ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 
21 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 20

โฟเรท
(phorate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย ใช้กำจัดไส้เดือนฝอยบางชนิดได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 2.5-6.2 มก./กก. (หนูกิเนีย) 20-30 มก./กก. ซึมผ่านผิวหนังและดวงตาได้อย่างรวดเร็ว
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ใช้กำจัดแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด แมลงหวี่ขาว มวนเขียว แมลงอื่น ๆ คือ หนอนขอนใบ หนอนกระทู้ หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง และไส้เดือนฝอยทำลายใบ
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ฝ้าย ถั่วลิสง มะเขือเทศ ข้าว ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง อ้อย มันฝรั่ง ถั่วเขียว ถั่วแขก ยาสูบ และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 10% จี
อัตราการใช้ แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของพืช ตั้งแต่ 1.5-3 กก./ไร่ ก่อนใช้จึงควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้ ใช้โรยตามร่องหรือหยอดรองก้นหลุมพืชที่ต้องการปลูก รากพืชจะดูดซึมเอาโฟเรทเข้าไปในต้นและเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใบ
อาการเกิดพิษ จะมีอาการปวดศีรษะ ม่านตาหรี่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก น้ำลายไหล ท้องร่วง แน่นหน้าอก ปวดเกร็งช่องท้อง
การแก้พิษ ในกรณีเกิดพิษที่ผิวหนัง เนื่องมาจากการสัมผัสถูกให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้อาเจียนโดยเร็ว ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น ภายหลังจากที่คนไข้อาเจียนแล้ว ให้กินยา อะโทรปินซัลเฟท ขนาด 1/100 เกรน จำนวน 2 เม็ด แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท โดยใช้ขนาด 4-8 มก. ฉีดแบบ IV หรือ IM ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น จนกว่าจะเกิดอาการ atropinization ห้ามใช้มอร์ฟีน
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 6 สัปดาห์
- ความร้อนอากาศแห้งแล้ง จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้ทางดินลดลง
- เป็นพิษเมื่อถูกกับผิวหนัง หายใจหรือกลืนกินเข้าไป
- เป็นอันตรายต่อปลา เป็นพิษต่อผึ้ง
- ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- ออกฤทธิ์คุ้มครองพืชได้ 4-12 สัปดาห์ ภายหลังการใช้

โฟซาโลน
(phosalone)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 120 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน ไร เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว หนอนคืบ หนอนเจาะสมอชนิดต่าง ๆ หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนเจาะยอด กะหล่ำ ด้วงงวงข้าวโพด แมลงดำหนาม และแมลงอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ส้ม และไม้ผลทั่วไป องุ่น ยาสูบ ฝ้าย มะเขือ พริก แตง มันฝรั่ง ชา หอม ผักตระกูลกะหล่ำ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม 35% อีซี
อัตราการใช้ กำจัดแมลงศัตรูฝ้าย ใช้อัตรา 30-60 ซีซี พืชอื่น ๆ ใช้อัตรา 20-35 ซีซี ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช เมื่อตรวจพบศัตรูพืช ฉีดพ่นซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนัง ดวงตา เยื่อบุจมูก เกิดอาการระคายเคือง ถ้าซึมผ่านเข้าสู่ร่างกาย จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายไหล มีเหงื่อออกมาก ปวดท้อง ตาพร่ามัว ชีพจรเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อกระตุก
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากให้นำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษ คือ อะโทรปินซัลเฟท โดยใช้ขนาด 2 มก. ฉีดแบบ IV และฉีดซ้ำทุก 30 นาที จนอาการดีขึ้น
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์
- เป็นอันตรายต่อผึ้ง และเป็นพิษต่อปลา
- ห้ามผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น lime sulphur
- ใช้ในการป้องกันพืชได้ประมาณ 12-20 วัน
- สลายตัวในดินได้เร็วกว่า พาราไธออน
- ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

