สิ่งที่ต้องทําหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ (โอนทะเบียนประปา ไฟฟ้า เปลี่ยนชื่อทะเบียนบ้าน)






หลังจากวันโอนกรรมสิทธิ์เมื่อคุณได้เป็นเจ้าของบ้านเรียบร้อยแล้ว 
สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงคือเรื่องของการโอนมิเตอร์สาธารณูปโภคไฟฟ้า น้ำประปา 
และเรื่องของการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนบ้านเพื่อแสดงสิทธิเจ้าบ้านอย่างสมบูรณ์ 
ซึ่งเราได้รวบรวมรายละเอียดขั้นตอนและการเตรียมเอกสารมาให้ทุกท่าน
ได้ศึกษากันก่อนซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การโอนมิเตอร์ไฟฟ้า

โดยปกติหากเป็นการซื้อ-ขายบ้านจากโครงการ 

ผู้ขายจะบริการเรื่องการเปลี่ยนชื่อโอนมิเตอร์ไฟฟ้าให้กับผู้ซื้อ 

แต่ในกรณีบ้านมือสอง ผู้ซื้อควรตกลงกับผู้ขายว่าใครจะเป็นผู้ทำ 

ทั้งนี้ผู้ซื้อสามารถยื่นเรื่องได้เองหากผู้ขายไม่สะดวกจัดการให้ 

แค่เพียงเตรียมเอกสารของทั้งสองฝ่ายให้พร้อม 

โดยสามารถยื่นเรื่องเองได้ที่การไฟฟ้าทุกสาขา

ใกล้บ้านคุณ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้





การโอนมิเตอร์ประปา



การโอนมิเตอร์ประปาจะคล้ายกับไฟฟ้า ผู้ซื้อควรตกลงกับผู้ขายตั้งแต่แรก
ว่าใครจะเป็นผู้ทำแค่เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม 
โดยสามารถยื่นเรื่องเองได้ที่การประปาทุกสาขา ใกล้บ้านคุณ 
ซึ่งบริการของการประปาจะใช้เวลาไม่นานเท่าไฟฟ้า และมีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้

การโอนมิเตอร์ประปาจะเสียค่าธรรมเนียม 50บาท 

และเงินประกันการใช้น้ำตามขนาดมาตรวัดน้ำ รวมภาษี 7 %

โดยหากผู้โอนยินยอมโอนเงินประกันให้เจ้าของบ้านคนใหม่ 

ก็จะไม่ต้องวางเงินประกันการใช้น้ำ 

ซึ่งผู้โอนจะต้องเซ็นต์สลักหลังใบเสร็จเงินประกันการใช้น้ำฉบับจริง 


แต่ถ้าเจ้าบ้านคนเดิมมีการถอนเงินประกันคืนหรือเงินไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้น 

ผู้รับโอนหรือเจ้าบ้านคนใหม่ต้องวางประกันใหม่ ตามขนาดมาตรวัดน้ำซึ่งมี 3 ขนาดดังนี้


- ขนาด 1/2 นิ้ว เงินประกันการใช้น้ำ 400 บาท

- ขนาด 3/4 นิ้ว เงินประกันการใช้น้ำ 600 บาท

- ขนาด 1 นิ้ว เงินประกันการใช้น้ำ 1,500 บาท


โดยตามบ้านทั่วไปจะใช้ขนาดมาตรวัดน้ำเพียง1/2 นิ้ว เท่านั้น 

ส่วนที่เหลือจะเป็นมาตรวัดน้ำที่นิยมใช้ในคฤหาสน์บริษัทขนาดใหญ่

และโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งแล้วแต่ความสะดวกของเจ้าของ

และความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละที่เอกสารที่ต้องเตรียมไว้ในวันไปยื่นมีดังนี้




การเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน

โดยทั่วไปเจ้าบ้านคนใหม่จะดำเนินการการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนบ้านเอง 

ซึ่งก่อนอื่นเราควรทราบข้อแตกต่าง ระหว่าง “เจ้าบ้าน” และ “เจ้าของบ้าน” กันก่อน 

โดยที่เจ้าของบ้านนั้นคือ เจ้าของโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมีชื่อตามสัญญาการซื้อขาย (ท.ด. 13)

 และมีสิทธิ์ที่จะให้ใครเป็นเจ้าบ้านลงในทะเบียนแทนตนก็ได้ 

หรือจะไม่มีใครได้เป็นเจ้าบ้านเลยก็ย่อมได้


ส่วนเจ้าบ้าน คือ สถานะเจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน 

(อาจจะเป็นเจ้าของโฉนดด้วยหรือไม่ก็ได้) 

โดยก่อนที่จะมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน

 เจ้าของโฉนดต้องไปแสดงตนว่ายินยอมให้คนๆนั้น เป็น "เจ้าบ้าน" 

ในทะเบียนบ้านหากต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลัง 

เจ้าของโฉนดก็สามารถทำได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องรอรับความยินยอมจากเจ้าบ้านคนเดิมก่อน



โดยทั่วไปสำนักงานเขตแต่ละพื้นที่จะเปิดทำการเวลา 08.00 น. – 16.00 น. 

ใน วันจันทร์ – วันศุกร์ ส่วนวันเสาร์แต่ละพื้นที่จะเวลาปิดจะแตกต่างกัน

ซึ่งคุณควรจะเช็คเวลาเปิดทำการของสำนักงานเขตในพื้นที่ตามทะเบียนบ้าน

ที่จะไปทำเรื่องก่อนซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมไว้ ในการเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านมีดังนี้




ข้อมูลจาก //www.mespace.co.th/advices




Create Date : 12 มกราคม 2560
Last Update : 12 มกราคม 2560 15:26:46 น.
Counter : 65641 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yamwong
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มกราคม 2560

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31