เย็นศิระเพราะพระบริบาล
<<
สิงหาคม 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
22 สิงหาคม 2555

งานประเพณี ทำบุญในประเพณีทิ้งกระจาด ปี 2555

ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ อดีตประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เคยกล่าวว่า เนื้อแท้ของการทำบุญในประเพณีทิ้งกระจาดมีความสำคัญอยู่  2  ประการ กล่าวคือ   “…ทิ้งกระจาดมีความหมายสำคัญ  2  อย่างที่เราเรียกว่า   “ อิ๋มซี และ เอี่ยงซี “   อิ๋ม ( )   คือวิญญาณ เอี๋ยง ( ) คือชีวิตซี  ( ) คือการแจก พิธีทิ้งกระจาด คือ การทำบุญอุทิศให้ดวงวิญญาณ ร่วมไปกับการแจกทานให้ผู้มีชีวิตที่ยากไร้ งานทิ้งกระจาดจึงต้องทำทั้ง  2  ส่วน ทำบุญกันในศาลเจ้าก่อน แล้วจึงมาแจกของ…..”     จึงสอดคล้องกับจริยวัตรขององค์หลวงปู่ไต้ฮงโจวซือ ผู้ซึ่งช่วยทั้งผู้ที่เสียชีวิตโดยไร้ญาติขาดมิตร และช่วยสงเคราะห์ผู้ยากไร้ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เทศกาลทิ้งกระจาด จึงเป็นเทศกาลที่ครบถ้วนทั้ง “ ทำบุญและให้ทาน ”


ประเพณีทิ้งกระจาด เป็นความเชื่อของพุทธบริษัทจีนฝ่ายมหายาน ประเพณีที่ถือปฏิบัติมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยพุทธกาลสองพันกว่าปีล่วงมาแล้ว  ในสมัยนั้นเล่ากันว่าพระอานนท์ เป็นเถระผู้เริ่มทำเป็นองค์แรก โดยพระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระอานนท์ทำการสะเดาะเคราะห์ เพื่อให้รอดพ้นจากบ่วงกรรม ให้พระอานนท์ทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลแก่เปรต และดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว โดยการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ แล้วแจกจ่ายสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นไทยทานแก่สัตว์โลกผู้ยากไร้ทั้งหลาย และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณไร้ญาติที่กำลังทนทุกข์อยู่ในนรกภูมิหรือที่กำลังล่องลอยขอส่วนบุญ

ความมีอยู่ว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาถึงตำบลนิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อตั้งกรดปักธุดงค์นอกเมืองแล้ว พระอานนท์ได้ปลีกวิเวกออกไปบำเพ็ญเพียรห่างไกลจากสาวกทั้งหลาย ปรากฏว่ามีเจ้าแม่กวนอิมได้แปลงกาย เป็นผีเปรตอสูรกายมาปรากฏตัว และแจ้งให้ทราบว่า พระอานนท์จะถึงแก่ความตายในอีก 3 วันข้างหน้า หากไม่อยากตายแล้วไปอยู่กับพวกตน พระอานนท์ต้องทำบุญทำทานให้บรรดาผู้ยากไร้ และ ผีเปรตอสูรกายทั้งหลาย พระอานนท์เป็นพหูสูต  ได้ฟังดังนั้นก็รู้แจ้งเห็นจริงตามที่ผีเปรตมาบอก พระอานนท์มีความกังวลจึงเข้าเฝ้าสัมมาสัมพุทธเจ้า และเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระพุทธองค์จึงได้สอนให้พระอานนท์ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ แต่เนื่องจากการจะโปรดอสูรกายวิญญาณที่ล่องลอยอยู่นั้น ไม่อาจทำได้ด้วยวิธีการให้ทานธรรมดา ต้องอาศัยส่งส่วนบุญด้วยพุทธนุภาพ ดังนั้นจึงต้องประกอบพิธีสันนิบาตพุทธจักร นั่นก็คือต้องถึงพร้อมด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีทิ้งกระจาด ที่พุทธบริษัททั้งหลายอนุโมทนา เลื่อมใส ถือปฏิบัติต่อกันมานับพันปี เพราะภายหลังจากประกอบพิธีให้ทานในคราวนั้น ทำให้พระอานนท์มีชีวิตยืนยาวต่อมาอีกหลายปี ทั้งนี้เนื่องมาจากกุศลผลบุญที่ได้กระทำในครั้งนั้น กาลเวลาได้ปรับเปลี่ยนให้การดำเนินพิธีกรรมแตกต่างออกไปจากดั้งเดิม ตามสภาพของแต่ละท้องถิ่น

