เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

วันนี้จะมาพูดถึงกระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจกันหน่อยนะครับ

กระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเข้าใจถึงรายได้ รายจ่าย และผลิตภันณฑ์มวลรวม ระบบเศรษฐกิจในที่นี้ใช้ได้ทั้งระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรง (Barter System) และกระแสการหมุนเวียนของเงินสด ไม่ว่าระบบเศรษฐกิจใดๆก็ตาม จะมีโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งโดยทั่วไป จะประกอบไปด้วย ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ

ภาคครัวเรือน (Household Sector) เป็นภาคที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตอันได้แก่ แรงงาน ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ โดยภาคครัวเรือนจะขายปัจจัยการผลิตให้แก่ภาคธุรกิจ แลกกับค่าตอบแทนในรูปของค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร รายได้ดังกล่าว ภาคครัวเรือนจะนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจอีกทีนึง

ภาคธุรกิจ (Business Sector) เป็นผู้ผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตที่มาจากภาคครัวเรือนเพื่อผลิตสินค้าและบริการ และนำสินค้าและบริการดังกล่าวขายแก่ภาคครัวเรือน

ภาครัฐ (Public Sector) ในทางเศรษฐศาสตร์ ภาครัฐมีหน้าที่ดูแลเสภียรภาพทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหรือฟื้นตัว โดยอาศัยนโยบายด้านรายได้ รายจ่าย และการขาดดุลการคลัง

ภาคต่างประเทศ (External Sector) เป็นภาคเศรษฐกิจอีกเศรษฐกิจหนึ่ง มีความสำคัญเนื่องจากแต่ละประเทศมีสินค้าและบริการ รวมถึงปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน หรือมีการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้เกิดการติดต่อเพื่อการค้าขายหรือลงทุนระหว่างประเทศเกิดขึ้น

การศึกษาจะเริ่มพิจารณาจากระบบเศรษฐกิจอย่างง่ายก่อน เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานก่อน

ระบบเศรษฐกิจอย่างง่าย
ประกอบด้วยภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเพียง 2 ภาค
ข้อสมมติฐาน
1) เป็นระบบเศรษฐกิจแบบปิด (Close Economy) หรือไม่มีการติดต่อกับต่างประเทศ
2) ไม่มีภาครัฐบาล
3) ภาคครัวเรือนนำรายได้ทั้งหมดจากการขายปัจจัยการผลิต ไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ
4) ไม่ว่าภาคธุรกิจจะผลิตสินค้าและบริการเท่าได ก็สามารถขายได้หมด
5) ภาคธุรกิจนำเงินที่ขายสินค้าและบริการทั้งหมด ซึ้อปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน
6) ไม่มีการลงทุนและไม่มีการสึกหรอของสินค้าทุน



จากรูป จะเห็นได้ว่า ภาคครัวเรือนขายปัจจัยทั้งหมดให้ภาคธุรกิจ
ขณะที่ภาคธุรกิจก็ขายสินค้าและบริการให้ภาคครัวเรือนทั้งหมด
กระแสนี้คือกระแสวัตถุ (Real Flow) ได้แก่ ปัจจัยการผลิต และสินค้าและบริการ

ในอีกด้านหนึ่ง ภาคธุรกิจก็จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ภาคครัวเรือน
และภาคครัวเรือนก็นำรายได้นี้ไปจ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ
กระแสดังกล่าวคือกระแสเงิน (Money Flow) ซึ่งสอดคล้องกับธุรกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Transactions) ที่เกิดขึ้นในกระแสของวัตถุ

กระแสที่เกิดขึ้นดังกล่าว สามารถสรุปได้คือ
จากข้อสมมติข้างต้น ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น
มูลค่าของสินค้าและบริการ
= รายได้ของภาคครัวเรือน
= รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ


ระบบเศรษฐกิจแบบปิด
ปรกกอบไปด้วยภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาครัฐบาล โดยมีข้อสมมติเพิ่มเติมว่า
1) เป็นระบบเศรษฐกิจแบบปิด
2) ระบบเศรษฐกิจมีส่วนรั่วไหลและส่วนอัดฉีด



