สุริยุปราคา

สวัสดีครับ
เนื่องจากในวันที่ 19 มีนาคม 2550 เวลาประมาณ 7:50 - 9:00 จะเกิดสุริยุปราคาชนิดบางส่วน (partial solar eclipse) ในเขตนครราชสีมา
กระผมนาย -=S/L=- และ PigBule ได้ร่วมเฝ้าสังเกตุปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ และได้บันทึกภาพมาให้เพื่อนๆที่ไม่มีโกาสได้ดู หรือไม่ได้รับรู้ข่าวสารมาก่อนว่าจะมีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น พร้อมกันนี้ได้แสดงการชมสุริยุปราคาอย่างถูกต้องมาด้วย

ในครั้งแรกกระผมก็ยังไม่รู้ว่าจะหาวัศดุใดๆมาเป็น filter ที่ดีในการดูที่ปลอดภัยพอต่อสายตา จึงได้ลองเอาแว่น

กันแดดมาซ้อนกัน สี่ชั้น ( Ao 2 อัน King sefty 1 อัน และ Merida อีก 1 อัน ) ปรากฏว่ายังไม่ดีพอ เข้มไม่พอแสบตามาก




Pigbule จึงเข้าห้อง computer เปิดลิ้นชักหยิบ แผ่น disket เก่ามา และบอกให้ลองดู ผมถามว่ารู้มาจากไหน

เธอบอกว่ารู้มาตั้งแต่ปี 39 แล้ว สมัยอยู่ที่ทำงานเก่าเขาบอกมาอีกที่ ผมจึงลองส่องดู workๆๆ แจ่วแต่ยังแสบตาอยู่ เลยเข้าห้อง com ไปหยิบมาอีกแผ่น ซู้ดดดดยอดดดด! แจ่วจริงๆ ลองดูครับ




ตอนแรกถ่ายด้วย 50 มิลขี้เกียจเปลี่ยนเลนส์ แต่มันกระจิ๋วเดียว



เลยไปหยิบ D80 ออกมาที่ 135 มิล อ่ะใหญ่ขึ้นหน่อย



ครอปนิดปรับ อันเดอร์ หน่อย



ไม่สะใจลอง 300 มิลดีกว่า



อันเดอร์หน่อย



หลังจากปีนี้ประเทศไทยจะมีโอกาสสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนอีกครั้งในเย็นวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 ซึ่งจะเกิดในเวลาไม่นานก่อนดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า




Create Date : 19 มีนาคม 2550
Last Update : 19 มีนาคม 2550 23:32:47 น. 4 comments
Counter : 907 Pageviews.

 
อ้างอิง 1

สุริยุปราคา 19 มีนาคม 2550

สองสัปดาห์หลังเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อคืนวันมาฆบูชา เช้าวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2550 จะเกิดสุริยุปราคาบางส่วน มองเห็นได้ในประเทศไทย เอเชียใต้ บางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก รวมทั้งบางส่วนของมลรัฐอะแลสกาในทวีปอเมริกาเหนือ

สุริยุปราคามีโอกาสเกิดขึ้นได้ในวันเดือนดับเมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์พร้อมกับทอดเงาตกลงบนพื้นผิวโลก เงาดวงจันทร์มีสองส่วนคือเงามืดกับเงามัว คนบนพื้นโลกส่วนที่อยู่ใต้เงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์แหว่ง แต่หากอยู่ใต้เงามืดจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังมิดดวงเรียกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง สำหรับประเทศไทยเคยเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538

สุริยุปราคาที่จะเกิดในวันที่ 19 มีนาคม เป็นสุริยุปราคาบางส่วน หมายความว่าเงามืดของดวงจันทร์ไม่ได้ตกกระทบพื้นผิวโลก คงมีแต่เงามัวเท่านั้นที่พาดผ่านผิวโลก หากมองในภาพกว้างสุริยุปราคาครั้งนี้เริ่มต้นเวลา 7.38 น. ตามเวลาประเทศไทย เมื่อเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกบริเวณนอกชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย จากนั้นเกิดสุริยุปราคามองเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด (88%) ที่รัสเซียในเวลา 9.32 น. แล้วไปสิ้นสุดสุริยุปราคาในเวลา 11.25 น. อันเป็นจังหวะที่เงามัวหลุดออกจากผิวโลกในทะเลนอกชายฝั่งด้านทิศเหนือของอะแลสกา

