All Blog
Canon VS Nikon

นิทานของ พี่หมอหนก บางหลวง อ่านแล้วชอบมากๆ












แรกเริ่มเดิมทีนั้น นับแต่สมัยกล้องฟิล์ม มีกล้องSLR

5 เสือจากญี่ปุ่นที่เคยรุ่งเรืองกันในเมืองบ้านเรา อันได้แก่ Nikon , Canon ,Pentax , Olympus และ Minolta

       ถ้าว่ากันถึง"กระแส"ความนิยมในยี่ห้อบ้านเราในสมัยนั้น Nikonจะเป็นแบรนด์ที่ครองใจคนไทยมากกว่าใคร สิ่งหนึ่งที่โดนใจผู้ใช้มากก็คือความทนทานของกล้อง และความคมของเลนส์

Nikonเป็นกล้องSLRที่ใช้ม่านชัตเตอร์โลหะวิ่งในแนวดิ่งก่อนใคร ในขณะที่ใครต่อใครในยุคเดียวกันนั้นยังใช้ม่านชัตเตอร์ผ้าชุบยางหรือชุบน้ำยาวิ่งในแนวนอน แน่นอนครับ ชัตเตอร์วิ่งในแนวดิ่งจะใช้ระยะทางวิ่งที่สั้นกว่ากัน จึงsyncกับแฟลชได้เร็วกว่าใครๆ คือที่ 1/125 ในขณะที่เจ้าอื่นๆที่วิ่งในแนวนอนจะSyncได้เพียง 1/60วินาทีเท่านั้น

ในยุคนั้นบ้านเรายังไม่มีผู้นำเข้ากล้องเหล่านี้อย่างเป็นเรื่องราว เลนส์อิสระอย่างพวกVivitar หรือ Tamron จะหาmountของNikonได้ง่ายดายนัก แต่เดินหาmountสำหรับ Minolta หรือ
Olympusบางทีก็เดินทั่วพลับพลาไชยเมื่อยขาแล้ว เมื่อยขาอีก กล้องแต่ละค่ายส่วนหนึ่งจะถูกนำเข้าอิสระโดยร้านค้าบ้าง ขาหิ้วบ้าง

Nikonเป็นกล้องเนื้อหอมนะครับ หลายรายก็อยากจะนำเข้ามาขายเช่นกัน แต่สุดท้ายก็เข้าไปอยู่ในมือของSunny Camera ตรงข้ามOriental ซึ่งก็ยกระดับตัวเองด้วยการเปิดตัวขึ้นไปเป็นNIKSในปัจจุบัน ซึ่งได้กลายเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยนับตั้งแต่นั้น


(เครดิตภาพ : //old-socks.com/tag/nikon/)


Niksดำเนินการตลาดในเชิงปิด ใครซื้อNikonจากNiks กล้องตัวนั้นคือ"กล้องของเรา" ใครซื้อของหิ้วกล้องตัวนั้นก็ไม่ใช่ของเรา นโยบายตลาดแบบนี้ก็เพื่อต้องการให้คนรุ่นใหม่ๆหันหน้าเข้ามาหาตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ในขณะที่หลายอีกหลายคนก็ยังยอมเสี่ยงเล่นของหิ้วราคาเยาครับกล้องยุคนั้นมันก็ยังไม่ถึงกับจะเรียกว่าเป็นของยุ่งยากซับซ้อนเหมือนสมัยนี้

Canonหละ Canonไปตกอยู่ในมือของกิตติอินเตอร์อยู่พักหนึ่ง เอาเป็นว่าถ้ายังอยู่ในมือของกิตติอินเตอร์จนถึงทุกวันนี้ Canonไม่เกิดแน่นอน ใครใช้Canonในยุคนั้นล้วนทราบกันดี
เพราะขาหิ้วCanonตัวยงหลายราย ลงทุนหิ้วกล้องและเลนส์จากสิงคโปร์มาขายในตลาดล่างตัดราคากับของห้างจากกิตติฯแบบไม่กลัวกัน กิตติฯเองก็มีจุดอ่อนเรื่องศูนย์บริการเอามากๆเช่นกัน


(เครดิตภาพ : //www.mrmartinweb.com/35mmslrauto.html)

