Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 กันยายน 2552
 
All Blogs
 

เทศกาล ฉงหยาง

เทศกาลฉงหยาง

ห่างหายไปนานจากการอัพเดท วันนี้ฤกษ์งามยามดี ได้กลับมาอัพอีกครั้ง สำหรับหน้านี้ขอเล่าเรื่องเทศกาลฉงหยางหรือเทศกาลวันผู้สูงอายุของจีนนะคะ มาเริ่มกันเลยค่ะ ชาวจีนถือว่าวันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติ เป็นวัน 重阳节 (ฉงหยางเจี๋ย cóngyángjié) สำหรับที่มาของชื่อ ก็เพราะว่า ตามตำราอี้จิ้ง «易经» อันเก่าแก่ของจีนได้ระบุไว้ว่า เลข 6 คือเลข หยิน และ เลข 9 คือเลข หยาง ดังนั้นจึงเรียกวันที่ 9 เดือน 9 ว่าเป็นวัน ฉงหยาง เพราะคำว่า 重阳 (cóngyáng) หมายถึง หยางคู่หรือหยางซ้อนนั่นเอง ในสมัยอดีตอาจเรียกได้ทั้งฉงหยาง 重阳 หรือ ฉงจิ่ว 重九 (cóngjiŭ) วันฉงหยางมีตั้งแต่ยุคจ้านกั๋ว 战国 (zhànguó) เรื่อยมาจนถึงสมัยยุคถัง วันฉงหยางจึงถูกกำหนดเป็นวันเทศกาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ในวันเทศกาลฉงหยางมีประเพณีสืบทอดที่นิยมทำกันเรื่อยมานั่นคือการ “ปีนที่สูง”登高 (เติงเกา dēnggāo) ทำให้ในสมัยโบราณมีชื่อเรียกเทศกาลฉงหยางว่า เทศกาลเติงเกา 登高节(dēnggāojié) ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ในการปีนที่สูงไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องไปปีนสถานใด ทำให้ชาวจีนส่วนมากนิยมไปปีนเขาหรือปีนขึ้นเจดีย์สูง การที่ชาวจีนไปปีนที่สูงในวันฉงหยางนั้นมิใช่เพียงแค่ต้องการปีนขึ้นไปเพียงอย่างเดียว แต่การปีนที่สูงนั้นยังทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติได้ชมความงามของดอกไม้ป่า ต้นไม้ป่า ใบไม้แดง ได้ผสานตนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ดังนั้นจุดมุ่งหมายสำคัญของการปีนที่สูงไม่ได้เป็นเพียงการทำเพราะความเชื่อที่ว่าการปีนที่สูงจะทำให้ชีวิตได้ก้าวขึ้นไปอยู่ที่สูงหรือหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้าได้ตำแหน่งสูงๆ ยังเป็นการทำจิตใจให้ชื่นมื่น สบายใจและเพิ่มความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายและจิตใจนอกจากการปีนที่สูงในเทศกาลฉงหยาง เทศกาลฉงหยางนี้ก็เฉกเช่นเดียวกับเทศกาลอื่นๆ ที่ชาวจีนจะนิยมทำอาหารหรือขนมที่เป็นสิริมงคลเพื่อมารับประทานเฉลิมฉลอง และในเทศกาลนี้ชาวจีนยังนิยมดื่มเหล้าดอกเบญจมาศหรือรับประทานอาหารที่มีการใช้ดอกเบญมาศเป็นส่วนประกอบ ในเทศกาลนี้ชาวจีนยังนิยมรัปประทานขนมฉงหยาง 重阳糕 (ฉงหยางเกา cóngyánggāo) หรือเรียกว่า ขนมดอกไม้ ขนมเบญจมาศ ขนมห้าสี แรกเริ่มเดิมทีการทำขนมฉงหยางเกิดจากการที่ชาวจีนเพียงแค่ต้องการรับประทานขนมสดใหม่ที่ทำจากข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง แต่ต่อมาขนมฉงหยางได้ถูกนำมาเป็นขนมเพื่อศิริมงคล เนื่องมาจากว่า 糕 (เกา gāo) หมายถึงขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า และ 高 (เกา gāo) ที่แปลว่าสูง เป็นคำพ้องสียง ดังนั้น 吃糕 (ชือเกา) การรับประทานขนมฉงหยาง จึงเป็นการแสดงความหมายโดยนัยถึงการได้รับสิ่งที่สูงๆยิ่งขึ้นไป ด้วยเหตุนี้ทำให้ขนมชนิดนี้กลายมาเป็นขนมประจำเทศกาล ขนมฉงหยางนี้ไม่เพียงแต่ทำขึ้นรับประทานกันเองภายในครอบครัว แต่ยังสามารถมอบเป็นของขวัญได้ด้วย โดยขนมฉงหยางเป็นที่นิยมมากในทางภาคเหนือของจีน ขนมฉงหยางอาจจะมีสองหรือสามชั้น โดยระหว่างชั้นแป้งจะมี ผลไม้เชื่อม พุทราจีน ถั่วหรือธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
