History is just a story

<<
มกราคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 มกราคม 2552
 

ท้องถิ่นศึกษา-ศึกษาท้องถิ่น

ความหมายและความสำคัญของการศึกษาท้องถิ่น
ปัจจุบันการศึกษาท้องถิ่นเป็นแนวทางการศึกษาที่กำลังเป็นที่สนใจและเป็นประเด็นถกเถียงในแวดวงวิชาการแขนงต่างๆ โดยเฉพาะสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ถึงคำจำกัดความ ขอบเขตและวิธีการเก็บข้อมูล เนื่องจากเป็นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แนวใหม่ที่ตรงข้ามกับการศึกษาประวัติศาสตร์ ”สกุลดำรงราชานุภาพ” หรือเรียกว่าประวัติศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งนักวิชาการในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศคุ้นเคยมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ การศึกษาประวัติศาสตร์แห่งชาติตามแนวทางดังกล่าวนั้นเป็นการศึกษาที่เน้นศูนย์กลางจึงสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของบุคคลสำคัญในราชวงศ์ต่างๆ การทำสงครามและการกอบกู้เอกราช (ซึ่งสะท้อนให้เห็นในแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการที่ผ่านมา) เหตุการณ์ทางการเมือง รวมถึงการกำหนดอายุโบราณวัตถุสถานและรูปแบบทางศิลปกรรมเพื่อให้คนเกิดความภาคภูมิใจในประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ของชาติไทย (จนอาจถึงขั้นหลงตัวเองและเกลียดชังหรือดูถูกประเทศเพื่อนบ้านไปในที่สุด)
ต่อมามีนักวิชาการบางส่วนที่เริ่มมองเห็นข้อบกพร่องจากการศึกษาประวัติศาสตร์ตามแนวทางนี้เนื่องจากเป็นการมองประวัติศาสตร์จากภายนอก ไม่สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ในอดีตกับปัจจุบันจึงมองไม่เห็นความต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วจบลงทำให้ประวัติศาสตร์กลายเป็นสิ่งหยุดนิ่งเพราะมองไม่เห็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์แห่งชาตินั้นให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ของศูนย์กลางอำนาจหลักในภาคกลางโดยละเลยไม่เห็นความสำคัญของศูนย์กลางของภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ซึ่งล้วนมีอัตลักษณ์และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างออกไป ในภายหลังจึงเริ่มหันกลับมามองท้องถิ่นอันเป็นหน่วยสังคมขนาดเล็กที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นประเทศ จนเกิดการความพยายามที่จะอธิบายโครงสร้างทางสังคมและประวัติศาสตร์สังคมจากมุมมองภายใน หรือเรียกว่า “ประวัติศาสตร์จากภายใน” โดยมีท้องถิ่นเป็นหน่วยศึกษา
ความหมายของคำว่า “ท้องถิ่น” ก็คือพื้นที่ที่คนหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้าน เป็นกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม สร้างเครือข่ายและพัฒนาเอกลักษณ์ร่วมกันจนเกิดสำนึกของการเป็นคนในท้องถิ่นเดียวกัน แต่ละท้องถิ่นจะมีระบบความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมร่วมกัน ขณะเดียวกันท้องถิ่นแต่ละแห่งก็ไม่อยู่โดดเดี่ยวแต่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับท้องถิ่นใกล้เคียงและท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลออกไปผ่านเครือข่ายของการค้าและการแต่งงาน
ท้องถิ่นในสยามประเทศมีพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ อันเห็นได้จากทุกภูมิภาคพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนก่อนประวัติศาสตร์อยู่ตามพื้นที่สูงและที่ราบบริเวณเพิงผาถ้ำเป็นสังคมหาของป่าล่าสัตว์ ต่อมามีคนอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนที่ราบใกล้ลำน้ำรวมกลุ่มเป็นหมู่บ้านทำการเพาะปลูกเกิดเป็นสังคมเกษตรกรรม หรือเรียกว่า “สมัยหินใหม่” ต่อมามีพัฒนาการทางเทคโนโลยีรู้จักการผลิตสำริดและเหล็ก เราเรียกช่วงเวลานี้ว่า “สมัยโลหะ” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท้องถิ่นต่างพัฒนาเครือข่ายการค้าขายระยะทางไกลขึ้น เกิดการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมระหว่างท้องถิ่น ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้จะกระจายอยู่ตามลุ่มน้ำหลัก ดังเช่น วัฒนธรรมบ้านเชียงประกอบด้วยหมู่บ้านหลายหมู่บ้านกระจายอยู่ในแอ่งสกลนครบริเวณลุ่มน้ำสงครามโดยมีวัฒนธรรมการทำภาชนะดินเผาลายเขียนสีรูปแบบหนึ่งเป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมบ้านปราสาทในแอ่งโคราชบริเวณลุ่มน้ำมูล มีวัฒนธรรมในการทำภาชนะดินเผาแบบปากแตรและภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ ชุมชนท้องถิ่นบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก เป็นต้น จากรูปแบบภาชนะดินเผาที่พบในท้องถิ่นต่างๆบ่งชี้ว่ามีคนหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศปัจจุบันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้วและต่างก็มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว นอกจากนี้ยังพบสิ่งของมีค่าที่เป็นของต่างถิ่นกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ อันแสดงถึงระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าระยะทางไกล เช่น การกระจายตัวของกลองมโหระทึก ลูกปัดทำจากหินมีค่า เป็นต้น ชุมชนท้องถิ่นก่อนประวัติศาสตร์ยังได้พัฒนาระบบความเชื่อและพิธีกรรมร่วมกันซึ่งสะท้อนให้เห็นจากพิธีกรรมการฝังศพ
