I don't want you to be only A doctor But I also want you to be a man too
Group Blog
 
All Blogs
 

Structure of the skin (2)

ตอนที่ 2 ครับ

ตอนที่ 2 ครับ หวังว่าคงยังไม่หลับกันนะครับ เดี๋ยวหมอจะพยายามหารูปมาอัพให้ดูง่ายขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะอัพเป็นรึเปล่าอิอิ Smiley



SKIN
APPENDAGES


SEBACEOUS GLAND


มีหน้าที่ส้รางสกัด LIPID
เกิดจาก EPITHELIAL BUD จาก OUTER ROOT
SHEATH บริเวณรอยต่อระหว่าง
INFUNDIBULUM และ ISTHMUS ของ HAIR
FOLLICLE พบทั่วไป ยกเว้นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
พบมากที่สสุดบริเวณหนังศีรษะ ,หน้าผาก , ใบหน้า และบริเวณอวัยวะเพศถึงประมาณ
400-900
ต่อม / 1 ตร.ซม.
โดยที่ทั่วไปต่อมไขมันจะเปิดเข้าสู่
HAIR FOLLICLE แต่ก็มมีต่อมไขมันบางบริเวณที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
HAIR เลย เช่นที่ BUCCAL MUCOSA และ VERMILLION
(FORDYCE’S SPOTS) AREOLAS ในผู้หญิง (MONTGOMERY’S
TUBERCLES) , PREPUCE (TYSON’S GLANDS) และที่ ELELID (MEIBOMIAN GLANDS)


ต่อมไขมันจัดเป็น HOLOCRINE GLAND เพราะเซลล์ของต่อมไขมันจะมี
DIFFERENTIATION ในลักษณะเดียวกับ KERATINIZATION และมี END PRODUCT คือ SEBUM นั่นเอง
การทำงานของ
SEBACEOUS GLAND อยู่ใต้การควบคุมโดย ANDROGENS
ดังนั้นต่อมไขมันจะทำงานมากขึ้นในวัยรุ่น วึ่งได้รับ ANDROGEN
จาก TESTIS , OVARIES AND ADRENAL GLANDS ทำให้ต่อมไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้น
MITOTIC RATE เพิ่มและ SEBUM PRODUCTION มากขึ้น และในผู้ชายก็จะมีการทำงานมากกว่าผู้หญิง SEBUM ประกอบด้วย TRIGLYCERIDE 41% , FREE FATTY ACID 16 % , WAX ESTER
25 % , SQUALENE 12 % DIGLYCERIDE 2 % CHOLESTEROL ESTER 3 % AND CHOLESTEROL 1.5
%


HAIR FOLLICLE


มนุษย์เรามีขนหรือผมอยู่ทั่วร่างกาย
ยกเว้นฝ่ามือ ฝ่าเท้า
ถึงแม้ผมหรือขนเหล่านี้จะไม่ได้มีหน้าที่ในการป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย
แต่ก็เป็น
SEXUAL ATTRACTION ที่สำคัญอย่างหนึ่ง HAIR
FOLLICLE แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ


1. INFUNDIBULUM คือ
ส่วนบนสุด ตั้งแต่รูเปิดของขุมขน จนถึงส่วนของ
FOLLICLE ที่มีต่อมไขมันมาเปิด
ส่วนนี้มี
EPITHELIUM คล้ายกับ EPIDERMIS และเป็นที่อยู่ของ MICROORGNISM เช่น P-ACNE
, PITYROSPORUM , STAPHYLOCOCCI AND DEMODEX


2. ISTHMUS เป็นส่วนกลาง
อยู่ระหว่างคอเปิดต่อมไขมัน ข้างบนและ
INSERTION ของ ARRECTOR
PILI MUSCLE


3. INFERIOR SEGMENT นับจาก
INSERTION ของ ARRECTOR PILI MUSCLE จนถึง
BASE OF FOLLICLE ที่ BASE จะมี HAIR
BULB และ HAIR PAPILLAE โดยพบ MELANOCYTE
GERMINATIVE CELL ที่ HAIR BULBS , ที่ INFERIOR SEGMENT ก็ยังแบ่งเป็น OUTER ROOT SHEATH และ INNER ROOT SHEATH ส่วน HAIR SHAFT จะอยู่ตรงกลาง INFERIOR
SEGMENT นี้จะหายไปใน INVOLUTIONAL STAGE และจะ
REFORM ใหม่ใน GROWTH PHASE ต่างจาก INFUNDIBULUM และ ISTHMUS
ซึ่งจะคงอยู่ตลอดไปไม่ว่า PHASE ไหน


สีของผมขึ้นกับจำนวนและการกระจายของ MELANIN ใน HAIR
SHAFT เช่น ในคนผมสีทอง MELANOCYTE ที่ HAIR
BULBS จะสร้าง MELANOSOME น้อยกว่า
ส่วนในคนผมหงอกจะเกิดจากการที่ไม่มี
MELANOCYTE เหลือแล้ว