ในช่วงเทศกาลฉงหยางนี้ยังถือเป็นเทศกาลแห่งการชมดอกเบญจมาศอีกด้วย เนื่องจากชาวจีนสมัยโบราณเชื่อว่าประเทศจีนเป็นต้นกำเนิดของ ดอกเบญจมาศ ในสมัยก่อนจึงพบว่าเกือบทุกบ้านจะมีการปลูกดอกเบญจมาศ ดอกเบญจมาศจะมีหลายสี แต่สีเหลืองจะเป็นสีที่โดดเด่นที่สุด จึงทำให้บางครั้งเรียกดอกเบญจมาศว่าดอกไม้เหลือง 黄花 (หวงฮวา huánghuā)ทั้งนี้ดอกเบญจมาศเป็นดอกไม้ที่มีช่วงอายุยืนนานชนิดหนึ่ง ชาวจีนจึงเชื่อว่าดอกเญจมาศเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว และในเดือน 9 นี้จะมีเทศกาลชมดอกเบญจมาศขึ้น และยังเรียกว่าเป็นเดือนเบญจมาศด้วย 菊月 (จวี๋เยว้ júyuè) ตั้งแต่ยุคสามก๊กเป็นต้นมาในวันเทศกาลฉงหยางนี้ชาวจีนจะรวมตัวกันทานอาหารและดื่มเหล้าไปพร้อมๆ กับการชมความงามของดอกเบญจมาศนอกจากดอกเบญจมาศแล้วคนสมัยโบราณยังนิยมเสียบดอก 茱萸 (จูอวี๋ zhūjú) ดังนั้นวันเทศกาลฉงหยางนี้จึงเรียกว่า เทศกาลจูอวี๋ 茱萸节 ก็ได้เช่นกัน ในสมัยถังนั้นการเสียบดอกจูอวี๋ในวันเทศกาลฉงหยางได้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากชาวจีนสมัยนั้นเชื่อว่าการเสียบดอกจูอวี๋จะสามารถป้องกัน และขจัดภัยอันตรายได้ โดยนิยมเสียบไว้ที่แขน หรือว่านำดอกจูอวี๋ใส่ถุงบุหงาพกติดตัวก็ได้ หรือบางคนนิยมเสียบไว้บนศีรษะ ส่วนมากจะเป็นหญิงสาว หรือ เด็ก ที่พกดอกจูอวี๋แต่ก็ผู้ชายในมีบางท้องที่พกดอกจูอวี๋เช่นกัน
เทศกาลฉงหยางนี้ชาวจีนโบราณเชื่อว่าเป็นวันที่คุ้มค่าแก่การเฉลิมฉลอง เป็นวันมงคลอีกวันหนึ่ง อีกทั้งเทศกาลนี้ได้มีมาแต่สมัยอดีตโดยถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองโบราณเพื่อเป็นการรำลึกถึงวันที่สามมารถรวบรวมชนกลุ่มน้อยเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วันฉงหยางนี้มีเลข 9 ถึงสองตัว โดยเลข 9 ในการอ่านออกเสียงภาษาจีนอ่านว่า จิ่ว ซึ่งไปพ้องเสียงกับ久(จิ่ว jiŭ)ทำให้ 九九重阳 (จิ๋วจิ่วฉงหยาง jiújiŭcóngyáng) ออกเสียงว่า “จิ๋วจิ่ว” ไปพ้องเสียงกับ 久久 (จิ๋วจิ่ว jiújiŭ) ที่หมายถึง ยืนยาว ซึ่งแสดงถึงการมีอายุยืนยาว และตั้งแต่ปี ค.ศ.1989 เป็นต้นมาประเทศจีนจึงได้กำหนดให้วันฉงหยางเป็นวันผู้สูงอายุจีน และยังถือเป็นเทศกาลชมดอกเบญจมาศด้วย
ท้ายนี้หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติมสามารถแสดงความคิดเห้นได้เต็มที่เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ที่มา : //www.china.com.cn/info/zhuanti/cyj/2007-08/29/content_8765751.htm
: //baike.baidu.com/view/2572.htm





 

Create Date : 24 กันยายน 2552
0 comments
Last Update : 24 กันยายน 2552 14:13:53 น.
Counter : 1475 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


slcclub
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)
.............................................................
+ เปิดสอนภาษาต่างประเทศ
ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาเกาหลี
ภาษาไทยสำหรับชาวญี่ปุ่น
+ จัดแคมป์ภาษาและวัฒนธรรมเยาวชน ต้อนรับปิดเทอม
สำหรับน้องๆ 8-12 ปี
+ จัดอบรมสัมมนาด้านวิชาการ
+ บริการงานแปลและล่ามภาษาต่างๆ
.............................................................
Tel : 02 259 9160 # 1641-2
Fax : 02 662 1019
E-mail : schoolweb@tpa.or.th
Web : http://www.tpa.or.th/slc
.............................................................


widgets
Friends' blogs
[Add slcclub's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.