"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (Woodblock printing in Japan)

...



“ดูดอกไม้สี่ฤดู”Katsukawa Shunchō ราว ค.ศ. 1790





“Onikojima Yatarô Kazutada” อุตะกะวะ คุนิโยะชิ ราว ค.ศ. 1853





“นักแสดง” อุตะกะวะ คุนิโยะชิ



ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 木版画, moku hanga, อังกฤษ: Woodblock printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” และใช้อย่างแพร่หลายในการพิมพ์หนังสือในช่วงเวลาเดียวกัน

การพิมพ์แกะไม้เป็นสิ่งที่ทำกันในประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในการพิมพ์หนังสือก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์กันขึ้น แต่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นจนกระทั่งมาถึงสมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603-ค.ศ. 1867) วิธีการพิมพ์ก็คล้ายคลึงกันกับที่เรียกว่าแกะไม้ในการสร้างพิมพ์ทางตะวันตก

ประวัติ

หนังสือที่พิมพ์จากวิธีการพิมพ์แกะไม้จากวัดพุทธศาสนาในประเทศจีนพบในญี่ปุ่นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 ในปี ค.ศ. 764 จักรพรรดินีโชะตุกุ (Shotuku) จ้างให้ทำเจดีย์เล็กๆ หนึ่งล้านองค์ (“Hyakumanto Darani”)

แต่ละองค์ก็จะบรรจุม้วนกระดาษเล็ก (กว้างยาวประมาณ 6 x 45 เซนติเมตร) ที่มีคำสวดมนต์ และทรงแจกจ่ายไปยังวัดวาอารามทั่วประเทศเพื่อเป็นการฉลองการปราบกบฎเอมิ (Fujiwara no Nakamaro) ซึ่งเป็นตัวอย่างของการพิมพ์แกะไม้ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีหลักฐานปรากฏในญี่ปุ่น

เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 วัดในประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มพิมพ์หนังสือพุทธศาสนาและภาพของตนเอง แต่การพิมพ์ก็จำกัดเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพราะการพิมพ์ยังเป็นสิ่งที่มีราคาสูงเกินกว่าที่จะผลิตเป็นจำนวนมากได้ และในขณะนั้นก็ยังไม่มีผู้ที่มีความรู้พอที่จะอ่านหนังสือที่พิมพ์ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้การพิมพ์ไม่มีตลาด

จนกระทั่งเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1590 จึงได้มีการพิมพ์งานที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น งานที่พิมพ์คือ “Setsuyō-shū” ซึ่งเป็นพจนานุกรมจีน-ญี่ปุ่นสองเล่ม แม้ว่านักบวชเยซูอิดจะใช้แท่นพิมพ์ในนะงะซะกิกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1590

แต่อุปกรณ์การพิมพ์ที่นำกลับมาโดยกองทัพของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิที่ไปทำการรุกรานเกาหลีในปี ค.ศ. 1593 กลับมามีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการพิมพ์ในญี่ปุ่นมากกว่า สี่ปีต่อมาก่อนที่โทะกุงะวะ อิเอะยะซุจะเป็นโชกุนก็ได้สร้างแท่นพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก

โดยใช้ไม้เป็นส่วนประกอบแทนที่จะเป็นโลหะ อิเอะยะซุควบคุมการสร้างแม่แบบตัวอักษร 100,000 ชิ้นที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารทั้งทางการเมืองและทางประวัติศาสตร์ ในฐานะโชกุนอิเอะยะซุก็สนับสนุนการศึกษาและเป็นผู้นำในการให้การศึกษาแก่ประชาชนในเมือง

การพิมพ์ในช่วงนี้มิได้นำโดยสถาบันโชกุน แต่เป็นสำนักพิมพ์เอกชนที่เริ่มปรากฏขึ้นในเกียวโตเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากนั้นโทะโยะโทะมิ ฮิเดะโยะริ (Toyotomi Hideyori) ผู้เป็นปรปักษ์ต่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการพัฒนาและเผยแพร่การพิมพ์ในญี่ปุ่นด้วย

หนังสือขงจื๊อ “Analects” ได้รับการพิมพ์ในปี ค.ศ. 1598 โดยใช้แท่นพิมพ์เกาหลีตามพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โยเซ (Emperor Go-Yōzei) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือฉบับที่เก่าที่สุดในญี่ปุ่นที่พิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์

แม้ว่าการใช้แท่นพิมพ์จะดูว่ามีความสะดวกแต่ก็เป็นที่ตกลงกันว่าการพิมพ์อักษรญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นแบบ “Semi-cursive script” พิมพ์ได้ดีกว่าเมื่อใช้การพิมพ์โดยวิธีแกะไม้ ฉะนั้นการพิมพ์จึงหันกลับไปเป็นการใช้การพิมพ์ด้วยพิมพ์แกะไม้ และเมื่อมาถึง ค.ศ. 1640 การพิมพ์ด้วยวิธีนี้ก็ใช้สำหรับการพิมพ์แทบจะทุกสิ่งทุกอย่าง