สำหรับประเทศไทย สุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้มองเห็นได้เกือบทั่วประเทศยกเว้นจังหวัดชายแดนภาคใต้ บริเวณที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดคือด้านตะวันตกเฉียงเหนือของภาคเหนือ ยิ่งอยู่ในละติจูดสูงมากเท่าใดก็ยิ่งเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากเท่านั้น ส่วนเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ เห็นตั้งแต่เวลา 7.47 - 8.57 น. ดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดในเวลา 8.21 น. ด้วยสัดส่วน 16% จังหวัดอื่น ๆ บางจังหวัดสามารถดูได้จากตาราง ส่วนจังหวัดที่ไม่แสดงในตารางอาจคาดคะเนได้จากข้อมูลของจังหวัดใกล้เคียงที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคาบางส่วน 19 มีนาคม 2550
สถานที่ เริ่มเกิด บังลึกที่สุด สิ้นสุด
เวลา สัดส่วนที่บัง มุมเงย
กรุงเทพฯ 7.48 น. 8.21 น. 16% 28° 8.57 น.
กระบี่ 7.55 น. 8.12 น. 4% 25° 8.30 น.
กาญจนบุรี 7.46 น. 8.21 น. 17% 27° 8.58 น.
กาฬสินธุ์ 7.50 น. 8.28 น. 19% 32° 9.07 น.
กำแพงเพชร 7.46 น. 8.25 น. 23% 27° 9.07 น.
ขอนแก่น 7.49 น. 8.27 น. 19% 31° 9.07 น.
จันทบุรี 7.51 น. 8.21 น. 12% 29° 8.52 น.
ฉะเชิงเทรา 7.48 น. 8.22 น. 15% 28° 8.57 น.
ชลบุรี 7.48 น. 8.21 น. 15% 28° 8.55 น.
ชัยนาท 7.46 น. 8.24 น. 19% 28° 9.03 น.
ชัยภูมิ 7.48 น. 8.26 น. 19% 30° 9.05 น.
ชุมพร 7.50 น. 8.16 น. 10% 26° 8.43 น.
เชียงราย 7.46 น. 8.31 น. 29% 28° 9.16 น.
เชียงใหม่ 7.45 น. 8.29 น. 28% 27° 9.15 น.
ตรัง 7.59 น. 8.12 น. 2% 25° 8.25 น.
ตราด 7.52 น. 8.20 น. 11% 30° 8.50 น.
ตาก 7.45 น. 8.26 น. 24% 27° 9.08 น.
นครนายก 7.48 น. 8.23 น. 16% 29° 8.59 น.
นครปฐม 7.47 น. 8.21 น. 16% 27° 8.57 น.
นครพนม 7.52 น. 8.30 น. 19% 33° 9.10 น.
นครราชสีมา 7.49 น. 8.24 น. 17% 30° 9.01 น.
นครศรีธรรมราช 7.56 น. 8.13 น. 4% 26° 8.31 น.
นครสวรรค์ 7.46 น. 8.24 น. 20% 28° 9.04 น.
นนทบุรี 7.48 น. 8.22 น. 16% 28° 8.57 น.
น่าน 7.47 น. 8.30 น. 26% 29° 9.15 น.
บุรีรัมย์ 7.50 น. 8.25 น. 16% 31° 9.01 น.
ปทุมธานี 7.47 น. 8.22 น. 16% 28° 8.58 น.
