"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 
 
10 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

ภาพที่ ๗๓. เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา โปรดให้พระอานนท์จัดที่บรรทมระหว่างไม้รังทั้งคู่









เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา
โปรดให้พระอานนท์จัดที่บรรทมระหว่างไม้รังทั้งคู่









สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๗๓

เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา โปรดให้พระอานนท์จัดที่บรรทมระหว่างไม้รังทั้งคู่

พระพุทธเจ้าพร้อมกับพระสงฆ์บริวาร เสด็จไปถึงชานเมืองกุสินาราในเวลาจวนค่ำ เสด็จข้ามแม่น้ำหิรัญวดี แล้วเสด็จเข้าไปในอุทยานนอกเมืองนั้น ที่มีชื่อว่า 'สาลวโนทยาน'

เมืองต่างๆ ในสมัยพระพุทธเจ้าส่วนมาก มีอุทยานเหมือนสวนสาธารณะอย่างทุกวันนี้ สำหรับประชาชนในเมือง และชนชั้นปกครองได้อาศัยเป็นที่พักผ่อนกันทั้งนั้น

กรุงราชคฤห์ก็มีอุทยานชื่อ ลัฏฐิวัน ที่เรียกว่าสวนตาลหนุ่ม กบิลพัสดุ์เมืองประสูติของพระพุทธเจ้าก็มีลุมพินีวัน กุสินาราจึงมีสาลวโนยาน
ดังกล่าว

สาลวโนทยานอยู่นอกเมืองกุสินารา มีต้นไม้ใหญ่สองต้นเคียงคู่กันอยู่ เรียกว่า 'ต้นสาละ' อุทยานแห่งนี้จึงได้นามตามต้นสาละว่าสาลวโนยานดังกล่าว

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอุทยานแห่งนี้แล้ว ตรัสสั่งให้พระอานนท์ตั้งเตียง หันทางเบื้องศีรษะ ไปทางทิศเหนือ ให้เตียงอยู่ระหว่างใต้ต้นสาละทั้งคู่ ตรัสว่า "เราลำบากและเหน็ดเหนี่อยมาก จักนอนระงับความลำบากนั้น"

พระอานนท์จัดตั้งเตียงและปูผ้ารองเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จบรรทมตะแคงข้างขวา หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ตั้งพระบาทซ้อนเหลี่ยมกัน ดำรงสติสัมปชัญญะแล้ว ตั้งพระทัยจะเสด็จบรรทมเป็นไสยาวสาน (นอนเป็นครั้งสุดท้าย)

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 'อนุฐานไสยา' แปลว่า นอนโดยจะไม่ลุกขึ้นอีก

ปฐมสมโพธิว่า "ในขณะนั้นเอง มิใช่ฤดูกาลจะออกดอกเลย แต่สาละทั้งคู่ก็ผลิดอกออกบาน ตั้งแต่โคนรากเบื้องต้นถึงยอด และทั่วทุกกิ่งสาขาก็ดาดาด (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้ ดารดาษ
หรือดาษดา) ด้วยดอกแลสะพรั่ง

แล้วดอกสาละนั้น ก็ร่วงหล่นลงบูชาพระพุทธเจ้า ดอกมณฑารพดอกไม้
ทิพย์ของสวรรค์ ตลอดถึงจุณจันทน์สุคนธชาติของทิพย์ก็โปรยปรายลงจากอากาศ

ดนตรีสวรรค์ก็บันลือประโคม เป็นมหานฤนาทโกลาหลเพื่อจะบูชาพระพุทธเจ้าในกาลอันเป็นอวสานพระองค์"


ขอขอบพระคุณ

- DhammaPerfect@hotmail.com
- อ.เหม เวชกร
- กรอบ ป้ามด

_________________________________________
บันทึก ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ติดต่อ : DhammaPerfect@hotmail.com


สวัสดิ์สิริธีวาร เปรมปรีดิ์มานกมลโชตินะคะ




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2554
12 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:00:01 น.
Counter : 1571 Pageviews.