หมดจากยุคMFก้าวสู่ยุคของAF Canonชิงความได้เปรียบด้วยการมองตลาดของลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ควรจะสร้างได้ใหม่ และขยายไปได้ไม่รู้จบ โดยยอมทิ้งลูกค้าเก่าด้วยการปฏิวัติmountเลนส์ใหม่หมดกลายเป็นmount EF ซึ่งอันที่จริงCanonเองก็เปลี่ยนmountมาหลายที แต่เป็นเพียงการปรับปรุงโดยที่ยังพอใช้ร่วมกันได้ แต่งวดนี้ทิ้งเพื่อนเก่ากันเลย

ในขณะที่ Nikon ทำใจไม่ได้กับตลาดเก่าที่ว่าไปแล้วก็น่าจะมีvolumeไม่น้อยทีเดียว
จนถึงกับเกิดวลีอมตะว่า "Nikonไม่ทิ้งเพื่อนเก่า" แน่นอนครับในระยะแรกนั้นถึงแม้ว่าเลนส์AFกับเลนส์MFจะใช้mountเดียวกันคือ mount F และใช้แทนกันได้ เลนส์ใหม่ใช้กับกล้องเก่าได้
และกล้องใหม่ก็ยังใช้กับเลนส์เก่าได้ แต่ต้องหมุนด้วยมือเอาเอง

ระบบ AF ในระยะแรก Nikonจึงตกอยู่ในฐานะผู้ตามCanonมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วในการหาโฟกัส รวมไปถึงความสามารถในการจับวัตถุ แต่ต้องไม่ลืมว่าไม่มีอะไรที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เวลาเปลี่ยนทุกสิ่งเปลี่ยน เพื่อนเก่าก็แก่ไป ก็คงจะต้องทิ้งๆกันไปบ้าง ก็คงจะต้องยอมกัน แต่กระนั้นก็แค่เลนส์G แต่ก็ยังใช้กลไกแบบเดิมยังไม่ได้ใช้diaphragmไฟฟ้าแบบCanonอยู่ดี

ครับจุดเปลี่ยนมันเริ่มที่ Canon ขยายปีกเข้ามาในประเทศไทย ด้วยการตั้ง Canon Marketing ประเทศไทยขึ้น พูดง่ายๆว่าเขาคือ Canonสาขาประเทศไทย ซึ่งก็จะมีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยมาติดต่อรับไปจำหน่ายอีกทีหนึ่ง


(เครดิตภาพ : //www.photokina-show.com/0176/canon/information/canondigitalcamera/)

Nikon ประเทศไทย ไม่มีจุดถือกำเนิดมาแต่ไหนแต่ไร ยังคงมีแต่NIKSประเทศไทย ซึ่งมีฐานะเท่ากับผู้นำเข้า และตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่ไม่ใช่สาขาของNikon ครับนโยบายการตลาดจึงยังคงเป็นแบบเดิม Nikonเองก็เป็นกล้องที่มีเพดานราคาอยู่สูงกว่ากล้องคู่แข่งมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ถ้าจะบอกว่าราคาอะไหล่ของNikonเองก็แพงสมกับระดับเพดานราคากล้องด้วยก็คงจะไม่ใช่เรื่องประหลาดใจอะไร บวกกับNiksเองก็กำหนดเพดานราคาของอะไหล่ต่างๆไว้ที่ระดับสูงด้วยเช่นกัน

หลังจากCanonประเทศไทยก่อกำเนิดขึ้น กิตติอินเตอร์ก็หลุดผังวงจรออกไปในที่สุด ตัวแทนจำหน่ายก็มีอยู่หลายรายเช่นกัน นโยบายของการรับประกันและให้การประกันสินค้าก็แตกต่างไปจากNikonแบบที่ใครๆก็ทราบ คำว่า WorldWide Guaranteeใช้ได้กับCanonเท่านั้น

จุดเรียกความนิยมของCanonจึงดีกว่า ราคาถูกกว่า แถมบริการหลังขายไม่ร้าวรานใจ
ผู้นำเข้าคือCanonมาเอง ความหลากหลายของสินค้า การพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง
ย่อมเป็นจุดจูงใจลูกค้ากลุ่มใหม่ๆที่ชอบสินค้าที่แปลกใหม่หรือทันสมัยได้เสมอๆ

โดยรวมแล้ว Nikonยังคงconservative และพัฒนาในอัตราก้าวหน้าที่ช้ากว่าCanonอยู่พอสมควรครับ
การตลาดเองก็ยังเดินตามอยู่

