การพัฒนาตนเอง : แนวทางการพัฒนาที่น่าสนใจ

แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนเอง

1. มนุษย์ทุกคนมีเอกลักษณ์ มีศักยภาพ มีคุณค่าสามารถฝึกหัดพัฒนาตนได้ในทุกเรื่อง
2. ไม่มีใครที่มีความสมบูรณ์ไปหมดทุกด้าน
3. แม้จะไม่มีใครรู้จักตัวเองได้ดีเท่าตัวเอง แต่ในบางเรื่องตนเองก็ไม่สามารถจัดการปรับเปลี่ยนได้ด้วยตนเอง
4. การควบคุมสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม กับการควบคุมความคิด ความรู้สึกและการกระทำของตนเอง มีผลกระทบซึ่งกันและกัน
5. อุปสรรคสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการปฏิบัติ ไม่สร้างนิสัยและฝึกทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็น
6. การพัฒนาตนเองดำเนินการได้ทุกเวลาเมื่อต้องการหรือพบปัญหาข้อบกพร่อง


หลักการพัฒนาตนเอง
1. หลักการพัฒนาตนเองตามแนวคิดจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม
1) หลักการพัฒนาตนเองตามแนวพฤติกรรมนิยมที่เป็นการเรียนรู้อันเนื่องจากผลกรรมหรือเงื่อนไขของการกระทำ ซึ่งมีทั้งผลกรรมเชิงบวก ได้แก่ การเสริมแรง และผลกรรมเชิงลบ คือ การลงโทษ
2) หลักการพัฒนาตนเองตามแนวพฤติกรรมนิยมที่เป็นการเรียนรู้ทางสังคม แบนดูร่า (Bandura, 1969) ได้พัฒนาแนวคิดนี้จากความเชื่อถือที่ว่า บุคคลสามารถเรียนรู้พฤติกรรมใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อม โดยบุคคลเรียนรู้จากผลกรรมและวิธีการเลียนแบบ แบนดูร่าให้ความสำคัญในกระบวนการเรียนรู้จากผลกรรม ซึ่งทำหน้าที่หลายประการ ทั้งเป็นการให้ข้อมูล การจูงใจและการเสริมแรงด้วย ส่วนการเลียนแบบ ประกอบด้วยการใส่ใจ การจำ การกระทำทางกาย และการจูงใจ นอกจากนั้นแบบดูร่ายังเน้นด้วยว่า การเรียนรู้ทางสังคมเป็นกระบวนการทางปัญญาด้วย โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ ความเชื่อมั่นในเงื่อนไข ความคาดหวังในความสามารถของตนและผลที่เกิดขึ้น

2. หลักการพัฒนาตนเองตามแนวพุทธศาสตร์
การพัฒนาคนตามหลักพุทธศาสตร์มุ่งการกระทำให้ตนมีความสุขด้วยตนเองมากกว่าการพึ่งพาวัตถุ พระเทพเวทีได้เสนอวิธีการที่จะพัฒนาตนไปสู่การมีวิถีชีวิตที่ดีงามถูกต้อง ซึ่งเรียกว่าเป็นรุ่งอรุณแห่งการพัฒนาตน มี 7 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี ได้แก่ การรู้จักใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ พิจารณาและเลือกแหล่งความรู้ที่ดี เริ่มจากการเลือกคบคนดี เลือกแบบอย่างที่ดี เลือกบริโภคสื่อและข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่มีคุณค่า การพัฒนาชีวิตเช่นนี้ เรียกว่าความมีกัลป์ยานมิตร (กัลยาน มิตตา)
ประการที่ 2 รู้จักจัดระเบียบชีวิต และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเรียบร้อย มีการวางแผนและจัดการกิจการงานต่าง ๆ อย่างมีระบบ ระเบียบ เรียกว่า ถึงพร้อมด้วยศีล (ศีลสัมปทา)
ประการที่ 3 ถึงพร้อมด้วยแรงจูงใจให้สร้างสรรค์ หมายถึง มีความสนใจ มีความพึงพอใจ มีความต้องการจะสร้างสรรค์ กิจการงานใหม่ ๆ ที่เป็นความดีงาม หรือยังประโยชน์ต่อชีวิต และสังคม เรียกว่า ถึงพร้อมด้วยฉันทะ (ฉันทสัมปทา)
ประการที่ 4 ความมุ่งมั่นพัฒนาตนให้เต็มศักยภาพ มนุษย์มองภาพไม่ดีของตนว่าสามารถพัฒนาได้ ก็จะมีความงอกงามจนที่ที่สุดแห่งความสามารถของตน เรียกว่า ทำตนให้ถึงพร้อม (อัตคสัมปทา)
ประการที่ 5 ปรับทัศนคติและค่านิยมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เอื้อต่อการเรียนรู้ และทำให้สติปัญญางอกงามขึ้น เรียกว่า กระทำความเห็นความเข้าใจให้ถึงพร้อม (ทิฏฐิสัมปทา)
ประการที่ 6 การมีสติ กระตือรือร้น ตื่นตัวทุกเวลา หมายถึง การมีจิตสำนึกแห่งความไม่ประมาท เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสภาพแวดล้อม เห็นคุณค่าของเวลา และใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เรียกว่า ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท (อัปปมาทสัมปทา)
ประการที่ 7 การรู้จักแก้ปัญหาและพึ่งตนเอง จัดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยความคิดวิจารณญาณญาณตามเหตุปัจจัยด้วยตัวเอง เรียกการคิดแบบนี้ว่า โฮนิสสมนสิการ (โฮนิโสมนสิการสัมปทา)
นอกจากนี้ พระธรรมปิฏก ได้ให้แนวทางการพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืน พอประมวลเป็นเทคนิคการพัฒนาตนที่บุคคลพึงฝึกหัดพัฒนา ได้แก่ ความเชื่อในการฝึกฝนพัฒนาคน การมีศีลและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม ฝึกการเพิ่มภาวะอิสระจากวิกฤตภายนอก บริจาคและสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ฝึกสมาธิเพื่อการสร้างพลังจิตที่เข้มแข็ง ฝึกพัฒนาปัญหาให้มีความเข้าใจชีวิตและโลกที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่ความเป็นอิสระเหนือความสุขและความทุกข์ คือ การฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ผู้สนใจควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการฝึกสมาธิและวิปัสสนากรรมฐานจากแนวการพัฒนาจิตตามหลักพุทธศาสตร์ได้อย่างกว้างขวาง