ประจวบคีรีขันธ์ 7.48 น. 8.18 น. 12% 27° 8.49 น.
ปราจีนบุรี 7.48 น. 8.22 น. 16% 29° 8.58 น.
พระนครศรีอยุธยา 7.47 น. 8.22 น. 17% 28° 8.59 น.
พะเยา 7.46 น. 8.30 น. 28% 28° 9.16 น.
พังงา 7.53 น. 8.13 น. 5% 24° 8.33 น.
พัทลุง 8.00 น. 8.12 น. 2% 26° 8.24 น.
พิจิตร 7.46 น. 8.26 น. 22% 28° 9.07 น.
พิษณุโลก 7.46 น. 8.26 น. 23% 28° 9.08 น.
เพชรบุรี 7.47 น. 8.20 น. 15% 27° 8.55 น.
เพชรบูรณ์ 7.47 น. 8.26 น. 21% 29° 9.07 น.
แพร่ 7.46 น. 8.28 น. 25% 28° 9.13 น.
ภูเก็ต 7.55 น. 8.12 น. 4% 24° 8.29 น.
มหาสารคาม 7.50 น. 8.27 น. 18% 31° 9.06 น.
มุกดาหาร 7.52 น. 8.29 น. 18% 33° 9.07 น.
แม่ฮ่องสอน 7.45 น. 8.29 น. 30% 26° 9.16 น.
ยโสธร 7.51 น. 8.27 น. 17% 32° 9.04 น.
ร้อยเอ็ด 7.50 น. 8.27 น. 18% 32° 9.05 น.
ระนอง 7.50 น. 8.15 น. 9% 25° 8.41 น.
ระยอง 7.49 น. 8.20 น. 13% 28° 8.52 น.
ราชบุรี 7.47 น. 8.21 น. 16% 27° 8.56 น.
ลพบุรี 7.47 น. 8.23 น. 18% 28° 9.01 น.
ลำปาง 7.46 น. 8.28 น. 26% 28° 9.13 น.
ลำพูน 7.45 น. 8.28 น. 27% 27° 9.14 น.
เลย 7.48 น. 8.28 น. 23% 30° 9.11 น.
ศรีสะเกษ 7.52 น. 8.26 น. 15% 32° 9.02 น.
สกลนคร 7.51 น. 8.29 น. 19% 32° 9.10 น.
สงขลา 8.07 น. 8.12 น. 00.3% 26° 8.17 น.
สมุทรปราการ 7.48 น. 8.21 น. 15% 28° 8.56 น.
สมุทรสงคราม 7.47 น. 8.21 น. 15% 27° 8.56 น.
สมุทรสาคร 7.47 น. 8.21 น. 15% 27° 8.56 น.
สระแก้ว 7.49 น. 8.22 น. 14% 30° 8.57 น.
สระบุรี 7.48 น. 8.23 น. 17% 28° 9.00 น.
สิงห์บุรี 7.47 น. 8.23 น. 18% 28° 9.01 น.
สุโขทัย 7.46 น. 8.26 น. 23% 28° 9.09 น.
สุพรรณบุรี 7.47 น. 8.22 น. 18% 28° 9.00 น.
สุราษฎร์ธานี 7.53 น. 8.14 น. 6% 25° 8.36 น.
สุรินทร์ 7.51 น. 8.25 น. 15% 31° 9.01 น.
หนองคาย 7.49 น. 8.29 น. 22% 31° 9.12 น.
หนองบัวลำภู 7.49 น. 8.28 น. 21% 31° 9.10 น.
อ่างทอง 7.47 น. 8.23 น. 18% 28° 9.00 น.
อำนาจเจริญ 7.52 น. 8.27 น. 16% 33° 9.05 น.
อุดรธานี 7.49 น. 8.29 น. 21% 31° 9.11 น.
อุตรดิตถ์ 7.46 น. 8.27 น. 24% 28° 9.11 น.
อุทัยธานี 7.46 น. 8.24 น. 20% 28° 9.03 น.
อุบลราชธานี 7.52 น. 8.26 น. 15% 33° 9.02 น.