 

กุสินารา เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา

เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า

กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (โรมัน:Kushinagar-Kasia-Kasaya) ในเขตจังหวัดเดวเย หรือ เทวริยา (โรมัน:Devria-Devriya-Kasia-Kasaya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฏ (โรมัน:Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ

ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ

เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์

ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายใน และมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: nart (sirivinit ) 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:01:52 น.  

 

กุสินาราในสมัยพุทธกาล

เมืองกุสินาราอันเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานอยู่ในแคว้นมัลละ 1 ใน 16 แคว้น ซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็นสองส่วน

คือ ฝ่ายเหนือมีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "โกสินารกา"

และฝ่ายใต้มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "ปาเวยยมัลลกะ"

ทั้งสองเมืองนั้นตั้งอยู่ห่างกันเพียง 12 กิโลเมตร มีอำนาจในการบริหารแยกจากกัน มีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (สามัคคีธรรม)

โดยมีแม่น้ำหิรัญญวดีคั่นตรงกลาง กุสินารานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นอื่น ๆ ในสมัยพุทธกาล จัดว่าเป็นแคว้นเล็ก ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในด้านเศรษฐกิจ

ดังที่พระอานนท์ได้ทูลทักท้วงพระพุทธองค์ที่ทรงเลือกเมืองกุสินาราเป็นสถานที่ปรินิพพานไว้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองดอนในฐานะเมืองกิ่งนี้เลย เมืองอื่นอันมีขนาดใหญ่กว่านี้ยังมีอยู่คือ จัมปา ราชคฤห์ สาวัตถี สาเกต โกสัมพี พาราณสี

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จดับขันธปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์ผู้มีอำนาจ พราหมณ์ผู้มีบารมี เศรษฐีคหบดีผู้มั่งคั่งที่เลื่อมใสในพระองค์มีมากในเมืองเหล่านี้

ท่านผู้มีอำนาจเหล่านั้นจักได้กระทำการบูชาพระสรีระของตถาคต


สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน

ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ

ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว

กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน

ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ในวันที่ 8 แห่งพุทธปรินิพพาน

การที่พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กแห่งนี้เป็นสถานที่ปรินิพพาน มีหลายสาเหตุ

แต่สาเหตุสำคัญ คือ ทรงทราบดีว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระสรีระและพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จักถูกแว่นแคว้นต่าง ๆ แย่งชิงไปทำการบูชา

หากพระองค์ปรินิพพานในเมืองใหญ่ เมืองใหญ่เหล่านั้นอาจไม่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เมืองเล็ก ๆ เช่น เมืองกุสินารา เป็นต้น

ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน

เจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ก็ได้ยกกองทัพหลวงของตนมาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ

แต่ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็ก จึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่ต้องเกิดสงคราม

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:04:00 น.  

 

กุสินาราหลังพุทธปรินิพพาน

หลังพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว เมืองกุสินารากลายเป็นเมืองสำคัญศูนย์กลางแห่งการสักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน

เหล่ามัลลกษัตริย์ได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมากไว้รอบ ๆ สถูปใหญ่

คือ มหาปรินิพานสถูป อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

มหาสถูปนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของปูชนียสถานอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นมาภายหลังในบริเวณนั้น

ต่อมาเมื่อแคว้นมัลละได้ตกอยู่ในความอารักขาขอแคว้นมคธ (ซึ่งในขณะนั้นมีเมืองปาตลีบุตรเป็นเมืองหลวง) สาลวโนทยานยังคงเป็นสถานที่สำคัญอยู่

แต่อยู่ในสภาพที่ไม่รุ่งเรืองนัก ดังในทิพยาวทาน ได้พรรณาไว้ว่า

"พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จมาจาริกแสวงบุญยังกุสินารา ประมาณ พ.ศ. 310

ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ 100,000 กหาปณะ เพื่อเป็นค่าสร้างสถูป เจดีย์ และเสาศิลา

พระเจ้าอโศกเมื่อทรงทราบชัดว่า ณ จุดนี้เป็นสถานที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ถึงกับทรงสลดพระทัย โศกเศร้าถึงเป็นลมสิ้นสติสมปฤดี"

หลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942 - 947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (พระเจ้าวิกรมาทิตย์) แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้พรรณาไว้ว่า

"เมื่อมาถึงกุสินารา มีแต่เมืองที่ทรุดโทรม หมู่บ้านเป็นหย่อม ๆ ห่างกันไป โบสถ์ วิหาร และปูชนียวัตถุ ปรักหักพังโดยมาก สังฆารามที่ควรเป็นที่อยู่อาศัยก็ไม่มีพระสงฆ์อาศัยอยู่

ได้เห็นศิลาจารึกพระเจ้าอโศก 2 หลัก ปักปรากฏอยู่ 2 แห่งในอุทยานสาลวัน จารึกนั้นบอกว่า ณ ที่นี้ เป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์"

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:05:39 น.  

 

บันทึกของพระถังซำจั๋ง (Hiuen-Tsang) ​ซึ่งได้จาริกมาเมืองกุสินาราราวปี พ.ศ. 1300 ได้พรรณาไว้ในจดหมายเหตุของท่านว่า

จุนทสถูป บนที่ตั้งของบ้านนายจุนทะ อันเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้ายก่อนปรินิพพาน

"...เมืองกุสินาราเต็มไปด้วยป้อมปราการ หอสูง และสังฆาราม อยู่ห่างจากเมืองเวสาลี 19 โยชน์

กุสินาราเป็นเมืองหลวงของมัลละกษัตริย์ อยู่ในสภาพปรักหักพัง มองเห็นตัวเมืองและหมู่บ้านเป็นสถานที่รกร้าง

หาคนอยู่อาศัยมิได้ กำแพงเมืองเก่าที่ก่อไว้โดยอิฐ มองดูโดยรอบยาวประมาณ 1 ลี้ มีคนอาศัยอยู่ในกำแพงเมืองเก่าเพียงเล็กน้อย

ตามถนนสายเล็ก ๆ ของเมืองเป็นที่ร้าง... ประตูทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง มีสถูปแห่งหนึ่งเหลือแต่ซาก

มีหลักฐานว่าผู้สร้างคือพระเจ้าอโศกมหาราช สถานที่แห่งนี้เป็นซากบ้านของนายจุนทะบุตรของนายช่างทอง (จุนทะกัมมารบุตร)

คนที่ได้ถวายภัตตาหารครั้งสุดท้ายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กลางหมู่บ้าน มีบ่อแห่งหนึ่ง เป็นบ่อที่ขุดฝังอาหารที่เหลือจากเศษเสวยของพระพุทธองค์

และพระพุทธองค์รับสั่งให้ฝังเสีย ไม่ทรงยอมให้ภิกษุอื่นบริโภค น้ำในบ่อนั้นล่วงเลยมานานเพียงใดก็ดี ก็ยังมีน้ำสะอาดใสอยู่เสมอ...

ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมือง ห่างไป 3-4 ลี้ เราข้ามแม่น้ำอชิตวดีไปทางตะวันตกของแม่น้ำนั้น ไม่ไกลนักเป็นสาลวโนทยาน มีไม้สาละขึ้นเป็นหมู่ใหญ่

ลักษณะของไม้เป็นเปลือกสีขาว ส่วนใบสะอาดเป็นเงาไม่มีขรุขระ

ในป่าไม้สาละนั้น มีสาละใหญ่อยู่ 4 ต้น ที่มีลักษณะใหญ่กว่าไม้อื่น ๆ ...