ขั้นตอนการพัฒนาตนเอง
1. สำรวจพิจารณาตนเอง
2. วิเคราะห์ จุดเด่น - จุดบกพร่อง
3. กำหนดปัญหาและพฤติกรรมเป้าหมาย
4. รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน
5. เลือกเทคนิควิธีและวางแผน
6. ทดลองปรับปรุงพัฒนา
7. ประเมินผลและขยายผลการพัฒนา

การสร้างโปรแกรมการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง
1. การเตรียมดำเนินการหรือการปรับความเชื่อแนวคิด
1) ทบทวนและยอมรับแนวคิด ความเชื่อเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง
2) สำรวจและนำเสนอผลการสำรวจพิจารณาตนเองด้านต่าง ๆ
3) วิเคราะห์และสรุปผลการวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรม หรือบุคลิกภาพที่ต้องการพัฒนา
4) กำหนดพฤติกรรมเป้าหมายให้ชัดเจน
5) เลือกวิธีการหรือเทคนิคในการปรับปรุงและพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการหรือพฤติกรรมเป้าหมาย
6) กำหนดแผนการปรับปรุงพัฒนาตนเองภายใต้เวลา สถานการณ์แวดล้อม และเงื่อนไขการพัฒนา

2. กระบวนการพัฒนาตนเอง หมายถึง การปฏิบัติทดลองปรับปรุงและพัฒนาตนเองตามแผนงาน เมื่อมีการปฏิบัติทดลองไประยะหนึ่ง ผู้ทดลองก็ควรจะสังเกตและประเมินผลเป็นระยะ ๆ ด้วย ถ้าพบปัญหาหรืออุปสรรค ก็วิเคราะห์และปรับปรุงใหม่ ดำเนินการฝึกหัดหรือการพัฒนาก็ดำเนินการประเมินผลครั้งสุดท้าย ถ้าไม่บรรลุผลสำเร็จก็อาจวิเคราะห์ปัญหาและหาวิธีการปรับปรุงใหม่ ถ้าบรรลุผลสำเร็จดี ก็ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมั่นคง และอาจขยายผลไปยังการพัฒนาเรื่อง อื่น ๆ ได้อีกต่อไป
3. ผลการพัฒนาตนเอง หรือการบรรลุผลสำเร็จของพฤติกรรม เป้าหมายนั่นเอง อาจจะอยู่ในเรื่องบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอกที่พัฒนาขึ้น พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น ความสามารถในการคิด การตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหาที่มีคุณภาพมากขึ้น มีความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้น สามารถควบคุมตนเองหรือบริหารเวลาได้ดีขึ้น รวมทั้งความสามารถดำรงชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น และร่วมมือช่วยเหลือสังคมได้กว้างขวางขึ้น เป็นต้น


ผู้เขียนหวังว่า ข้อมูลนี้ จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้อ่านได้พัฒนาตนเองมากขึ้น
ซึ่งทุกวันนี้ผู้เขียนเองก็พัฒนาตนเองด้วยตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยการเรียนรู้ ค้นคว้า สืบค้นจากแหล่งความรู้ที่มีอยู่
และต้องขอขอบคุณผู้ที่ให้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาตนเองในครั้งนี้มา ณ โอกาสนี้




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2557   
Last Update : 15 ตุลาคม 2557 22:19:58 น.   
Counter : 4325 Pageviews.  