ส่วนรั่วไหล (Leakage) คือรายได้ที่รั่วไหลออกจากกระแสการหมุนเวียน คือครัวเรือนไม่ได้นำรายได้ทั้งหมดจากการขายปัจจัยการผลิตไปซื้อสินค้าและบริการ ทำให้รายได้ที่หมุนเวียนในกระแสดังกล่าวลดลง ส่วนรั่วไหลในที่นี้คือ การออมในประเทศ รวมถึงการไหลออกของเงินทุนไปยังต่างประเทศในกรณีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
ส่วนอัดฉีด (Injection) คือรายได้ส่วนที่เข้ามาในกระแส ได้แก่การลงทุน (เงินกู้) รวมถึงการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศในกรณีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด

โดยทั่วไป ในระบบเศรษฐกิจจะมีผู้ใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ ขณะเดียวกันก็มีผู้ที่ใช้จ่ายมากกว่ารายได้ จึงมีการกู้ยืมเกิดขึ้น โดยมีตลาดการเงินเป็นสื่อกลางระหว่างผู้กู้และผู้ออม

ในส่วนของภาครัฐ การที่ภาครัฐเก็บภาษี ถือเป็นส่วนรั่วไหลของกระแสเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นการดึงรายได้จากครัวเรือนส่วนหนึ่งออกมาจากกระแสเข้าสู่ภาครัฐ ทำให้ครัวเรือนมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจลดลง รวมถึงการเก็บภาษีจากภาคธุรกิจอันจะส่งผลให้มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือนลดลง

อย่างไรก็ดี เมื่อภาครัฐใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจรวมถึงจ่ายค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตแก่ภาคครัวเรือน จะส่งผลให้เกิดการอัดฉีดรายได้เข้าสู่กระแสเศรษฐกิจ ทำให้ภาคธุรกิจขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น ส่งผลให้สามารถขยายการผลิตโดยการซึ้อปัจจัยการผลิตได้มากขึ้น รายได้ของครัวเรือนก็จะเพิ่มขึ้น สามารถนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจได้เพิ่มขึ้นอีก


ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
ประกอบด้วยภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economy)



เมื่อภาคครัวเรือนนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ ก็จะมีรายได้ส่วนหนึ่งไหลออกจากกระแสการหมุนเวียน ทำให้ภาคครัวเรือนมีการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจในประเทศลดลง ภาคธุรกิจก็จะใช้ปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือนลดลง ภาคครัวเรือนก็จะได้รายได้จากการขายปัจจัยการผลิตลดลง ทั้งหมดนี้ทำให้มูลค่าของกระแสหมุนเวียนของเศรษฐกิจลดลง

แต่หากภาคธุรกิจและครัวเรือนส่งออกสินค้าและบริการไปต่างประเทศ ก็จะทำให้มีรายได้มากขึ้น ภาคครัวเรือนก็จะซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจในประเทศได้มากขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจเอง เมื่อขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น ก็จะมีรายได้ขยายการผลิตโดยซื้อปัจจัยการผลิตได้มากขึ้น ทำให้รายได้ของครัวเรือนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าของกระแสเศรษฐกิจมีมากขึ้น

ในขณะที่การไหลเข้าออกของเงินทุนจากต่างประเทศก็จะให้ผลใกล้เคียงกับการนำเข้าและส่งออกเช่นเดียวกัน


จากการมองกระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจไปแล้ว คราวหน้าจะมาต่อกันที่บัญชีประชาชาติกันนะครับ ซึ่งจะเป็นการมองกระแสการหมุยเวียนของเศรษฐกิจในรูปแบบของบัญชีหรือตัวเงิน เพื่อจะให้เข้าใจเศรษฐกิจมหภาคได้มากขึ้น (หรืองงกว่าเดิมหว่า เหอๆๆ)

ปล. รูปวาดเองอ่ะครับ อาจจะไม่ค่อยสวยเท่าไหรนะครับ - -'


Create Date : 13 ตุลาคม 2549
Last Update : 13 ตุลาคม 2549 10:52:06 น. 0 comments
Counter : 175768 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.