ในสาลวโนทยาน มีสถูปแห่งหนึ่งเหลือแต่ซาก มีหลักฐานว่าสร้างโดยพระเจ้าอโศก ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำหิรัญญวดี (ในบันทึกบอกว่าอชิตวดี) มีน้ำเปี่มอยู่

มีไม้สาละขึ้นอยู่เต็มทั้งป่า วิหารใหญ่ก่ออิฐถือปูน มีพระพุทธรูปไสยาสน์ปางปรินิพพานหันเศียรไปทางทิศเหนือ

มีลักษณะเหมือนบรรทมหลับ ข้าง ๆ มีสถูปใหญ่ มีจารึกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้สร้าง

แม้จะทรุดโทรม แต่ก็ยังเหลือความสูงถึง 200 ฟุต ข้างสถูปมีศิลาจารึกว่า ที่นี่ เป็นที่เสด็จดับขันธปรินิพ พานของพระตถาคต... ทางทิศเหนือของเมืองกุสินารา (ในมหาปรินิพพานสูตรว่าทางทิศตะวันออก)

เราเดินข้ามแม่น้ำสายหนึ่ง เดินไปประมาณ 300 ก้าว ได้พบพระสถูปองค์หนึ่ง สถานที่นี้เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พื้นดินตรงที่ถวายพระเพลิง บางแห่งเป็นสีเหลืองปนดำ บางแห่งร่วนเหมือนกับถ่านไฟ

ใครก็ตามเมื่อจาริกแสวงบุญ มาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแห่งนี้ ถ้าตั้งจิตให้เป็นสมาธิ สาธยายมนต์ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านั้นก็จะเสด็จมาสู่ตน..."

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:08:30 น.  

 

จนในพุทธศตวรรษที่ 14-15 ราชวงศ์สกลจุรีได้เข้ามาสร้างวัดขึ้นในบริเวณสาลวโนทยานจำนวนมาก

จนพระพุทธศาสนาได้หมดจากอินเดียไปใน พ.ศ. 1743 ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในกุสินาราถูกปล่อยทิ้งร้างและกลายเป็นป่ารกทึบ

จนใน พ.ศ. 2433 ภิกษุมหาวีระ สวามี และท่านเทวจันทรมณี ชาวศรีลังกา เดินทางมายังกุสินาราและเริ่มอุทิศตัว ในการฟื้นฟูพุทธสถานแห่งนี้ร่วมกับเนซารี ชาวพุทธพม่า จนได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า "มหาปรินิวานะ ธรรมะศาลา"

ในปี พ.ศ. 2397 นายวิลสัน นักโบราณคดีอังกฤษ ได้ทำการพิสูจน์ขั้นต้นว่าหมู่บ้านกาเซียคือกุสินารา จนในปี พ.ศ. 2404-2420 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้เริ่มทำการขุดค้นเนินดินในสาลวโนทยาน

จนในปี พ.ศ. 2418-2420 นายคาร์ลลีเล่ หนึ่งในผู้ช่วยในทีมขุดค้นของท่านเซอร์ อเล็กซานเดอร์ ได้ทำการขุดค้นต่อจนได้พบพระพุทธรูปปางปรินิพพาน วิหารปรินิพพาน

และสถูปจำนวนมากที่ผู้ศรัทธาได้สร้างไว้ในอดีตเมื่อครั้งพระพุทธศาสนายังรุ่งเรือง โดยนายคาร์ลลีเล่ เป็นท่านแรกที่เอาใจใส่ในงานบูรณะและรักษาคุ้มครองพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ขุดพบ

จากนั้น นับแต่ พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา กุสินาราได้เริ่มมีผู้อุปถัมภ์ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ เข้ามาสร้างวัดและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้จาริกแสวงบุญที่เริ่มเข้ามาสักการะมหาสังเวชนียสถานแห่งนี้

จนในปี พ.ศ. 2498 รัฐบาลอินเดียได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาปูชนัยสถานแห่งนี้เพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง 25 พุทธชยันตี โดยได้รื้อโครงสร้างวิหารปรินิพพานเก่า (ที่ได้รับการบูรณะสร้างใหม่) ออก เพื่อสร้างมหาปรินิพพานวิหารใหม่

เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างและสามารถรองรับพุทธศานิกชนได้ ในปี พ.ศ. 2499 จนในปี พ.ศ. 2507 วิหารได้พังลงมา ทางการอินเดียจึงบูรณะสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2518

และทางการอินเดียและพุทธศาสนิกชนก็ได้มีส่วนร่วมในการบูรณะกุสินาราจนมีสภาพสวยงามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:09:59 น.  

