สิงหาคม 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
29 สิงหาคม 2559
 
 
รู้สักนิดก่อนกินยา








           จากบทความที่ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูลอาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายถึงการกินยาเบื้องต้นไว้ว่า ยาแต่ละชนิดกินเพื่อบรรเทาอาการจึงควรรู้ปริมาณการกินที่เหมาะสม และควรกินให้ตรงกับโรคที่ต้องการจะรักษาจึงจะปลอดภัยและเป็นประโยชน์


ข้อควรระวังยาแก้ปวด-ลดไข้



          “การกินพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้เบื้องต้นนั้นถูกต้องแล้วแต่ปัญหาการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของประชาชนก็คือ การใช้ยาไม่ถูกขนาด” ผศ.นพ.พิสนธิ์ให้ความรู้ พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า การกินพาราเซตามอลแต่ละครั้งไม่ควรได้รับเกิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมหากหนัก 50 กิโลกรัมก็ไม่ควรได้รับยาเกิน 750 มิลลิกรัม

          “พาราเซตามอล 1 เม็ดมีปริมาณยา 500 มิลลิกรัมหลายคนเกรงว่ากิน 1 เม็ดจะไม่หายปวด ก็เลยเลือกกิน 2 เม็ด นั่นเท่ากับว่า เขาจะได้รับยา 1,000 มิลลิกรัมซึ่งผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ค่อนข้างตัวเล็ก หากกินพาราฯ 2 เม็ดก็ย่อมเป็นปริมาณที่เกินขนาด”

ฉะนั้นเมื่อนำปริมาณและน้ำหนักมาคำนวณดูก็จะพบว่า คนที่กินพาราฯ 2 เม็ดได้ปลอดภัยไม่มีผลทำร้ายตับ จะต้องมีน้ำหนัก 67 กิโลกรัมขึ้นไปโดยจะต้องรู้ด้วยว่า พาราเซตามอล กินเกิน 8 เม็ดต่อวันไม่ได้

           “นอกจากนี้ ปริมาณที่เหมาะสมของการกินพาราเซตามอลสำหรับคนทั่วไปที่ต้องกินต่อเนื่องเพื่อลดไข้ หรือบรรเทาอาการปวด ควรเป็น 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง หากกินเกินถามว่าผลเสียมีหรือไม่ ตรงนี้บอกได้ว่าการกินพาราฯ เกิน เป็นพิษต่อตับการกินเยอะเกินไปติดต่อกันหลายวันอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ตับอักเสบ มีอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน ตาเหลือง ตัวเหลือง เมื่อเซลล์ตับถูกทำลายมากๆก็อาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้”

เป็นที่มาของ “โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล” เพื่อแก้ปัญหาการใช้ยา เช่นการเขียนฉลากยาให้ชัดเจน และรัดกุมมากขึ้น 


หวัด-ภูมิแพ้แยกให้ออก

คุณหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องยา อธิบายว่า ผู้ป่วยจะต้องแยกให้ออกระหว่างการเป็นภูมิแพ้ และ การเป็นหวัด เนื่องจาก “ภูมิแพ้” เกิดจากภูมิต้านทานของมนุษย์ที่ไวต่อสิ่งที่มากระตุ้นทำให้จาม หรือมีน้ำมูก ซึ่งการเป็นโรคภูมิแพ้นี้ ไม่เกี่ยวข้องกับ “เชื้อโรค” ขณะที่ “หวัด” เกิดจากเชื้อโรคที่เรียกว่าเชื้อไวรัส เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้น้ำมูกไหล

          “สิ่งที่ทำให้เราแยกไม่ออก ก็ด้วยเหตุที่เราเรียก ยาแก้แพ้ เหล่านี้ว่า ยาลดน้ำมูก ซึ่งจริงๆ ก็เรียกถูก แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะยาเหล่านี้ใช้ลดน้ำมูกจากโรคภูมิแพ้เท่านั้นแต่เมื่อถูกนำมาใช้ลดน้ำมูกจากการเป็นหวัดด้วย น้ำมูกจึงไม่แห้ง อีกประเด็นที่สำคัญคือยาแก้แพ้มี 2 ประเภท (1)กินแล้วค่อนข้างง่วง (2)กินแล้วไม่ค่อยง่วงซึ่งคนส่วนมาก จะไปหาซื้อยาชนิดไม่ง่วงมากินเป็นหลักโดยไม่รู้ว่ายาแก้แพ้ที่กินแล้วไม่ง่วงนั้น ไม่ออกฤทธิ์ลดน้ำมูกในคนที่เป็นหวัดเลยส่วนยาที่กินแล้วง่วง ก็ออกฤทธิ์ได้บ้างเท่านั้น”

