โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งแล้วกลืนกิน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้า หรือหายใจเข้าแล้วหายใจออก เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ประมาทอยู่ จักเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ

สงครามกลางเมือง ไอวอรีโคสต์


๏ ต่างฝ่ายต่างอ้างแอบ...............ประชาชน
เงื้อง่าอาวุธรณ............................เร่งสู้
เพื่อกอบประโยชน์ตน.................ตามมืด- มัวแล
กี่ศพกองไม่รู้.............................ไม่รู้ศพประชา ๚ะ๛


ขณะที่ข่าวการลุกฮือประท้วงโค่นล้มผู้นำเผด็จการในโลกอาหรับ ขณะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง แต่ฝั่งแอฟริกายังระอุด้วยสงครามกลางเมือง ระหว่างประธานาธิบดีที่ประชาชนเลือก กับประธานาธิบดีที่ประชาชนไม่ได้เลือก และสิ่งที่ชาวตะวันตกมองเห็นความสำคัญหาใช่มนุษยธรรมไม่ แต่เป็น ...

อันแรกเป็นข่าวจากมติชนออนไลน์






กองกำลัง"โลรองต์ บักโบ" ยิงถล่มฐานบัญชาการปธน.ไอวอรี โคสต์
วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 12:51:30 น

กองกำลังผู้ภักดีต่อนายโลรองต์ บักโบ เข้าโจมตีโรงแรมแห่งหนึ่งซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของนายอลาสเซน ออตตารา ประธานาธิบดีผู้ได้รับการรับรองจากนานาชาติ

โดยพยานผู้เห็นเหตุการณ์และเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติกล่าวว่า โรงแรมกอล์ฟ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงอบิดจัน ถูกโจมตีด้วยอาวุธปืนขนาดแล็กและปืนใหญ่ ซึ่งคาดว่ายิงมาจากฝั่งตรงข้ามของบึงน้ำที่อยู่ด้านทิศใต้ของโรงแรม ขณะที่สถานทูตอังกฤษเร่งอพยพเจ้าหน้าที่

รายงานข่าวระบุว่าเหตุปะทะครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำวานนี้ (9 เม.ย.) โดยเจ้าหน้าที่จากกองกำลังรักษาสันติภาพที่ได้รับมอบหมายจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้ปกป้องชีวิตพลเรือนได้ยิงโต้ตอบ

อย่างไรก็ดี โฆษกของนายบักโบปฏิเสธว่า กองกำลังที่ภักดีต่อเขาไม่ได้เป็นผู้กระทำการครั้งนี้ โดยอ้างว่า "ไม่มีการโจมตีโรงแรมกอล์ฟใดๆ ทั้งสิ้น อาจเป็นการโจมตีซึ่งสมมุติขึ้นก็เป็นได้"

ก่อนหน้านี้ ยูเอ็นได้กล่าวเตือนว่า กองกำลังของนายบักโบได้เพิ่มกำลังในเขตพื้นที่พาณิชย์ของกรุงอบิดจัน ขณะที่นายอลัน เลอ รอย หัวหน้ากองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นระบุว่า กองกำลังผู้ภักดีต่อนายบักโบยังคงมีรถถังและอาวุธหนักประเภทอื่นๆอีกจำนวนมาก และพร้อมที่จะเสริมกำลังได้ทุกเมื่อ

นายพลเธียร์รี เบิร์กฮาร์ด ผู้บัญชาการกองทหารฝรั่งเศสประจำไอวอรี โคสต์ กล่าวว่า การปะทะดังกล่าวทำให้กองทหารจากฝรั่งเศสต้องระงับภารกิจในการอพยพเจ้าหน้าที่ทูตจากสถานทูตต่างชาติ ตามการร้องขอของชาติพันธมิตรต่างๆ ในเวลา 03.00 น.ตามเวลาท้องถิ่นออกไปชั่วคราว เนื่องมาจากหวั่นเกรงด้านความปลอดภัย

ขณะเดียวกัน ผู้แทนจากสำนักงานความร่วมมือด้านกิจการมนุษยชนแห่งหสประชาชาติ หรือโอซีเอชเอ ในไอวอรี โคสต์ กล่าวขอความช่วยเหลือ หลังพบพื้นที่หลายแห่งในกรุงอบิดจัน ยังขาดแคลนความช่วยเหลือด้านยาและเครื่องบรรเทาทุกข์จำนวนมาก รวมทั้งเรียกร้องให้มีการก่อตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งต่อความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง

นายอลาสเซน ออตตารา ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้นำของไอวอรี โคสต์ และได้รับการรับรองจากนานาชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อปลายปีก่อน แต่นายโลรองต์ บักโบ ประธานาธิบดีคนก่อนปฏิเสธที่จะสละอำนาจ.