ต่อมาชุมชนหมู่บ้านเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเมืองจนพัฒนาเกิดเป็นบ้านเมืองอันเป็นผลมาจากการเลือกสรรวัฒนธรรมภายนอกโดยเฉพาะอินเดียและจีน นำมาบูรณาการเข้ากับเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เกิดเป็นศูนย์กลางบ้านเมืองตามท้องถิ่นต่างๆที่มักกระจายอยู่ตามลุ่มน้ำสำคัญ เช่น ลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน ลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก ลุ่มน้ำมูล-ชี ลุ่มน้ำปิง-วัง-ยม-น่าน ลุ่มน้ำน้ำตาปี ลุ่มน้ำปัตตานี เป็นต้น
การศึกษาท้องถิ่น หรือการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นที่สนใจของบรรดานักวิชาการและประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้นในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการศึกษาในแนวทางนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมในปัจจุบันได้ละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น การเติบโตของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีผลให้แนวคิดและวิธีการศึกษามีความหลากหลายตามความถนัดและความสนใจของผู้ศึกษา สำหรับผู้เขียนมีความเห็นว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือ การศึกษาประวัติศาสตร์สังคมจากภายในผ่านมุมมองของคนในท้องถิ่น เพื่อความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม-วัฒนธรรม
อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เคยเสนอแนะแนวทางการศึกษาท้องถิ่นไว้ว่าต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม 3 ด้าน คือ ภูมิวัฒนธรรม นิเวศวัฒนธรรม และชีวิตวัฒนธรรม นอกจากนี้อาจารย์ศรีศักรยังกล่าวอีกว่าการศึกษาท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาคนกับคน หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ ในท้องถิ่น คนกับธรรมชาติ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติหรือประวัติการใช้พื้นที่ และการศึกษาคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ หมายถึง พิธีกรรมความเชื่อ และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่น
การศึกษาท้องถิ่นตามแนวทางดังกล่าวสามารถครอบคลุมโครงสร้างทางสังคมที่แลเห็นพลวัตหรือการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตสามารถเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันและมองเห็นแนวทางในอนาคต ดังนั้นการจะเข้าใจท้องถิ่นจึงต้องเข้าให้ถึงคนเพราะประวัติศาสตร์สังคมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คน ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ภูมิปัญญาและสภาพแวดล้อมที่คนอาศัยอยู่
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นย่อมมีความแตกต่างจากการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งชาติที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่เขียนขึ้นจากชนชั้นปกครอง มีลักษณะเป็นการบันทึกประวัติราชวงศ์และเรื่องราวกิจกรรมของผู้นำ เช่น ศิลาจารึก พระราชพงศาวดาร พงศาวดาร เอกสารราชการ เป็นต้น ส่วนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอาจมีผู้มองว่ามีหลักฐานลายลักษณ์อักษรให้ศึกษาได้น้อยมาก เพราะโดยทั่วไปแล้วคนท้องถิ่นจะไม่บันทึกเรื่องราวของตัวเองในรูปของงานเขียนแบบพงศาวดาร แต่ท้องถิ่นมีวิธีการบันทึกประวัติของชุมชนแตกต่างออกไป โดยวิธีหนึ่งที่ใช้กันก็คือ ประเพณีการบอกเล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นตำนานท้องถิ่นโดยจะสัมพันธ์กับชื่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือพื้นที่สาธารณะที่คนในท้องถิ่นใช้ประโยชน์ร่วมกัน ถือเป็นความทรงจำร่วมที่สร้างสำนึกและบูรณาการผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ให้เป็นคนท้องถิ่นเดียวกัน ดังนั้นตำนานท้องถิ่นจึงมีบทบาทสำคัญในการศึกษาท้องถิ่นเพราะสะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในท้องถิ่นกับสังคมภายนอก ทำให้มองเห็นกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม-วัฒนธรรมที่ไม่หยุดนิ่งของผู้คน ต่างจากการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งชาติที่มักมองไม่เห็นภาพความเคลื่อนไหวของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