15 วิธีในสร้างแรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากๆ เพราะร่างกายของคุณสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานของคุณได้เต็มที่

ร่างกายคุณจะสามารถปีนเอเวอร์เรสได้เพราะจิตใจของคุณบอกว่าทำได้ หลายคนไม่ประสบความสำเร็จทั้งๆ ที่เรื่องเหล่านั้นง่ายนิดเดียว นั่นเป็นเพราะแรงบันดาลใจไม่เพียงพอ

หัวข้อต่างๆ ข้างล่างนี้เป็นเคล็ดลับเพื่อช่วยให้คุณได้รับแรงบันดาลใจ และเก็บมันไว้ให้อยู่กับคุณ เพื่อให้คุณมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

1. ละเว้นเรื่องไม่สำคัญ

 

การเรียนรู้ที่จะละเว้น หรือปฏิเสธเรื่องที่ไม่สำคัญออกไปบ้าง มันคุ้มค่ามากกว่าที่คุณคิด เราอาจไม่เคยเรียนรู้มันในมหาวิทยาลัย แต่ในชีวิตจริงเราต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะละเว้นสิ่งที่ไม่สำคัญ มันช่วยคุณประหยัดพลังงาน สร้างแรงจูงใจที่สนับสนุนให้คุณโฟกัสในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และทำอย่างมีประสิทธิผล

 

2. เข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณเบื่อ

 

จงหลีกเลี่ยงมัน ความเบื่อเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ และดิฉันเองก็เป็นคนที่ทนอะไรที่น่าเบื่อไม่ได้ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปในโซนที่น่าเบื่อทั้งหลาย

 

3. เก็บบันทึกการคิดค้นของคุณ

 

คุณจำได้ไหมว่าเมื่อไหร่ที่คุณประสบความสำเร็จครั้งสำคัญ ครั้งแรกของชีวิตของคุณ เรามักจะมองการจดบันทึก และเขียนลงความรู้สึกของเรา ดิฉันเคยค้นเจอสมุดบันทึกว่าอยากทำอะไรแล้วมาดู ดิฉันก็ทำเสร็จไปหลายเรื่องแล้ว แต่บางอันก็ลืมไปแล้ว พอได้อ่านก็ได้แรงบันดาลใจกลับมาอีกครั้ง

 

4. Clean Up บ้านของคุณ

 

เชื่อดิฉันเถอะ วิธีที่ยอดเยี่ยมในการทำความสะอาดขยะภายในบ้านจะทำให้คุณรู้สึกปลอดโปล่ง และรู้สึกเบาขึ้น คุณจะรู้สึกว่าสมองลื่นไหล ไอเดียบรรเจิดขึ้นเยอะ

 

 

5. การออกกำลังกาย

 

เป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการเรียกแรงจูงใจ เพราะเลือดหมุนเวียน ทำให้สมองปลอดโปร่ง และจิตใจแจ่มใส เวลาที่คุณออกกำลังกาย ทุกส่วนในร่างกายได้ผลิตสาร Endorphins ซึ่งช่วยการกระตุ้นความคิดให้กลับมาได้อีกรอบ

 

6. อ่านเรื่องราวความสำเร็จ

 

เช่นเดียวกับในคนอื่นๆ เรื่องราวความสำเร็จที่ได้อ่านหรือรับฟังมาอาจเป็นแรงบันดาลใจให้คุณได้ และที่สำคัญยังอาจช่วยให้คุณได้ไอเดียในการคิดเรื่องใหม่ๆ หรือเรื่องเก่าในอีกแนวทางหนึ่งที่คุณอาจไม่เคยคิดถึงในแง่อื่นมาก่อน

 

7. ฟังเพลง ดูหนัง หรืออ่านหนังสือที่ดี

 

สิ่งเดียวที่ดีกว่าความเงียบนั่นคือการได้ฟังเพลงที่ดี ตัวอย่างชีวิตดีๆ และไอเดียใหม่ๆ มักเกิดจากการเห็นอย่างดูหนัง จิตนการบรรเจิดเมื่อเราอ่านหนังสือค่ะ ดิฉันแนะนำให้มีปากกากระดาษสำหรับโน้ตไอเดียที่ผุดขึ้นมา ที่สำคัญมันเป็นเครื่องมือการเปลี่ยนอารมณ์ที่ดีค่ะ