นายโลรองต์ บักโบ ประธานาธิบดีคนก่อน ปฏิเสธที่จะสละอำนาจ



ต่อไปเป็นบทความจากมติชนออนไลน์


ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง "ไอเวอรีโคสต์-ลิเบีย"
วันที่ 09 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.

ในขณะที่การลุกฮือขึ้นมาประท้วงผู้นำเผด็จการยุคเก่าแก่ของโลกอาหรับ ค่อยๆ ขยายวงออกไปเรื่อยๆ และนำไปสู่การโค่นอำนาจผู้นำได้ในที่สุดทีละประเทศ ทีละประเทศ

แต่สำหรับที่ไอวอรีโคสต์ ประเทศทางแถบแอฟริกา อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศส สงครามกลางเมืองระหว่างกองกำลังของประธานาธิบดี อลาส์ซาน วาททารา ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นผู้นำที่มาอย่างถูกต้องด้วยการเลือกตั้ง กับกองกำลังของอดีตประธานาธิบดี โลร็องต์ บักโบ ที่ออกกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างไร้ความปรานี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่าพันคน ได้ย่างเข้าสู่เดือนที่ 5 แล้ว และดูเหมือนสถานการณ์จะเลวร้ายลงเรื่อยๆ

คณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี) ระบุว่า จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าหน้าที่ภาคสนามในไอวอรีโคสต์ พบว่า การปะทะกันของทั้งสองฝ่ายเลวร้ายลงเรื่อยๆ เฉพาะที่เมืองดูเอคูเอ้ ทางตะวันตกของประเทศ มีการเข่นฆ่ากันมากถึง 800 คน

ส่วนที่นครอะบิจัน เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ กองกำลังของทั้งสองฝ่ายต่างใช้อาวุธถล่มใส่กันอย่างไม่หวั่นว่าจะมีผู้บริสุทธิ์ได้รับผลกระทบ ขณะที่บักโบเองก็ยังคงยืนยันที่จะไม่ลงจากตำแหน่งแม้ว่าจะแพ้การเลือกตั้งก็ตาม

และแม้ว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อและสร้างความสูญเสียไปแล้วอย่างมาก แต่หากการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือจากนานาชาติ มีเพียงการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเข้าไปแล้วในจำนวนจำกัด

ซึ่งดูจะน้อยนิดเมื่อเทียบกับมาตรการที่นานาชาติลงมือกระทำกับลิเบีย ที่ประชาชนและกลุ่มต่อต้านลุกขึ้นมาประกาศไม่เอา พ.อ.โมอามาร์ กาดาฟี ผู้นำลิเบียที่ปกครองประเทศมานานถึง 42 ปี และถูกรัฐบาลกาดาฟีใช้กำลังในการปราบปราม จนนานาชาติต้องลุกขึ้นมารวมหัวกันปกป้องชาวลิเบียผู้บริสุทธิ์ที่ถูกผู้นำกลั่นแกล้ง ทั้งการประกาศเขตห้ามบิน และยังทิ้งระเบิดโจมตีอย่างต่อเนื่อง

ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในมาตรการจัดการของทั้งสองประเทศ สร้างความกังขาให้เกิดขึ้นในใจใครหลายคนว่า วิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในไอวอรีโคสต์และลิเบียนั้น แตกต่างกันอย่างไร

ซีเอ็นเอ็น ได้วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสองประเทศที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างสองประเทศนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ปัญหาของไอวอรีโคสต์นั้นสะสมมามาเป็นเวลาหลายปี ก่อนที่จะระเบิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับที่ลิเบีย ที่เพิ่งจะเกิดความวุ่นวายขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

ฟิล คลาร์ก อาจารย์สอนเรื่องความแตกต่างด้านการเมืองนานาประเทศ แห่งศูนย์ศึกษาชาติตะวันออกและแอฟริกา ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ บุคคลที่ออกมาชี้ให้เห็นว่า การเข้าไปแทรกแซงในสองประเทศนั้น เน้นไปที่การปกป้องพลเรือนจากความเสี่ยง มากกว่าที่จะเข้าไปเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง

และว่า เหตุปะทะกันในสองประเทศนั้น แตกต่างกันอย่างมาก แต่สิ่งที่เหมือนกันคือภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นกับพลเรือนในประเทศ