สรุปได้ว่าถ้าจะใช้ยา “แก้แพ้” คุณต้องเป็นโรคภูมิแพ้ พร้อมทำความเข้าใจใหม่ว่า “โรคหวัด” เป็นโรคที่ไม่มียารักษาแต่เป็นโรคซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถหายได้เองจากภูมิต้านทานของร่างกาย  


  “ปฏิชีวนะ” ไม่ใช้พร่ำเพรื่อ



โอกาสที่วันรณรงค์สร้างความตระหนักในการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือAntibiotic Awareness Day ทุกวันที่ 18 พฤศจิกายนใกล้เข้ามาโดยในปีนี้ร่วมรณรงค์ให้วันที่ 17-23 พฤศจิกายนเป็นสัปดาห์ส่งเสริมการให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงการใช้ยาปฏิชีวนะด้วย

ผศ.นพ.พิสนธิ์ ร่วมให้ความเห็นต่อประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะว่าสถานการณ์เชื้อโรคดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยคนไทยและทั่วโลกต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาโรคนานขึ้นจึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งสร้างความเข้าใจแก่สังคมเนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่สมเหตุผลมากขึ้น โดยยาปฏิชีวนะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อกินเข้าไปทุกครั้ง ก็จะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา

“บางคนเป็นหวัดพร้อมเจ็บคอจะไปซื้อยาอมมาบรรเทาอาการ ข้อควรรู้ก็คือยาอมบางชนิดจะผสมยาปฏิชีวนะ ไว้เมื่อกินเข้าไปทุกครั้ง ก็จะทำให้เกิดเชื้อดื้อยามากขึ้นตรงนี้คนที่ไปซื้อยากินเองควรถามเภสัชกรทุกครั้งว่า ยาอมที่จ่ายให้มามีผสมยาปฏิชีวนะไว้หรือไม่ ถ้ามีก็ไม่ควรซื้อมากิน นอกจากนี้สิ่งที่หลายคนมักจะได้คู่กันมา ก็คือยาแก้อักเสบชื่อยาที่มักใช้เรียกแทนยาปฏิชีวนะซึ่งแม้จะได้มากินเพิ่มเพื่อบรรเทาอาการก็ไม่มีประโยชน์อะไรเนื่องจากหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ขณะที่ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” คุณหมอกล่าวทิ้งท้าย

พึงระลึกว่าปริมาณและประเภทของยาคือสิ่งสำคัญที่ต้องรู้หากต้องการกินยาเพื่อบรรเทาอาการ อย่าได้กินเกินขนาด หวังหายไวเพราะอาจได้รับอันตรายมากขึ้นด้วยเช่นกัน





วิธีการกินยาที่ถูกต้อง

คุณรู้หรือไม่ว่าหากลืมทานยาก่อนอาหารยาหลังอาหาร ยาก่อนนอนควรทำอย่างไรการทานยาที่ผิดวิธีอาจไม่ได้ประโยชน์ไม่ช่วยรักษาโรคและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้นควรศึกษาวิธีทานยาให้ดีก่อนรับประทาน

1. ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที

ยาที่รับประทานก่อนอาหารควรรับประทานในช่วงที่ท้องว่าง ยังไม่ได้รับประทานอาหารซึ่งก็คือก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาทีเนื่องจากยาอาจถูกทำลายและเสียประสิทธิภาพในการรักษาเมื่อพบกับกรดปริมาณมากที่กระเพาะอาหารจะหลั่งออกมาหลังมื้ออาหารการรับประทานยาในช่วงที่ท้องว่าง ทำให้ยาไม่ถูกทำลาย และประสิทธิภาพของยาไม่ลดลงอาหารและส่วนประกอบของอาหารอาจลดการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกายจึงไม่สามารถรับประทานยาพร้อมหรือหลังอาหารได้

ยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลินจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์การรับประทานยาก่อนอาหารจึงเป็นเสมือนการเตรียมพร้อมให้ระบบทางเดินอาหารก่อนจะรับประทานอาหารการลืมรับประทานยาก่อนอาหาร