    ในสมัยก่อน เมื่อใกล้ถึงวันเปิดประตูผี คือวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินจีน บรรดาโรงเจ หรือสถานสาธารณกุศล จะมีการบอกบุญให้ชาวบ้านร้านถิ่นร่วมงานบุญประเพณีทิ้งกระจาด โดยการนำตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ตาห่างบ้างถี่บ้างเป็นรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 นิ้ว คล้ายเข่งปลาทู เพียงแต่ไม่มีขอบสูงที่ก้นตะกร้ามีกระดาษสีแดงหรือสีเหลือง แจ้งกำหนดของงานทิ้งกระจาดของศาลเจ้า, โรงเจ ที่เอาตะกร้ามาวาง กำหนดวันมาเก็บตะกร้า จากนั้นเมื่อถึงกำหนดวันนัดหมาย เจ้าหน้าที่โรงเจก็จะมาเก็บ ผู้ที่ได้รับก็จะนำสิ่งของ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารแห้งใส่ไว้ หรือเป็นเงินจำนวนที่ตนพอใจจะทำบุญ โรงเจนั้น ๆ ก็จะนำสิ่งของ หรือ ปัจจัย ไปดำเนินการต่อไป

ภายหลังจากผ่านพิธีการทางศาสนา ก็มีการโปรยทานทิ้งกระจาด ช่วงเช้าเป็นพิธีสงฆ์ ช่วงบ่ายมีการโปรยทาน สถานที่โปรยทานส่วนใหญ่จะใช้บริเวณที่หน้าศาลเจ้า หากเป็นศาลเจ้าใหญ่โต มีพื้นที่กว้างขวางก็จะมีหอสูงเป็นที่โปรย หรือโยนสิ่งของ เริ่มด้วยพระสงฆ์หยิบสิ่งของที่ชาวบ้านมาทำบุญ เช่นผลไม้ หรือ ขนมปัง หมั่นโถว เงิน ทอง โปรยไปที่ฝูงชนซึ่งเบียดเสียดยัดเยียด คอยรับแจกสิ่งของ ที่ถูกต้องเรียกว่าแย่ง ของแต่ละชิ้นที่แย่งชิงมาได้ก็แทบจะแหลกเหลว เพราะถูกตะปบจากมือเป็นสิบจนทะเลาะเบาะแว้งกัน ต่อมามีการพัฒนาด้วยการโยนติ้ว ติ้วเป็นแท่งไม้ไผ่ที่เหลาบางๆ ยาวประมาณ10 นิ้ว กว้างขนาด ½ – 1 ซ.ม. มีตัวเลขหรือตัวอักษรเขียนไว้ที่ไม้ติ้วนั้น เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการทิ้งกระจาดแล้ว ผู้ที่ได้ไม้ติ้วก็จะนำไปแลกสิ่งของกับคณะกรรมการจัดงาน วิธีนี้ผู้คนก็จะได้สิ่งของเป็นชิ้นเป็นอันที่สมบูรณ์ แต่ยังคงมีการกระทบกระทั่งจากการแย่งชิงอยู


      ต่อมา ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นการรับแจกสิ่งของกันตรง ๆ โดยวิธีการให้ผู้คนมารอรับที่หน้าศาลเจ้า หรือ มูลนิธิ เมื่อถึงกำหนดเวลาที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ก็จะเปิดประตูให้เข้าไปในพื้นที่ที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนารูปแบบเป็นการเข้าแถว มีการแจกบัตร มีวิธีการเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่มารับของไม่ต้องเบียดเสียด อย่างที่มูลนิธิ ป่อเต็กตึ๊งดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน

วิธีการของการบอกบุญทิ้งกระจาดก็เปลี่ยนไปเช่นกัน การเอากระจาดไปวางเพื่อให้ผู้คนใส่สิ่งของนั้นก็กลายเป็นการประกาศบอกบุญกันตรงๆ จากสิ่งของวางอยู่ในตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ ที่ผู้ไปแย่งได้จากงานทิ้งกระจาด ก็กลายเป็นสิ่งของที่อยู่ในกระจาดสานด้วยไม้ไผ่ หรือ หวายแทน หรือ เป็นหมวกสานที่ชาวจีนเรียกว่า “โก่ยโล้ย” หรือ “กุยเล้ย” หมวกสานนี้ก็เหมือนตะกร้าเอาสิ่งของที่ได้รับแจกใส่ไว้ในหมวกสาน สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของได้โดยสะดวก ต่อมาก็ถึงยุคพลาสติก ถุงพลาสติกที่สามารถทนแดดทนฝน สามารถหิ้วได้ ใส่ของได้มาก และ เบาแรง แต่หมวกสานก็ยังคงแจกอยู่ เพราะถือว่าหมวกสานไม้ไผ่เหมือนบ้านหลังคามุงจาก การทำบุญหมวกสาน 1 ใบ เหมือนการทำบุญสร้างบ้าน 1 หลังให้ความร่มเย็น