แต่ ยิลเลส ยาบี นักวิเคราะห์เกี่ยวกับชาติแอฟริกาตะวันตก จากกลุ่มวิกฤตการณ์นานาชาติ บอกว่า สถานภาพของบักโบนั้นแตกต่างโดยชิ้นเชิง เพราะสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกา แค่ออกมาบอกให้ลงจากตำแหน่ง ไม่ได้ส่งเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์เข้าไปจัดการเหมือนกาดาฟี

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือการที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีมติเห็นชอบให้ส่งกองกำลังนานาชาติเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้สถานการณ์ทั้งสองประเทศสงบขึ้น แม้ว่าจะเป็นจำนวนที่แตกต่างกันอยางมาก

โดยที่ลิเบียนั้น มีการส่งเครื่องบินรบเพื่อปฏิบัติการโจมตีทางอากาศถล่มกาดาฟี และเพื่อปกป้องกลุ่มกบฏที่ต่อต้านกาดาฟี รวมทั้งปกป้องพลเรือนจากการถูกกองกำลังของรัฐบาลกาดาฟี

ส่วนที่ไอวอรีโคสต์นั้น มีการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพชุดพิเศษเข้าไปแล้วตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา และเพิ่มกำลังมากขึ้นเป็น 11,000 นาย ขณะที่ฝรั่งเศสเองส่งกำลังทหารเข้าไป 300 นาย

ทอม คาร์กิลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแอฟริกา จากกลุ่มแคแธม เฮ้าส์ กล่าวว่า สหประชาชาติไม่น่าจะเปิดฉากโจมตีทางอากาศในไอวอรีโคสต์ เนื่องจากสถานการณ์ในไอวอรีโคสต์เป็นไปอย่างรวดเร็ว กลุ่มกบฏได้ปฏิบัติการสร้างฐานที่มั่นอย่างรวดเร็ว จนไม่มีเวลาให้สหประชาชาติออกมาตรการใดๆ

และคาร์กิลล์เห็นว่า สถานการณ์ในไอวอรีโคสต์และลิเบียนั้น ไม่ควรจะเอามาเปรียบเทียบกัน เนื่องจากไอวอรีโคสต์เผชิญกับวิกฤตมานานหลายปี และยอมรับความช่วยเหลือจากนานาชาติเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาทางการเมืองมาโดยตลอด

ขณะที่ปัญหาในลิเบียนั้น ชาติตะวันตกกลับรู้สึกได้ถึงความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นและรัฐบาลกาดาฟีเองก็ไม่ได้คิดที่จะยอมรับตามข้อเรียกร้องของนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม หลายคนเชื่อว่า เรื่องของความเป็นแหล่ง "น้ำมัน" ของลิเบีย น่าจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหรัฐพยายามเข้าไปแทรกแซง ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนเองก็เชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะลิเบียเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีน้ำมันอยู่ไม่น้อย และเป็นที่ดึงดูดใจของบรรดาชาติตะวันตกที่โหยหาทรัพยากรน้ำมันอย่างมากในขณะนี้

ส่วนไอวอรีโคสต์ มีสินค้าส่งออกสำคัญคือ "โกโก้"!!

น็อกซ์ จิติโย หัวหน้าโครงการแอฟริกา แห่งศูนย์ศึกษาด้านกลาโหมและความปลอดภัย จากสถาบันรอยัล ยูไนเต็ด เซอร์วิสเซส อังกฤษ กล่าวว่า นอกเหนือจากความโชคร้ายของไอวอรีโคสต์ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกกำลังจับตาดูไปที่โลกอาหรับที่กำลังลุกขึ้นมาปฏิรูปการปกครองแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องของน้ำมัน ที่ทำให้นานาชาติอยากจะเข้าไปแทรกแซงประเทศลิเบียมากกว่า

เพราะแน่นอนว่า ชาติตะวันตกมองเห็นความสำคัญ "น้ำมัน" ในลิเบีย มากกว่า "โกโก้" ในไอวอรีโคสต์ อย่างแน่นอน!!



...........................

เมื่ออ่านข่าว และบทวิเคราะห์แล้ว ก็เศร้าใจ ภัยธรรมชาติผลาญโลกว่าหนักหนาสาหัสแล้ว มนุษย์ด้วยกันยังผลาญพล่ากันมิหยุดหย่อน และชาติตะวันตกที่ดูเหมือนจะสามารถช่วยแก้ไขวิกฤติได้กลับมองหาแต่ผลประโยชน์เท่านั้น จึงได้แต่หวังว่าผู้มีอำนาจเมื่อได้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั่วโลกแล้วจะไม่นำพาประเทศเข้าสู่ความขัดแย้งถึงขนาดจับอาวุธมาฆ่าฟันกันเถิด



.............................