หลังจากนั้นการพิมพ์ด้วยวิธีนี้เริ่มเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในบรรดาศิลปิน และ ได้รับการนำไปใช้ในการพิมพ์งานที่มีขนาดเล็กและราคาถูก และการพิมพ์หนังสือ ผู้ที่เป็นผู้ริเริ่มและผู้นำในการสร้างหนังสือศิลปะด้วยวิธีนี้ที่นำไปสู่การผลิตเป็นอุตสาหกรรมสำหรับสาธารณชนคือโฮะนะมิ โคเอตซุ (Honami Kōetsu) และ ซุมิโนะคุระ โซะอัน (Suminokura Soan)

ในสำนักพิมพ์ที่ซะกะทั้งสองคนก็สร้างพิมพ์ไม้สำหรับงานคลาสสิคของญี่ปุ่นที่รวมทั้งเนื้อหาและภาพประกอบ ซึ่งเท่ากับเป็นการเปลี่ยนจาก “ม้วนหนังสือ” (Emakimono) มาเป็นหนังสือสำหรับตลาดที่กว้างขึ้น ปัจจุบันหนังสือเหล่านี้เรียกว่าหนังสือโคเอตซุ, หนังสือซุมิโนะคุระ

หรือหนังสือซะกะ ซึ่งถือกันว่าเป็นสิ่งพิมพ์จากงานคลาสสิคแรก ที่มีฝีมือและคุณภาพดีที่สุด โดยเฉพาะที่มีชื่อเสียงที่สุดคืองานพิมพ์ซะกะ “ตำนานอิเซะ” (Ise monogatari) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1608

วิธีการพิมพ์ที่แม้จะเป็นวิธีที่ยุ่งยากและมีราคาสูงกว่าวิธีการพิมพ์ต่อมาแต่กระนั้นก็ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีที่ใช้กันมาก่อนหน้านั้นที่แต่ละเล่มมาจากการคัดลอกด้วยมือ ซึ่งทำให้เป็นการเริ่มต้นการผลิตหนังสือกันอย่างเป็นอุตสาหกรรมสำหรับสาธารณชน

ขณะที่หนังสือซะกะจะเป็นหนังสือที่พิมพ์บนกระดาษที่สวยงาม และใช้การตกแต่งหลายอย่างเพราะเป็นการพิมพ์สำหรับกลุ่มคนจำนวนไม่มากนักที่เป็นคอหนังสือ แต่สำนักพิมพ์อื่นในเกียวโตหันไปหาวิธีที่จะพิมพ์ให้มีราคาถูกกว่าและขายได้ในวงที่กว้างขึ้น

เนื้อหาของหนังสือก็แตกต่างกันออกไปมากที่รวมทั้งหนังสือท่องเที่ยว, ตำราแนะนำ, “นวนิยายเชิงล้อเลียน” (kibyōshi), “วัฒนธรรมคนเมือง” (sharebon), หนังสือศิลปะ และบทละครสำหรับการเล่น “หุ่น” (jōruri) สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นภายในหนังสือแต่ละประเภท

เช่นหนังสือบทละครสำหรับการเล่น “หุ่น” ก็จะมีการเลือกใช้ลักษณะการเขียนแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งก็หมายความว่าลักษณะการเขียนอักษรของผู้ได้รับเลือกก็จะใช้เป็นมาตรฐานของหนังสือประเภทนั้น

สำนักพิมพ์ต่างๆ ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาและขยายตัวกันอย่างรวดเร็วที่พิมพ์ทั้งหนังสือและใบปลิว สำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดสำนักพิมพ์หนึ่งคือสึตะ-ยะ (Tsutaya Jūzaburō) สำนักพิมพ์จะเป็นเจ้าของแม่พิมพ์ที่แกะขึ้นซึ่งคล้ายกับการมีลิขสิทธิ์ในสมัยปัจจุบัน

สำนักพิมพ์หรือเอกชนสามารถซื้อแม่พิมพ์จากกันและกันได้ เมื่อซื้อแล้วก็จะเป็นผู้มีสิทธิในการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ที่ซื้อมา แต่ความคิดเรื่องการเป็นเจ้าของปัญญสมบัติยังไม่ปรากฏ

การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะดำเนินต่อมาจนกระทั่งความนิยมภาพอุคิโยะเริ่มลดถอยลง และการใช้แท่นพิมพ์และวิธีการพิมพ์แบบอื่นเข้ามาแทนที่ในการพิมพ์งานศิลปะที่เป็นแบบใหม่

วิธีพิมพ์

"Shōki zu" (โชคิก้าวเท้า) โดย โอะคุมุระ มะซะโนะบุ ราว ค.ศ. 1741-ค.ศ. 1751 ตัวอย่างภาพพิมพ์ติดเสาที่เดิมสูงกว้าง 69.2 x 10.1 เซนติเมตรวิธีการพิมพ์เนื้อความ และ ภาพจะคล้ายคลึงกัน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็แต่ตรงปริมาณที่พิมพ์ และความซับซ้อนของสีที่ใช้ถ้าเป็นการพิมพ์ภาพ