ถ้าลืมรับประทานยาก่อนอาหารหรือนึกได้ว่าต้องรับประทานยาก่อนที่จะทานอาหารไม่ถึงครึ่งชั่วโมงการทานยาก่อนอาหารทันที จึงไม่ต่างกับการรับประทานยาหลังอาหารควรข้ามยามื้อที่ลืมไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลินกรณียาที่รับประทานก่อนอาหารเพราะยาจะถูกทำลายหรืออาหารอาจลดการดูดซึมของยาอาจรอให้กระเพาะอาหารว่างก่อนแล้วค่อยรับประทานยาก็ได้ ซึ่งก็คือประมาณ 2 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร แต่ยาที่ต้องรับประทานในมื้อถัดไปอยู่แล้วให้ทานยาก่อนอาหารมื้อถัดไปแทนได้เลย ไม่ต้องทานยาซ้ำ

2. ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันทีและไม่ควรนานเกิน15 นาทีหลังอาหาร หรืออาจทานพร้อมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหารคำแรกก็ได้ เพราะไม่ว่าจะกรณีใดยาจะเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารพร้อมกับอาหารที่รับประทานเหมือนๆ กันยาที่ควรรับประทานหลังอาหาร เนื่องจาก ยามีผลข้างเคียงที่สำคัญคือระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนการรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ยาหลังอาหารต้องการกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายซึ่งกรดในกระเพาะอาหารจะหลั่งสูงสุดในระหว่างที่รับประทานอาหารเท่านั้นการลืมรับประทานยาหลังอาหาร

ถ้าลืมรับประทานยาหลังอาหารสามารถรับประทานยาได้ทันทีที่นึกได้และไม่เกิน 15 นาทีแต่ถ้านึกได้หลังจากรับประทานอาหารมากกว่า 15 นาทีแล้วควรรอรับประทานหลังอาหารในมื้อถัดไปแทนหรืออาจรับประทานอาหารมื้อย่อยแทนมื้อหลักก่อนรับประทานยาก็ได้กรณีที่ยานั้นมีความสำคัญมาก

3. ยาก่อนนอน ควรรับประทานยาก่อนเข้านอน15 – 30 นาที

ยาที่แนะนำให้รับประทานก่อนนอนมีหลายประเภทแต่โดยทั่วไป ควรรับประทานก่อนนอน 15 – 30 นาทีเนื่องจากยามีผลข้างเคียงสำคัญคือทำให้ง่วงนอนหรือวิงเวียนศีรษะมากถ้ารับประทานก่อนนอนนานเกินไป อาจส่งผลต่อให้ผู้รับประทานยาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพกรณีที่ยังไม่พร้อมจะเข้านอน ยาที่ช่วยให้นอนหลับ มักใช้เวลาประมาณ 15 – 30นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์ช่วยให้หลับ การลืมรับประทานยาก่อนนอน ควรรอให้ถึงเวลาก่อนเข้านอนในคืนถัดไปค่อยรับประทานยานั้น

4. ยารับประทานเวลามีอาการ ควรรับประทานเมื่อมีอาการจริงๆ

ยาในกลุ่มนี้มักระบุในฉลากว่ารับประทานทุก 4 – 6 ชั่วโมง ทุก 8 ชั่วโมง หรือทุก 12 ชั่วโมง เวลามีอาการเมื่อมีอาการสามารถรับประทานยาได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหารเนื่องจากไม่ว่าจะรับประทานอาหารหรือไม่ ก็ไม่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หลังรับประทานยาแล้วถ้ายังมีอาการอยู่สามารถทานยาซ้ำได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ ไม่ควรรับประทานบ่อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลากเมื่อหายแล้วสามารถหยุดยาได้เลย

          หมายเหตุยาบางประเภท อาจมีวิธีรับประทานยานอกเหนือไปจากยาโดยทั่วๆ ไปข้างต้นรวมทั้งยาบางประเภทอาจรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แล้วแต่สะดวกเนื่องจากยาอาจมีการออกฤทธิ์ที่พิเศษหรือมีผลข้างเคียงอื่นๆซึ่งผู้ทำหน้าที่ส่งมอบยาเหล่านี้จะอธิบายวิธีการรับประทานเป็นกรณีๆ ไป



ที่มา

   //news.voicetv.co.th/thailand/126947.html 

//www.drugservonline.com/m/15211718/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5#&ui-state=dialog




Create Date : 29 สิงหาคม 2559
Last Update : 29 สิงหาคม 2559 19:44:52 น. 0 comments
Counter : 2165 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

สมาชิกหมายเลข 3386348
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 3386348's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com