GROWTH CYCLE ของ HAIR
แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ


1. ANAGEN (GROWING
) PHASE


2. CATAGEN (INVOLUTING) PHASE ; INFERIOR SEGMENT จะค่อยๆหดตัวเป็น THIN
CORD ของ EPITHELIAL CELL HAIR PAPILLAR ก็จะเคลื่อนที่สูงตามขึ้นไป


3. TELOGEN (RESTING) PHASE ; HAIR BULB จะอยู่ที่ระดับ ARRECTOR
PILLI MUSCLE


สำหรับ SCALP HAIR จะมี GROWING PHASE นาน 3-10 ปี , CATAGEN PHASE 3 wk และ RESTING อีก 3 เดือน
โดยปกติจะพบ
TELOGEN เพียง 10 % ของ SCALP
HAIR เท่านั้น และจะมี ANAGEN ประมาณ 1
แสนเส้น ปกติผมจะยาววันละ 0.35 mm หรือ
เดือนละ
1 cm


APOCRINE GLAND


พบที่ AXILLA , AREOLA , MON PUBIS , LABIA MINORA, PREPUCE ,
SCROTUM , PERIUMBILICAL , CIRCUMANAL AREA , EXTERNAL EAR CANAL และ
EYELIDS และพบที่หน้า หนังศีรษะ และ EPITHELIAL HAMARTOMA
บางอย่างเช่น NEVUS SEBACEOUS , SYRINGOCY STANDENOMA
PAPILLIFERUM , APOCRINE GLAND สร้างสารบางอย่างออกมา
แต่ไม่ทราบหน้าที่แน่ชัดในมนุษย์ ในสัตว์จะสร้าง
PHEROMONE


APOCRINE
GLAND แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนล่างจะเป็น COLIED
SECRETORY GLAND อยู่ใน RETICULAR DERMIS หรือ
SUBCUTANEOUS FAT และส่วนบนจะเป็น STRAIGHT EXCRETORY
DUCT ซึ่งเปิดเข้าที่ INFUNDIBULAR PART ของ HAIR
FOLLICLE


APOCRINE
SECRETION มีจำนวนน้อย ลักษณะเป็น MILKY COLOR ซึ่งประกอบด้วย PROTEINS , CARBOHYDRATES , FATTY ACIDS ในท่อต่อม SECRETION จะ STERILE และไม่มีกลิ่น แต่เมื่อขับออกมาที่ผิวหนัง BACTERIA จะทำการย่อยสลาย
SECRETION ทำให้เกิดกลิ่น ซึ่งเฉพาะตัวในแต่ละคน


ECCRINE SWEAT GLAND


พบทั่วไป ยกเว้นที่ MUCOCUTANEOUS JUNCION พบมากที่สุดที่
PALMS , SOLES , FOREHEAD , AXILLA และน้อยที่สุดที่ ARMS
และ LEGS ต่อมเหงื่อจะขับเหงื่อซึ่งเป็น HYPOTONIC SOLUTION ออกมาที่ผิวหนัง
เพื่อลดความร้อนในร่างกาย เมื่อมี
EVAPORATION ออกไป


SWEAT GLAND UNIT แบ่งเป็น
4 ส่วนดังนี้


1. COILED SECREATORY GLAND ซึ่งอยู่ระหว่างชั้น DERMIS และ SUBCUTANEOUS
FAT


2. COILED DERMAL DUCT


3. STRAIGHT DERMAL DUCT


4. SPIRALED INTRAEPIDERMAL DUCT (ACROSYRINGIUM) ในชั้น EPIDERMIS โดยจะเปิดสู่ผิวหนังโดยตรง


เหงื่อจะประกอบด้วยน้ำ 99 % ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ประกอบด้วยเกลือแร่ต่างๆ เช่น
SODIUM, POTASSIUM , CHLORIDE , UREA ,
CALCIUM , PHOSPHATE , PROTEINS AND LIPIDS มี Ph 4.5 – 5.5
SWEAT GLAND รวมกับ CUTANEOUS BLOOD VESSELS มีหน้าที่สำคัญใน
THERMAL HOMEOSTASIS ของร่างกาย


NAIL UNIT


ประกอบด้วย NAIL
PLATE และ SOFT TISSUE รอบๆ NAIL จะหนา 0.5 – 0.75 MM คลุม DORSAL DISTAL
PHALANGES , NAIL แบ่งเป็น DISTAL
FREE EDGE , ส่วนที่เป็น FIXED PORTION กับ NAIL
BED และ PROXIMAL EDGE ที่อยู่ใต้ PROXIMAL
NAIL FOLD


FINGERNAILS จะยาวประมาณ
0.1 MM/ DAY ยาวเร็วกว่าเล็บเท้ามาก
หนาร้อนยาวเร็วกว่าหน้าหนาวและในเด็กจะยาวเร็วกว่าผู้ใหญ่


GENERAL FEATURES OF THE
SKIN


สีของผิวหนังขึ้นกับ
BIOCHROME 4 ชนิดอันได้แก่


- MELANIN
ซึ่งมีสีน้ำตาลและสามารถ ABSORB ได้ทั้ง ULTRAVIOLET
และ VISIBLE LIGHT อยู่ใน EPIDERMIS


