ควอนตัมกับดอกบัว (The Quantum and the Lotus)

เมื่อตวน นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับริการ์ พระนักบวชพุทธศาสนามหายาน (ธิเบต) อดีตนักวิจัยสาขาพันธุศาสตร์ เกี่ยวกับเอกภพและความเป็นไป ตัวตน ควอนตัม เวลา ความยุ่งเหยิง ความคิด -หุ่นยนต์ที่คิดว่าตัวเองคิดได้- การทำสมาธิ ภาวนา ฯลฯ บางตอนก็เป็นวิวาทะที่ไม่ตรงกันระหว่างมหายานกับฟิสิกส์ บางตอนก็ตีความไปในทางเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน บันทึกการสนทนาเล่มนี้ (ที่ถูกอีดิตให้แน่นหนาด้วยเชิงอรรถ รวมถึงการค้นคว้าตำราอ้างอิง) เหมาะสำหรับคนที่ชอบอ่านพวกเปรียบเทียบวิทย์กับพุทธครับ ตามความเห็นของผม สายวิทย์นั้นตวนพูดดีมาก ชัดเจน และแน่น ส่วนสายพุทธ ผมอาจจะลำเอียงเพราะไม่ชอบความเลื่อนเปื้อนของมหายานที่ไหลไปได้เรื่อย ๆ ประมาณว่าคุณเกาะ ไม่มีตัวตน, ว่างเปล่า, สุญญะ, ภาพมายา เป็นต้น เหล่านี้ให้อยู่ในประโยคที่คุณพูด คุณก็มหายานล่ะ! (แน่นอนว่าความลำเอียงนี้อาจมาจากความไม่รู้ของผมเอง) ผมไม่ค่อยชอบข้อโต้แย้งหรือคำอธิบายของริการ์ เช่น "วิทยาศาสตร์เป็นเพียงการประเมินผลและการจัดเรียงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่ก่อร่างขึ้นเป็นปรากฎการณ์ที่เรารับรู้กันโดยทั่วไป และต่อมาจึงค่อย ๆ มีอิทธิพลต่อปรากฎการณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ พุทธเรียกปรากฎการณ์เหล่านี้ว่า "เหตุการณ์" ซึ่งแปลตรงตัวมาจากคำว่าสังขารในภาษาสันสกฤตที่หมายถึง "สรรพสิ่ง" หรือ "องค์ประกอบ" ซึ่งก็คือ "ประสบการณ์" หรือ "กรรม" ... นอกจากผมจะจับความไม่ได้แล้วยังชวนให้สับสนทั้งคำว่ากรรมและคำว่าสังขารในพุทธเถรวาท แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประโยคมัน อืม ลื่นไหล!
ผู้แปลทั้งสองท่านแปลดีครับ ไม่รู้สึกว่าอ่านหนังสือภาษาอังกฤษด้วยภาษาไทย แต่แอบกระซิบนิดว่าอ่านแล้วพอรู้นาว่าบทไหนใครแปล ที่เห็นชัดคือชื่อนักวิทยาศาสตร์ บทหนึ่งออกเสียงตามชื่ออังกฤษ พอเจออีกบทหนึ่งออกเสียงตามจริง
ผมให้    
Create Date : 10 พฤศจิกายน 2552 |
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2552 20:25:27 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1652 Pageviews. |
 |
|
|
แล้วบ.ก.ไม่เกลาให้เข้ากันเหรอ (อย่างการเรียกชื่อนักวิทยาศาสตร์ก็เหอะ)