พอเข้าสู่ยุคของดิจิตอลบ้าง ทั้ง2ค่ายต่างก็แข่งขันพัฒนากล้องของตน ถึงแม้ว่าNikonจะชิงออกกล้องในระดับproออกมาก่อนเลย คือNikon D1 ขนาด 2.6 MPตั้งแต่เดือนมิย.1999 หลังจากนั้น1ปี ( พค. 2000 ) Canonก็ออกกล้องในระดับจริงจังแต่ก็ไม่ใช่โปร คือ Canon EOS D30 ซึ่งใช้CMOSที่พัฒนาขึ้นมาเอง แต่มีความละเอียดมากกว่าคือ 3.1 MP แน่นอนครับ ยังไงเสียราคาของD1ก็ย่อมสูงกว่า D30อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะมันเป็นกล้องคนละระดับ แต่ความละเอียดของD30ก็ยังเหนือกว่า


(เครดิตภาพ : //www.nikonpassion.com/les-reflex-numeriques-nikon-d-ont-12-ans-et-quelques-jours/)

Nikonก็ยังคงพัฒนากล้องดิจิตอลในระดับProขึ้นมาอีกคือ D1H ขนาด 2.6MP และ D1X ขนาด 5.3MPออกมาในเดือนกพ.2001

ในเวลาอีก1ปี Canonก็ออกEOS D60 ( กพ. 2002 ) โดยใช้CMOSที่พัฒนาขึ้นเองเช่นกัน ถึงแม้ว่าสนนราคาจะยังสูงในระดับแสนกว่าๆแต่ก็ยังเป็นกล้องในระดับเพดานราคาใกล้เคียงกันกับ Nikon D100 ซึ่งออกมาในเดือนเดียวกัน ซึ่งตรงนี้จะเห็นว่าCanonยังไม่พยายามออกกล้องในระดับโปร
แต่ตั้งใจออกกล้องในระดับจริงจังที่ราคาย่อมเยากว่ากล้องระดับโปร และก็ยังมีความละเอียดของภาพสูงกว่ากล้องระดับโปรของNikonด้วยเช่นกัน


(เครดิตภาพ : //www.canon.com/camera-museum/camera/dslr/data/1995-2004/2000_eos-d30.html?p=3)

ผู้ใช้Nikon D100 กับ Canon EOS D60 ในยุคแรกคงจะจำเงินที่ต้องจ่ายไปได้อย่างดี โดยเฉพาะกล้องราคาแสนเศษๆ

              แต่คนที่ช้ำใจกว่าก็น่าจะเป็นเจ้าของD60มากกว่า เพราะนอกจากราคาเปิดตัวจะเกินแสนแล้ว มันยังมีอายุตลาดเพียงแค่ปีเดียว Canonผู้ซึ่งไม่เคยcareเพื่อนเก่ามาแต่ไหนแต่ไร ก็ออกCanon EOS 10D ในราคาไม่ถึง 7หมื่น ออกมาไล่ทุบNikon D100 โดยงัดเอาความได้เปรียบทุกๆอย่างมาไล่บี้ ตั้งแต่ราคาที่ถูกกว่า bodyที่ทำจากmagnesium alloy ในขณะที่คู่แข่งทำจากพลาสติก แถมยังพัฒนาbodyขึ้นมาใหม่ทั้งหมด 


              ในขณะที่คู่แข่งยังอาศัยร่างทรงอันกระทัดรัดของF80ซึ่งเป็นกล้องฟิล์มรุ่นเล็ก อะไรๆของกลไกก็เลยพาลเล็กไปหมด (แต่ราคาก็ไม่ได้เล็กตามไปด้วย) ถึงแม้ว่าD100จะปรับราคาลงมาเพื่อรับมือกับคู่แข่ง แต่กระนั้นราคาก็ยังแพงกว่าคู่แข่งอยู่ แต่ความสามารถของกล้อง(ยกเว้นแฟลชเรื่องเดียว)ไม่ว่าความเนียนของไฟล์ , DR ,noise ที่ยังตามหลังCanonอยู่ดี