 

ปัจจุบันกุสินาราได้รับการบูรณะ และมีปูชนียวัตถุสำคัญ ๆ ที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะคือ "สถูปปรินิพพาน" เป็นสถูปแบบทรงโอคว่ำที่เป็นทรงพระราชนิยมในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช

บนสถูปมียอดมน มีฉัตรสามชั้น "มหาปรินิพพานวิหาร" ตั้งอยู่ด้านหน้าในฐานเดียวกันกับสถูปปรินิพพาน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน (คือพระพุทธรูปนอนบรรทมตะแคงเบื้องขวา) ศิลปะมถุรา มีอายุกว่า 1,500 ปี

ในจารึกระบุผู้สร้างคือ หริพละสวามี โดยนายช่างชื่อ ทินะ ชาวเมืองมถุรา ในปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ถือได้ว่าเป็นจุดหมายสำคัญที่ชาวพุทธจะมาสักการะ เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันพิเศษ คือเหมือนคนนอนหลับธรรมดา

แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานจากไปอย่างผู้หมดกังวลในโลกทั้งปวง

"มกุฏพันธนเจดีย์" อยู่ห่างจากปรินิพพานสถูปไปทางทิศตะวันออก 1 กิโลเมตร ชาวท้องถิ่นเรียก รัมภาร์สถูป

เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ มีสภาพเป็นเนินดินก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมไว้อย่างดี

ปัจจุบันชาวพุทธทั่วโลกได้มาก่อสร้างวัดไว้มากมาย โดยมีวัดของไทยด้วย ชื่อ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ปัจจุบันชาวไทยที่มาสักการะ ณ กุสินารา นิยมมาพักที่นี่

ในส่วนพุทธสถานโบราณลุมพินีนั้น ปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นอย่างดีจากรัฐบาลอินเดีย โดยรอบมีสภาพเป็นสวนป่าสาละร่มรื่นเหมือนครั้งพุทธกาล ชวนให้เจริญศรัทธาแก่ผู้มาสักการะตลอดมาจนปัจจุบัน


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริธีววาร - ปรีดิ์มานกมลสันติ์ ที่มาอ่านอุดมมงคลนี้ค่ะ

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2552

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:10:48 น.  

 















ขอนอบน้อมถวายเป็นพุทธบูชา

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:12:09 น.  

 

ดอกสาละมาถวายครับพี่นาถ
............................................

 

โดย: panwat 10 กุมภาพันธ์ 2554 0:53:00 น.  

 



ราตรีสวัสดิ์ค่ะพี่นาถ

 

โดย: ข้ามขอบฟ้า 10 กุมภาพันธ์ 2554 4:38:51 น.  

 

บุญที่เกิดจากการให้ปัญญาที่เป็นสิริมงคลกับผู้อื่น ย่อมนำความสุขมาให้กับเจ้าของ Blog โดยแท้จริง

อนุโมทนา Blog ที่ทำให้เกิดปัญญานี้ด้วยคนค่ะ

 

โดย: พิรุณร่ำ 10 กุมภาพันธ์ 2554 6:05:23 น.  

 


สวัสดีค่ะพี่นาถ..

เชิญรูปถ่ายหลวงพ่อเขียนมาร่วมอวยพรให้

ขอให้เจริญในหน้าที่การงานนะค่ะ

คิดสิ่งใดก็ให้สมหวัง

ช่วงนี้มีเปิดเขาคิชฌกูฎจนถึง 4 เมษาค่ะ

ยังไม่แน่ใจว่าจะได้ไปวันไหนค่ะ

อาจจะเป็นวันพรุ่งนี้...?

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 10 กุมภาพันธ์ 2554 9:43:14 น.  

 

หนูเพิ่งรู้จักดอกสาละได้ไม่นานเองค่ะ เคยเห็นแต่ไม่รู้จักชื่อ...

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 11 กุมภาพันธ์ 2554 15:44:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.