|
ประวัติของดอกไม้จันทน์
วันนี้จะเขียนเรื่องประวัติของดอกไม้จันทน์ครับ

ความเป็นมาและธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์
สมัยก่อนในการจัดทำพิธีฌาปนกิจศพ มีธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์ควบคู่กับธูปทองและเทียนทอง เพราะเชื่อว่ากลิ่นหอมของดอกไม้จันทน์จะนำดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปสู่สรวงสวรรค์ แต่ธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์จะใช้เฉพาะผู้มีตระกูลสูงเท่านั้น สามัญชนจะใช้ไม่ได้ เพราะดอกไม้จันทน์เป็นของสูง ต้องห้าม และมีราคาแพง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากดอกไม้จันทน์เริ่มหายากขึ้น จึงมีผู้คิดค้นประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์เทียม โดยการนำไม้จันทน์มาทำเป็นแผ่นบาง ๆ นำมาเข้ารูปลักษณะคล้ายดอกไม้ชนิดต่าง ๆ แต่รวมเรียกว่า ดอกไม้จันทน์ ใช้ในงานพิธีหลวง ต่อมาจึงแผ่ขยายการใช้ดอกไม้จันทน์เทียมในหมู่สามัญชน จึงเริ่มมีธรรมเนียมการใช้ในหมู่สามัญชน เริ่มธรรมเนียมการใช้ตั้งแต่นั้นมา โดยแขกที่มาร่วมงานจะนำดอกไม้จันทน์ไปวางไว้ที่พานหน้าโลงศพ เป็นการเผาหลอกก่อน แล้วจึงนำดอกไม้จันทน์ทั้งหมดไปใช้ในการเผาจริงอีกครั้ง ต่อมาไม้จันทน์ที่ใช้ทำดอกไม้จันทน์หายากจนแทบหาไม่ได้เลย จึงเปลี่ยนไปใช้วัสดุอย่างอื่นแทน เพราะหาง่ายและมีราคาถูก แต่แก่นแท้ของธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์ก็ยังไม่เปลี่ยนไป
ดอกไม้จันทน์แบบทั่วไปที่นิยมใช้กันมาเป็นแบบธรรมดาส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกกุหลาบ ดอกแก้ว มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก และมีสีสันตายตัวคือ สีขาว สีครีม หรือสีดำ แต่ในยุคปัจจุบันด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างสีสันสีต่าง ๆ ของดอกไม้จันทน์ ทำให้ดอกไม้จันทน์มีความแปลกในรูปแบบ สีสันที่เปลี่ยนไป ทำให้ทัศนคติของคนที่นำไปใช้มีความรู้สึกว่า การใช้ดอกไม้จันทน์เพื่อเป็นการเคารพ ระลึกถึงผู้ล่วงลับ ไม่มีบรรยากาศของความโศกเศร้าเพียงอย่างเดียว
ที่มา - //school.obec.go.th/tasiewkanlum/tongtin.htm
Create Date : 26 เมษายน 2552 | | |
Last Update : 26 เมษายน 2552 22:08:07 น. |
Counter : 8913 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ประวัติของน้ำบูดู
ประวัติการทำบูดูจากการศึกษาค้นคว้าถึงที่มาของการผลิตบูดูนั้น ไม่พบหลักฐานที่อ้างถึงการผลิตบูดูเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จากการสอบถามผู้ผลิตบูดูทั้งที่ผลิตเพื่อจำหน่าย และผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน มักจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยในสมัยก่อนนั้นชาวอำเภอสายบุรี มีอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ชายมีหน้าที่ออกทะเลไปหาปลา ส่วนผู้หญิงเป็นแม่บ้าน เมื่อผู้ชายกลับมาจากทะเลก็ได้ปลาทะเลมาเป็นจำนวนมาก จนบางครั้งบริโภคไม่หมดจึงได้คิดวิธีการถนอมอาหารโดยการนำปลามาหมักกับเกลือ ซึ่งจะใช้ปลาทุกชนิดที่บริโภคไม่หมด ต่อมามีการค้นพบว่า การนำปลากะตักมาหมักกับเกลือนั้นจะทำให้ได้บูดูที่มีรสชาติดีกว่าปลาชนิดอื่น ส่วนคำถามที่ว่า "ทำไมถึงเรียกว่า บูดู" ก็ไม่พบหลักฐานอ้างอิงเช่นกัน แต่จากการสอบถามผู้ผลิตได้คำตอบที่หลากหลาย ดังนี้ 1.อาจมาจากคำว่า "บูด" เพราะในการหมักบูดูปลาจะมีลักษณะเน่าเละ คล้ายของบูด ซึ่งต่อมาอาจจะออกเสียงเป็น บูดู 2.อาจมาจากคำว่า "บูบู๊" ซึ่งเป็นอุปกรณ์จับปลาตัวใหญ่ เรียกว่า ปลาฆอ 3.เป็นคำที่มาจากภาษามลายูหรือภาษายา รายงานว่า คำว่า บูดูเป็นคำที่ยืมมาจากาษามลายู หรือภาษายาวี ตามเกณฑ์ที่ 1 คือ เป็นคำที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี และเป็นคำที่มีใช้ในภาษาไทยทั่วไป หรือไม่ใช่ศัพท์เฉพาะถิ่นของภาษาไทยทั่วไป 4.เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า ปลาหมักดอง
กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการผลิตบูดูนั้นเริ่มด้วยการนำปลาทะเลสด ซึ่งอาจจะใช้ปลาชนิดใดก็ได้ แต่ผู้ผลิตบูดูในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีจะนิยมใช้ปลากะตัก เพราะจะได้บูดูที่มีกลิ่น และรสชาติดี โดยผู้ผลิตจะซื้อปลากะตักจากชาวประมงที่กลับเข้าฝั่งในตอนเช้า หลังจากนั้นจึงนำปลากะตักมาล้างให้สะอาด (ผู้ผลิตบางรายจะไม่ทำการล้างปลา โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้รสชาติและกลิ่นของบูดูเสียไป และกระบวนการหมักจะช่วยให้บูดูสะอาดเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ผู้บริโภคก็จะนำบูดูไปปรุงก่อนบริโภคอยู่แล้ว) ใส่กระบะไม้ขนาดประมาณ 0.5 x 2 เมตร แล้วเติมเกลือสมุทรประเภทหยาบลงไป โดยใช้อัตราส่วน ปลากะตักต่อเกลือ 3:1 โดยน้ำหนัก หลังจากนั้นจะทำการคลุกให้เข้ากันโดยใช้ไม้พาย เมื่อคลุกปลากะตักกับเกลือให้เข้ากันได้ที่ดีแล้ว ก็จะนำไปใส่ในโอ่งดินหรือบ่อซิเมนต์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "บ่อบูดู" มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูง 1 เมตร แล้วใช้กระสอบปุ๋ยหรือผ้าคลุมปิดไว้ เพื่อคอยให้ปลานั้นยุบตัวลงไปอีก (สาเหตุที่ต้องคอยให้ปลายุบตัวลงไป เพราะว่าในการหมักจะต้องพยายามให้มีอากาศเข้าไปในบ่อบูดูน้อยที่สุด) แล้วจึงเติมปลาและเกลือที่คลุกแล้วลงไปอีก จนเกือบเต็ม โดยจะเว้นปริมาตรบางส่วนของบ่อบูดูไว้เพื่อเผื่อก๊าซที่เกิดจากการหมักดันฝาปิดบ่อบูดู เมื่อปลาในบ่อบูดูอัดแน่นดีแล้วจึงทำการปิดบ่อบูดูให้มิดชิดด้วยกระสอบเกลือ แล้วไม้ไผ่สาน หรือกระเบื้องหลังคาปิดทับอาจใช้วัตถุหนักทับไว้ ระยะเวลาการหมักจะใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน โดยในช่วงระหว่างการหมักจะไม่มีการเปิดบ่อบูดูเลย และจะต้องพยายามไม่ให้น้ำเวลาฝนตกเข้าไปในบ่อบูดู จะทำให้บูดูมีสีดำ และมีกลิ่นเหม็น เมื่อครบกำหนดเวลาผู้ผลิตจะเปิดบ่อบูดูซึ่งจะมีน้ำบูดูและเนื้อบูดูปะปนกันอยู่ในบ่อบูดู ในการนำบูดูออกจากบ่อบูดูจะทำโดยการเปิดฝาที่ครอบบ่อบูดู และเอาไม้ไผ่ที่สานออก ตักเกลือที่อยู่บนกระสอบเกลือออก แล้วนำกระสอบเกลือออก นำแกลอนพลาสติกที่เปิดหัวเปิดท้าย ใส่ลงไปในเนื้อบูดูในบ่อบูดู ตักเนื้อบูดูที่อยู่ในแกลอนพลาสติกออกเพื่อให้เหลือแต่น้ำบูดู และน้ำบูดูจะไหลเข้ามาภายในแกลอนพลาสติก โดยมีเนื้อบูดูปะปนเข้ามาบ้างเล็กน้อย แล้วจึงใช้ภาชนะตักน้ำบูดูในแกลอนพลาสติกขึ้น เพื่อนำไปบรรจุในภาชนะ ส่งต่อให้ผู้จัดจำหน่ายต่อไป โดยบูดูที่มีน้ำบูดูเป็นส่วนใหญ่จะเรียกว่า "บูดูใส" ส่วนน้ำบูดูที่มีเนื้อบูดูที่เหลือปะปนในบ่อจะนำไปผลิตเป็น"บูดูข้น" ในการหมักปลากะตัก 450 กิโลกรัมจะได้บูดูประมาณ 400 ลิตร นอกจากนี้เนื้อบูดูที่เหลือจะเอาไปผสมกับน้ำเกลือเพื่อทำบูดูที่มีคุณภาพรองลงมา การบรรจุบูดูใส่ขวดนั้น จะใส่ขวดสองขนาดคือ ขวดกลมและขวดแบน โดยการนำบูดูใส่ขวดที่สะอาด ปิดฝาให้สนิท และนำไปล้างอีกครั้ง แล้วนำพลาสติกมาปิดปากขวดแล้วนำน้ำร้อนราดเพื่อให้พลาสติกปิดสนิท สุดท้ายนำไปปิดฉลาก และส่งจำหน่ายต่อไป จากการสังเกตพบว่า สถานที่ในการผลิตบูดูนั้น จะทำการผลิตในสวนมะพร้าว ซึ่งผู้ผลิตบอกว่าเนื้อบูดูที่เหลือ และน้ำคาวปลาที่หกระหว่างการผลิตบูดูนั้น จะช่วยทำให้มะพร้าวมีลูกดกและรสชาติดีขึ้น
Create Date : 25 เมษายน 2552 | | |
Last Update : 26 เมษายน 2552 21:46:11 น. |
Counter : 1243 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|