- CAROTENOIDS
ให้สีเหลือง และอยู่ใน EPIDERMIS เช่นกัน


- OXYHEMOGLOBIN
สี BLUISH RED อยู่ในชั้น SUBPAPILLARY
VENOUS PLEXUS


ดังนั้นเส้นเลือดที่ผิวหนังจึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้สีผิวแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น เส้นเลือดขยายตัวหรือหดตัว สัดส่วนของ
OXYHEMOGLOBIN และ REDUCED
HEMOGLOBIN และจำนวนของ HEMOGLOBIN ทั้งหมด
ซึ่งจะเห็นได้ชัดในบริเวณที่ชั้น
STRATUM CORNEUM บางหรือไม่มี
เช่นที่ริมฝีปาก หรือ
MUCOUS MEMBRANE ถ้าที่ไหนมี ARTERIAL
BLOOD FLOW สูงก็จะดูผิวหนังสีแดงเช่น ฝ่ามือ ที่หน้า
แต่ถ้าบริเวณใดมี
VENOUS PLEXUSหนาแน่น ก็จะดูสีคล้ำลงไม่แดง
เช่นที่ลำตัวส่วนล่าง และหลังเท้า ถ้าในเลือดมี
REDUCED HEMOGLOBIN มากกว่า 5g/dL ก็จะเห็นผิวหนังสีม่วงคล้ำเกิดภาวะ CYANOSIS
ขึ้นและถ้าระดับ HEMOGLOBIN ลดลงก็จะเกิดอาการซีด
ซึ่งเห็นได้ชัดบริเวณใบหน้า
NAIL BED เช่นในคนไข้ ANEMIA


สำหรับ CAROTENOIDS
ในผิวหนังนั้นมาจากผักผลไม้ที่รับประทานเข้าไป CAROTENOIDS จะอยู่ในชั้น STRATUM CORNEUM และใน SEBACEOUS
GLAND และ SUBCUTANEOUS FAT ปกติ CAROTENOID
จะมีบทบาทน้อยต่อสีของผิวหนังแต่ในบางภาวะเช่น
มีการรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น แครอท มะเขือเทศ มะละกอ
จะเห็นผิวหนังมีสีเหลืองชัดขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่มีชั้น
STRATUM CORNEUM หนา เช่นฝ่ามือ ฝ่าเท้า


MOISTURE ปกติผิวหนังจะมีความชุ่มชื้นพอสมควร
แต่บางงกรณีก็พบผิวแห้งได้ เช่นในคนสูงอายุ ในฤดูหนาว หรือในสถานที่ที่มี
LOW
HUMIDITY นอกจากนี้อาการผิวแห้งยังเกี่ยวกับโรคทาง SYSTEMIC ได้ เช่น MYXEDEMA , ICHTHYOSIS , CHRONIC NEPHRITIS , LARGE DOSE ของ NIACIN , RETINOIDS , ATROPINE – LIKE DRUGS บางคนอาจมีผิวชื้นตลอดเวลาได้
โดยเฉพาะบางบริเวณเช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้าและ
AXILLA ในคนปกติ
หรือในขณะที่มีไข้ หรือภาวะ
THYROTOXICOSIS


TURGOR เป็นการดู SKIN
หรือ TISSUE HYDRATION โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับผิวหนังยกขึ้นแล้วปล่อยให้ผิวหนังที่ถุกยืดตัวขึ้นกลับสู่ภาวะปกติ
ถ้าผิวหนังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วแสดงว่ามี
HYDRATION ลดลง แต่ในบางภาวะก็มีการบวมได้ ถ้ามี GENERALIZED EDEMA ควรคิดถึง SYSTEMIC DISEASE ที่ทำให้มี HYPOPROTEINEMIA
เช่น SEVERE LIVER และ RENAL DISEASE หรือ อาจมีภาวะ CONGESTIVE HEART FAILURE


TEXTURE เป็นการบรรยายลักษณะของผิวหนังที่รู้สึกได้ด้วยการสัมผัส
(
TACTILE SENSE) เช่น SOFT HARD , INDURATED เช่นใน SCLERODERMA , LICHENIFICATION , MYXEDEMA การบอก
TEXTURE ของผิวหนังมักบ่งบอกถึงลักษณะของ CONNECTIVE
TISSUE หรือภาวะที่มี METABOLIC DEPOSIT ในผิวหนังเป็นต้น


TEMPERATURE เนื่องจากผิวหนังมีหน้าที่ ควบคุม BODY
TEMPERATURE ดังนั้น
อุณหภูมิของผิวหนังจึงเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของร่างกาย เช่น
ขณะมีไข้ผิวหนังก็จะร้อนไปด้วย ถ้ามี
VASCULAR INSUFFICIENCY ผิวหนังบริเวณนั้นก็จะเย็นลงด้วยเช่นกัน







Free TextEditor




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 1 กรกฎาคม 2552 16:30:13 น.
Counter : 2261 Pageviews.  

Structure of the skin (1)


      สวัสดีครับทุกท่าน ผมหมอกอล์ฟ มือใหม่หัดเล่นบล็อกแก๊ง จึงไม่ค่อยทราบว่าต้องแนะนำตัวอย่างไรดีคือว่าจุดประสงค์ของหมอ คือต้องการให้ประชาชนตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจ ในโรคทางผิวหนังต่างๆ ทั้งทางด้าน cosmetic และ disease เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยโรคและรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งอย่างแรกที่ทุกคนควรรู้คือ Basic science of the skin ซึ่งจะทำให้ทุกๆคนเข้าใจถึงตัวโรคต่างๆมากขึ้นครับ
      จริงๆ เรื่องนี้หมอเคยเห็นคุณปูเป้โพสต์ไว้บ้างแล้ว แต่เนื่องจากหมออยากทำให้เป็นไสตล์ของตัวเองจึงขอโพสต์ซ้ำอีกคงไม่ว่ากันนะครับ(อิอิ)   ใครที่มีความรู้ตรงจุดนี้แล้วจะข้ามไปเลยก็ได้นะครับ
     ปล. เนื้อหาในนี้สำหรับแพทย์ผิวหนัง หรือผุ้เชี่ยวชาญบางท่านอาจเห็นว่ายังตกหล่นไม่ครบถ้วน แต่จุดประสงค์ของหมอจริงๆแล้วคือต้องการให้ความรู้เบื้องต้นกับประชาชนทั่วไปครับ จึงขออภัยแก้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายมา ณ ที่นี้ด้วยครับ Smiley เนื่องจากว่าข้อความเยอะเกินไปจึงขอแบ่งเป็น 2 ตอนนะครับ



โครงสร้างของผิวหนัง


ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่กว้างที่สุดในร่างกายมนุษย์
ผู้ชายจะมีพื้นที่
1.9 ตารางเมตร หรือ 20 ตร.ฟุต
ส่วนผู้หญิงมีพืนที่
1.6 ตารางเมตร หรือ 17 ตารางฟุต


ผิวหนังแต่ละแห่งมีความหนาบางไม่เท่ากัน
เช่นที่
Eyelid จะมีความหนา 0.5 มม. เป็นหนังกำพร้า
0.04 มม. ซึ่งบางที่สุด ในขณะที่ฝ่ามือ
ฝ่าเท้ามีความหนามากที่สุดคือ หนาถึง
4 มม . เป็นหนังกำพราเสีย 0.6 มม. โดยเฉลี่ยแล้ว
ผิวหนังจะหนาประมาณ
1.2 มม. ส่วนของหนังแท้จะหนามากกว่าหนังกำพร้า
10 เท่า ผิวหนังจะมีน้ำหนักประมาณ 16 % ของน้ำหนักร่างกาย เช่น ถ้าคนหนัก 50 กก.
ก็จะเป็นน้ำหนักของผิวหนังถึง
8 กก.
ผิวหนังแบ่งเป็นสามชั้นด้วยกันได้แก่



  1. EPIDERMIS

  2. DERMIS

  3. SUBCUTANEOUS FAT


EPIDERMIS


หนังกำพร้าเป็น STRATIFIED
SQUAMOUS EPITHELIUM ที่มี METABOLIC RATE สูงมากประกอบด้วยเซลล์
4 ชนิด ได้แก่ KERATINOCYTE , MELANOCYTE ,
LANGERHAN,S CELL และ MERKEL CELL


KERATINOCYTE ; เกือบทั้งหมดของหนังกำพร้าประกบด้วยเซลล์ชนิดนี้
หนังกำพร้ายังแบ่งอกเป็นสองส่วนคือ



  1. ชั้นขี้ไคล
    หรือชั้นที่ไม่มีชีวิต (
    CORNIFIED LAYERS , STRATUM CORNEUM) เป็นเซลล์แบนๆรูปกระสวย
    ซึ่งซ้อนขนานกันเป็นชั้นๆ เป็นเซลล์ที่ตายแล้วประกอบด้วยสารโปรตีนที่เรียกว่า
    KERATIN ซึ่งมีความแข็งแรงและทนต่อสารเคมี ไม่ละลายน้ำ
    จำนวนชั้นของ
    STRATUM CORNEUM มีตั้งแต่ 15-40 ชั้น ระหว่างเซลล์จะยึดเกาะกันด้วย WAXLIKE SUBSTANCE เรียก SKIN FAT ซึ่งมีส่วนประกบของ FATTY
    ACID , AMINO ACID , PENTOSE และอื่นๆ ซึ่งสามารถดูดความชื้นช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้นและนุ่มนวล ปกติ STRATUM
    CORNEUM จะลอกตัวออกมาเป็นขี้ไคลตลอดเวลา
    โดยเซลล์ของหนังกำพร้าชั้นล่างจะเคลื่นตัวเข้ามาแทนที่
    ระยะเวลาที่เซลล์ชั้นล่างสุดจะเคลื่อนตัวขึ้นมาและหลุดลอกออกเป็นขี้ไคลนั้นกินเวลา
    28 – 45 วัน แต่ในโรคบางโรคอย่างเช่น PSORIASIS ขบวนการน้จะใช้เวลาเพียง 24 – 72 ชั่วโมงเท่านั้น
    จึงเห็นลักษณะขงโรคว่ามีสะเก็ดหนาหลุดลอกออกมาตลอดเวลา

  2. ชั้นเซลล์ที่มีชีวิต (LIVING CELL) ประกบด้วยชั้นต่างๆดังนี้
    (จากบนลงล่างสุด)


- STRATUM
GRANULOSUM หรือ GRANULAR LAYER เป็นเซลล์กลมๆหรือหลายเหลี่ยมเรียงเป็นชั้นที่มีส่วนของ
SPINE LIKE PROCESS ยึดเกาะกัน


- STRATUM
SPINULOSUM หรือ MALPIGHIANLAYER หรือ PRICKLE
CELL LAYER เป็นเซลล์กลมๆหรือหลายเหลี่ยมเรียงเป็นชั้นที่มีส่วนของ SPINE
LIKE PROCESS ยึดเกาะกัน


- STRATUM
BASALE หรือ BASAL CELL LAYER หรือ
COLUMNAR CUBOIDAL CELL นิวเคลียสรูปไข่ขนาดใหญ่เรียงตัวเป็นแถวเดียวเป็นชั้นที่มีความสำคัญมากเพราะมีการแบ่งตัวเป็นเซลล์ใหม่อยู่ตลอดเวลาเซลล์ใหม่นี้ก็จะเคลื่อนที่ไปทดแทนเซลล์ที่ตายแล้วและหลุดลอกออกไป


ขบวนการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ชั้น BASAL CELL กลายเป็น CORNIFIED CELL หรือชั้น STRATUM
CORNEUM นี้เรียกว่า ‘ KERATINIZATION ‘


เนื่องจากเซลล์ในชั้น CORNIFIED LAYER เป็นตัวที่อยู่ผิวนอกสุดของร่างกายจึงเป็นตัวกั้นระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นชั้นนี้จึงมีความสำคัญดังนี้คือ


- MAJOR
BARRIER มีคุณสมบัติต้านทานต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ทั้ง CORROSIVE
, PHYSICAL , FRICTION , ELECTRICAL IMPEDANCE , RESTORE PASSAGE ของ
ELECTRICAL CURRENT และป้องกันการเจริญของ MICROORGANISM


- RATE
LIMITING MEMBRANE ป้องกันการซึมผ่านของน้ำและ MOLECULES อื่นๆระหว่างร่างกายและสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ถึง 100% เพราะจะเห็นได้ว่าบางอย่างสามารถซึมผ่านชั้นนี้ได้จึงเกิดภาวะ
ALLERGIC CONTACT DERMATITIS แต่คุณสมบัตินี้ก็ช่วยป้องกันการเสียน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
แต่ถ้ามี
INJURY ต่อ CELL ชั้นนี้อย่างมาก
ก็อาจเกิดภาวะ
DEHYYDRATION และ ELECTROLYTE IMBALANCE
ได้


MELANOCYTE


เป็น DENDRITE CELL ที่สร้าง MELANIN PIGMENT
และกระจาย MELANIN นี้ไปให้แก่ KERATINOCYTES
, CELL พวกนี้มาจาก NEURAL CREST แล้วจึง MIGRATE
มาที่ EPIDERMIS , MUCOUS MEMBRANE , DERMIS , EPITHELIUM ,
HAIR FOLLICLES , RETINA . ที่ผิวหนังจะพบ MELANOCYTE บริเวณ DERMO-EPIDERMAL
JUNCTION โดยมีจำนวน MELANOCYTE : BASAL CELL 1;10 โดยทั่วไปไม่ว่าคนเชื้อชาติใด ผิวขาวหรือผิวดำ จะมีจำนวน MELANOCYTE
เท่าๆกัน แต่แตกต่างกันที่ขนาด จำนวน และการกระจายตัวของ MELANIN
GRANULES , หน้าที่สำคัญของ MELANIN คือ
ป้องกันผิวหนังจากรังสี
ULTRAVIOLET ดังนั้นจะพบว่าคนผิวขาว
หรือพวก
ALBINISM จะมี AGED SKIN AND SKIN CANCER มากกว่าคนในผิวคล้ำที่ได้รับการปกป้องจากแสงแดดด้วย MELANIN
PIGMENT


LANGERHAN’S CELL


เป็น
DENDRITIC CELL เช่นเดียวกับ MELANOCYTE แต่ถ้าตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบ ORGANELLE ที่มีรูปร่างคล้ายไม้เทนนิส
(
TENNIS-RACKET) มีจำนวน 4% ของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า
เข้าใจกันว่าหน้าที่เป็นแบบ
MONOCYTIC MACROPHAGE OR PHAGOSOME เก็บกินหรือย่อยสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วในชั้น EPIDERMIS และยังเป็นเซลล์จับ ANTIGEN หรือสิ่งแปลกปลอมรวมทั้งเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งไปส่งยัง
T-LYMPHOCYTE ซึ่งมีหน้าที่กำจัดหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมนี้โดยตรง
ดังนั้นเซลล์ชนิดนี้จึงมีบทบาทสำคัญในเรื่อง
ALLERGIC CONTACT DERMATITIS