ฟอสเม็ท
(phosmet)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 230 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง มากกว่า 4,040 มก./กก. (กระต่าย)
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย หนอนม้วนใบ หนอนเจาะผลไม้ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด ด้วงหมัด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย และแมลงอื่น ๆ รวมทั้งแมลงศัตรูปศุสัตว์ เช่น เหา ไร และโรคขี้เรื้อนสุกร
พืชที่ใช้ ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง องุ่น มะเขือเทศ ไม้ผล ใช้กำจัดโรคขี้เรื้อนสุกร และ วัวเนื้อ
สูตรผสม 20% น้ำมัน , 18.8% น้ำมัน และ 12% อีซี , 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ กำจัดขี้เรื้อนสุกร ใช้โดยการเทราดฟอสเม็ทลงบนตัวสุกร ในอัตรา 1 ซีซี ต่อสุกรหนัก 10 กก. ถ้าพบไรหรือขี้เรื้อนที่ใบหู ให้ใช้แปรงทาสีชุบฟอสเม็ททา บริเวณที่พบ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษในสัตว์ โดยทั่วไป สัตว์จะมีอาการซึม ไม่มีแรง น้ำลายไหล และหายใจขัด สำหรับการรักษา ให้ใช้ยา อะโทรปินซัลเฟท ขนาด 0.2-0.5 มก./กก. น้ำหนักตัว ฉีดเข้าแบบ IV และ IM หรือ SC ให้ฉีดซ้ำทุก 3-6 ชั่วโมง
อาการเกิดพิษในคน จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย กระวนกระวาย มีอาการสั่นที่ปลายลิ้นและเปลือกตา ม่านตาหรี่ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำตาและน้ำลายไหล เหงื่อออกมาก ปวดท้องเกร็ง ชีพจรเต้นช้า กล้ามเนื้อเกร็ง ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการหายใจลำบาก ปอดบวม ขาดออกซิเจน ตัวเขียวคล้ำ กล้ามเนื้อหูรูดไม่ทำงาน ชักและตาย
การแก้พิษในคน ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้รีบล้างด้วยน้ำและสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท โดยให้ขนาด 2 มก. ฉีดแบบ IM และให้ซ้ำทุก 3-8 นาที จนเกิดอาการ atropinization ห้ามใช้ยาพวก morphine theophyline aminophylline barbiturates phenotriazines และ reppiratory depressant
ข้อควรรู้ - ห้ามใช้กับลูกสัตว์และสัตว์ที่กำลังป่วย
- ห้ามใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- ห้ามใช้กับวัวนม
- เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง
- อย่าเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส

ฟ๊อกซิม
(phoxim)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโพรัส ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย moderate cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,895 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก. (หนู)
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ - แมลงศัตรูในโรงเก็บ เช่น มอดข้าวสาร มอดข้าวเปลือก มอดแป้ง ผีเสื้อข้าวโพด ผีเสื้อข้าวเปลือก ด้วงงวงข้าว ด้วงเจาะเม็ดถั่ว
- แมลงศัตรูปศุสัตว์ เช่น ไร และโรคขี้เรื้อนสุกร
- แมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยอ่อน มวนดอกรัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อขาวกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม เพลี้ยไฟ แมลงกะชอน หนอนกอลายและสีชมพู และด้วงดีด
พืชที่ใช้ เมล็ดพันธุ์พืช ฝ้าย ยาสูบ ผักต่าง ๆ กล้วย มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วลิสง ที่เป็นปศุสัตว์ ได้แก่ สุกร
สูตรผสม 3% ดี , 7.5% และ 50% อีซี , 80% ยูแอลวี
อัตราใช้และวิธีใช้ ชนิด 3% ดี ใช้คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกในอัตรา 20-40 กรัม ต่อ เมล็ดพันธุ์ 100 กก. ชนิด 75% เอส ใช้กำจัดไรและขี้เรื้อนสุกร ใช้อัตรา 4 ซีซี ต่อสุกรหนัก 10 กก. ชนิด 50% อีซี ใช้กำจัดแมลงทำไปในอัตรา 20-30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ จะมีอาการมึนงงและวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งในช่องท้อง ท้องร่วง ม่านตาหรี่ หายใจแรง เหงื่อออกมาก
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ให้รีบนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท โดยใช้ขนาด 2 มก. ฉีดแบบ IV ถ้ามีอาการหนัก ให้ใช้ขนาด 4 มก. และฉีดซ้ำด้วยขนาด 2 มก. ทุก ๆ 10-15 นาที จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ยา 2-PAM และ Toxogonin ใช้รักษาร่วมกับ atropine ได้ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้รวดเร็ว
- พิษที่มีต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีน้อย
- สามารถใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
- อย่าใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- อย่าใช้กับสารกำจัดศัตรูพืชชนิดดับบลิวพี (WP) ผสมกับสารนี้ในถังฉีดพ่น
- เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

ไพริมิคาร์บ
(pirimicarb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท ประเภทดูดซึม ที่ใช้ในการกำจัดเพลี้ยอ่อนโดยเฉพาะ ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและเป็นสารรมควันพิษในตัว สามารถแทรกซึมเข้าลำต้นได้โดยผ่านทางใบและรากได้ cholinesterase inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 147 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 50 มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน
พืชที่ใช้ ส้ม ยาสูบ มันฝรั่ง ข้าวโพด ผักตระกูลกะหล่ำ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 50% ดีจี , 50% ดับบลิวพี
อัตราการใช้ แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช โดยทั่วไปใช้อัตราระหว่าง 5-15 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ก่อนใช้ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช เมื่อเห็นว่ามีเพลี้ยอ่อนระบาด ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย ตาพร่า หายใจลำบาก อาจจะชักและหมดสติได้
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่หลายครั้ง ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ ถ้าเข้าปากต้องทำให้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นแล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท โดยฉีดแบบ IV แล้วฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็นทุก 15 นาที แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 2-7 วัน
- ออกฤทธิ์เร็ว ฤทธิ์ตกค้างมีระยะสั้น
- ไม่เป็นอันตรายต่อตัวห้ำ ตัวเบียฬ และผึ้ง โดยอนุโลม

อ่านต่อตอน 21 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย




 

Create Date : 21 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 21 ธันวาคม 2553 4:29:30 น.
Counter : 1871 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.