หมายเหตุ : ตารางด้านบนสำหรับอำเภอเมืองของจังหวัด อำเภออื่นจะต่างจากนี้เล็กน้อย / บริเวณที่ไม่เห็นปรากฏการณ์ได้แก่ พื้นที่ทางใต้ของจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล รวมไปถึงทั้งหมดของ จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่ห้ามดูด้วยตาเปล่า ต้องมีแว่นกรองแสงหรือแผ่นกรองแสงที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับส่องดูดวงอาทิตย์และอาจใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงปิดบังหน้ากล้อง นอกจากนี้เรายังสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงอาทิตย์โดยสังเกตปรากฏการณ์ด้วยวิธีทางอ้อม เช่น ฉายภาพดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงบนฉากรับภาพ แล้วดูดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนฉาก ควรเฝ้าระวังอย่าให้เด็กหรือผู้ที่ไม่รู้มองเข้าไปในกล้อง

วัสดุกรองแสงที่ไม่ปลอดภัยและควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ กระจกรมควัน แว่นกันแดด กระดาษห่อลูกอม แผ่นดิสเก็ตต์ ฟิล์มเอกซ์เรย์ ฟิล์มถ่ายรูป ฯลฯ อย่านำมาใช้ดูดวงอาทิตย์ แม้ว่าวัสดุเหล่านี้จะมีความสามารถในการกรองแสงย่านแสงขาว แต่รังสีอินฟราเรดสามารถทะลุผ่านได้และจะเป็นอันตรายต่อดวงตา

สำหรับผู้ที่ไม่มีแผ่นกรองแสงหรือทัศนูปกรณ์อื่น อาจใช้วัสดุง่าย ๆ ในบ้านมาช่วยในการสังเกตสุริยุปราคาโดยใช้หลักการของกล้องรูเข็ม สิ่งที่ต้องมีคือกระจกเงาบานเล็ก กระดาษขนาดใหญ่กว่ากระจก มีดคัตเตอร์หรือกรรไกร และเทปกาว

วิธีทำคือ นำกระดาษมาเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 เซนติเมตร (อาจใช้มีดกรีดโดยตรงหรือพับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัด) จากนั้นนำไปประกบกับบานกระจกด้วยเทปกาว เวลาใช้งานให้นำกระจกเงาดังกล่าวไปสะท้อนแสงอาทิตย์ให้แสงตกบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ภายในบ้าน ภาพที่เห็นบนฉากจะเป็นดวงกลมซึ่งเป็นภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์

เมื่อเกิดสุริยุปราคา ดวงกลมที่เห็นบนฉากจะแหว่งตามลักษณะดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ขนาดของดวงอาทิตย์บนฉากแปรผันตามระยะห่างระหว่างกระจกกับฉากรับภาพ โดยที่ระยะหนึ่งเมตรจะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาดประมาณ 9 มิลลิเมตร ดังนั้นที่ระยะห่าง 10 เมตร จะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาด 9 เซนติเมตร วิธีนี้ทำให้เราสามารถสังเกตสุริยุปราคาได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อดวงตา แต่พึงระวังอย่าให้ใครที่เดินผ่านไปมามีโอกาสหันมามองแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกมาจากกระจก

หลังจากปีนี้ประเทศไทยจะมีโอกาสสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนอีกครั้งในเย็นวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 ซึ่งจะเกิดในเวลาไม่นานก่อนดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า

อันตรายจากแสงอาทิตย์
สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่เปิดโอกาสให้เราได้ศึกษาและทำความรู้จักกับธรรมชาติของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ อย่างไรก็ตามการดูดวงอาทิตย์ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะรังสีจากดวงอาทิตย์สามารถทำลายเนื้อเยื่อและเซลล์ของจอตาทำให้ตาบอด เร่งการเสื่อมสภาพของกระจกตา และเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคต้อกระจก

หากจ้องดูดวงอาทิตย์โดยปราศจากสิ่งป้องกัน แสงอาทิตย์จะไปรวมกันที่จอตา ทำลายเซลล์จนทำให้เกิดอาการตาบอดชั่วคราวหรือถาวรได้ ที่สำคัญกว่านั้น คือ ขณะที่จอตาถูกแสงอาทิตย์เผาเราไม่สามารถรับรู้ได้ เพราะในนั้นไม่มีเซลล์ประสาทสำหรับรับความรู้สึก ดังนั้นทุกคนจึงควรตระหนักว่าการสังเกตสุริยุปราคาที่ถูกต้อง คือ อย่าดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือดูจากภาพสะท้อนบนฉากที่ฉายออกมาจากอุปกรณ์

ที่มา //thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200703pse.html


โดย: Sri-Phet วันที่: 19 มีนาคม 2550 เวลา:23:33:49 น.  

