Timshel : Maybe , Maybe not

 
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
22 มกราคม 2551
 

กำเนิดชื่อเดือน

เคยสงสัยมั๊ยครับ ทำไมเดือน December ถึงเป็นเดือน 12 (DEC = 10) หรือ November จึงเป็นเดือน 11 ทั้งที่ Nov = 9 หรือ October จึงเป็น เดือน 10 (Octa = 8)

ค้นดู เห็นน่าสนใจเลยลงไว้ เผื่อมีคนช่างสงใจอยากอ่านครับ

กำเนิดชื่อเดือน ตอนที่ 1

บทนำ

เดือนเป็นหน่วยวัดเวลาตามธรรมชาติ 1 เดือน คือ ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลก 1 รอบ และเรียกว่า เดือนจันทรคติ เพราะอาศัยดวงจันทร์เป็นหลัก เดือนจันทรคติใช้ในปฏิทินจันทรคติที่มีเดือนอยู่ 2 อย่างคือ เดือนเต็มกับเดือนขาด เดือนเต็มหรือเดือนคู่ เช่น เดือนยี่ , 4 , .. คือเดือนที่มี 30 วัน

วันแรกของเดือนเรียกว่า วันข้างขึ้น 1 ค่ำ วันกลางเดือนเรียกว่า วันข้างขึ้น 15 ค่ำ วันสิ้นเดือนเรียกว่า วันข้างแรม 15 ค่ำ ส่วนเดือนขาดหรือเดือนคี่ เช่น เดือนอ้าย , 3 , 5 , .. มี 29 วัน วันแรกของเดือนคือ วันข้างขึ้น 1 ค่ำ วันกลางเดือนคือ วันข้างขึ้น 15 ค่ำ และวันสุดท้ายของเดือนคือ วันข้างแรม 14 ค่ำ

เมื่อครบ 12 เดือน หรือ 1 ปี จำนวนวันใน 1 ปี จึงรวมกันได้ 364 วัน ซึ่งน้อยกว่าวันใน ปีสุริยคติ หรือ ปีที่หมายถึงช่วงเวลาที่โลกเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ สำหรับปีปฏิทินสุริยคติเกรกอเรียน มี 365.2425 วัน มากกว่าช่วงเวลาที่โลกเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเล็กน้อย ถ้านับเวลาตั้งแต่เห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดอิควินอกซ์ในเดือนมีนาคมครั้งแรกถึงครั้งถัดไปจะยาวนานประมาณ 365.2422 วัน ซึ่งเรียกว่า ปีฤดูกาล

สันตะปาปา เกรกอรี


ดังนั้น ปีปฏิทินเกรกอเรียนจึงยาวกว่าปีฤดูกาลอยู่ปีละ 0.0003 วัน ใน 3,000 ปี ปฏิทินเกรกอเรียน (ปฏิทินที่ใช้ในปัจจุบัน) จะผิดฤดูกาลไปประมาณ 1 วัน ปฏิทินเกรกอเรียนดีกว่าปฏิทินจูเลียนซึ่งให้ความยาว 1 ปี เป็น 365.25 วัน ทำให้ปฏิทินจูเลียนผิดปีฤดูกาลไป 1 วัน ใน 128 ปี ด้วยเหตุนี้ สันตะปาปา เกรกอรีจึงต้องตัดวัน ออก 10 วันในเดือนตุลาคม ค.ศ.1582 เพื่อให้ปฏิทินตรงฤดูกาล


ชื่อเดือนสุริยคติ

หมายถึง เดือนที่อาศัยดวงอาทิตย์เป็นหลัก ได้แก่ เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ... ธันวาคม ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า January February March … December ตามลำดับ ชื่อในภาษาไทยมีกำเนิดแตกต่างจากชื่อเดือนในภาษาอังกฤษเป็นอันมากดังจะได้กล่าวต่อไป

ชื่อเดือนสุริยคติในภาษอังกฤษมาจากรากศัพท์เดิมเป็นภาษาละติน
โดยให้เดือนแรกเป็น Martius หรือ March (เทพ Mars เป็นที่ที่ชาวโรมันนับถือมาก จึงให้เดือนนี้เป็นเดือนแรก และถือเป็นเดือนที่นิยมกระทำพิธีเดินทัพ) Aprillis Maius Junius เป็นเดือนที่ 2 3 4 ตามลำดับ

ดังนั้น
ลำดับที่ 7 จึงเป็น Quintillis ซึ่งแปลว่า เดือนที่ 5
ลำดับที่ 8 จึงเป็น Sextillis ซึ่งแปลว่า เดือนที่ 6
ลำดับที่ 9 จึงเป็น September ซึ่งแปลว่า เดือนที่ 7
ลำดับที่ 10 จึงเป็น October ซึ่งแปลว่า เดือนที่ 8
ลำดับที่ 11 จึงเป็น November ซึ่งแปลว่า เดือนที่ 9
ลำดับที่ 12 จึงเป็น December ซึ่งแปลว่า เดือนที่ 10

ความยาวของแต่ละเดือนแตกต่างจากปัจจุบัน คือ

3.Martius มี 31 วัน
4.Aprillis มี 30 วัน
5.Maius มี 31 วัน
6.Junius มี 30 วัน
7.Quintillis มี 31 วัน
8.Sextillis มี 30 วัน
9.September มี 31 วัน
10.October มี 30 วัน
11.November มี 31 วัน
12.December มี 30 วัน
1. Januarius มี 31 วัน
2. Februarius มี 29 วัน