- สงครามราคาเริ่มกันนับแต่นั้น
- สงครามการตลาดเริ่มมานานแล้ว
-สงครามเทคโนโลยี่ที่ช่วงชิงความได้เปรียบด้วยการพัฒนาก่อน บุกตลาดก่อน ร่วมกับความได้เปรียบที่เป็นเจ้าตลาดทางด้านสินค้าอีเลคทรอนิคส์ที่ใหญ่มากๆมีแผนกวิจัยและพัฒนาที่ใหญ่กว่าด้วยกำลังทุน ( sectionกล้องและเลนส์ของCanonจัดเป็นSectionเล็กๆเท่านั้น เมื่อเทียบกับproductทั้งหมดที่Canonจำหน่าย เพียงแต่กล้องเป็นสินค้าที่เริ่มจากบรรพบุรุษจึงยังคงพัฒนาต่อไป แต่ก็อาศัยความได้เปรียบขององค์กรที่มีขนาดใหญ่กว่า เงินทุนหมุนเวียนมากกว่า จึงพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว สามารถแชร์เทคโนโลยี่กับproductในไลน์การผลิตที่เกี่ยวข้องกันได้ ทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์ชิ้นสุดท้ายมีราคาต่ำกว่าคู่แข่ง ยังไม่นับการยอมเอากำไรก้อนใหญ่มาเกลี่ยsectionเล็กๆซึ่งก็ไม่ทำให้องค์กรใหญ่สะเทือน )


(เครดิตภาพ : //petapixel.com/2014/02/21/nikon-poster-shows-fifty-years-camera-evolution-one-image/)

สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นแฟนของค่ายใดมาก่อน และไม่มีความรู้ใดๆมาก่อน ราคาย่อมจะเป็นสิ่งยั่วใจมากที่สุด

สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นแฟนค่ายใดมาก่อน แต่เมื่อเห็นfile

ฟังเสียงร่ำลือเรื่องการบริการหลังขาย ก็ย่อมต้องมองกล้องที่ให้ผลลัพธ์ที่ดี และบริการหลังขายที่ร่ำลือกันว่าดีไว้ก่อน

แต่สำหรับผู้ที่เป็นแฟนค่ายใดค่ายหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว ก็อาจจะคงค่ายเดิมหรือย้ายค่ายแล้วแต่อารมณ์ที่มากกว่าเหตุผลก็มีอีกมากมายเช่นกัน


(เครดิตภาพ : //m.canon.com.hk/en/club/downloadZone/dlWallpaperDetail.action?fId=66&iId=13)

เรื่องของเทคโนโลยีนั้น เป็นเรื่องที่ตามกันได้ ในปัจจุบัน ความเนียนของไฟล์ของCanonที่ยังนับได้ว่าเนียนกว่านั้น ก็คงจะเป้นความเนียนที่เบิ่งกันที่ 100%เท่านั้นแหละครับ ถ้าย่อลงมาหรือพิมพ์ลงกระดาษอัดรูป ความเนียนเหล่านั้นก็จะหมดความหมายไป ( ยกเว้นงานที่ต้องการขนาดใหญ่มากๆ อันนี้แหละที่จะได้ใช้กัน ) D300มีDRสูงมากกว่าCanonไปเสียแล้ว มีสิ่งที่ทำได้ดีกว่าอีกหลายอย่างเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจอlcdที่ให้สีถูกต้องและชัดเจน สีของภาพที่สดและโดนใจ JPGที่มีราคาละเอียดสูง compressต่ำสามารถนำไปทำpostprocessต่อยอดได้ง่ายกว่า ( กล้องรุ่นใหม่ของCanonก็คงจะต้องออกมาแก้ทางNikonอย่างแน่นอน )


การตลาดที่พลาดไปตั้งแต่ต้นมือนั้น มันแก้ทางกันยากกว่าเทคโนโลยี่ครับ Canonที่ขายดีกว่าNikonในบ้านเราจึงมีสาเหตุมากกว่าเรื่องของราคาเพียงอย่างเดียว

และอย่างที่ผมบอกหนะนะ กล้องที่ชอบที่สุดในโลกหนะ มันมีตัวตนอยู่ในใจของผู้ใช้มานานแล้ว
เพราะความชอบมันเป็นเรื่องของอารมณ์ที่บ่อยครั้งก็เหนือกว่าเหตุผล ซึ่งใครๆก็ไม่อาจจะชั่ง ตวง วัดกันเป็นมาตราต่างๆได้

เรื่องของการถ่ายรูปนั้น กล้องมันเป็นเพียงแค่ตัวประกอบยอดเยี่ยมเท่านั้นแหละครับ เพราะผู้ที่จะบงการมันก็คือจินตนาการของผู้ถ่ายเท่านั้นแหละครับ ไม่งั้นภาพที่ได้ก็มีค่าเพียงแค่"กล้องลั่น"เท่านั้นแหละ


//www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?p=605654

ขอบคุณพี่หมอหนก บางหลวงครับ






Free TextEditor



Create Date : 05 ธันวาคม 2554
Last Update : 20 ตุลาคม 2557 9:39:33 น.
Counter : 841 Pageviews.

4 comment

audkung
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]