 
อ้างอิง 2
เตรียมรับอรุณกับ “สุริยุปราคา” 19 มี.ค.นี้

สมาคมดาราศาสตร์ไทย/ผู้จัดการออนไลน์- เช้าวันจันทร์ที่ 19 มี.ค. ขณะที่ทุกคนต่างรีบเร่งไปทำงาน หลายพื้นที่ทั่วไทยจะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคา” ที่ชาวเชียงใหม่จะเห็นตะวันแหว่งไปช่วงสั้นๆ สูงสุด 28% ขณะที่ชาวกรุงดวงอาทิตย์ถูกบดบังได้ 16% ส่วนชาวใต้ตั้งแต่สงขลาลงไปจะไม่สามารถรับชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

ช่วงเช้าของวันที่ 19 มี.ค.นี้จะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคา” บางส่วน ที่เกิดจากการโคจรของดวงจันทร์มาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ และเกิดทอดเงามัวทอดลงมายังพื้นโลกทำให้เห็นว่าบางส่วนของดวงอาทิตย์แหว่งไป แต่หากเงามืดทอดมายังโลกจะทำให้เราเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง

นายวรเชษฐ์ บุญปลอด กรรมการสมาคมดาราศาสตร์ไทยให้ข้อมูลว่า อุปราคาดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ที่ประเทศในตอนกลางและตอนเหนือของเอเชียเกือบทั้งหมด รวมทั้งบางส่วนของอะลาสกาและทะเลอาร์กติกสามารถสังเกตเห็นได้ สำหรับประเทศไทยโดยรวมแล้วจะเกิดปรากฏการณ์ในช่วงเวลาประมาณ 7.38 น.

จุดที่จะเริ่มเห็นคราสเข้าบดบังดวงอาทิตย์เป็นที่แรกนั้น นายวรเชษฐ์ให้ข้อมูลว่าอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ส่วนบริเวณสุดท้ายของโลกที่จะได้เห็นสุริยคราสบางส่วนคือแถบอะลาสกาและในทะเลอาร์กติก ส่วนบริเวณที่เห็นคราสบดบังดวงอาทิตย์มากที่สุดคือบริเวณประเทศรัสเซียที่จะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบดบังถึง 88% ส่วนประเทศที่ไม่เห็นสุริยุปราคาครั้งนี้คือประเทศที่อยู่ในแถบละติจูดทางใต้ของไทยลงไป เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมทั้งบางส่วนของประเทศญี่ปุ่น

สำหรับประเทศไทยแต่ละพื้นที่ก็จะเห็นการเกิดคราสได้ต่างกัน เช่น ที่กรุงเทพฯ จะเห็นคราสเริ่มเกิดเวลา 7.48 น. และจะเห็นคราสบังลึกที่สุด 16% เวลา 8.21 น. ด้วยมุมเงย 28 องศา ในทางทิศตะวันออก โดยคราสจะสิ้นสุดเวลา 8.57 น. ส่วนตะวันออกสุดของประเทศที่ จ.อุบลราชธานี จะเห็นคราสเริ่มเวลา 7.52 น. และเห็นคราสบังลึกที่สุด 15% เวลา 8.26 น. และสิ้นสุดคราสที่เวลา 9.02 น. ขณะที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่เห็นคราสบังได้ลึกนั้น คราสจะเริ่มเวลา 7.45 น. และบังลึกที่สุด 28% เวลา 8.29 น. โดยสิ้นสุดการเกิดคราสเวลา 9.15 น. ส่วนจังหวัดทางภาคใต้ตั้งแต่ จ.สงขลา ลงไปนั้นจะไม่เห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนนี้

วิธีการดูสุริยุปราคาบางส่วนที่ปลอดภัยนั้นมีหลายวิธี โดยนายวรเชษฐ์ได้แนะนำให้ใช้กระดาษเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสประมาณ 1 เซนติเมตรแล้วประกบติดกับกระจกเงา จากนั้นใช้กระจกเงาดังกล่าวสะท้อนภาพดวงอาทิตย์ให้ไปตกบนฉากรับภาพ และจะเห็นเป็นภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อเกิดสุริยคราสภาพบนฉากก็จะแหว่งไปตามเกิดคราส

วิธีดังกล่าวเมื่อเทียบกับการดูสุริยุปราคาด้วยกล้องรูเข็มแล้ว นายวรเชษฐ์อธิบายว่าจะให้ภาพที่สว่างกว่าภาพจากกล้องรูเข็ม เพราะแสงที่ผ่านเข้าไปในกล้องรูเข็มนั้นไม่มาก เมื่อฉากรับภาพยิ่งห่างความสว่างของภาพก็ยิ่งลด และการใช้กระจกสะท้อนภาพนั้นมีช่องรับแสงที่ใหญ่ ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ผ่านได้มาก ภาพจึงสว่างมากขึ้นและส่องไปยังฉากรับภาพไกลๆ ได้ ซึ่งการที่ฉากรับภาพยิ่งไกลนั้นจะทำให้ภาพที่เห็นใหญ่มากขึ้น