ผู้เขียนมีคิดเห็นว่าความสำคัญของการศึกษาท้องถิ่นสามารถพิจารณาได้หลายแง่มุม ประการแรก การศึกษาท้องถิ่นเป็นฐานของแนวทางการวางนโยบายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นต่อไปในอนาคต การพัฒนาในประเทศไทยที่ผ่านมาเน้นเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลักโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่ก็เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิเช่น ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากร สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด เป็นต้น การพัฒนาที่เน้นด้านวัตถุเพียงอย่างเดียวจึงตัดขาดคนออกจากวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ผูกพันกับธรรมชาติและตัดขาดรากเหง้าที่ผูกพันกับบ้านเกิด ดังนั้นการศึกษาท้องถิ่นซึ่งเป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม-วัฒนธรรมจากภายในอย่างละเอียดลึกซึ้งทำให้มองเห็นข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เมื่อนำมารวมกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมจากภายนอกจะทำให้สามารถกำหนดแนวการพัฒนาโดยให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ จึงจะเป็นการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน แนวทางการพัฒนาดังกล่าวจะทำให้แต่ละท้องถิ่นมีความเข้มแข็งจนกลายเป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศชาติจนสามารถเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคมโลกต่อไปได้
ประการที่สอง การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมจะทำให้คนท้องถิ่นเข้าใจรากเหง้าความเป็นมาของตนเอง จนเกิดความรักหวงแหนในมรดกวัฒนธรรมของตนและเกิดสำนึกของความเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นมรดกวัฒนธรรมอันได้แก่ โบราณวัตถุสถาน ประเพณีพิธีกรรม ระบบความเชื่อ และภูมิปัญญาดั้งเดิมก็จะได้รับการธำรงรักษาไว้อย่างมีความหมาย
ประการที่สาม ทำให้เกิดการยอมรับในความแตกต่างของท้องถิ่นซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์และภาษา อย่างไรก็ตามท้องถิ่นในประเทศไทยล้วนมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เนื่องด้วยมีพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมร่วมกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ จากหลักฐานด้านโบราณคดีเป็นสิ่งยืนยันได้ดีถึงการติดต่อสัมพันธ์กันของท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะทำให้ละทิ้งอคติว่าวัฒนธรรมส่วนกลางจะต้องดีกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่จะเกิดความเข้าใจว่าแต่ละวัฒนธรรมมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นแตกต่างกันไปโดยมีสภาพแวดล้อมธรรมชาติเป็นตัวกำหนดแบบแผนวัฒนธรรม หากการยอมรับในความแตกต่างของผู้คนเกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทยย่อมจะเกิดผลดีต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่กำลังดำเนินอยู่ทุกวันนี้ อย่างกรณีปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาดูเหมือนว่าการศึกษาท้องถิ่นจะมีพื้นที่ยืนมากยิ่งขึ้นในวงการศึกษาสังคมไทย รวมทั้งมีแนวคิดและวิธีการศึกษาที่ชัดเจนขึ้น การหวนกลับมามองท้องถิ่นอาจเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ประวัติศาสตร์กระแสหลักที่เน้นศูนย์กลางและกระแสโลกาภิวัตน์ที่พยายามเชื่อมเศรษฐกิจและการเมืองโลกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันผ่านระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ลัทธิบริโภคนิยม และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมที่มองข้ามความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้นท้องถิ่นจึงต้องพยายามดำรงอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่เต็มไปด้วยความหลากหลายแตกต่าง มีความเป็นตัวของตัวเองเพื่อให้มีอำนาจต่อรองและมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรในท้องถิ่น ผู้เขียนมีความเห็นว่ากระแสความสนใจท้องถิ่นเป็นแนวโน้มที่น่าสนใจตรงที่สามารถทำให้ความหลากหลายแตกต่างสามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์รวมถึงลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยมที่กำลังครอบงำโลกอยู่ทุกวันนี้





 

Create Date : 06 มกราคม 2552
5 comments
Last Update : 6 มกราคม 2552 12:13:12 น.
Counter : 1795 Pageviews.

 
 
 
 
หวัดดี
 
 

โดย: กี้ IP: 125.26.182.81 วันที่: 14 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:43:39 น.  

 
 
 
ยาวววววววววววจังเลย ขี้เกียจอ่าน อ่านไม่รู้เรื่อง ลายตามากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก5++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++5
 
 

โดย: กลุ่มคุณแม่ไม่ปลื้ม IP: 113.53.49.197 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:20:25:57 น.  

 
 
 
ยาวมากกกกกกกกกกกกกกกกแต่ก็ok!พอรุ้เรื่อง
 
 

โดย: พา IP: 110.164.43.89 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2552 เวลา:19:34:49 น.  

 
 
 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him
 
 

โดย: da IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:23:04:09 น.  

 
 
 
เส็ง
 
 

โดย: นาธาร IP: 125.26.60.172 วันที่: 6 มกราคม 2554 เวลา:22:03:53 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

sofabed_arts
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add sofabed_arts's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com