 

8. เก็บมาจากการอ่านประทับใจ

 

gเพียงหนึ่งประโยคจากใครบางคนอาจทำให้คุณมีความคิดใหม่ๆ หรือมีแรงบันดาลใจที่ดี ลองหาแรงบันดาลใจจากคำคม blog posts, ebooks หรือหลายๆ สื่อที่สามารถหาได้ ให้ลองตีความหมายอย่างกระจ่างและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้อย่างเป็นจริงเป็นจัง จดจำคำที่คุณชอบนั้นไว้เพื่อปฏิบัติให้ได้ในอนาคต

 

9. ประเมินความก้าวหน้าของคุณ

 

หากการทำงานอย่างต่อเนื่องจะทำให้คุณมีความคืบหน้าแล้ว ลองหันกลับไปดูความพึงพอใจจากสิ่งที่คุณสร้างขึ้น รวบรวมประมวลผลในสิ่งที่ได้กระทำดูว่ามีความพอใจในผลงานมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้วางแผนงานเพื่อเพิ่มพลังงานของคุณ

 

10. พูดคุยเกี่ยวกับโครงการของคุณ

 

ร่วมพูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวของคุณ ให้คนเหล่านั้นรู้ว่าคุณกำลังทำสิ่งใดอยู่ และนอกจากนี้ยังจะสร้างระดับของความรับผิดชอบบางอย่างในตัวคุณ ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะผลักดันคุณไปข้างหน้า

 

 

 

11. ทำทีละอย่าง

 

multitasking เป็นตำนานไปแล้ว คนที่ทำอะไรเร็วๆ ไปพร้อมๆ กันไม่ใช่คนเก่งอีกต่อไป ที่สำคัญยิ่งทำให้คุณแก่เร็วขึ้นอีก ขนาดคอมพิวเตอร์ก็ยังทำหลายอย่างพร้อมกันได้ไม่ดีเลย แถมแฮ้งอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะทำสิ่งใดก็ตาม ควรจัดการคัดเลือกสิ่งสำคัญที่จะต้องทำก่อนมาเป็นอันดับแรกๆ และตั้งใจทำในสิ่งนั้นให้ดีที่สุดแล้วจึงค่อยทำในสิ่งอื่นต่อไป

 

 

12. เขียนเป้าหมายที่ชัดเจน

 

เขียนเป้าหมายของคุณให้ชัดเจน จัดระเบียบชีวิตให้เป็นสัดส่วน เมื่อจิตใจของคุณทำงานได้ดี ก็จะสามารถรู้ได้ว่าสิ่งไหนที่มันต้องทำ และสิ่งไหนที่ยังไม่ต้องทำ

 

13. ไม่ได้มุ่งเพื่อความสมบูรณ์แบบ

 

ความสมบูรณ์แบบเป็นจุดสิ้นสุดตั้งแต่เริ่มคิด ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะหลายปีที่ผ่านมาดิฉันตั้งจุดหมายไว้ในใจว่าจะออกหนังสือให้ได้ จนแล้วจนรอดดิฉันก็ยังทำไม่สำเร็จ เพราะแค่คิดว่ามันต้องดีที่สุด ตอนนี้ดิฉันยอมรับว่าไม่มีอะไรเพอร์เฟ็คที่สุด ขอแค่ทำมันด้วยใจรักตามแรงบันดาลใจของดิฉันเท่านั้น

 

14. ยอมรับความล้มเหลว

 

ความล้มเหลวกับความสำเร็จเป็นเพียงผลจากการกระทำของคุณ หนึ่งสิ่งที่ใหญ่ที่สุดของศัตรูแห่งแรงจูงใจคือความกลัวความล้มเหลว กลัวว่าผลของคุณจะเปิดไม่ดี ยอมรับมัน มันอาจจะมีสักเสี้ยวที่ไม่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องหยุดทำในสิ่งที่คุณกำลังทำ ให้คุณทำดีที่สุดและหวังดีที่สุด

 

15 สร้างความท้าทายส่วนบุคคล

 

ความท้าทายส่วนบุคคลจะถูกเป้าหมายระยะสั้นซึ่งโดยปกติ 15 - 90 วัน เช่นเดียวกับการเริ่มต้นออกกำลังกายหรือการสร้างนิสัยจากรอยขีดข่วนในเวลา 15 วัน การใช้ความท้าทายส่วนบุคคล จะช่วยเสริมสร้างพลังภายในของคุณเช่นเดียวกับการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อของคุณ ยิ่งคุณมีแรงจูงใจมากขึ้นคุณจะยิ่งรู้สึกว่าอยากจะทำมากยิ่งขึ้น




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2557   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2557 22:49:31 น.   
Counter : 960 Pageviews.  

ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ

Maslow’s Need Hierarchy Theory (ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ)

ทฤษฎีที่เป็นที่นิยมมากอันหนึ่งก็คือ เจ้าทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของคุณมาสโลว์นี้เอง ซึ่งเค้าได้กล่าวไว้ว่า คนเรามีแรงจูงใจที่จะตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลำดับขั้น โดยที่จะต้องตอบสนองความต้องการจากขั้นต่ำไปสูง โดยเราสามารถเรียงได้ดังนี้

  • Physiological Needs =ความต้องการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการอยู่รอด เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ที่อยู่อาศัย
  • Safety Needs = ความต้องการที่่จะมีความปลอดภัยและมีความมั่นคง
  • Social and Belongingness Needs = ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ทั้งมิตรภาพจากเพื่อน และ ความรัก
  • Esteem Needs = ความรู้สึกว่าตนเองมีค่า มีความเคารพตนเอง รวมถึงการได้รัยความเคารพนับถือจากผู้อื่นด้วย
  • Self-Actualization Needs = ความปรารถนาที่จะเติมเต็มความสามารถของตนเองให้เต็มที่ ใช้ความสามารถและทักษะทั้งหมดที่มีอยู่

มาสโลว์บอกไว้ว่า ความต้องการแต่ละขั้นนั้นจะมีความโดดเด่นกว่าความต้องการขั้นที่สูงกว่าตนเองจนกว่ามันจะถูกตอบสนอง  และเมื่อมันได้การตอบสนองแล้ว มันก็จะไม่ส่งผลต่อการจูงใจอีกต่อไป นั่นคือ ความต้องการจะย้ายไปขั้นที่สูงกว่านั่นเอง

อย่างไรก็ตามทฤษฏีของมาสโลว์ก็ได้รับคำวิจารมากมายว่า บางทีคนเราก็มีความต้องการหลายขั้นพร้อมกันก็ได้ ต่อมาจึงได้มีการเสนอทฤษฎีอีกอันหนึ่งซึ่งคล้ายๆ ของมาสโลว์นั่นก็คือ ERG Theory แต่ทฤษฎีนี้มีความต้องการอยู่เพียง 3 กลุ่ม ดังนี้

  • Existence Needs (E) = Physiological + Safety (ขั้น 1 และ 2 ของมาสโลว์)
  • Relatedness Needs (R) = Social and Belongingness  (ขั้น3 ของมาสโลว์)
  • Growth Needs (G) = Esteem + Self-Actualization (ขั้น 4 และ 5 ของมาสโลว์)

ERG Theory ต่างจากของมาสโลว์อยู่ 2 ประเด็น คือ

  • ลำดับของความต้องการไม่ได้เจาะจงเช่นเดียวกับของมาสโลว์ คนเราอาจมีความต้องการได้หลายอัน เพียงแต่ให้ความสำคัญกับระดับล่างก่อนเท่านั้นเอง
  • แม้ว่าเราตอบสนองความต้องการได้ระดับหนึ่งแล้ว มันก็อาจจะยังเป็นความต้องการที่เด่นได้ หากเราไม่สามารถสนองความต้องการขั้นสูง

Two-Factor Theory ( Dual-Factor Theory)

ทฤษฎีของ Frederick Herzberg อันนี้ มุ่งเน้นไปที่เรื่องเกี่ยวกับการให้รางวัลและผลลัพธ์ของการทำงาน โดยทฤษฎีบอกว่า ผลรางวัลหรือผลลัพธ์ที่มีอยู่ 2 แบบ คือ Satisfaction (ความพึงพอใจ) และ Dissatisfaction (ความไม่พึงพอใจ) นั้นไม่ใช่ขั้วตรงข้ามกัน แต่จริงๆแล้ว สิ่งที่ตรงข้ามกับ High Job Satisfaction (ความพึงพอใจสูง) ก็คือ Low Job Satisfaction (ความพึงพอใใจต่ำ) ไม่ใช่ High Job Dissatisfaction (ความไม่พึงพอใจสูง)  เช่นเดียวกัน สิ่งตรงข้ามกับ High Job Dissatisfaction ก็คือ Low Job Dissatisfaction นั่นเอง

สิ่งที่ได้จากความรู้อันนี้ก็คือ ปัจจัยที่ทำให้เกิด Job Satisfaction  นั้นเป็นคนละอันกับปัจจัยที่ส่งผลต่อ Job Dissatisfaction “ดังนั้นการเพิ่มปัจจัยที่ทำให้เกิด Job Satisfaction จึงไม่สามารถขจัด Job Dissatisfaction ได้”

ปัจจัยที่ทำให้เกิด Job Satisfaction เรียกว่า Satisfiers หรือ Motivators มีดังต่อไปนี้

