ทั้งนี้บอร์ด Mega 2560 R3 ยังมีหน่วยความจำมากกว่าบอร์ด R3 ทำให้สามารถเขียนโค้ดโปรแกรมเข้าไปได้มากกว่า ในความเร็ว MCU ที่เท่ากัน ![]() 4.) Arduino Mega ADK เป็นบอร์ดที่ออกแบบมาให้บอร์ด Mega 2560 R3 สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ Android (มือถือ, แท็บเล็ตที่รองรับ OTG) ผ่านพอร์ต USB Host ของบอร์ดได้ ![]() 5.) Arduino Leonardo การทำงานคล้ายกับบอร์ด R3 แต่เปลี่ยน MCU ใหม่เป็น ATmega32U4 ซึ่งมีโมดูล USB มาด้วย (ต่างจากบอร์ด R3 หรือ Mega 2560 ที่ต้องใช้ชิป ATmega16U2 ร่วมกับ Atmega328 ในการต่อกับ USB) ![]() 6.) Arduino Mini 05 เป็นบอร์ดขนาดเล็กที่ใช้ MCU เบอร์เดียวกับบอร์ด R3 แต่จะไม่มีพอร์ต USB ให้ ผู้ใช้ต้องต่อกับบอร์ดแปลง USB เป็นพอร์ตอนุกรมเพิ่ม ![]() 7.) Arduino Pro Mini 328 3.3V เป็นบอร์ดขนาดเล็กที่ใช้ MCU เบอร์เดียวกับบอร์ด Mini 05 แต่บนบอร์ดมี Regulator 3.3V เพียงชุดเดียวเท่านั้น จึงทำให้มีแรงดันไฟที่ขา I/O เท่ากับ 3.3V ![]() 8.) Arduino Pro Mini 328 5V เป็นบอร์ดขนาดเล็กที่ใช้ MCU เบอร์เดียวกับบอร์ด Mini 05 แต่ต่างกันที่บนบอร์ดจะมี Regulator 5V เพียงชุดเดียวเท่านั้น จึงทำให้มีแรงดันไฟที่ขา I/O เท่ากับ 5V ![]() 9.) Arduino Ethernet with PoE module เป็นบอร์ดที่ใช้ MCU เบอร์เดียวกับบอร์ด SMD โดยในบอร์ดมีชิป Ethernet และช่องเสียบ SD Card รวมทั้งโมดูล POE ทำให้บอร์ดนี้สามารถใช้ไฟจากสาย LAN ได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องต่อ Adapter เพิ่ม แต่บอร์ดนี้จะไม่มีพอร์ต USB ทำให้เวลาเขียนโปรแกรมจะต้องต่อบอร์ดแปลง USB เป็นพอร์ตอนุกรมเพิ่ม ![]() 10.) Arduino Ethernet without PoE module บอร์ดนี้จะตัดโมดูล POE ออกไป ต้องใช้ไฟจาก Power Jack เท่านั้น นอกนั้นจะเหมือนกับบอร์ด Arduino Ethernet with PoE module ทุกอย่าง ![]() 11.) Arduino Due เป็นบอร์ดที่เปลี่ยน MCU ใหม่เป็นตระกูล ARM Cortex-M3 แทน ทำให้ Process เร็วขึ้น แต่ยังคงรูปแบบโค้ดโปรแกรมเดิมอยู่ ![]() รูปแบบการเขียนโปรแกรมบนบอร์ด Arduino
![]() 1.) เขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ ผ่านทางโปรแกรม ArduinoIDE 2.) หลังจากที่เขียนโค้ดโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ใช้งานเลือกรุ่นบอร์ด Arduino ที่ใช้และหมายเลข Com Port ![]() เลือกรุ่นบอร์ด Arduino ที่ต้องการ Upload Code ![]() เลือกหมายเลข Com Port ของบอร์ด 3.) กดปุ่ม Verify เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและ Compile โค้ดโปรแกรม จากนั้นกดปุ่ม Upload โค้ดโปรแกรมไปยังบอร์ด Arduino ผ่านทางสาย USB เมื่ออับโหลดเรียบร้อยแล้ว จะแสดงข้อความบนแถบข้างล่าง Done uploading และบอร์ดจะเริ่มทำงานตามที่เขียนโปรแกรมไว้ได้ทันที ![]() Arduino คืออะไร?
Arduino อ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่ หรือ อาดุยโน่) เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Source คือมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software ตัวบอร์ด Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด หรือโปรแกรมต่อได้อีกด้วย ความง่ายของบอร์ด Arduino ในการต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ คือผู้ใช้งานสามารถต่อวงจรอิเล็กทรอนิคส์จากภายนอกแล้วเชื่อมต่อเข้ามาที่ขา I/O (Input/Output) ของบอร์ด (ดูตัวอย่างรูปที่ 1) หรือเพื่อความสะดวกสามารถเลือกต่อกับบอร์ดเสริม (Arduino Shield) ประเภทต่างๆ (ดูตัวอย่างรูปที่ 2) เช่น Arduino XBee Shield, Arduino Wireless Shield, Arduino GPRS Shield เป็นต้น มาเสียบกับบอร์ดบนบอร์ด Arduino แล้วเขียนโปรแกรมพัฒนาต่อได้เลย ![]() จุดเด่นที่ทำให้บอร์ด Arduino เป็นที่นิยม
|
สมาชิกหมายเลข 5021784
![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog All Blog Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |