มาพร้อมกับสาระ ความสนุก บันเทิง ลับเฉพาะ และครอบครัวสุดที่รักครับท่าน....
Group Blog
 
All blogs
 
ผลของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย(ต่อ2)

1. ผลกระทบต่อร่างกายที่เบี่ยงเบนเล็กน้อย

1.1) การปวดศีรษะ (Headaches Incidence)

ปกติ อาการปวดศีรษะจะเกิดได้ในภาวะที่น้ำตาลในเลือดต่ำ แบบแผนการนอนมีการเปลี่ยนแปลง หรือจากภาวะขาดน้ำในร่างกาย จากการศึกษาวิจัยในผู้ใหญ่อายุ 18-65 ปีที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนพบอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดศีรษะร้อยละ 76.6 และลดลงร้อยละ 73.7 หลัง จากเดือนรอมฎอน การศึกษาครั้งนี้พบว่าการปวดศีรษะจะพบได้บ่อยขึ้นในกลุ่มประชากรที่สูบ บุหรี่ ดื่มชา หรือกาแฟเป็นประจำในขณะที่ไม่ได้อยู่ในช่วงถือศีลอด (Bender et. al., 2007)

1.2) ผลต่อร่างกายสตรีตั้งครรภ์ (Pregnant)

การถือศีลอดในหญิงตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่พึงเฝ้าระวัง เพราะอาจมีผลกระทบต่อทั้งสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์ จากการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของสตรีมีครรภ์ที่ถือศีลอดและไม่ถือศีลอด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันได้แก่ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักของร่างกายของมารดา (Dikensoy et. al., 2008) และจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ในเลือดสตรีมีครรภ์ที่ถือศีลอดจะเพิ่มขึ้นมากกว่าตอนเริ่มต้น คอร์ติซอลเป็น glucocorticoids ตัวหลักที่พบในระบบไหลเวียนในกระแสเลือดในรูปที่จับกับ cortisol-binding globulin (CBG) เป็นส่วนใหญ่ (83%) อีก 12% จับกับ albumin มีเพียง 5% ที่อยู่ในรูปอิสระ คอร์ติซอล ออกฤทธิ์ในการควบคุมการสร้างกลูโคสจากโปรตีนและกรดอะมิโนโดยชักนำให้มีการสลายโปรตีน ปริมาณคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นจะไปลดการสร้าง antibodies ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ไปต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) ลดลง ซึ่งผลดังกล่าวนี้มาจากฤทธิ์ของคอร์ติซอลต่อขบวนการสังเคราะห์โปรตีนที่ลดลงนั่นเอง การศึกษาของ Dikensoy และคณะยังพบว่า สัดส่วนของ LDH/HDL มีค่าลดลงซึงเป็นผลดีต่อสุขภาพ

1.3) ผลต่อร่างกายของทารกในครรภ์มารดา (fetus)

จากการศึกษาวิจัยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในสตรีมีครรภ์ที่ถือศีลอดและไม่ถือศีลอด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันได้แก่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นโดยประมาณของทารกในครรภ์ การเพิ่มขึ้นของเส้นรอบศีรษะ การเจริญของกระดูก femur และสัดส่วนความดันเลือดซิสโตลิกและไดแอสโตลิกในเส้นเลือดสายสะดือ (Dikensoy และคณะ, 2008) นอกจากนี้มีรายงานว่าการถือศีลอดในหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้กระทบต่อคะแนนแอบการ์ (Apgar’s score) น้ำหนัก และอายุครรภ์ของทารกแรกเกิดแต่อย่างใด (รวบรวมโดย Dikensoy et. al., 2008) จากการติดตามการเจริญเติบโตของทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน ซึ่งเป็นทารกที่เกิดจากมารดาที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเปรียบเทียบกับทารกที่ เกิดจากมารดาที่ไม่ได้ถือศีลอดพบว่าน้ำหนัก ส่วนสูง และความยาวรอบเส้นศีรษะ ของทารกทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (Khoshdel et. al., 2007)

1.4) ผลกระทบในช่วงให้นมบุตร (Lactation period)

การ ให้นมแม่แก่ทารกเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาการของร่างกาย จิตใจและสติปัญญาของทารกเป็นอย่างมาก จากการศึกษาพบว่า คุณภาพของน้ำนมและส่วนประกอบของสารอาหารในน้ำนมของสตรีที่ที่ถือศีลอดไม่แตก ต่างจากน้ำนมของสตรีที่ไม่ถือศีลอด ได้แก่ ปริมาณไขมัน โปรตีน แลคโตส ไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอล (Bener et. al., 2001)



2. ผลกระทบต่อร่างกายในสภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง (Effects of Ramadan Fasting on Chronic Illness)

2.1) โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)

เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่าง เหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของ ฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิด จากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุ ที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย ทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆ ถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

อาการของเบาหวาน

ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ปัสสาวะ กลางคืนบ่อยขึ้น (ระหว่างช่วงเวลาที่เข้านอนแล้วจนถึงเวลาตื่นนอน) หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน และเป็นแผลหายช้า

ผลของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนต่อโรคเบาหวาน

จากการวิจัยผลของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 หรือ ไม่ หลายๆ การศึกษาพบว่าการถือศีลอดไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ทางชีวเคมีใน เลือด จึงมีข้อสรุปว่าการถือศีลอดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น ปลอดภัย ถ้าผู้ป่วยรู้ภาวะโรคของตัวเองให้สามารถปรับพฤติกรรมการกินและและรับประทาน ยาอย่างถูกต้อง แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น ถ้าผู้ป่วยมีความต้องการถือศีลอดต้องแนะนำให้ผู้ป่วยรับผิดชอบในการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ ใน 1 วัน และในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่าการฉีดอินซูลินสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่ถือศีลอด (Benaji et. al., 2006 และ M'guil, et. al., 2008)

แม้ว่าการถือศีลอดทำให้เสี่ยงที่จะมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ได้ง่ายในเวลากลางวัน แต่จากการศึกษาพบว่า การถือศีลอดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดมากนัก จากเก็บตัวอย่างเลือดทุก 4 ชั่วโมงในช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอนพบว่าระดับน้ำตาลลดลงเล็กน้อยในช่วงเวลา 15.00 น และเพิ่มขึ้นในช่วงเวลา 21.00 น และ 08.00 น. (Reviewed by Benaji et. al., 2006) เพราะเกณฑ์การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเมื่ออดอาหาร 6-8 ชั่วโมงคือ 100 ±20 mg% และ HbA1c < 7 % นอกจากนี้พบว่า ระดับ HbA1c, fructosamine, insulin, creatinine, uric acid, blood urea nitrogen, protein, albumin, alanine amino-transferase, aspatate amino-transferase และ C-peptide ในเลือด ไม่ได้เปลี่ยนแปลงในระหว่างเดือนรอมฎอน (Azizi, 2002)

ส่วนการบริหารยาควบคุมเบาหวานในระหว่างเดือนรอมฎอนพบว่า แพทย์จะสั่งใช้ยาประเภท Oral Hypoglycemic Agent (OHA) ลักษณะการสั่งใช้ยาของแพทย์คือ ให้ OHA วันละ 2 ครั้ง ให้รับประทาน ในเวลาก่อนตะวันขึ้นและหลังตะวันตกและแนะนำในการรับประทานอาหาร พบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ต่อผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 แต่พบอาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาไม่ถูกต้อง เช่น ลดขนาดยา หรืองดรับประทานยาลงอย่างสิ้นเชิง (Reviewed by Benaji et. al., 2006)



2.2) โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยจะตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปรกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 /90 มิลลิเมตร ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ และการที่ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต ฯลฯ เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ทำให้ผู้ป่วยดังกล่าวต้องรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตเป็นเวลานาน

ระดับความรุนแรง

ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท

ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท

ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110 มม.ปรอท

การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ

แนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงจากความดันโลหิตสูงคือ

1. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป

2. ลดอาหารที่มีรสเค็ม

3. รับประทานอาหารให้พอเหมาะ เน้นอาหารที่เป็นพืช ผัก ผลไม้

4. หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ให้พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5. ตรวจสุขภาพเป็นครั้งคราว ถ้าพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย

ผลของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนต่อโรคความดันโลหิตสูง

จากการศึกษาผลของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง 17 ราย โดยผู้ป่วยได้รับยาลดความดันโลหิตชนิดรับประทานวันละครั้ง (once-daily preparation) ชนิดออกฤทธิ์นาน (long-acting preparation) ได้แก่ verapamil, nifedipine, atenolol, hydrochlorothiazide และ ACE inhibitoriyบริหารยาตอนย่ำรุ่ง (ซะฮูรฺ) และติดตามความดันโลหิตในรอบ 24 ชั่วโมง ทั้งขณะหลับและขณะตื่น เปรียบเทียบผลก่อนและหลังเดือนรอมฎอนพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน โดยผลก่อนเดือนรอมฎอนคือ 138.5 ± 18.5/77.2 ± 8.1 มิลลิเมตรปรอท ส่วนผลหลังเดือนรอมฎอนคือ 136.4 ± 20/75.5 ± 5.9 มิลลิเมตรปรอท จึงสามารถสรุปได้ว่าการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูง (Perk et. al., 2001)


Create Date : 13 กรกฎาคม 2554
Last Update : 13 กรกฎาคม 2554 22:04:03 น. 0 comments
Counter : 819 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bonzai_s
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Hakeem Saiwaree

Create Your Badge : Online รวมทั้งหมด คน <
Friends' blogs
[Add bonzai_s's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.