        ระยะเวลา 1 เดือน เริ่มจากวันเปิดประตูผี หรือ เดือนปล่อยผี บรรดาผีเปรต ผีนรก วิญญาณเร่ร่อนไร้ญาติทั้งหลาย ได้รับอนุญาตให้ออกมาขอแบ่งส่วนบุญจากผู้คนในโลกมนุษย์ ไปจนกระทั่งวันที่ 29 เดือน 7 เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ในระหว่างนี้พุทธบริษัทจีนจะจัดหาเครื่องเซ่นไหว้ ที่ประกอบด้วยอาหารคาวหวาน เสื้อผ้ากระดาษ ฯลฯ ไปไหว้ตามศาลเจ้าที่ตนนับถือ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว และยังเผื่อแผ่ไปยังวิญญาณไร้ญาติในโอกาสเดียวกันด้วย นอกจากนี้ยังนำสิ่งของที่เซ่นไหว้นั้น แจกจ่ายให้แก่ผู้ยากไร้ ขาดแคลน เป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง การกำหนดวันทิ้งกระจาดแจกจ่ายสิ่งของ ขึ้นอยู่กับแต่ละศาลเจ้า, โรงเจ , องค์ก

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดงานประเพณีทิ้งกระจาดในเดือน ตามจันทรคติของจีน ซึ่งมูลนิธิฯถือเป็นนโยบายหนึ่งที่ปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ไม่ต่ำกว่าอายุการก่อตั้งมูลนิธิฯกว่า 100 ปี และคาดว่าเป็นมูลนิธิแห่งแรกที่จัดงานทิ้งกระจาดอย่างเป็นทางการและเป็นกิจจะลักษณะ เพราะถือเป็นประเพณีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เพื่อนมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้วทั้งที่เป็นญาติและไม่เป็นญาติพร้อมกับทำทานให้แก่ผู้ยากไร้ เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ ที่ปฏิบัติสืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ด้วยการนำสิ่งของเครื่องเซ่นไหว้ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง มากราบไหว้เพื่ออุทิศส่วนกุศล หลังจากนั้นทางมูลนิธิฯ จะรวบรวมสิ่งของและจัดซื้อเพิ่มเติมเพื่อนำแจกจ่ายแก่ประชาชน พร้อมนำมอบองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน 

 

ทั้งนี้ต้องไม่เกินกำหนด 1เดือน ซึ่งเป็นวันกำหนดปิดประตูผี ที่วิญญาณทั้งหลายที่ออกมาคอยรับแบ่งส่วนบุญนั้น  ต้องกลับตามกำหนด ในระหว่างหนึ่งเดือนนี้ จะมียมทูต จ้าวแห่งผีออกมาปรากฏกาย เป็นตัวคอยกำกับความประพฤติของบรรดาวิญญาณ  ผีเร่ร่อนทั้งหลายที่ออกมาขอส่วนบุญในโลกมนุษย์ ยมทูตองค์นี้มีชื่อว่า ไต่สื่อเอี๊ย หน้าตาน่ากลัว ว่ากันว่าเป็นปางดุร้ายของเจ้าแม่กวนอิม ที่มาคอยดูแล  และกำราบบรรดาผีนรก

 

 


 

 

ปีนี้มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้จัดงานไ้ว้ 2 แ่ห่งคือ สุสานมูลนิธิป่อเต็กตี๊ง จังหวัด สมุทรสาคร

 

 

มีอาสาดารา ศิลปิน และพนักงานอาสากู้ัภัย ไปร่วมงานมอบสิ่งของและความสุขให้

 

ผู้รับบริจาค ซึ่งได้แจกไปแล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา และครั้งที่ 2 ในปีนี้

จะจัดที่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ถนนเจ้าคำรพ พลับพลาไชย ในวันที่ 13 กันยายน 2555 เวลา

06.00 - 11.00 น. จึงฝากบุญบอกกล่าวพี่น้อง หากมีเวลารบกวนแวะไปทำุบุญได้ที่ 

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง แห่งเดียวเท่านั้น ไม่มีการออกเดินเรี่ยไร นอกสถานที่ 

(บุญอยากได้ต้องทำเองไม่มีขายในเซเว่น) แล้วพบกันครับ 

ตั้ม....ตึ๊งทีม.....สงสัยให้ถาม 

//www.pohtecktung.org/index.php?option=com_content&view=article&id=669%3A-2555&catid=61%3A2009-06-26-08-34-15&Itemid=109&lang=th

https://www.facebook.com/tummpb




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2555
2 comments
Last Update : 22 สิงหาคม 2555 12:15:31 น.
Counter : 4680 Pageviews.

 

ไม่มีใครแวะมาเลยเว้ยเห้ย อุสาห์ อัพบ้าน เงียบจริงๆ

 

โดย: เราชื่อตั้ม MPB 24 สิงหาคม 2555 12:07:17 น.  

 

I see

 

โดย: patcee (pat the star ) 28 สิงหาคม 2555 13:51:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เราชื่อตั้ม MPB
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add เราชื่อตั้ม MPB's blog to your web]