ประมวลภาพ สงครามกลางเมือง ไอวอรีโคสต์




พล.อ.Phillipe Mangou ผบ.ทบ.ไอวอรีโคสต์ กำลังปราศรัยต่อหน้ากลุ่มคนหนุ่มผู้สนับสนุนนาย Laurent Gbagbo



สมาชิกกองกำลังสนับสนุนนาย Ouattara ที่เมือง Duekoue




สมาชิกกองกำลังสนับสนุนนาย Ouattara ที่เมือง Blolequin



สมาชิกกองกำลังสนับสนุนนาย Ouattara ที่เมือง Blolequin




ชายฉกรรจ์ผู้รักชาติ หรือ Young Patriots ในกองกำลังกึ่งทหารสวมปลอกแขนคำว่า "FANCI" (กองทัพไอวอรี่โคสต์ ที่สนับสนุนนาย Laurent Gbagbo) ที่เมือง Abidjan



นาย Guillaume Soro นายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งโดยนาย Alassane Ouattara



ทหารในกองกำลังสนับสนุนนาย Alassane Ouattara ที่เมือง Yamoussoukro



นักรบกลุ่มสนับสนุนนาย Ouattara ที่เรียกตัวเองว่า "invisible commandos" ถือปืน AK-47 ประจำที่ Abidjan's Abobo




Commander Bauerหัวหน้ากลุ่มนักรบ "invisible commandos" ที่ Abidjan's Abobo




ผู้หลบหนีภัยสงครามชาวไอวอเรียน




ผู้หลบหนีภัยสงครามชาวไอวอเรียน มากกว่า 46,000 คน หลบหนีเข้าไปในประเทศไลบีเรีย



ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ นาย Alassane Ouattara ขณะกล่าวเปิดประชุม ที่เมือง Abidjan เมื่อ 6 ม.ค.54



นาย Laurent Gbagbo ประธานาธิบดีคนก่อน ผู้ไม่รับความพ่ายแพ้ (ถ่ายเมื่อ 25 ม.ค.54 ณ ทำเนียบประธานาธิบดี)





กองกำลังสหประชาชาติบนถนนใน Markory อำเภอหนึ่งของ Abidjan



รถหุ้มเกราะของกองกำลังฝรั่งเศส ในเมือง Abidjan



ทหารที่จงรักภักดีต่อนาย Laurent Gbagbo กำลังลาดตระเวนบนถนนในเมือง Abidjan



กองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนนาย Gbagbo ขณะเฝ้าระวังถนนขณะกองกำลังที่สนับสนุนนาย Ouattara เคลื่อนกำลังเข้าสู่เมืองหลวง



กองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนนาย Gbagbo ขณะเฝ้าระวังถนนขณะกองกำลังที่สนับสนุนนาย Ouattara เคลื่อนกำลังเข้าสู่เมืองหลวง



กองกำลังที่สนับสนุนนาย Alassane Ouattara ประธานาธิบดีที่นานาชาติรับรอง ขณะเตรียมการโจมตีทำเนียบประธานาธิบดีในเมือง Abidjan



กองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนนาย Gbagbo ขณะปะทะกับกองกำลังสนับสนุนนาย Alassane Ouattara ที่เมือง Abidjan




 

Create Date : 11 เมษายน 2554
1 comments
Last Update : 11 เมษายน 2554 11:32:42 น.
Counter : 2882 Pageviews.

 

จับตัว"โลรองต์ บักโบ"อดีตผู้นำไอวอรีโคสต์ได้แล้ว
มติชนออนไลน์ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 09:46:34 น.


กองกำลังที่ภักดีต่อนายอลาสซาน ออตตารา ซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาชาติ สามารถจับกุมนายโลรองต์ บักโบ ประธานาธิบดีไอวอรีโคสต์ ซึ่งไม่ยอมลงจากตำแหน่งได้แล้ววานนี้ (11 เม.ย.) ที่บ้านพักของเขาในนครอบิดจัน


ภายหลังการจับกุม นายออตตารากล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ทีซีไอวานนี้ เรียกร้องให้ประชาชนยุติการล้างแค้นด้วยกองกำลังทหารและความรุนแรงทุกประเภท เพื่อการก้าวเข้าสู่ "ยุคแห่งความหวังใหม่"


เขายังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอยู่อย่างสงบและด้วยความยับยั้งชั่งใจ พร้อมกับให้สัญญาว่าจะพิจารณาคดีนายบักโบ รวมถึงภริยา และสมัครพรรคพวกด้วยความยุติธรรม พร้อมกันนี้ เขาเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการปรองดองและค้นหาความจริง ที่จะช่วยในการสืบหาความจริงต่ออาชญากรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น โดยในระหว่างนี้นายบักโบและครอบครัวจะได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย


โดยภาพจากสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งแสดงให้เห็นนายบักโบอยู่ภายในห้องพักแห่งหนึ่งของโรงแรมกอล์ฟ ซึ่งถูกใช้เป็นฐานบัญชาการของนายออตตารา พร้อมกับคนสนิทของเขา โดยกองกำลังที่เห็นเหตุการณ์จับกุมเขาระบุว่า เขาไม่ได้แสดงการต่อต้านขัดขืนใดๆเมื่อต้องเผชิญหน้ากับหน่วยคอมมานโดที่บุกเข้าไปยังบ้านพักของเขา และกล่าวแต่เพียงว่า "อย่าฆ่าผม"


นายอแลง เลอ รอย ผู้บัญชาการทหารรักษาสันติภาพสหประชาชาติ ยืนยันว่า นายบักโบและภริยาถูกควบคุมตัวอยู่ที่โรงแรมในสนามกอล์ฟแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นกองบัญชาการของนายวัตตารา โดยอยู่ในการควบคุมดูแลของตำรวจสหประชาชาติ และกล่าวว่าการสู้รบส่วนใหญ่ได้สิ้นสุดลงแล้ว มีเพียงการปะทะกันประปรายเท่านั้น


ด้านนายยุสซูฟู บัมบา ทูตไอวอรี โคสต์ประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า นายบักโบจะต้องถูกนำขึ้นพิจารณาคดีต่อสิ่งที่เขากระทำอย่างแน่นอน และหลังจากโดนจับกุม นายบักโบยังคงมีชีวิตอยู่และสบายดี โดยยืนยันว่ามีเพียงกองกำลังจากไอวอรี โคสต์เท่านั้นที่เข้าปฏิบัติการจับกุมครั้งนี้

นายบักโบยอมแพ้หลังจากที่ถูกกองกำลังภักดีต่อนายวัตตาราบุกโจมตีที่หลบซ่อนของเขาในนครอาบิดจัน การจับตัวนายบักโบสร้างความยินดีให้แก่นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งกล่าวว่าเป็นการสิ้นสุดของความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นยาวนานหลายเดือน และสหประชาชาติจะสนับสนุนรัฐบาลใหม่ของไอวอรี โคสต์


ด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ แสดงความยินดีต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และกล่าวต่อนายออตตาราและประชาชนชาวไอวอรี โคสต์ ให้ร่วมสร้างความปรองดองและเร่งให้นำประเทศกลับไปสู่สภาพเดิมโดยเร็ว


ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในไอวอรีโคสต์นานหลายเดือนตั้งแต่สิ้นสุดการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ทำให้ไอวอรีโคสต์ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ สหประชาชาติรายงานว่า การจับอาวุธขึ้นเข่นฆ่ากันระหว่างฝ่ายที่ภักดีต่อนายวัตตารากับฝ่ายของนายบักโบ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 คน และอีกอย่างน้อย 100,000 คนหลบหนีความรุนแรงออกไปนอกประเทศ


ด้านศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้เริ่มกระบวนการสอบสวนเบื้องต้นต่อเหตุความรุนแรงในไอวอรี โคสต์แล้ว โดยระบุว่า ทั้งสองฝ่ายได้ถูกกล่าวหาว่าทำการสังหารหมู่ประชาชนระหว่างเหตุความขัดแย้ง ขณะที่มีการพบหลุมศพของผู้เสียชีวิตจำนวนมากใกล้กับกรุงอบิดจัน นอกจากนั้นยังพบว่า ประชาชนอีกหลายร้อยคนถูกสังหารและข่มขืนที่เมืองดูกูอีกด้วย.

...................

เป็นอุทธาหรณ์สำหรับผู้นำที่หวงอำนาจ ผลสุดท้ายมักจบลงแบบไม่สวยอย่างนี้แหละ

 

โดย: ศาลายา 12 เมษายน 2554 12:52:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ศาลายา
Location :
นครปฐม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




๏ ศาลายาชื่อนี้.....เป็นนาม
ที่อยู่ตำบลตาม.............แต่งตั้ง
คนหนุ่มเงียบเงียบงาม....มรรยาท
ลิขิตบล็อกก่อนพลั้ง......พลาดพ้นยุคสมัย ๚

Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
11 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ศาลายา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.