MERKEL’S CELL


เป็น DENDRITIC CELL อยู่ตรง
BASAL CELL LAYER มีหน้าที่เป็น
TOUCH RECEPTOR ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำงานสัมพันธ์กับ FINE
UNMYELINATED NERVE เพื่อช่วยความผิดปกติของ KERATINOCYTE


DERMIS


จะประกอบด้วยเนื้อที่เป็นเส้นใยและมีความยืดหยุ่น
(
FIBRO ELASTIC TISSUE) เป็นส่วนใหญ่แทรกอยู่ด้วยรูขุมน ,ต่อมไขมัน ,ต่อมเหงื่อ ,เส้นเลือด
,ท่อน้ำเหลือง ,กล้ามเนื้อและเส้นประสาท แล้วแต่ตำแหน่ง หนังแท้แบ่งออกเป็น
2
โซนด้วยกันคือ



  1. PAPILLARY DERMIS หรือหนังแท้ชั้นบน
    เป็นชั้นที่อยู่ติดกับหนังกำพร้าประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจนบางๆละเอียดเรียงเป็นแนวตรงตั้งฉาก
    มีเนื้อเยื่ออื่นๆแทรกอยู่น้อย และมีกลุ่มของเส้นเลือดฝอย (
    SUPERFICIAL
    CAPILLARIES AND VENOUS PLEXUSES) อยู่ในชั้นนี้
    นอกจากนี้เป็นที่อยู่ของปลายประสาท (
    NERVE ENDING)
    ชนิดต่าง

  2. RETICULAR DERMIS เส้นใยคอลลาเจนในชั้นนี้
    จะมีความแข็งแรงมากกว่า การเรียงตัวต่างกับคอลลาเจนใน
    PAPILLARY DERMIS
    คือ เรียงขนาน มีกลุ่มของเส้นใยที่ให้ความยืดหยุ่น (ELASTIC FIBER) แทรก ล้อมรอบปะปนมี CELL
    FIBROBLAST เส้นเลือดและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (GROUND
    SUBSTANCE) มากกว่าและมีกล้ามเนื้อเล็กๆ แทรกปะปนอยู่ด้วย
    โดยเฉพาะผิวหนังบริเวใบหน้า


ผิวหนังแต่ละแห่งก็จะมีความหนาของหนังแท้ต่างกัน เช่น
หนังแท้ที่บางที่สุดของร่างกาย ก็คือ แถวหนังตา (
EYELIDS)
และหนังแท้ที่หนาที่สุดของร่างกายก็คือหลัง ไม่ใช่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
เนื้อเยื่อของหนังแท้ชั้น
PAPILLARY จะหนาขึ้นมากกว่าปกติ
ถ้ามีการเสียดสีขัดถูนานๆ (
LONG STANDING RUBBING) เช่นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังบางชนิดที่เรียกว่า
LSC หรือ LICHEN
SIMPLEX CHRONICUS และ RETICULAR DERMIS จะหนาอย่างทั่วถึงในโรค
SCLERODERMA


หนังแท้จะบางลงได้ในโรคบางโรค เช่น ATROPHIC SCAR หรือแผลเป็นชนิดหลุม
ซึ่งจะทำให้หนังกำพร้าพลอยทรุดตามลงมาเกิดเป็นรอยขึ้น


เซลล์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ
ของหนังแท้คือไฟโบรบลาสต์(
FIBROBLAST) สร้างเนื้อเยื่อที่เป็นเส้นใย (FIBRILLAR COMPONENT) และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (GROUND SUBSTANCE) FIBROBLAST
มีลักษณะเป็นเซลล์แบนๆ เรียวๆ รูปร่างเหมือนกระสวย นอกจากสร้างแล้ว เชื่อว่ายังเป็นตัวทำลายหรือย่อยเส้นใยต่างๆ
ที่เสื่อมแล้วด้วย


อีลาสติน (ELASTIN)
เป้นโปรตีนที่สร้างจากไฟโบรบลาสต์ และเรียงตัวเป็นเส้นใยเล็กๆ
มักจะอยู่ติดกับคอลลาเจนเสมอ คอลลาเจนมีหน้าที่ยึดเหนี่ยวให้ความแข็งแรงกับผิวหนัง
ในขณะที่อีลาสตินให้ความยืดหยุ่นทำให้ผิวกลับสู่ที่เดิมหลังจากดึงขึ้นมา


ถ้าคอลลาเจนหรืออีลาสตินเสื่อมการทำงานหรือเสียไป
ก็จะทำให้ความเต่งตึงและความยืดหยุ่นของผิวหนังเสียไปด้วย เช่นในโรค
CUTIS LAXA โรคที่ ELASTIN
เสีย จึงทำให้ผิวยืดได้มากกว่าปกติ
เช่นสามารถดึงหนังให้หย่อนยืดยาวได้มากว่าคนธรรมดา งอนิ้วกลับมาติดหลังมือได้
ดึงมุมปากให้ยืดกว่างไปถึงใบหู เป็นต้น
อีกกรณีหนึ่งที่ทำให้อีลาสตินเสื่อมคือการทำลายจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต
ซึ่งภาวะนี้จะเกิดตามวัย และเวลาที่ได้รับแสงแดด ไม่เพียงแต่อีลาสตินเท่านั้นคอลลาเจนก็พลอยถูกทำลายไปด้วยทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและความแข็งแรง
ส่งผลให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น (
WRINKLES)