ภาพประกอบหนังสือส่วนใหญ่จะเป็นภาพเอกรงค์ที่ใช้หมึกดำเท่านั้น และในช่วงระยะเวลาหนึ่งการพิมพ์งานศิลปะจะเป็นแต่การพิมพ์เอกรงค์หรือเพียงสองหรือสามสีเท่านั้น

การพิมพ์ก็จะเริ่มด้วยการวาดตัวหนังสือหรือภาพบน “กระดาษวะชิ” (washi) และปิดบนแผ่นไม้ที่มักจะเป็นไม้เชอร์รี จากนั้นก็จะทำการแกะไม้ตามรอยที่วาดไว้ในรูป หลังจากนั้นก็ใช้ “ประคบบะเร็ง” (Baren) กดกระดาษให้ติดกับพิมพ์ที่ทาหมึกเพื่อให้ลวดลายหรือตัวหนังสือปรากฏบนกระดาษ

ในระยะแรกการประคบก็อาจจะทำด้วยมือแต่ต่อมาก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องมือที่ใช้ในตรึงแม่แบบไว้ให้แน่นก่อนที่จะกดพิมพ์ ซึ่งทำให้การพิมพ์หลายสีทำได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องการจะพิมพ์สีแต่ละสีซ้อนไปบนสีที่พิมพ์อยู่แล้วอย่างเหมาะเจาะ

ดังที่กล่าวแล้วว่าเนื้อหาของหนังสือและภาพส่วนใหญ่ที่พิมพ์จะเป็นเอกรงค์ แต่ความนิยมภาพอุกิโยะที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ความต้องการของจำนวนสีที่ใช้และความซับซ้อนในการพิมพ์มากและซับซ้อนตามขึ้นไปด้วย การวิวัฒนาการของการพิมพ์แบ่งได้เป็นช่วงๆ ดังนี้:

ภาพพิมพ์หมึก (ญี่ปุ่น: Sumizuri-e 墨摺り絵 ?) - ภาพพิมพ์เอกรงค์ที่ใช้แต่หมึกดำ

ภาพพิมพ์สีแดง (ญี่ปุ่น: Benizuri-e 紅摺り絵 ?) - ภาพพิมพ์ที่มีรายละเอียดเป็นหมึกสีแดง หรือเน้นด้วยมือด้วยหมึกสีแดงหลังจากที่พิมพ์เสร็จแล้ว หรือบางครั้งก็จะใช้สีเขียวด้วย

ภาพพิมพ์เน้นสีส้ม (ญี่ปุ่น: Tan-e 丹絵 ?) - ภาพพิมพ์ที่เน้นด้วยสี่ส้มโดยใช้รงควัตถุสีแดงที่เรียกว่า tan

ภาพพิมพ์สีคราม หรือ ภาพพิมพ์สีม่วง (ญี่ปุ่น: Aizuri-e 藍摺り絵 ?), (ญี่ปุ่น: Murasaki-e 紫絵 ?) และภาพพิมพ์ลักษณะอื่นที่เพิ่มสีขึ้นอีกหนึ่งสีนอกไปจากสีดำ หรือแทนที่สีดำ

ภาพอุรุชิ (ญี่ปุ่น: Urushi-e 漆絵 ?) - ภาพพิมพ์ที่ใช้กาวผสมสีเพื่อให้สีมีความหนาขึ้นทำให้ภาพดูเข้มข้นขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีการประดับด้วยทอง ไมคา และ วัตถุอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางศิลปะของภาพให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นภาพอุรุชิ ยังหมายถึงการวาดภาพบนเครื่องแล็คเคอร์แทนที่จะเพียงแต่ทาสีด้วย

ภาพนิชิคิ (ญี่ปุ่น: Nishiki-e 錦絵 ?) - เป็นวิธีการพิมพ์ที่ใช้แม่แบบหลายแม่แบบ ที่แต่ละแม่แบบก็สร้างขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ ที่ทำให้สามารถใช้ในการพิมพ์ภาพที่มีหลายสี ที่สร้างความซับซ้อนและรายละเอียดให้แก่ภาพได้

แม่พิมพ์แต่ละส่วนก็จะแกะขึ้นต่างหากจากกัน และจะใช้แต่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของภาพเฉพาะสีเดียวเท่านั้น แม่พิมพ์แต่ละส่วนก็จะได้รับเครื่องหมายที่เรียกว่า “เคนโต” (見当) เพื่อที่จะได้ประสานแม่พิมพ์ส่วนต่างของภาพได้อย่างสะดวก


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศุกรวารสิริสวัสดิ์ มานมนัสรมณีย์ค่ะ




 

Create Date : 15 มกราคม 2553
0 comments
Last Update : 15 มกราคม 2553 17:53:54 น.
Counter : 4619 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.