  • ความสำเร็จ
  • การได้รับการยกย่องจดจำ
  • ความรับผิดชอบ
  • โอกาสที่จะก้าวหน้าหรือเลื่อนตำแหน่ง
  • ตัวงานเอง
  • โอกาสที่จะพัฒนาตนเอง

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความไม่พึงพอใจ (ถ้าขาด) เรียกว่า Dissatisfiers หรือ Hygienes

  • เงินเดือน
  • การควบคุมดูแลจากหัวหน้า
  • สภาพการทำงาน
  • กฎระเบียบของบริษัท
  • ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า และลูกน้อง
  • สถานะของตำแหน่งงาน
  • ความมั่นคง

แม้ทฤษฎีนี้จะมีคนโต้แย้งพอสมควร แต่มันก็ทำให้เราระลึกได้ว่า ถ้าเราต้องการได้งานที่มีประสิทธิภาพ เราต้องไม่ลืมใช้ Motivators เข้าไปช่วยด้วย ไม่ใช่ใช้แต่ Hygienes (เงิน สภาพการทำงาน) เพียงอย่างเดียว

Expectancy Theory

ทฤษฎีนี้เสนอสมการดังนี้ครับ

MF = E   x   Σ (  I   x   V  )

โดยที่

  • MF = Motivational Force หรือ พลังแรงจูงใจ
  • E = Expectancy หรือ ความน่าจะเป็นที่ความพยายามจะส่งผลไปสู่ผลงาน ( มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง +1 ) เช่น เราคาดหวังว่าการทำงานเพิ่มซัก 2 ชั่วโมงจะทำให้ผลงานนั้นเนี๊ยบขึ้น
  • I = Instrumentality หรือ ความน่าจะเป็นที่ผลงานจะส่งผลไปสู่ผลลัพธ์ ( มีค่าตั้งแต่ -1 ถึง +1   ที่ติดลบหมายถึงยิ่งทำให้ผลลัพธ์ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น) เช่น ผลงานที่เนี๊ยบขึ้นนั้น ก่อให้เกิดผลลัพธ์หลายอย่าง แต่ละอย่างก็มีความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้น (I) ต่างกัน
  • V = Valence หรือ ความพึงพอใจที่น่าจะได้จากการเกิดผลลัพธ์ ( มีค่าเป็นได้ทั้งบวกและลบ   ที่เป็นลบคือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา) เช่น ผลลัพธ์แต่ละอย่างที่เกิดขึ้นนั้นก็จะก่อให้เกิดความพอใจ หรือไม่พอใจต่างกันเป็นของตนเองด้วย

ดังนั้นผู้จัดการที่รู้ทฤษฎีก็จะสามารถเพิ่มแรงจูงใจได้โดย 1. ทำให้ลูกน้องคิดว่าการเพิ่มความพยายามจะทำให้ผลงานดีขึ้น 2. ทำให้เกิดความชัดเจนระหว่างผลงานที่ดีกับรางวัลา 3. ให้รางวัลที่พึงปรารถนา

Equity Theory

เป็นทฤษฎีว่าด้วยความยุติธรรมครับ มันมีสมการดังนี้

(My Outcomes/My Inputs) vs (Other’s Outcomes/Other’s Inputs)

นั่นคือคนเราจะมอง สัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ที่เราได้เทียบกับความพยายามของเรา เทียบกับ  สัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ที่คนอื่นได้เทียบกับความพยายามของพวกเขา

ถ้าสัดส่วนนี้เท่ากัน เราก็จะรู้สึกว่ามันยุติธรรม แต่ถ้าไม่เท่ากันเราก็จะมีการแสดงออกได้หลายวิธี เช่น

  • เพิ่มหรือลดความพยายามของตัวเอง = คนที่ได้ผลลัพธ์ที่น้อยเมื่อเทียบกับคนอื่นก็จะลดความพยายามของตนเอง คนที่ได้ผลลัพธ์ที่มากก็อาจจะเพิ่มความพยายามของตนเองเพื่อให้เกิดความสมดุล
  • เปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ของตัวเอง = ไปบอกเจ้านายให้เพิ่มรางวัล
  • บิดเบือนการรับรู้เกี่ยวกับผลลัพธ์และความพยายามของตนเอง
  • บิดเบือนการรับรู้เกี่ยวกับผลลัพธ์และความพยายามของคนอื่น
  • เปลี่ยนตัวเทียบ (เทียบคนอื่นแทน)
  • ออกจากองค์กร

Goal-Setting Theory

ทฤษฎีนี้บอกว่าการตั้งเป้าหมายสามารถทำให้ผลงานดีขึ้นได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขดังนี้

