ควบคุมเบาหวาน ห่างไกลโรคแทรกซ้อน

Industrial Sewing Machine Quilting Templates Machine Quilting Leather Sewing Machines Free Embroidery Software Quilting Blocks Pfaff Sewing Machine Discount Quilt Fabric Free Handbag Sewing Patterns Leather Sewing Machine Sewing Kits Long Arm Quilting Machine Easy Sewing Patterns Ribbon Embroidery Moda Quilt Fabric Consew Free Sewing Patterns Online Sewing Machine Cabinet Mini Sewing Machine Free Quilting Motifs Mccalls Sewing Patterns Moda Quilt Fabrics Sewing Material Sewing Leather Embroidery Projects Home Quilting Machines How To Thread A Sewing Machine Sewing Needle Sewing Crafts Free Motion Quilting Embroidery Kits Old Quilt Fabric Apron Sewing Pattern Sewing Machine Tables Quilting Material Quilting Arts Euro Pro Sewing Machine Quilting Instructions Plus Size Sewing Patterns Quilting Fabric Baby Sewing Machine Timing Embroidery Sewing Machine Quilting Machine Commercial Sewing Machines Embroidery Patch Free Sewing Tips Printable Embroidery Patterns Hand Sewing Sewing Stitches Free Machine Embroidery
โรคเบาหวานในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ก็เกิดจากการดื้ออินซูลิน และร่างกายหลั่งสารอินซูลินได้ไม่มากพอ ซึ่งสารอินซูลินเองก็เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน มีหน้าที่นำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อนำไปเผาผลาญให้เป็นพลังงาน หรือเก็บสะสมไว้เป็นแหล่งพลังงานในอนาคต

ถ้าอินซูลินในร่างกายมีไม่เพียงพอหรือทำงานได้ไม่ดี จะทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง และก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนหลายอย่างที่สำคัญ เช่น ตาบอด ไตวาย ปลายประสาทเสื่อม โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือใกล้เคียงปกติ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนดังกล่าวได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและปราศจากโรคแทรกซ้อนได้ เพียงแค่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงได้อย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปัจจุบันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานจะมีมากขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลรักษาดีขึ้น รวมทั้งมียาหลากหลายชนิดที่เหมาะสม แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ผู้ป่วยเบาหวานยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีนัก อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานยังค่อนข้างสูง ข้อมูลจากผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาในโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลศูนย์ ของกระทรวงสาธารณสุขไทย พบว่าในปี พ.ศ. 2546 ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมีเพียงหนึ่งในสามของ ทั้งหมดเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดได้ไม่ดี แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวได้เองด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยบางรายคิดว่า ในเมื่อแพทย์ให้รับประทานยาแล้ว ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องควบคุมอาหาร ยาน่าจะจัดการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากว่ายามีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เพียงระดับหนึ่งเท่า นั้น การรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไป นอกจากจะส่งผลทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้นด้วยเช่นกัน หากพบว่าตัวเองมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยากขึ้น เนื่องจากดื้ออินซูลินมากขึ้น

ตรงกันข้ามการลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วนจะทำให้การดื้ออินซูลินลดลง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำได้ง่ายขึ้น คำถามที่เกิดขึ้นคือ เมื่อใดจึงเรียกว่า “อ้วน” ให้คำนวณง่าย ๆ โดยวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงวัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ตัวเลขที่ออกมาไม่ควรเกิน 23 ถ้าเกินหรือเท่ากับ 25 จึงเรียกว่า “อ้วน” แต่หากอยู่ในระดับ 23-24.9 หมายถึงน้ำหนักเกินหรือท้วม ดังนั้นเป้าหมายของการควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานนอกเหนือจากการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังต้องเน้นการลดน้ำหนักตัวด้วย ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการลดปริมาณอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล รวมทั้งอาหารที่ให้พลังงานสูง

นอกจากการควบคุมอาหารแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต้องเน้นให้ความสำคัญ การออกกำลังกายช่วยทำให้อินซูลินทำงานดีขึ้น ช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น การออกกำลังกายควรทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ผู้ป่วยบางรายเข้าใจผิดว่า เมื่อออกกำลังกายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องควบคุมอาหาร การออกกำลังกายนอกจากช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ ช่วยทำให้ระดับไขมันในเลือดและระดับความดันโลหิตดีขึ้น แนะนำว่าให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็ว ๆ วิ่งช้า ๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นรำ และควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาทีเป็นอย่างน้อย อาจแบ่งเป็นอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที และไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายในโรงยิมหรือสถานที่ออกกำลังกายเฉพาะเท่านั้น สามารถประยุกต์กิจกรรมทำให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันได้ เช่น ทำสวน ทำงานบ้าน ขึ้นลงบันไดแทนลิฟต์ (ไม่แนะนำในคนที่มีปัญหาเรื่องเข่าเสื่อม) ลงรถเมล์ก่อนถึงป้าย เดินไปทำงานแทนนั่งรถ เป็นต้น

แต่ทั้งนี้กิจกรรมเหล่านี้ ต้องทำติดต่อกันและทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ควรวางแผน จัด เวลา และเลือกชนิดของการ ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกาย

การควบคุมเบาหวาน ควรกระทำตั้งแต่เริ่มรู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน และกระทำอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำนอกเหนือจากการไปพบแพทย์เพื่อรับยาคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งดูเหมือนยากแต่ก็ไม่ยากเกินไปถ้าตั้งใจทำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข


Create Date : 06 เมษายน 2553
Last Update : 6 เมษายน 2553 15:15:35 น. 0 comments
Counter : 266 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

ubuntu
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ubuntu's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com