รวมทั้งปีมี 365 วัน ทุกๆ 4 ปี จะให้เดือน Februarius มี 30 วัน เพื่อเฉลี่ยให้ได้ปีละ 365.25 วัน ความยาวของเดือนก็สลับกันระหว่าง 31 กับ 30 วัน นับว่าเป็นระเบียบเรียบร้อยดี


จูเลียสซีซาร์ (Julius Caesar)


ต่อมาจูเลียสซีซาร์ (Julius Caesar) แห่งอาณาจักรโรมัน ทรงพบความยุ่งเหยิงสับสนของปฏิทินเป็นอย่างมากจึงให้ปรับปฏิทินใหม่เรียกว่า ปฏิทินจูเลียน ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ปีก่อนคริสต์ศักราช 45 ปี โดยให้ปรับตำแหน่งของเดือนใหม่ กล่าวคือให้เดือนที่ 1 เดิมคือ March เป็นเดือนที่ 3 ให้เดือน Januarius เป็นเดือนที่ 1 เดือน Februarius เป็นเดือนที่ 2 ดังนั้น เดือนที่ 10 เดิมก็ก้าวไปเป็นเดือนที่ 12 เดือนที่ 9 เดิม (November) ก็ไปเป็นเดินที่ 11 October เดือน 8 เดิม เป็นเดือนที่ 10 September เดือน 7 เดิม เป็นเดือนที่ 9

เพื่อเป็นเกียรติยศแก่จูเลียสซีซาร์ นักดาราศาสตร์ที่ปรึกษาชื่อ โซซิเจเนส ได้เสนอให้เปลี่ยนเดือนที่ 5 เดิม จาก Quintillis เป็น July


ออกัสตัสซีซาร์ (Augustus Caesar)


จูเลียสซีซาร์ถูกลอบปลงพระชนม์ หลังจากที่ทรงออกประกาศใช้ปฏิทิน ใหม่ประมาณ 1 ปี ผู้คนที่ใช้ปฏิทินใหม่ไม่เข้าใจปีที่มี 366 วันดี แทนที่จะให้มีทุกๆ 4 ปี กลับให้มีทุกๆ 3 ปี ออกัสตัสซีซาร์ (Augustus Caesar) ผู้ปกครองโรมต่อจากจูเลียสซีซาร์ เห็นว่าผิดพลาดจึงแก้ไขและให้สภาซีเนตลงมติเปลี่ยนชื่อ Sextillis เดือนที่ 6 เดิมเป็น Augustus หรือ August และให้เพิ่มเป็น 31 วัน โดยดึงเอา 1 วันจากเดือน Februarius ทำให้ Februarius มี 28 วัน ในปีธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีเดือนที่มี 31 วันเรียงติดกัน 3 เดือน เพราะฉะนั้นจึงลด September ให้เหลือ 30 วัน และให้ October มี 31 วัน November มี 30 วัน และ December มี 31 วัน อย่างในปัจจุบัน



กล่าวโดยสรุปชื่อเดือนในภาษาอังกฤษไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มดาวบนฟ้า(ไม่เหมือนของบ้านเราเนอะ)
- แต่ตั้งตามชื่อกษัตริย์ เดือน คือ July (กรกฎาคม) ตามชื่อของจูเลียสซีซาร์ และ August (สิงหาคม) ตามชื่อของออกัสตัสซีซาร์
- ตั้งตามดาวเคราะห์ 1 เดือน คือ March (มีนาคม) ตั้งตามชื่อ Mars (ดาวอังคาร)
- ตั้งตาม ชื่อเทพเจ้า เทพธิดา 4 เดือน คือ
January (มกราคม) ตามชื่อของ Janus ซึ่งเป็นเทพเจ้า 2 หน้า เทพเจ้าแห่งประตูและหน้าต่างของโรมัน

Februarius (กุมภาพันธ์) ตั้งตามชื่อเทพเจ้า Februus ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำให้บริสุทธิ์ ปัจจุบัน Februus เป็นยมเทพของโรมันแบบเดียวกับพลูโตเป็นยมเทพของกรีก

May (พฤษภาคม) ตั้งตามชื่อมารดาของจูโนที่ชื่อ มายอา หรือ มายา (Maia) หรืออาจเป็นตามชื่อของ Maia Mejesta เทพธิดาแห่งฤดูใบไม้ผลิของอิตาลี

June (มิถุนายน) ตั้งตามเทพธิดาจูโน (Juno) เดือนที่มีความหมายเฉพาะคือ April (เมษายน) แปลว่า เปิด เป็นเดือนที่หิมะละลายในซีกโลกเหนือ ทำให้แผ่นดินเปิดออกรับแสงแดด ต้นไม้เจริญงอกงาม เดือนที่เหลือเป็นการเรียกชื่อตามลำดับก่อนหลัง



อ้างอิง : นิพนธ์ ทรายเพชร บรรยายในการประชุมสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2545





Create Date : 22 มกราคม 2551
Last Update : 22 มกราคม 2551 1:16:19 น. 0 comments
Counter : 1565 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Timshel
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Timshel's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com