  • เป็นเป้าหมายที่มีค่อนข้างยากแต่สามารถบรรลุได้
  • มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง
  • มีการยอมรับว่าจะทำ
  • การมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมาย
  • การมีผลตอบรับ การติชม

การปรับเปลี่ยนงาน ก็มีส่วนช่วยให้เกิดแรงจูงใจเช่นกัน การปรับงานนั้นมีอยู่ 2 แบบ

  1. Job Enlargement = เพิ่มงานที่มีความยากระดับเดิมให้ทำเพิ่ม ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายและใช้ทักษะที่ต่างจากเดิม
  2. Job Enrichment = เพิ่มความรับผิดชอบในตัวงานให้มากขึ้น

การให้ Feedback หรือผลตอบรับ

การให้ Feedback ที่ดีควรทำดังนี้

  • ควรให้ Feedback ร่วมกับการเป้าหมาย
  • ควรมีการให้ Feedback เป็นประจำ (ไตรมาศละครั้งไม่พอหรอก…)
  • ควรให้ข้อมูลว่าจะทำผลงานให้ดีขึ้นได้อย่างไร (ไม่ใช่บอกแค่ว่าดำหรือไม่ดี)
  • ควรมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ คนให้ควรมีอำนาจและความรู้เพียงพอ
  • ควรมุ่งเน้นไปที่ผลงาน ไม่ใช่ตัวบุคคล!! (ควรอ้างถึงค่าผลงานที่วัดออกมา)




 

Create Date : 27 เมษายน 2557   
Last Update : 27 เมษายน 2557 10:07:31 น.   
Counter : 3382 Pageviews.  

วันพรุ่งนี้ของคุณเคยมาถึงบ้างหรือเปล่า

เคยไหมที่บอกกับตัวเองว่า “ไว้พรุ่งนี้ค่อยทำดีกว่า” หรือ “ไว้พรุ่งนี้ค่อยเริ่มก็ยังทัน” ถามหน่อยว่า พอถึงพรุ่งนี้จริงๆ เราทำตามแผนที่เราวางไว้หรือเปล่า หรือว่า ยังคงใช้คำพูดเดิมอีกว่า “วันนี้ไม่มีเวลาแล้ว ไว้พรุ่งนี้ค่อยทำดีกว่า” แล้วเราก็เริ่มผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ จนกระทั่งงานของเราไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่เราวางไว้

ลองมาดูเหตุผลที่คนเราถึงชอบผัดวันประกันพรุ่ง

  • รักความสบาย ก็คือชอบทำอะไรที่ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องเหนื่อยมาก อะไรที่ต้องทำแล้วเหนื่อยกว่าปกติที่เคยทำ ก็มักจะไม่อยากทำ และเริ่มผัดวันไปเรื่อยๆ จนมันใกล้เส้นตายที่จะต้องส่งงาน ก็มาเริ่มทำ
  • ยังไม่มีอารมณ์จะทำ คนบางคนจะทำอะไรต้องมีอารมณ์ทำก่อน จึงจะทำได้ เคยถามว่า แล้วเมื่อไหร่ถึงจะมีอารมณ์จะทำ คำตอบที่ได้มาก็คือ “ของแบบนี้มันบอกไม่ได้หรอก ถึงเวลามันก็มาเอง” สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ไม่เคยเห็นว่าจะถึงเวลานั้นสักที จนกระทั่งถึงเวลาต้องส่งงานเท่านั้นจึงจะลงมือทำ
  • ชอบทำอย่างอื่นที่ตัวเองชอบมากกว่า มีงานบางอย่างที่เจ้าตัวไม่อยากทำ และมักจะผัดวันไปเรื่อยๆ ก็คือ งานที่ยาก และไม่ชอบ แต่จะชอบทำในสิ่งที่ตัวเองชอบก่อน เรื่องอื่นๆ ที่ไม่ชอบไว้ทีหลัง สุดท้ายงานที่ตนเองไม่อยากทำ แต่เป็นงานสำคัญๆ ก็มักจะถูกดอง จนกว่าจะถึงกำหนดส่งงานอีกเช่นกัน
  • ยังไม่ถึงกำหนดส่งงานเลย บางคนบอกว่าที่ผัดวันไปเรื่อยๆ ก็เพราะงานที่จะทำนั้นยังอีกนานกว่าจะถึงกำหนดส่ง ดังนั้นตอนนี้ก็ทำอะไรที่มันสบายๆ ไปก่อนดีกว่า ไว้ใกล้ๆ ส่งงานก็ค่อยทำก็ยังทัน
  • ไม่รู้เป้าหมายว่าทำไปทำไม หลายคนที่มักจะผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ก็เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองต้องทำนั้น ทำไปทำไม ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเราเอง เราจะได้อะไร พอไม่รู้เป้าหมายของการทำงาน ก็เลยไม่ทำซะเลย รอไปก่อน

ผมเองเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยด้วย สิ่งที่ผมสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ เวลาที่ผมสั่งให้นิสิตนักศึกษาทำรายงาน โดยสั่งตั้งแต่ต้นเทอม และบอกว่าให้ค่อยๆ วางแผนในการทำงาน และเก็บข้อมูลไปตามบทเรียนที่เราเรียนไปทีละบทจนกระทั่งถึงบทสุดท้าย เราก็พร้อมที่จะส่งรายงานได้เลย




 

Create Date : 18 เมษายน 2557   
Last Update : 18 เมษายน 2557 3:30:01 น.   
Counter : 421 Pageviews.  

วันพรุ่งนี้ของคุณเคยมาถึงบ้างหรือเปล่า

เคยไหมที่บอกกับตัวเองว่า “ไว้พรุ่งนี้ค่อยทำดีกว่า” หรือ “ไว้พรุ่งนี้ค่อยเริ่มก็ยังทัน” ถามหน่อยว่า พอถึงพรุ่งนี้จริงๆ เราทำตามแผนที่เราวางไว้หรือเปล่า หรือว่า ยังคงใช้คำพูดเดิมอีกว่า “วันนี้ไม่มีเวลาแล้ว ไว้พรุ่งนี้ค่อยทำดีกว่า” แล้วเราก็เริ่มผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ จนกระทั่งงานของเราไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่เราวางไว้

ลองมาดูเหตุผลที่คนเราถึงชอบผัดวันประกันพรุ่ง

  • รักความสบาย ก็คือชอบทำอะไรที่ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องเหนื่อยมาก อะไรที่ต้องทำแล้วเหนื่อยกว่าปกติที่เคยทำ ก็มักจะไม่อยากทำ และเริ่มผัดวันไปเรื่อยๆ จนมันใกล้เส้นตายที่จะต้องส่งงาน ก็มาเริ่มทำ
  • ยังไม่มีอารมณ์จะทำ คนบางคนจะทำอะไรต้องมีอารมณ์ทำก่อน จึงจะทำได้ เคยถามว่า แล้วเมื่อไหร่ถึงจะมีอารมณ์จะทำ คำตอบที่ได้มาก็คือ “ของแบบนี้มันบอกไม่ได้หรอก ถึงเวลามันก็มาเอง” สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ไม่เคยเห็นว่าจะถึงเวลานั้นสักที จนกระทั่งถึงเวลาต้องส่งงานเท่านั้นจึงจะลงมือทำ
  • ชอบทำอย่างอื่นที่ตัวเองชอบมากกว่า มีงานบางอย่างที่เจ้าตัวไม่อยากทำ และมักจะผัดวันไปเรื่อยๆ ก็คือ งานที่ยาก และไม่ชอบ แต่จะชอบทำในสิ่งที่ตัวเองชอบก่อน เรื่องอื่นๆ ที่ไม่ชอบไว้ทีหลัง สุดท้ายงานที่ตนเองไม่อยากทำ แต่เป็นงานสำคัญๆ ก็มักจะถูกดอง จนกว่าจะถึงกำหนดส่งงานอีกเช่นกัน
  • ยังไม่ถึงกำหนดส่งงานเลย บางคนบอกว่าที่ผัดวันไปเรื่อยๆ ก็เพราะงานที่จะทำนั้นยังอีกนานกว่าจะถึงกำหนดส่ง ดังนั้นตอนนี้ก็ทำอะไรที่มันสบายๆ ไปก่อนดีกว่า ไว้ใกล้ๆ ส่งงานก็ค่อยทำก็ยังทัน
  • ไม่รู้เป้าหมายว่าทำไปทำไม หลายคนที่มักจะผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ก็เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองต้องทำนั้น ทำไปทำไม ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเราเอง เราจะได้อะไร พอไม่รู้เป้าหมายของการทำงาน ก็เลยไม่ทำซะเลย รอไปก่อน

ผมเองเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยด้วย สิ่งที่ผมสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ เวลาที่ผมสั่งให้นิสิตนักศึกษาทำรายงาน โดยสั่งตั้งแต่ต้นเทอม และบอกว่าให้ค่อยๆ วางแผนในการทำงาน และเก็บข้อมูลไปตามบทเรียนที่เราเรียนไปทีละบทจนกระทั่งถึงบทสุดท้าย เราก็พร้อมที่จะส่งรายงานได้เลย




 

Create Date : 18 เมษายน 2557   
Last Update : 18 เมษายน 2557 3:30:00 น.   
Counter : 617 Pageviews.  

1  2  

MatsuoKung
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add MatsuoKung's blog to your web]