ทางด้าน น.ส.ประพีร์ วิราพร เลขาธิการสมาคมดาราศาสตร์ไทย เผยว่ารู้สึกเป็นห่วงกับเรื่องการดูสุริยุปราคาที่ปลอดภัยของทุกคน เพราะเกรงว่าหลายคนจะดูสุริยุปราคาด้วยตาเปล่าและใช้วัสดุที่ไม่ดีต่อสายตา โดยได้ห้ามอย่างเด็ดขาดว่าห้ามดูด้วยตาเปล่าหรือสวมแว่นกันแดดดูสุริยุปราคาอย่างเด็ดขาด และแว่นตาซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เคยใช้ดูสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปี 2538 ก็อาจเสื่อมคุณภาพแล้วและไม่สามารถนำมาใช้ดูปรากฏการณ์ในครั้งนี้ได้

“สุริยุปราคาครั้งนี้แหว่งแค่ 16% ซึ่งอันตรายมาก ถ้าไม่ระวัง หากดูด้วยฟิล์มเอ็กซ์เรย์ก็ดูได้ระดับหนึ่ง แต่ต้องซ้อนกันหลายๆ ชั้น และดูได้ 2-3 นาทีก็ต้องละสายตา” น.ส.ประพีร์กล่าว พร้อมทั้งเผยว่าทางสมาคมฯ ยังไม่กำหนดว่าจะกิจกรรมหรือไม่และที่ใด เนื่องจากทางสมาคมกำลังมีภาระเรื่องการดูแลนักเรียนในค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก

ขณะที่ ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยว่ามลภาวะทางอากาศที่ปกคลุมเชียงใหม่อยู่ขณะนี้กลับเป็นผลดีต่อการชมปรากฏการณ์สุริยุปราคา เพราะจะช่วยกรองให้แสงอาทิตย์ไม่สว่างมาก อีกทั้งที่ จ.เชียงใหม่ยังดูปรากฏการณ์สุริยุปราคาได้ดีที่สุด และจะจัดกิจกรรมตั้งกล้องดูสุริยุปราคาขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ส่วนวิธีการดูสุริยุปราคาที่ปลอดภัยนั้น ดร.ศรันย์ไม่กังวลเท่านักโดยให้เหตุผลว่าธรรมชาติของคนจะกระพริบตาเมื่อแสบตาอยู่แล้ว และก็ไม่มีใครที่สามารถจ้องดวงอาทิตย์ได้นานๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในดูควรจะมีแผ่นฟิลเตอร์ (Filter) ช่วยกรองแสง หรืออาจจะใช้กระจกที่ช่างเชื่อมโลหะใช้แสงกรอง โดยกระจกดังกล่าวต้องมีค่า Neutral Density เท่ากับ 5 ซึ่งแสงจะผ่านได้ 0.01% และหากส่องกับหลอดไส้จะเห็นเพียงไส้แดงๆ แต่หากเป็นกระจกที่ส่องแล้วเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวก็ไม่สามารถใช้ได้ และที่ต้องระวังคือห้ามใช้กล้องส่องทางไกลดูสุริยุปราคาเพราะเลนส์กล้องจะรวมแสงมาทำลายตาให้ตาบอดได้



ที่มา //manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000030278


โดย: Sri-Phet วันที่: 19 มีนาคม 2550 เวลา:23:34:32 น.  

 
ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับเก็บภาพมาฝากกัน ถ่ายได้ชัดดีค่ะ แต่ก่อนสมัยเป็นเด็กยังไม่เห็นชัดได้ขนาดนี้เลยค่ะ
นนทบุรี 7.48 น. 8.22 น. 16% 28° 8.57 น. บ้านค่ะ
อยากกลับบ้านไปดูจัง


โดย: Hawaii_Havaii วันที่: 20 มีนาคม 2550 เวลา:5:45:02 น.  

 
ขอบคุณรูปภาพและความรู้ดีๆ ค่ะ
มีความสุขมากๆ นะคะ


โดย: บัวริมบึง วันที่: 27 มีนาคม 2550 เวลา:16:42:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Sri-Phet
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
มีนาคม 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
19 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Sri-Phet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.