คอลลาเจนและอีลาสติน
อาจจะถูกทำลายได้อีกประการหนึ่งคือ ภาวะที่เรียกว่า
ATROPHY จึงอาจจะเกิดจากการอักเสบหรือจากฤทิ์ยา
STEROID โดยเฉพาะยาฉีด


นอกจากนี้ไฟโบรบลาสต์
ยังสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ เช่น
ACID MUCOPOLYSACCHARIDE , HYALURONIC ACID , CHONDROITIN
SULFATE AND DERMATAN SULFATE ซึ่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเหล่านี้มีความสามารถในการรวมตัวกับน้ำได้ดี
จึงเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วย


ในภาวะบางอย่างทำให้มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมากผิดปกติ
เช่น ในโรค
HYPOTHYROID
มี ACID
MUCOPOLYSACCHARIDE มาก เกิดการบวมที่กดไม่บุ๋ม (MYXEDEMA) ขึ้นที่หน้าแข้ง


นอกจาก FIBROBLAST แล้ว
เซลล์ที่มีความสำคัญอีกอย่างในชั้นหนังแท้ ก็ได้แก่
HISTIOCYTE ซึ่งช่วยทำหน้าที่ขจัดเซลล์ที่ตายและสารที่ร่างกายไม่ได้ใช้ เช่น HEMOBIDERIN
จากเม็ดเลือดแดงที่ตายแล้ว เม็ดสีที่ตกค้าง , ไขมันและเซลล์ DEBRIS


เส้นเลือดฝอยของหนังแท้


กลุ่มเส้นเลือดฝอย SUPERFICIAL CAPILLARIES AND VENOUS
PLEXUS จะขึ้นไปเลี้ยงผิวหนังแค่ชั้น PAPILLARY PLEXUS ไม่ขึ้นไปถึง EPIDERMIS


คำแปล EPIDERMIS
ว่าหนังกำพร้านั้น จึงถูกต้องและเหมาสมแล้ว
เพราะไม่มีเส้นเลือดฝอยไปเลี้ยงดูนั่นเอง
แต่อาศัยการซึมผ่านของสารอาหารและออกซิเจนขึ้นไปจากหนังแท้ส่วนบน
กลุ่มเส้นเลือดของหนังแท้จะมี
2 กลุ่มด้วยกันคือ


1 . SUPERFICIAL CAPILLARIES PLEXUS อยู่ตื้นแถว
PAPILLARY DERMIS


2 . DEEP PLEXUS อยู่ใน
RETICULAR DERMIS เกือบติดกับชั้นไขมัน


หน้าที่ของเส้นเลือดฝอยในชั้นหนังแท้


1. THERMOREGULATION เป็นหน้าที่สำคัญที่สุด
ควบคุมโดย
HYPOTHALAMUS คือ ถ้าเมื่ออากาศร้อน
ความรู้สึกจะผ่านมาทางปลายประสาทสู่สมองและต่อม
HYPOTHALAMUS จะกระตุ้นผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เส้นเลือดขยายตัวมี BLOOD
FLOW สูงขึ้น ช่วยระบายความร้อน แต่ถ้าอากาศหนาวก็จะตรงข้ามคือ
เสส้นเลือดฝอยจะหดตัว


2. SUPPLY NUTRIENTS TO SKIN


3. มีบทบาทในเรื่องการอักเสบ
ซึ่งจะมีการขยายตัวของเส้นเลือดมาเลี้ยงบริเวณที่อักเสบมากขึ้น


จากความรู้
BASIC SCIENCE ของ DERMIS จะสามารถตอบคำถามภาวะที่พบบ่อยได้ เช่น


1. แผลเป็นชนิดหลุม
เกิดจากการอักเสบทำให้คอลลาเจนถุกทำลายและฝ่อบางลง
จนทำให้ผิวชั้นบนหรอหนังกำพร้าทรุดหรือยุบตามลงมากลายเป็นหลุมแผลเป็น


2. การฉีดยาหรือทา STEROID จะหยุดยั้งการเจริญของ
COLLAGEN และหยุดยั้งการทำงานของ FIBROBLAST ก็ทำให้ผิวหนังฝ่อ ATROPHY ได้


3. บริเวณที่มีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงผิวหนังมากกว่าเพื่อน
ได้แก่ใบหน้าและมือ จะเห็นได้ว่า
เวลาเย็บแผลที่บริเวณนี้จะตัดไหมเร็วกว่าบริเวณอื่น (
3-4 วันแผลก็ติดสนิทแล้ว)เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องนวดหน้า
เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดเลย เพราะบริเวณใบหน้ามีการไหลเวียนดีอยู่แล้ว


4. หน้าแดงอาจจะเกิดจากความร้อน
ซึ่งส่งผ่านปลายประสาทสู่
HYPOTHALAMUS
และกระตุ้นผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ
ที่มาเลี้ยงเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดขยายตัว
เพราะฉะนั้นคนไข้ที่ใช้ยาที่มีส่วนผสมของวิตามิน เอ แอซิด
ซึ่งจะกระตุ้นให้มีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงหนังแท้มากกว่าปกติ
ควรจะระวังการตากแดดหรือได้รับความร้อน เช่น จากเตาไฟ
รวมทั้งหลีกเลี่ยงสารที่ช่วยกระตุ้นการขยายเส้นเลือดอื่นๆ เช่นอาหารเผ้ดร้อน
เครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ เพราะจะช่วยกันส่งเสริมให้เส้นเลือดขยายตัวและหน้าแดงมากขึ้น


5. คอลลาเจนและอีลาสติน จะถูกทำลายถ้าได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตเกิดภาวะผิวแก่ก่อนวัย
ซึ่งมีลักษณะเป็น
COAESW
WRINKLE และพบว่า ELASTIN จะเปลี่ยนแปลงหนาขึ้น…….และสูญเสียคุณสมบัติความยืดหยุ่นเรียกว่า SOLAR ELASTOSIS ภาวะนี้ถ้าเป็นระยะแรกอาจช่วยให้ดีขึ้นได้ โดยใช้ยากันแดดร่วมกับไวตามินเอ
แอวิด ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของไฟโบรบลาสต์ให้สร้างอีลาสตินใหม่ๆขึ้นมาแทนที่


SUBCUTANEOUS
FAT


ชั้นนี้อยู่ใต้ชั้น DERMIS ประกอบด้วย LIPOCYTE
ซึ่งมี TRIGLYCERIDE
เป็นส่วนมาก โดยมี COLLAGEN แบ่งกลุ่มของ LIPOCYTE
เป็น LOBULE ภาวะ LIPOMA ที่พบบ่อยๆก็คือ BENIGN TUMOR ของ NORMAL-APPEARING FAT CELL ที่ไม่มี STRAND ของ COLLAGEN ที่เรียกว่า
TRABECULAE หรือ SEPTA มาแบ่งเป็น LOBULE
นั่นเอง ในชั้นนี้ยังอาจพบ COILED SECRETORY TUBULES ของ ECRINE GLAND และ APOCRINE GLAND รวมทั้ง HAIR BULBS ได้


SUBCATANEOUS FAT ในแต่ละส่วนของร่างกาย
ก็มีความหนาไม่เท่ากัน เช่น หนามากในบริเวณเอว แต่บางมากจนเกือบไม่มีเลยที่

EYELID , PENIS และ SCROTUM


หน้าที่ของชั้นนี้ได้แก่ HEAT INSULATOR , SHOCK ABSORBER ,
NUTRITIONAL RESERVIOR ซึ่งจะนำมาใช้ในขณะอดอาหาร
และยังช่วยให้ผิวหนังมีการเคลื่อนไหวได้ดี เหนือ
UNDERLYING STRUCTURE อีกด้วย







Free TextEditor




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 1 กรกฎาคม 2552 16:24:48 น.
Counter : 4050 Pageviews.  


หมอกอล์ฟ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีครับ ผมเป็นหมอผิวหนังอยู่ต่างจังหวัดครับ ยินดีที่ได้รู้จักกับเพื่อนทาง bloggang ทุกท่าน
วิชาผิวหนัง หรือ ตจวิทยา (Dermatology) นั้น หลายๆท่านอาจจะคิดถึง แต่เรื่อง สิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ ซึ่งจริงๆแล้วโรคเหล่านั้นเป็นเพียงส่วนนึงของโรคทางผิวหนังครับ เป็นโรคไม่ร้ายแรง แต่เกี่ยวกับความสวยงาม จึงเป็นสิ่งที่คนไข้พากันกังวลมาก(และก็รักษาไม่ยากด้วย) แต่โรคผิวหนังยังมีโรคอื่นๆอีกมาก ซึ่งเป็นโรคที่อันตราย หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิต ในฐานะที่เป็นหมอผิวหนังคนหนึ่งและเห็นว่าประชาชนคนทั่วไปยังขาดความรู้อยู่มาก ผมจึงขออนุญาตินำความรู้และโรคต่างๆมาลงไว้ให้ทุกท่าน ดูเป็นแนวทางในการดูแลตนเองครับ
แน่นอนว่า บทความที่ลงอาจไม่ครอบคลุมตัวโรคทั้งหมด เพราะโรคทางผิวหนังนั้นมีเยอะมากๆๆๆ แต่หมอจะลงโรคที่พบเห็นกันได้บ่อยๆแล้วกันนะครับ
ปล. ส่วนใครที่จะปรึกษาปัญหาทางด้านผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นส่วน cosmetic หรือ disease ก็สามารถ ถามได้ทาง email นะครับ ให้บอกประวัติ และถ่ายรูปมาดูด้วยก็จะดีมากครับ
start counter 3 July 2009
Friends' blogs
[Add หมอกอล์ฟ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.